รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : ความร้อน
เครื่อง Thermogravimetric Analysis (TGA) » เครื่อง Thermogravimetric Analysis (TGA)
คำสำคัญ : วิเคราะห์ทางความร้อน TGA  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1489  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รัชดาภรณ์ ปันทะรส  วันที่เขียน 1/10/2564 15:37:43  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/5/2567 6:50:48
ถ่านชีวภาพ » การผลิตถ่านชีวภาพและแนวทางการใช้ประโยชน์
ถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) คือวัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน ผลิตจากชีวมวล หรือสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้จากธรรมชาติ หรือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ หญ้า ฟางข้าว เหง้ามันสําปะหลัง ซังและต้นข้าวโพด มูลสัตว์ กากตะกอนของเสีย เป็นต้น แม้กระทั่งมูลสัตว์นำมาผ่านกระบวนการเผาไหม้ที่มีการควบคุม อุณหภูมิและอากาศหรือจำกัดอากาศให้เข้าไปเผาไหม้น้อยที่สุดซึ่งกระบวนการเผาไหม้นี้ เรียกว่า “การแยกสลายด้วยความร้อนหรือกระบวนการไพโรไลซิส” ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนหรือมีออกซิเจนน้อยมาก มีงานวิจัยที่ได้ศึกษาการใช้ประโยชน์ของถ่านชีวภาพมีหลายด้าน เช่น การปรับปรุงดิน และช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงลดระยะเวลาการปลูกได้อีกด้วย แล้วแต่ชนิดของพืชที่ปลูก มีงานวิจัยที่นำถ่านชีวภาพไปใช้กับพืชทางการเกษตร ใช้เป็นวัสดุปลูกร่วมกับวัสดุอื่น เพื่อผลิตผลผลิตทางการเกษตร การลดการดูดซับสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืชและศัตรูพืช และโลหะหนักที่อยู่ในดินและน้ำ ของพืชที่ปลูก โดยถ่านชีวภาพจะตรึงสารเคมีกลุ่มนี้ไว้ ทำให้ลดผลกระทบต่อพืชที่ปลูกจากสารเคมีและโลหะหนักที่ปนเปื้อน ใช้ดูดซับน้ำมันปิโตรเลียม ใช้เป็นตัวเร่ง ในปฏิกริยาในกระบวนการผลิตไบโอดีเซละและไบโอแก๊ส ใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์ ผลิตกราฟีน เป็นต้น
คำสำคัญ : biochar  kiln  กราฟีน  ความร้อน  ดูดซับ  ตัวเร่ง  เตา  เตาไบโอชาร์  ถ่าน  ถ่านชีวภาพ  บำบัดน้ำเสีย  ไบโอชาร์  ปนเปื้อน  ปรับปรุงดิน  ปุ๋ยหมัก  ผักสวนครัว  ไม้ผล  โลหะหนัก  สมุนไพร  สารเคมีปนเปื้อน  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 60762  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย  วันที่เขียน 26/10/2562 20:32:24  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 9/5/2567 22:31:55
Phayao Research Conference 7 » ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำมะเกี๋ยงในระหว่างการให้ความร้อนแบบโอห์มมิค
โครงการวิจัยนี้ ดำเนินการศึกษาการให้น้ำมะเกี๋ยงสกัดสดด้วยการให้ความร้อนระบบด้วยเซลล์โอห์มมิคแบบสถิตย์ ขนาดห้องปฏิบัติการโดยใช้ความเข้มของสนามไฟฟ้า 3 ระดับ (10, 15 และ 20 โวลต์ต่อเซ็นติเมตร) ในช่วงอุณหภูมิ 25 ถึง 95 องศาเซลเซียส จากผลการศึกษาพบว่าค่าการนำไฟฟ้าของน้ำมะม่วงที่ช่วงอุณหภูมิ 30 ถึง 95 องศาเซลเซียส ผลของความเข้มของสนามไฟฟ้าไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสมบัติการนำไฟฟ้าอย่างที่นัยสำคัญ (ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95) ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำมะเกี๋ยงที่ได้จากการทดลองมีค่าอยู่ระหว่าง 0.1878-0.3677 ซีเมนต์ต่อเมตร เมื่ออุณหภูมิของน้ำมะเกี๋ยงเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ค่าการนำไฟฟ้ามีค่ามากขึ้นในรูปแบบสมการเชิงเส้น แบบจำลองทางคณิตศาสตร์แสดงบ่งชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของค่าการนำไฟฟ้าและอุณหภูมิ ผลการทำนายค่าการนำไฟฟ้าของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์พบว่ามีความแม่นยำในการทำนาย และมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจสูงสุด (R2) เท่ากับ 0.9975 ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะการเกิดความร้อนด้วยวิธีโอห์มมิคเท่ากับ 70.24  2.91, 79.27  1.41, 74.69  1.71 เปอร์เซ็นต์ ที่ระดับความเข้มสนามไฟฟ้าที่ 10, 15 และ 20 โวลต์ต่อเซ็นติเมตร ตามลำดับ
คำสำคัญ : น้ำมะเกี๋ยง สมบัติการนำไฟฟ้า การให้ความร้อนแบบโอห์มมิค  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2420  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ฤทธิชัย อัศวราชันย์  วันที่เขียน 12/3/2561 20:19:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/5/2567 7:17:23
Phayao Research Conference 7 » จลนพลศาสตร์ของสลายของแอนโทไซยานินของน้ำมะเกี๋ยงด้วยการให้ความร้อน
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิต่อการสลายตัวของปริมาณแอนโธไซยานินในน้ำมะเกี๋ยงด้วยการแปรรูปด้วยความร้อนที่อุณหภูมิที่อุณหภูมิ ที่ 75, 85 และ 95 องศาเซลเซียส ตามลำดับ น้ำมะเกี๋ยงที่ผ่านการให้ความร้อนที่อุณหภูมิต่างๆ นำมาวิเคราะห์หาปริมาณแอนโธไซยานินผลการศึกษาพบว่าปริมาณแอนโธไซยานินของน้ำมะเกี๋ยงสกัดมีค่าเท่ากับ 30.180.574 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และเมื่อนำมาผ่านความร้อนเพื่อการแปรรูปที่ 75, 85 และ 95 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที พบว่ามีปริมาณแอนโธไซยานินได้เท่ากับ 27.080.19, 24.234.26 และ 23.560.39 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ตามลำดับ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อการสลายปริมาณแอนโธไซยานิน และมีแนวโน้มลดลงอย่างนัยสำคัญ (ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95) ผลการสลายตัวของปริมาณแอนโธไซยานินที่เวลาใดๆ ในระหว่างการให้ความร้อนที่เวลาใดๆ พบว่าแบบจำลองของจลนพลศาสตร์ปฏิกิริยาอันดับหนึ่งมีความเหมาะสม
คำสำคัญ : น้ำมะเกี๋ยง แอนโธไซยานิน การให้ความร้อน ผลกระทบของอุณหภุมิ แบบจำลองจลนพลศาสตร์  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2864  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ฤทธิชัย อัศวราชันย์  วันที่เขียน 12/3/2561 20:14:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/4/2567 0:18:25