Blog : รายงานการอบรม ประชุมวิชาการ
รหัสอ้างอิง : 1698
ชื่อสมาชิก : นฤมล เข็มกลัดเงิน
เพศ : หญิง
อีเมล์ : naruemon_k@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 26/8/2557 10:48:10
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 26/8/2557 10:48:10

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : รายงานการอบรม ประชุมวิชาการ
รายงานสรุปเกี่ยวกับการอบรม การประชุมวิชาการ
รายงานการอบรม ประชุมวิชาการ » สรุปการเข้าอบรบเรื่อง การจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังผู้เรียน มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ การคิดค้นนวัตกรรม (1 ก.พ. 66)
ความคิดสร้างสรรค์ คือความคิดที่แตกต่างไปจากความคิดเดิม แรงจูงใจของเรื่องการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู ครูอาจารย์เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ได้ การจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ ควรจัดให้มีการเรียนการเรียนรู้หลากหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อดีแตกต่างกัน
คำสำคัญ : เทคนิคการสอน ความคิดสร้างสรรค์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 512  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน นฤมล เข็มกลัดเงิน  วันที่เขียน 1/3/2566 17:02:18  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 1/5/2567 22:57:37
รายงานการอบรม ประชุมวิชาการ » องค์ประกอบของ research articles
องค์ประกอบของ research article ประกอบด้วย Abstract Introduction Methodology Results และ Discussion/conclusion โดย Abstract จะแสดงถึงความสำคัญของเปเปอร์และจะทำให้ผู้อ่านตัดสินใจว่าจะต้องการอ่านเปเปอร์นี้ต่อไปหรือไม่ สามารถแบ่ง Abstracts เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) criticle abstract 2) descriptie abstract 3) informative abstract และ 4) highlight abstract
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1512  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน นฤมล เข็มกลัดเงิน  วันที่เขียน 30/9/2564 22:34:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/5/2567 17:14:36
รายงานการอบรม ประชุมวิชาการ » สรุปเนื้อหาการเข้าร่วมประชุมประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การตรวจสอบหาพ่อแม่พันธุ์แตงกวาเพื่อผลิตแตงกวาลูกผสมที่มีลักษณะดีเด่น ในการทดลองได้ทดสอบผสมพันธุ์ระหว่างพ่อพันธุ์ที่มีดอกเป็นดอกกระเทยทั้งหมด 23 พันธุ์และพันธุ์แม่ที่มีแต่ดอกเพศเมียจำนวน 2 พันธุ์ พบว่าสายพันธุ์ลูกผสม 3 คู่ผสมให้ผลผลิตสู มีลักษณะดีเด่นที่ดีกว่าพ่อแม่ อาจเป็นเพราะสายพันธุ์พ่อแม่ที่ใช้สำหรับคู่ผสมนี้มีฐานพันธุกรรมที่แตกต่างกันมาก สำหรับการศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของฝรั่งในแปลงรวบรวมพันธุ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยเทคนิค RAPD พบว่าฝรั่งพันธุ์สาลี่ทองและพันธุ์กิมจูมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมมากที่สุด คือ 0.96 สอดคล้องกับลักษณะฟีโนไทป์ที่มีความหนาเนื้อ จำนวนเมล็ดน้อยใกล้เคียงกันกัน ส่วนพันธุ์ที่มีความแตกต่างทางพันธุกรรมมากที่สุด คือ ฝรั่งพันธุ์จิตรลดา และพันธุ์หวานพิรุณ ซึ่งฝรั่งพันธุ์จิตรลดาจะมีความแตกต่างจากฝรั่งพันธุ์อื่นๆ เนื่องจากมีลักษณะใบหยิก และมีผลขนาดเล็ก เมื่อแสดงผลในรูปแผนภูมิความสัมพันธ์ (dendrogram) สามารถแบ่งฝรั่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ซึ่งค่าความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมนี้สามารถนำไปใช้ประกอบการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ฝรั่ง เพราะพันธุ์พ่อและแม่ที่มีฐานทางพันธุกรรมต่างกัน เมื่อนำมาผสมกันลูกผสมที่ได้จะมีโอกาสเกิดความดีเด่นของลูกผสม (Heterosis) ในอัตราสูง
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2973  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน นฤมล เข็มกลัดเงิน  วันที่เขียน 5/9/2561 13:58:57  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 30/4/2567 0:21:54
รายงานการอบรม ประชุมวิชาการ » การศึกษายีนที่เกี่ยวข้องกับ abiotic stress ในข้าว จากการประชุมพันธุศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 20
Genome-wide association study (GWAS) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลำดับเบสที่แตกต่างกันในจีโนมของกลุ่มประชากรหนึ่งๆ ต่อลักษณะฟีโนไทป์หนึ่งๆ ที่มีความแตกต่างกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบบริเวณของดีเอ็นเอที่เกี่ยวข้องกับลักษณะฟีโนไทป์ที่สนใจนั้น ซึ่งในการวิเคราะห์หาบริเวณดีเอ็นเอที่มีความสัมพันธ์กับลักษณะที่ศึกษานั้น นอกจากข้อมูลลำดับดีเอ็นเอแล้ว อาจจะต้องใช้ข้อมูล transcriptomes proteomics และ metabolomics ร่วมวิเคราะห์ด้วย ในการศึกษายีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทนเค็มในข้าวพบว่ายีนยีน CROOK-NECKED อาจบทบาทสำคัญต่อการตอบสนองต่อการทนเค็ม และอาจเกี่ยวข้องกับการควบคุมการตอบสนองหรือปรับตัวต่อสภาวะความเครียดจากความเค็มในข้าว
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 10108  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน นฤมล เข็มกลัดเงิน  วันที่เขียน 4/9/2560 19:24:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/5/2567 22:24:47
รายงานการอบรม ประชุมวิชาการ » การประชุมวิชาการจีโนมิกส์และพันธุศาสตร์ (GGC 2016)
การประชุมวิชาการจีโนมิกส์และพันธุศาสตร์มีวัตถุประสงค์ต้องการที่จะติดตามความก้าวหน้าของงานวิจัยทางด้านพันธุศาสตร์ในประเทศไทย ดังนั้นในงานประชุมนี้จึงมีการนำเสนอความก้าวหน้าเกี่ยวกับงานวิจัยในด้านนี้เป็นจำนวนมาก หลากหลายด้าน ทั้งการนำความรู้ทางด้านพันธุศาสตร์ไปใช้ในการรักษาโรคทางพันธุกรรม การนำข้อมูลดีเอ็นเอของผู้นำเพื่อในไปใช้ในการออกแบบยาที่จำเพาะเจาะจงกับผู้ป่วย หรือการนำข้อมูลทางด้านดีเอ็นเอมาค้นหาสาเหตุและความสัมพันธ์ของโรคต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอเทคนิคใหม่ๆ เช่นเทคนิคการเปลี่ยนแปลงลำดับดีเอ็นเอในจีโนมของสิ่งมีชีวิต (genome editing)คือเทคนิค CRISPR-Cas9 ซึ่งเป็นเทคนิคที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน และพยายามนำวิธีนี้มาใช้ในการรักษาโรคทางพันธุกรรม ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช เป็นต้น
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3383  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน นฤมล เข็มกลัดเงิน  วันที่เขียน 5/9/2559 17:15:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 1/5/2567 8:32:19
รายงานการอบรม ประชุมวิชาการ » การประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพทางด้านอาหารของพืชดัดแปลงพันธุกรรม
ประเทศไทยมีการนำเข้าพืชดัดแปลงพันธุกรรม เช่น ถั่วเหลืองต้านทานยาปราบวัชพืช และข้าวโพดต้านทานหนอนเจาะฝัก มาเพื่อใช้ประโยชน์หลายด้าน ทั้งเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ หรือใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ซึ่งในกระบวนการนำเข้าพืชดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้จะต้องผ่านการตรวจสอบการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพทางด้านอาหารก่อน โดยกระบวนการประเมินเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างองค์การอาหารและยา (อย.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่ง สวทช.จะต้องคณะผู้เชี่ยวชาญมาประเมินพืชดัดแปลงพันธุกรรมนั้น โดยมีกรอบประเด็นการประเมินอยู่ 4 ด้านคือ ด้านชีววิทยาโมเลกุล ด้านโภชนาการ ด้านการก่อพิษ และการก่อภูมิแพ้ การประเมินจะประเมินบนพื้นฐานความเทียบเท่าโดยสาระสำคัญ (substantial equivalence)โดยพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่จะนำเข้านั้นจะต้องมียีน ลักษณะการแสดงออก การถ่ายทอดทางพันธุกรรมเป็นไปตามคุณสมบัติของพืชดัดแปลงพันธุกรรมนั้น พร้อมทั้งมีสารอาหารที่ครบถ้วนไม่แตกต่างจากพืชคู่เทียบ(ไม่มีการตัดแปลงพันธุกรรม) และโปรตีนที่เกิดจากยีนที่ใส่เข้าไปจะต้องไม่ก่อให้เกิดพิษและก่อภูมิแพ้ หรือไม่มีหลักฐานชี้นำที่จะก่อพิษและก่อภูมิแพ้เมื่อเทียบกับฐานข้อมูลสารพิษและสารก่อภูมิแพ้
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4008  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน นฤมล เข็มกลัดเงิน  วันที่เขียน 15/3/2559 9:46:06  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/4/2567 3:22:59
รายงานการอบรม ประชุมวิชาการ » รายงานสรุปการเข้าร่วมประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 19 (ก.ค. 2558)
ข้าพเจ้านางสาวนฤมล เข็มกลัดเงินได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2558 ขอรายงานการประชุมวิชาการโดยขอสรุปเรื่องที่สนใจหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของข้าพเจ้าในหัวข้อ การศึกษายีน regulator กลุ่ม WD40 ในปทุมมา (Curcuma alismatifolia Gagnep.) ในงานวิจัยนี้ได้แยกยีน WD40 จากปทุมมา แล้วจึงศึกษาระดับการแสดงออกของยีนนี้ใน ดอก กลีบประดับ และใบของปทุมมา พบว่ายีนนี้แสดงออกมากในกลีบประดับทุกระยะ ซึ่งสอดคล้องกับการสะสมของเม็ดสีแอนโทไซยานิน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่ายีนนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับการควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในกลีบประดับของปทุมมา
คำสำคัญ : ปทุมมา แอนโทไซยานิน WD40 การประชุมพันธุศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 19  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3567  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน นฤมล เข็มกลัดเงิน  วันที่เขียน 4/9/2558 11:51:30  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 1/5/2567 8:34:28
รายงานการอบรม ประชุมวิชาการ » เทคนิค Flow cytometry และการประยุกต์ใช้เพื่อการวิเคราะห์จำนวนชุดของโครโมโซมในพืช
Flow cytometry เป็นเทคนิคที่ใช้ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของเซลล์ โดยอาศัยหลักการกระเจิงของแสงเลเซอร์เมื่อตกกระทบเซลล์หรือโมเลกุลของสารเรืองแสงที่ติดกับสารภายในเซลล์ ทำให้สามารถวัดขนาดของเซลล์ ทราบถึงความซับซ้อนขององค์ประกอบภายในเซลล์ ทราบถึงชนิดของเซลล์ ทราบปริมาณสารภายในเซลล์ เทคนิคนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ เช่น การนับจำนวนเซลล์ การแยกชนิดของเซลล์ การวัดขนาดของจีโนม การประมาณจำนวนชุดของโครโมโซมภายในเซลล์พืช ในการวิเคราะห์ขนาดของจีโนมและการวิเคราะห์จำนวนชุดของโครโมโซม ทำได้โดยการย้อมดีเอ็นเอด้วยสารสีเรืองแสงแล้วจึงนำนิวเคลียสนั้นไปวิเคราะห์ด้วยเครื่อง flow cytometer นำค่าความเข้มของแสงฟลูออเรสเซนส์ที่วัดจากการเรืองแสงของสารสีเรืองแสงของตัวอย่างซึ่งเป็นค่าที่สะท้อนถึงปริมาณดีเอ็นเอภายในเซลล์ไปเปรียบเทียบกับค่าความเข้มของแสงฟลูออเรสเซนส์ของเซลล์มาตรฐานและเซลล์อ้างอิงที่ทราบถึงขนาดของจีโนมและทราบจำนวนชุดของโครโมโซมที่แน่นอนแล้ว จะทำให้เราทราบขนาดของจีโนมหรือจำนวนชุดของโครโมโซมของพืชที่ศึกษาได้
คำสำคัญ : flow cytometry  โครโมโซม  จำนวนชุดของโครโมโซม  เซลล์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 40343  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน นฤมล เข็มกลัดเงิน  วันที่เขียน 16/3/2558 10:18:24  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/5/2567 20:52:55

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้