โครงการสนองงานในพระองค์

วัตถุประสงค์
1 

เป้าหมายการดำเนินงาน
1 

ลักษณะการดำเนินงาน
1จากการสำรวจเกษตรกรจำนวน 20 ราย พื้นที่ปลูกพืช 120 ไร่ พบว่าระยะก่อนเริ่มโครงการมีการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชไม่ต่ำกว่า 21 ชนิด จำแนกเป็น 8 กลุ่ม หรือแบ่งเป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ 4 ประเภท คือ สารกำจัดแมลง 11 ชนิด สารกำจัดโรคพืช 8 ชนิด สารกำจัดวัชพืชอีก 2 ชนิด หลังใช้สารพิษแล้ว เกษตรกรมีอาการปวดศีรษะมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 55 ของจำนวนสมาชิก อาการอื่นได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย คิดเป็นร้อยละ 30, 20 และ 5 ตามลำดับ และได้แนะนำให้ใช้ระบบเกษตร รวมถึงการปรับปรุงบำรุงดิน และการจัดการน้ำเพาะปลูกให้เหมาะสมกับความต้องการของพืช เพื่อหลีกเลี่ยง สภาวะการเกิดศัตรูพืชระบาด (สมปอง และมณฑาทิพย์.2540) ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสารพิษทางการเกษตร จากทศวรรษที่ผ่านมามีความรุนแรงมาขึ้นเป็นลำดับ จากสารเคมีไม่กี่ชนิด เป็น 272 ชนิด ในปี พ.ศ.2534 และผสมเป็นสูตรต่างๆนำเสนอขายมากกว่า 2,000 ชื่อการค้าในท้องตลาด ซึ่งสร้างปัญหาในการจัดการศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้น ปัญหาอยู่ตรงที่ว่ายังไม่สามารถหาวิธีการอื่นที่จะใช้แทนการใช้สารเคมีทางการเกษตรได้อย่างเห็นผล ปัญหาสารพิษในห่วงโซ่อาหาร ปัญหาการจัดการวัตถุมีพิษ การจัดการศัตรูพืช ฯลฯ ควรมีการเปิดเผยข้อมูล และเผยแพร่ข่าวสารแก่สาธารณชนอย่างจริงจัง โดยการอบรมและถ่ายทอดให้แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการตามพื้นที่ เกษตรของประเทศโดยหาทางแก้ไขปัญหาศัตรูพืช เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ปลอดจากสารพิษตกค้างในท้องถิ่น(ประภัสสรา และยงยุทธ.2540) นอกจากนี้ ลมัย (2540) ได้รายงานไว้ว่าจุลินทรีย์ มีความสามารถในการผลิตเอนไซน์ขึ้นมาย่อยสลาย หรือกระตุ้นปฏิกิริยาบางอย่าง ดังนั้นปฏิกิริยาส่วนใหญ่ในดินยังควบคุมด้วยจุลินทรีย์ เช่น ขบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ขบวนการไนตริพิเคชั่น และจำนวนประชากรจุลินทรีย์ในดิน ดังนั้น การใช้สารกำจัดแมลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งอิทธิพลของสารกำจัดแมลงต่อจุลินทรีย์ในดินจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นกับความเป็นพิษของสารกำจัดแมลง และปริมาณที่ใช้การแสดงหาทางเลือกที่เหมาะสมในการใช้ที่ดินให้แก่เกษตรกร นับว่ายิ่งทวีความสำคัญเนื่องจากภาวะการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของระบบเศรษฐกิจโลก และของประเทศ ตลอดจนการขาดแคลนทรัพยากรทั้งในด้านน้ำ ที่ดิน และแรงงาน การประเมินหาทางเลือกที่เหมาะสมกับที่ดินเป็นงานที่ต้องอาศัยข้อมูลเชิงพื้นที่ และข้อมูลประกอบอื่นจำนวนมาก โดยเฉพาะในโครงการ หรืองานที่ครอบคลุมเนื้อที่กว้างขวาง เพื่อใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืชที่เหมาะสมที่สุด เมธี และคณะฯ (2536) นอกจากนี้ รพี (2536) ยังได้กล่าวว่า การเกษตรกรรมที่เคยพึ่งพาอาศัยธรรมชาติในอดีตได้ถูกแทรกแซงโดยระบบที่ใช้เครื่องจักรกล และสารเคมีรุนแรงมากขึ้น ส่งผลทำลายกลไกธรรมชาติให้สูญเสียไปอย่างรวดเร็ว และวีระพันธ์ (2536) ให้แนวคิดว่า การเกษตรในปัจจุบันมีการนำความความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุดตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ ในขณะเดียวกันการกระทำดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลง และปุ๋ยเคมีเป็นจำนวนมากซึ่งมีผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ผลผลิตที่ได้ก็เจือปนไปด้วยสารเคมี หลากหลายที่มีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค และยังทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ในดินลดลงอย่างรวดเร็ว การมีเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการอัดแน่นของดิน และความสามารถเก็บกักน้ำของดินลดลง การระบายน้ำและอากาสลดลง ในที่สุดการทำการเกษตรในพื้นที่เสียก็ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน แม้กระทั่งการใช้สารเร่งการเจริญเติบโตบางชนิด เป็นการฝืนธรรมชาติ ผลผลิตที่ได้มักจะมีคุณภาพต่ำ และรสชาติไม่ดีเท่าที่ควร ตามความเป็นจริงแล้ว วิธีการกระตุ้นพืชให้ได้ผลผลิตสูงออกผลเร็วสามารถกระทำได้โดยการปรับปรุงดิน การจัดแต่งกิ่งการควบคุมการให้น้ำ เป็นต้น จรัญ(2536)ได้กล่าวว่าพลเมืองของโลกเพิ่มขึ้นปีละ 100 ล้านคน คนไทยเพิ่มปีละ 1 ล้านคน คนเพิ่มขึ้นจำเป็นต้องกินอาหารในปริมาณมากขึ้น อาหารมนุษย์มาจากการเกษตรทั้งสิ้น มนุษย์จึงใช้ที่ดินในการเกษตรเพื่อผลิตอาหารมากยิ่งขึ้นทุกๆ เวลา การตัดไม้ทำลายป่าก็เพิ่มขึ้น การผลิตก็หาทางใช้วิธีการต่างๆมาเพิ่มผลผลิต จนทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาเป็นเงาตามตัว ดังนั้นควรใช้วัฒนเกษตรเป็นหลักในการวิจัยการพัฒนา และการผลิตทางเกษตร (รวมพืช สัตว์ ประมง ป่าไม้) เพื่อความอยู่รอดมนุษย์ และยังกล่าวอีกว่าการผลิตทางการเกษตรในสภาพพื้นที่หนึ่งจะนำไปใช้ในทุกๆ พื้นที่ไม่ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมมากมาย เช่น ปัจจัยการเกษตรนิเวศ ปัจจัยทางสังคมเศรษฐกิจ และอื่นๆ นอกจากนี้ ชนวน (2536) กล่าวไว้ว่าในช่วงการพัฒนาการเกษตรที่ผ่านมา 20-30 ปี จนถึงปัจจุบันไม่สามารถจะตอบปัญหาที่เกษตรต้องเผชิญกับการผลิตที่ขาดทุน ผลผลิตเสียหายจากภัยธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม ศัตรูพืชระบาด ตลอดจนราคาสินค้าเกษตรไม่แน่นอน ฯลฯ เกษตรกรยากจนลง และยังมองไม่เห็นทางออกโดยการใช้เทคโนโลยีที่คิดกันว่าจะเป็นทางออกที่ดีต่อเกษตรกร และยังกล่าวอีกว่า การทำเกษตรแบบสร้างความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ในระบบนิเวศเกษตรที่คล้ายกับนิเวศตามธรรมชาตินั้น จะช่วยทำให้เกิดผลดีต่อการผลิตได้ Doutt (1965) และ Doutt and Nakata(1965) ในชนวน (2536) ได้รายงานการทำให้เกิดความหลากหลาย และซับซ้อนในระบบนิเวศของการปลูกองุ่น ซึ่งช่วยให้การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (Integrated Pest Control) ประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้ ชนวน (2536) ยังกล่าวอีกว่า การนำพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ พันธุ์ปลา พันธุ์ไหม ฯลฯ ที่ปรับปรุงกันมากมาย นำไปปลูกในไร่-นา ของเกษตรกรในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน จะให้ผลแตกต่างกันทั้งปริมาณ และคุณภาพ นอกจากนั้น พันธุ์ที่คัดเลือกต่างๆ มักไม่ทนต่อโรค แมลง และศัตรูอื่นๆ ในท้องถิ่นแต่ละแห่ง ถ้าหากได้นำพันธุ์ต่างๆ เหล่านั้นมาคัดเลือกซ้ำจะทำให้เกษตรกรในแต่ละท้องถิ่น ได้มีพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่เหมาะสมกับสภาพตามธรรมชาติของแต่ละท้องถิ่นซึ่งมีความหมายแตกต่างกัน เนื่องจากพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ พันธุ์ปลา และวิธีการต่างๆ ต้องอาศัยความเหมาะสมแต่ละท้องถิ่น ดังนั้นสรรพสิ่งมีชีวิตทุกอย่างต้องอาศัยพื้นดิน อากาศ น้ำ และแสงแดดตามธรรมชาติในท้องถิ่นนั้นๆ และการให้ความรู้ ความเข้าใจ ด้วยการศึกษาวิจัยจะเป็นแนวทางหนึ่งของความอยู่รอดของเกษตรกรและสังคม นักศึกษาที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัย เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ ดังนั้นงานวิจัย การทำแปลงสาธิต การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ การปรับปรุงพันธุ์พืช-สัตว์ และการเริ่มต้นงานวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนผัง วางระบบพื้นที่จัดรูปแบบอย่างเหมาะสม การเปรียบเทียบการปลูกพืชร่วมกัน การปลูกพืชโดยวิธีไถพรวน หรือไม่ได้พรวน การใส่ปุ๋ย หรือไม่ใส่ปุ๋ย การใช้สารเคมี หรือไม่ใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืช แมลง โรค วัชพืช และอื่นๆทุกอย่างล้วนเป็นปัญหาที่พบอยู่เสมอ ที่น่าจะมีการแก้ไขวางระบบให้เป็นแนวทางเดียวกัน ซึ่งจะเป็นต้นแบบของการวิจัย และนำไปถ่ายทอดสู่นักศึกษา สู่ชุมชน สู่เกษตรกร และสู่สังคมต่อไป ตามแนวพระราชดำริขอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเน้นถึงความพอมี พอกิน มีการศึกษาวิจัย เพื่อให้นักศึกษาทุกมหาวิทยาลัย ได้ศึกษาอย่างละเอียด ก่อนสำเร็จการศึกษาออกไป การศึกษาและวิจัยจากแปลงจริง จะเป็นแนวทางหนึ่งที่มหาวิทยาลัยควรตระหนัก เพื่อประโยชน์อย่างแท้จริงของการไปทำงาน, ไปประกอบอาชีพ และไปเป็นตัวอย่างแก่ชุมชนในอนาคต. ปัจจุบันปุ๋ยน้ำชีวภาพเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการและเกษตรกร ปุ๋ยน้ำชีวภาพเป็นปุ๋ยน้ำที่ได้จาการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้จากส่วนต่างๆ ของพืชและสัตว์ โดยผ่านกระบวนการหมักในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน (anaerobic condition) โดยมีจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซากพืชและซากสัตว์ให้กลายเป็นสารละลาย รวมถึงการใช้เอนไซม์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมีการเติมเอนไซม์เพื่อเร่งการย่อยสลายทำให้เกิดกระบวนการย่อยสลายได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น จุลินทรีย์ที่พบในปุ๋ยชีวภาพมีทั้งที่ต้องการออกซิเจนและไม่ต้องการออกซิเจน มักเป็นกลุ่มแบคทีเรีย Bacillus sp., Lactobacillus sp., Streptococcus sp., นอกจากนี้ยังอาจพบเชื้อรา ได้แก่ Aspergillus niger, Pennicillium, Rhizopus และ ยีสต์ได้แก่ Canida sp. และพบว่าประเภทของปุ๋ยน้ำชีวภาพสามารถแบ่งออกตามวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ประเภทที่ผลิตมาจากพืช และประเภทที่ผลิตมาจากสัตว์ การเตรียมปุ๋ยน้ำชีวภาพ สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือน้ำตาลซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ ปัจจุบันได้นำน้ำตาลจาก อ้อย จากโรงงานผลิตน้ำตาลทรายแดง(ส่วนประกอบน้ำตาลทรายแดง มีแร่ธาตุต่างๆ ได้แก่ แคลเซียม โปแตสเซียม โซเดียม และ เหล็ก) ส่วนที่เหลือจากการสกัดเป็นน้ำตาลแล้วพบว่าเป็นกากน้ำตาล พบว่ากากน้ำตาลหรือน้ำตาลโมลาสมีส่วนประกอบ ดังนี้น้ำ20.65 % ซูโครส36.60 % รีดิวซิงซูการ์ 13.00 % น้ำตาลที่ใช้หมักเชื้อ50.10 % เถ้าซัลเฟต15.00 % ยางและแป้ง 3.43 % ขี้ผึ้ง 0.38 % ไนโตรเจน0.95 % ซิลิก้าในรูป SiO2 0.46 %ฟอสเฟต P2O5 0.12 %โพแทสเซียม K2O 4.19 % แคลเซียม CaO 1.35 %แมกนีเซียม MgO 1.12 % ดังนั้น ข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นแนวทางการปรับเปลี่ยนในการดำเนินงานแต่ยังไม่มีรูปแบบที่เหมาะสมที่จะให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้ จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ควรทำการศึกษาวิจัย โดยผ่านนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยก่อนจะสำเร็จออกไปรับใช้สังคม โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการทดลองทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ในรูปแบบที่ไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี แต่เน้นเรื่องการใช้จุลินทรีย์เป็นหลัก ได้มีการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ฮอร์โมนพชจากผลไม้ การสกัดสารพฤษเคมี(Phytochemical)จากสมุนไพรต่างๆ จนได้ปัจจัยการผลิตที่ผลิตภายในประเทศทั้งหมด ไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก จากการวิจัยทั้งหมด คือข้าว พืชไร่ต่างๆ พืชผัก ผลไม้ ปลา ไก่ สุกร โค กระบือ ผลวิจัยออกมาสามารถนำไปถ่ายทอดให้เกษตรกรได้ผลดี ปัจจุบัน ได้ทดลองปลูกข้าวอินทรีย์ส่งต่างประเทศ จากปี 2549 ถึงปี 2552 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 343 คอบครัว ในพื้นที่ 2400 ไร่ ทุกครอบครัวทำระบบเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด และกำลังขยายผลออกไปกับกลุ่มเกษตรกรที่สนใจจริงๆเท่านั้น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1 
2 
3 
4 
5 
6 
7 

หน่วยงานที่ร่วมโครงการ
1คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
2คณะผลิตกรรมการเกษตร

กิจกรรม
ไม่มีข้อมูล