ศักยภาพการตลาดการค้าชายแดนไทย-เมียนมาภายหลังสถานการณ์โควิด 19 กรณีศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : 0.6-65.5
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 พฤศจิกายน 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ศักยภาพการตลาดการค้าชายแดนไทย-เมียนมาภายหลังสถานการณ์โควิด 19 กรณีศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
บทคัดย่อ :

รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันการค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยให้มีมูลค่าที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการวางแนวทางการทำงานแบบบูรณาการในทุกภาคส่วนที่มุ่งเน้นการให้ความสนับสนุนและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในพื้นที่ เพื่อเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจการค้าตามแนวชายแดน เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายในการแก้ไขปัญหาความยากจนในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการณ์ของการค้าชายแดน ไทย-เมียนมา บริเวณจุดผ่อนปรน ทั้ง 5 จุดภายหลังโควิด-19 (2) ศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนเป็นจุดผ่านแดนถาวร และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาตลาดการค้าชายแดนไทย-เมียนมา ในแต่ละจุดผ่อนปรน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) คือจากผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการและผู้ประกอบการบริเวณจุดผ่อนปรนทั้ง 5 จุด โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน ใช้วิธีการวิเคราะห์มูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอเชิงพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่าจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนที่มีสภาพการณ์เหมาะสมในการค้าขายสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ผู้ประกอบการส่วนมากมีทั้งชาวไทยใหญ่และชาวเมียนมาที่เดินทางมาค้าขายในประเทศไทย โดยเช้าไปเย็นกลับ และสามารถสื่อสารได้สองภาษา (ภาษาไทยใหญ่ ภาษาพม่า) จึงสามารถสื่อสารกันได้ดี และในปัจจุบันสภาวะทางการค้าสามารถกลับมาดำเนินงานได้ตามปกติ จากผลงานวิจัยยังพบว่าจุดผ่อนปรนที่มีความเป็นไปได้ในการผลักดันเป็นจุดผ่านแดนถาวร คือจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนบ้านห้วยต้นนุ่น อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีศักยภาพ สภาพการณ์ที่ดีและเหมาะสมที่สุด ได้แก่ มีโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมขนส่งสะดวก ผู้ประกอบการในพื้นที่มีศักยภาพสูง การศักยภาพและแนวทางในการพัฒนาตลาดการค้าชายแดนนั้นพบว่ายังคงต้องมีการพัฒนาในด้านคุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่ โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆในการยกระดับผู้ประกอบการในพื้นที่ทั้งได้ด้านการบริหารความเสี่ยง ความสามารถทางการแข่งขันและองค์ความรู้เกี่ยวกับการตลาด

คำสำคัญ : ศักยภาพการค้า; การตลาด; การค้าชายแดน; ธุรกิจระหว่างประเทศ
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Marketing Potential of the Thai - Myanmar Checkpoints for Border Trade after the COVID-19 Situation: A Case Study of Mae Hong Son
Abstract :

The government is committed to driving Thailand's border and cross-border trade to have a consistently higher value by laying out an integrated approach to work in all sectors that focuses on providing support and Cooperation between government agencies, the private sector and the people in the area to support the border trade economy is a stimulus to the economy and is part of the policy to alleviate poverty in each area. Therefore, the objectives of this research were (1) to study the situation of five Thai - Myanmar checkpoints for border trade after COVID-19, (2) to study the possibility of developing checkpoints for border trade at the border checkpoint, and (3) to propose guidelines for developing Thai - Myanmar border trade market. This research was qualitative research and used semi-structured interview form to collect data from key informant, using purposive sampling method and they consists of 30 people, which include officials from government agencies, and entrepreneurs at all five border points. Data analyzed by the content analysis. The results revealed that the checkpoints for border trade had the most favorable conditions for consumer goods. Most entrepreneurs were Thai Yai and Myanmar, who can communicate in two languages (Thai Yai and Myanmar). Furthermore, the situation at the border checkpoint for trade has returned to normal in recent times. The research also found that the possible border point that could be pushed into permanent border is Ban Huai Ton Noon, Khun Yuam District, Mae Hong Son Province. Because it’s most appropriate and has the most suitable potential and conditions such as: infrastructure and convenient transportation, entrepreneurs in the area also have high potential. The potential and guidelines for the development of the border trade market still need to be developed in terms of the characteristics of modern entrepreneurship by utilizing cooperation from various sectors in raising the level of entrepreneurs in the area, both in terms of risk management, competitiveness, and knowledge of marketing.

Keyword : Trade Potential; Marketing; Border Trade; International Trade
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 สุธาวัลย์ สัจจสมบูรณ์
ประเภทบุคคล : นักศึกษา
หน่วยงานต้นสังกัด : บริหารธุรกิจ บริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยหลัก
(2564)
60 นักวิจัยรุ่นใหม่
2 ธีว์วรา ไหวดี
ประเภทบุคคล : บุคคลภายนอก
หน่วยงานต้นสังกัด : วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ผู้วิจัยร่วม
25 นักวิจัยรุ่นเก่า
3 อาจารย์ ดร.จักรพงษ์ สุขพันธ์
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
15 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2565
1/11/2564 ถึง 31/12/2565
ประเภทแหล่งทุน : อื่น ๆ อื่น ๆ
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
1 พฤศจิกายน 2565
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ 
ฉบับที่ : 6
หน้า : 343-362
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.6
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023