ดังนั้น คณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมกับสโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร ได้เร่งเห็นความสำคัญของต้นไม้ชนิดนี้ จึงได้จัดกิจกรรมแก่น้องใหม่และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในโครงการ “รักษ์ ณ อินทนิล” ขึ้น เพื่อร่วมบำรุง ดูแล รักษา ต้องไม้ประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งได้ปลูกเป็นสง่า และสร้างความร่มเย็น สวยงามโดยเฉพาะช่วงดอกอินทนิลได้เบ่งบานออกมา มีสีม่วงอ่อนบานสะพังให้เห็นตามถนนเส้น แม่โจ้-พร้าว เป็นการนำทางสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านการเกษตรของไทย นั่นคือมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และอีกทั้งต้นอินทนิลที่เบ่งบานออกมาอย่างสวยงามก็เปรียบเสมือนลูกแม่โจ้ที่ เบ่งบานร่วมพัฒนาการเกษตรคู่กับเกษตรกรไทยไปทุกพื้นที่ของประเทศไทย ดังคำที่กล่าวว่า “เกษตรกรคือกระดูกสันหลังของชาติ”'>
อาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์ ค่ายผู้นำ 4 จอบ ครั้งที่ 12

วันที่เริ่มต้น 18/03/2557 เวลา 0:00 วันที่สิ้นสุด 31/08/2557 เวลา 0:00
สถานที่จัด ไม่ระบุ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์ ประกอบด้วยกิจกรรมทั้งหมด 3 กิจกรรม ได้แก่
1. กิจกรรมค่ายอาสาผลิตสัมพันธ์ ครั้งที่ 6 เกิดจากแนวความคิดในการสร้างจิตสำนึกด้านการบำเพ็ญประโยชน์และการมีส่วนร่วมของนักศึกษาคณะผลิตกรรม การเกษตรที่จะดำเนินกิจกรรมด้านการบำเพ็ญประโยชน์ในรูปของค่ายอาสาพัฒนา ซึ่งจะมีนักศึกษาผู้สนใจในสาขาต่างๆของคณะผลิตกรรมการเกษตรมาร่วมนำความรู้ในแต่ละสาขาที่ศึกษามาบูรณาการพัฒนาเป็นค่ายอาสาด้านการเกษตร ซึ่งโครงการค่ายอาสาผลิตสัมพันธ์ จะเป็นโครงการที่จะทำให้ได้รับประสบการณ์โดยตรง จากการปฏิบัติงานในท้องถิ่นชนบทซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันระหว่างนักศึกษาและชุมชนในท้องถิ่นการศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนนั้น ๆ การทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้วิชาการออกสู่ชุมชน อีกทั้งยังเป็นการเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาของคนในท้องถิ่น
โดยในครั้งนี้ทางคณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมกับสโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตรจะได้จัดสร้างศูนย์เรียนรู้ไส้เดือนดิน จำนวน 1 หลัง รวมทั้งถ่ายทอดความรู้วิธีการทำการเกษตรอย่างถูกวิธี เพื่อมอบให้กับมูลนิธิศูนย์ฝึกอบรมเกษตรกรรมและอาชีพ ตำบลหงษ์หิน อำเภอจุน จังหวัดพะเยาไว้ใช้สำหรับดำเนินกิจกรรมต่างๆเพื่อเป็นฐานเรียนรู้ทางการเกษตรของตำบลหงษ์หิน โดยใช้ชื่อ ศูนย์เรียนรู้ไส้เดือนดินแม่โจ้สัมพันธ์ ซึ่งกิจกรรมต่างๆเหล่านี้จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาและประชาชนในพื้นที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน รวมทั้งได้มีโอกาสเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน อันจะเป็นประโยชน์ในการสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป
2. กิจกรรม ค่ายผู้นำ 4 จอบอาสาพัฒนา เกิดจากแนวความคิดในการจัดงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ที่มีการจัดกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาเกษตรในด้านการแข่งขันทักษะเกษตร การแข่งขันกีฬาสากล กีฬาพื้นบ้าน รวมทั้งมีการสัมมนาในหมู่นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในสาขาที่มีการเรียนการสอนด้านการเกษตร ให้มีการจัดกิจกรรมเพิ่มเติมในส่วนของค่ายผู้นำรวมทั้งอาสาพัฒนา เพื่อที่จะให้นิสิต นักศึกษาเข้าไปศึกษา เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนชนบท อีกทั้งเป็นการพัฒนาทั้งในด้านถาวรวัตถุ อาชีพ คุณภาพชีวิต และจิตใจของเกษตรกร
ประกอบกับการประชุมสัมมนาร่วมระหว่างผู้นำนักศึกษาและอาจารย์ฝ่ายกิจการนักศึกษาในงานประเพณี 4 จอบ แห่งชาติ ครั้งที่ 29 ณ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในที่ประชุมได้มีมติให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นเจ้าภาพในการจัดโครงการค่ายผู้นำ 4 จอบอาสาพัฒนา ครั้งที่ 12 โดยมีกิจกรรมหลักในการถ่ายทอดและส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรที่สนใจ ซึ่งกิจกรรมต่างๆเหล่านี้จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิต นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งได้มีโอกาสเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน อันจะเป็นประโยชน์ในการสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป
3. กิจกรรมรักษ์ ณ อินทนิล โดย ต้นอินทนิล Lagerstroemia macrocarpa Wall เป็นอีกสัญญาลักษณ์หนึ่งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดังประวัติเกี่ยวกับการเลือกพันธ์ไม้นี้เป็นสัญญาลักษณ์ของมหาวิทยาลัย อันเนื่องมาจากแม่โจ้"มหาวิทยาลัยแม่โจ้" มี อายุครบ 50 ปี ในเดือนมิถุนายน 2527 คณะกรรมการศิษย์เก่าแม่โจ้และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย โดย นายจำนงค์ โพธิสาโร (แม่โจ้ รุ่น 10) อธิบดีกรมป่าไม้สมัยนั้น อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ เป็นประธาน ได้เสนอชื่อพรรณไม้ที่ทนต่อสภาพแวดล้อมและเจริญเติบโตในทุกภาคของประเทศไทย เป็นพันธ์ลักษณะที่ดี มีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง อายุยืนนานใบสีเขียวเข้ม ลักษณะใบเดี่ยว ดอกสีม่วง ม่วงชมพู มีฉายานามว่าเป็น "ราชินีดอกไม้"( Queen's Flower ) ฝักผลไม่ยอมทิ้งต้น มีสายพันธ์อีกหลายชนิดในวงค์เดียว มีดอกเป็นลักษณะQeen's crape myrtle เช่น ตะแบก, เสลา และยี่เข่ง เป็น Qrape myrtle เหมือนกัน คณะกรรมการได้ลงมติเลือกชื่อพรรณไม้ "อินทนิล" นี้เป็นมงคลนามต่อมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความหมายถึงความผูกพันกับมหาวิทยาลัย อินทนิลมีลักษณะของช่อดอกเกาะกันเป็นกลุ่มแน่น สีสวยสด เหมือนความรัก ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความผูกพันอยู่กับมหาวิทยาลัยของศิษย์เก่าตลอดเวลาที่ออกไปประกอบอาชีพอยู่ทุกหนทุกแห่ง อินทนิล หรือไม้ในวงค์นี้ เป็นไม้เศรษฐกิจ เนื้อแข็งปานกลางจนถึงแข็ง ใช้เป็นไม้ประดับให้ร่มเงา ดอกสีสวยสดงดงาม ตลอดทั้งเปลือก ต้น ใบ ใช้เป็นยาสมุนไพร ดั่งคุณค่าของบรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้ ที่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคมประเทศชาติเป็นระยะเวลาอันยาวนานกว่า 80 ปี
ดังนั้น คณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมกับสโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร ได้เร่งเห็นความสำคัญของต้นไม้ชนิดนี้ จึงได้จัดกิจกรรมแก่น้องใหม่และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในโครงการ “รักษ์ ณ อินทนิล” ขึ้น เพื่อร่วมบำรุง ดูแล รักษา ต้องไม้ประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งได้ปลูกเป็นสง่า และสร้างความร่มเย็น สวยงามโดยเฉพาะช่วงดอกอินทนิลได้เบ่งบานออกมา มีสีม่วงอ่อนบานสะพังให้เห็นตามถนนเส้น แม่โจ้-พร้าว เป็นการนำทางสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านการเกษตรของไทย นั่นคือมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และอีกทั้งต้นอินทนิลที่เบ่งบานออกมาอย่างสวยงามก็เปรียบเสมือนลูกแม่โจ้ที่ เบ่งบานร่วมพัฒนาการเกษตรคู่กับเกษตรกรไทยไปทุกพื้นที่ของประเทศไทย ดังคำที่กล่าวว่า “เกษตรกรคือกระดูกสันหลังของชาติ”
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ อื่นๆ
ปริมาณงานทั้งหมด 56  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 0 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   ไม่ระบุ คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล