ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)
วันที่เขียน 24/9/2567 23:02:05     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/10/2567 3:30:07
เปิดอ่าน: 131 ครั้ง

ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) มีความสำคัญในการป้องกันและควบคุมอันตรายที่เกี่ยวข้องกับชีวภาพ โดยความปลอดภัยเน้นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ขณะที่การรักษาความปลอดภัยเน้นการควบคุมการเข้าถึงและการใช้สิ่งมีชีวิตหรือสารชีวภาพที่มีความเสี่ยงสูง หากมีความรู้และทักษะที่ได้จากการฝึกอบรมจะช่วยป้องกันอันตรายทางชีวภาพ และส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมให้มีความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานดังนี้ 1. เพิ่มความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดการกับสารชีวภาพอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ 2. ป้องกันอุบัติเหตุ ทำให้ลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุและการติดเชื้อจากการทำงานกับสารชีวภาพที่อาจเป็นอันตราย 3. เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ปฏิบัติงานในการจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ 4. ได้เรียนรู้และเข้าใจถึงมาตรฐานและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทำให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมาย 5. เพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง และ 7. ป้องกันการปนเปื้อน ทำให้ลดโอกาสของการปนเปื้อนที่อาจส่งผลต่อความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของผลการทดลอง

            ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) มีความสำคัญในการป้องกันและควบคุมอันตรายที่เกี่ยวข้องกับชีวภาพ โดยความปลอดภัยเน้นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ขณะที่การรักษาความปลอดภัยเน้นการควบคุมการเข้าถึงและการใช้สิ่งมีชีวิตหรือสารชีวภาพที่มีความเสี่ยงสูง
            โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)" ซึ่งได้รับการอบรมในหัวข้อ ดังนี้:

1. พรบ. เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ :
- กฎหมายว่าด้วยเรื่องเชื้อโรคและพิษจากสัตว์
- กฎหมายว่าด้วยเรื่องอาชีวอนามัย
- ข้อกำหนดของสหประชาชาติ
- ข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก

2. การรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ :
- ความหมาย องค์ประกอบ และหลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ

3. การจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพ :
- ความสำคัญของการจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพ
- การประเมินความเสี่ยง (Risk assessment)
- การจัดการและการควบคุมความเสี่ยงทางชีวภาพ

4. การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ :
- การออกแบบสถานที่ การจัดวางเครื่องมือและอุปกรณ์ ในสถานปฏิบัติการ (Facility Design)
- อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย (Safety Equipment)
- การปฏิบัติที่ดีทางจุลชีววิทยา (Good Microbiological Practice)

5. อุปกรณ์ปกป้องร่างกายส่วนบุคคล :
- ความหมายและความสำคัญของอุปกรณ์ PPE
- วิธีการเลือกใช้อุปกรณ์ PPE
- มาตรฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์ PPE
- ชนิดของอุปกรณ์ PPE

 

6. อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย :
- ตู้ควบคุมแรงลม (Ventilated engineered hood): ตู้ชีวนิรภัย (Biological Safety Cabinet: BSC), Clean Bench และ Fume Hood
- เครื่องหมุนเหวี่ยง (Centrifuge)

7. การทำลายเชื้อโรค :
- ประเภท หลักการ และวิธีการทำลายเชื้อ หรือทำให้ปราศจากเชื้อจุลชีพ
- การเลือกใช้วิธีการทำลายเชื้อ หรือทำให้ปราศจากเชื้อจุลชีพที่เหมาะสม
- การประเมินประสิทธิภาพการทำลายเชื้อ หรือทำให้ปราศจากเชื้อจุลชีพ

8. การขนส่งเชื้อโรค :
- วิธีปฏิบัติในการบรรจุ การแสดงรายละเอียด และการ ขนส่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์

9. การกำจัดขยะ :
- กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
- การเก็บรวบรวม การเคลื่อนย้าย และการกำจัดขยะประเภท ต่าง ๆ ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะติดเชื้อ ขยะมีคม ขยะรังสี ขยะ เคมี ขยะพิษ ซากสัตว์

10. การจัดการสารชีวภาพรั่วไหล :
- องค์ประกอบของชุดจัดการสารชีวภาพหกหล่น/รั่วไหล
- ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุสารชีวภาพหกหล่น/รั่วไหล ในสถานปฏิบัติการ ในตู้ชีวนิรภัย และในเครื่องมือ
-  การรายงานอุบัติการณ์

            นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบอมภาคปฏิบัติ ได้แก่

1. ฝึกปฏิบัติส่วมใส่แลถอดชุด PPE :
- ฝึกการสวมใส่และการถอด PPE
- ฝึกการจัดการ PPE หลังใช้งาน
- ฝึกการล้างมือ

2. ฝึกปฏิบัติ spill :
- จำลองเหตุการณ์สารชีวภาพรั่วไหล ในสถานปฏิบัติการ ในตู้ชีวนิรภัย และในเครื่อง centrifuge
- ฝึกปฏิบัติการใช้ชุดจัดการสารชีวภาพรั่วไหล
- ฝึกการเขียนรายงานอุบัติการ

3. ฝึกปฏิบัติการออกแบบสถานที่ : ฝึกปฏิบัติการวางแผนผังในสถานปฏิบัติการ การแยกพื้นที่สะอาดและพื้นที่ปนเปื้อนการพิจารณาทิศ ทางการไหลเวียนของอากาศ การจัดวางเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีผลต่อความปลอดภัยทางชีวภาพ การกำหนด เส้นทางการเข้า-ออก ของคน ตัวอย่าง และวัตถุติดเชื้อ การจัดการพื้นที่เพื่อรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ

           มีประโยชน์ต่อหน่วยงานดังนี้
1. ป้องกันอุบัติเหตุและการติดเชื้อ : การอบรมช่วยให้บุคลากรเข้าใจถึงวิธีการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อหรือการบาดเจ็บจากสารชีวภาพที่เป็นอันตราย
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน : บุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นใจมากขึ้น
3. ลดความเสี่ยงของการปนเปื้อน : การอบรมช่วยให้บุคลากรตระหนักถึงวิธีการป้องกันการปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีผลต่อความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของผลการทดลอง
4. ปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐาน : การอบรมช่วยให้บุคลากรรู้จักและปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพ
5. ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย : การอบรมสร้างจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัยในองค์กร ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการรักษาความปลอดภัยและป้องกันอุบัติเหตุ
6. การตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน : บุคลากรที่ผ่านการอบรมจะสามารถตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
7. ป้องกันการนำสารชีวภาพไปใช้ในทางที่ผิด : ช่วยลดความเสี่ยงที่สารชีวภาพจะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด
8. เสริมสร้างความน่าเชื่อถือ : หน่วยงานที่มีการอบรมความปลอดภัยทางชีวภาพจะได้รับความน่าเชื่อถือ
9. รักษาสุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากร : ทำให้บุคลากรมีสุขภาพที่ดีและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
เบญญาภา หลวงจินา » ความปลอดภัยในห้องปฏฺิบัติการเคมี
ปัจจุบันกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องนำสารเคมีหลากหลายชนิดเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรมและด้นอื่น ๆ รวมทั้งสารเคมีเป็นส่วนประกอบที่ส...
ความปลอดภัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน เบญญาภา หลวงจินา  วันที่เขียน 29/8/2567 15:42:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/10/2567 21:17:36   เปิดอ่าน 189  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
นโยบายการขับเคลื่อนความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดย นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึง การลงทะเบียนเพื่อขอรับเ...
Peer Evaluation  การขอทุนวิจัยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ  ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 29/8/2567 13:43:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/10/2567 0:52:52   เปิดอ่าน 136  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง