UX/UI Design ต่างกันอย่างไร
วันที่เขียน 6/9/2567 14:14:09     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/10/2567 3:39:02
เปิดอ่าน: 69 ครั้ง

การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล มีความสำคัญมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Design: UX Design) และการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (User Interface Design: UI Design) ซึ่งเป็นศาสตร์สองแขนงที่ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานที่มีประสิทธิภาพและน่าพึงพอใจสำหรับผู้ใช้ ซึ่งมีส่วนในการเพิ่มยอดผู้ใช้งานมากขึ้น

                                     UX/UI Design ต่างกันอย่างไร 
                                      
   

              UX ย่อมาจากคำว่า “User Experience” แปลว่า ประสบการณ์ของ “ผู้ใช้งาน (User)” เป็นศาสตร์แห่งการพยายามทำความเข้าใจความนึกคิดและพฤติกรรมของคน เพื่อนำข้อมูลมาแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และทำให้ประสบการณ์การใช้งานดีขึ้น
UX Design คืออะไร ?

  • UX Design หรือการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ คือกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการดิจิทัลโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก โดยมุ่งเน้นที่การสร้างประสบการณ์การใช้งานที่มีประสิทธิภาพ ราบรื่น และไม่ซับซ้อน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว
  • UX Designer มีหน้าที่รับผิดชอบในการเข้าใจความต้องการของผู้ใช้ วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการใช้งาน ออกแบบกระบวนการและฟีเจอร์ต่างๆ ให้ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพ และทดสอบการใช้งานกับผู้ใช้จริง เพื่อรวบรวมข้อมูลและข้อเสนอแนะมาปรับปรุงการออกแบบให้ดีขึ้นนั่นเอง
          
    •  UI ย่อมาจากคำว่า “User Interface” เป็นศิลปศาสตร์ในการออกแบบส่วนเชื่อมต่อผู้ใช้งาน เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน เป็นต้น

    UI Design คืออะไร ?

    • UI Design หรือการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ คือกระบวนการออกแบบรูปลักษณ์และการใช้งานของผลิตภัณฑ์หรือบริการดิจิทัล โดยมุ่งเน้นที่การสร้างส่วนต่อประสานที่ใช้งานง่าย สวยงาม และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
    • UI Designer มีหน้าที่รับผิดชอบในการออกแบบองค์ประกอบต่างๆ ของส่วนต่อประสานผู้ใช้ เช่น ไอคอน รูปภาพ ปุ่ม เมนู ข้อความ และอื่นๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจและใช้งานผลิตภัณฑ์หรือบริการได้อย่างง่ายดาย

      ความต่างระหว่าง UX Design VS UI Design ?

       
      องค์ประกอบ UX Design UI Design
      จุดมุ่งหมาย มุ่งเน้นที่การสร้างประสบการณ์การใช้งานที่มีประสิทธิภาพ ราบรื่น และไม่ซับซ้อน มุ่งเน้นที่การสร้างส่วนต่อประสานที่ใช้งานง่าย
      สวยงาม และ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
      ขอบเขต ครอบคลุมทุกแง่มุมของประสบการณ์การใช้งาน เช่น กระบวนการ ฟีเจอร์ เนื้อหา และบริบทการใช้งาน ครอบคลุมเฉพาะรูปลักษณ์ และ
      การใช้งานของส่วนต่อประสานผู้ใช้
      ทักษะที่จำเป็น ความเข้าใจความต้องการของผู้ใช้ การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการใช้งาน การออกแบบกระบวนการและฟีเจอร์ต่างๆ ทดสอบการใช้งาน การวาดภาพ การออกแบบกราฟิก การออกแบบตัวอักษร การออกแบบเชิงโต้ตอบ

      ความสำคัญของ UX/UI Design 

       UX และ UI สำคัญเนื่องจากการออกแบบประสบการณ์ที่ดี จะทำให้ผู้ใช้งานให้ Value กับสินค้าหรือบริการเพิ่มมากขึ้น โดย UX/UI จะมีบทบาทสำคัญ ดังนี้

      1. ตอบสนองความต้องการ: การใช้ UX จะทำให้รู้จักผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้สามารถออกแบบ หรือสร้างสินค้าที่ตรงใจ และตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้
      2. ทำให้ใช้งานได้ง่าย: หากผู้ใช้ต้องการทำภารกิจบางอย่าง แต่มีอุปสรรคเกิดขึ้นเต็มไปหมด จะทำให้ผู้ใช้งานไม่อยากจะไปต่อ ดังนั้นการออกแบบ UX/UI จะเข้ามาช่วยทำให้ผู้ใช้สามารถทำภารกิจนั้นได้ราบลื่นมากยิ่งขึ้น
      3. ทำให้เข้าถึงได้ง่าย: การออกแบบประสบการณ์ที่ดี ไม่เพียงแต่ออกแบบการใช้งานให้ดี แต่ต้องคำนึงถึงตอนที่ผู้ใช้งานกำลังจะเข้ามาใช้ด้วย ซึ่งการที่ผู้ใช้งานเข้ามาถึงตัวสินค้า หรือบริการได้ง่ายขึ้น ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสต่าง ๆ ได้
      4. ทำให้สวยงาม: UI จะเข้ามาช่วยเรื่อง Visual ของผู้ใช้ ทำให้หน้าตาเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันดูสะอาด ดูสวยงาม ช่วยเพิ่มความประทับใจให้กับผู้ใช้
      5. สร้างความน่าเชื่อถือ: การที่ประสบการณ์การใช้งาน และหน้าตาเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันออกมาดี แสดงถึงความใส่ใจต่อตัวผู้ใช้งาน จะยิ่งช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้เพิ่มมากขึ้น
      6. รักษาลูกค้าเก่า: การที่ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดี ก็ย่อมทำให้เกิดความประทับใจ และอยากกลับมาใช้งานอีกครั้งเมื่อมีโอกาส
      7. ดึงดูดลูกค้าใหม่: เมื่อผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดี ก็อาจเกิดการบอกต่อ ทำให้สามารถดึงดูดผู้ใช้งานใหม่ ๆ เข้ามาได้

       

      สรุป

      UX Design และ UI Design เป็นศาสตร์สองแขนงที่มีความสำคัญในการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล โดย UX Design มุ่งเน้นที่การสร้างประสบการณ์การใช้งานที่มีประสิทธิภาพ ราบรื่น และไม่ซับซ้อน ในขณะที่ UI Design มุ่งเน้นที่การสร้างส่วนต่อประสานที่ใช้งานง่าย สวยงาม และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้

      การออกแบบ UX/UI ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน สร้างประสบการณ์ที่ดี และเพิ่มยอดขายและรายได้ให้กับธุรกิจ

       ในกระบวนการสร้างสรรค์ซอฟต์แวร์ เราเข้าใจนิยามของ UX กับ UI คลาดเคลื่อนกัน เนื่องจากหน้าตาของซอฟต์แวร์เป็นสิ่งแรกที่คนเห็นตอนเริ่มใช้งาน แต่ความสวยงามที่เรามองเห็นเป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งที่อยู่บนผิวน้ำเท่านั้น ยังมีองค์ประกอบอีกหลายส่วนที่มีผลต่อการสร้างประสบการณ์ UI จึงไม่ใช่ตัวกำหนดประสบการณ์ใช้งานทั้งหมด อาจกล่าวได้ว่า UI เป็นส่วนหนึ่งของ UX เท่านัั้น

                                                             

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1508
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
การพัฒนาโปรแกรม » การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร
การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยการนำระบบจัดเก็บและทำลายเอกสารมาช่วยปรับปรุงประสิทธิผล ในกระบวนการทำ...
Re-Design Process?  ระบบจัดเก็บและทำลายเอกสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 5/9/2567 11:45:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/10/2567 11:23:56   เปิดอ่าน 163  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » ข้อมูลเปิด (Open Data) เบื้องต้น
ข้อมูลเปิด (Open Data) คือ ข้อมูลที่สามารถเข้าถึง ใช้งาน แก้ไข และแบ่งปันได้โดยไม่จำกัดข้อกำหนดหรือค่าใช้จ่าย ข้อมูลเปิดมักถูกเผยแพร่ในรูปแบบที่สามารถอ่านและวิเคราะห์ได้ง่าย เช่น ไฟล์ CSV, JSON, หร...
การเข้าถึง  การใช้งาน  การแบ่งปัน  การเปิดเผย  ข้อมูลเปิด     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 2/9/2567 9:45:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/10/2567 2:04:38   เปิดอ่าน 66  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » คุณธรรมจริยธรรมในการทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัย (2)
จรรยาบรรณและจริยธรรม ในการทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัยเกี่ยวข้องกับแนวทางเพื่อให้การใช้เทคโนโลยีในงานวิจัย การสอน และการบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีความรับผิดชอบและถูกต้องตามหลักจริยธรรม
การเข้าถึงและการรวมกลุ่ม  ความโปร่งใสและความรับผิดชอบ  จรรยาบรรณและจริยธรรม  เทคโนโลยี  แนวทางวิจัยที่มีจริยธรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 1/9/2567 12:56:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/10/2567 10:24:17   เปิดอ่าน 63  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » คุณธรรมจริยธรรมในการทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัย
จรรยาบรรณและจริยธรรม ในการทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัยเกี่ยวข้องกับแนวทางเพื่อให้การใช้เทคโนโลยีในงานวิจัย การสอน และการบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีความรับผิดชอบและถูกต้องตามหลักจริยธรรม
การใช้เทคโนโลยีอย่างรับผิดชอบ  ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล  จรรยาบรรณและจริยธรรม  เทคโนโลยี     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 1/9/2567 12:45:40  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/10/2567 0:54:02   เปิดอ่าน 64  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง