การทดแทนระดับโปรตีนในอาหารด้วยกรดอะมิโนสังเคราะห์ (ไลซีนและเมทไธโอนีน) ต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและต้นทุนด้านอาหารในสุกรขุน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : สศ.-65-002
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : กำลังดำเนินการ
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การทดแทนระดับโปรตีนในอาหารด้วยกรดอะมิโนสังเคราะห์ (ไลซีนและเมทไธโอนีน) ต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและต้นทุนด้านอาหารในสุกรขุน
บทคัดย่อ :

การศึกษาการทดแทนระดับโปรตีนในอาหารด้วยกรดอะมิโนสังเคราะห์ได้แก่ ไลซีน และเมทไธโอนีน ต่อประสิทธิการเจริญเติบโตและต้นทุนด้านอาหารในสุกรขุน โดยใช้สุกรขุนลูกผสมสามสายพันธุ์ น้ำหนักเฉลี่ย 60 กิโลกรัม ให้อาหาร 4 สูตร ได้แก่ อาหารควบคุมลบ(อาหารพื้นฐานไม่เสริมกรดอะมิโนสังเคราะห์; โปรตีน 14%) อาหารควบคุมบวก(อาหารพื้นฐานเสริมไลซีน 0.45 % เมทไธโอนีน 0.10 %; โปรตีน 14%) อาหารทดแทนโปรตีนด้วยไลซีน 0.60 % เมทไธโอนีน 0.15 % (โปรตีน 13%) และ ไลซีน 0.65 % เมทไธโอนีน 0.15 % (โปรตีน 12%) ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณอาหารที่กินต่อวันและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) แต่ทุกกลุ่มที่ประกอบด้วยไลซีนและเมไธโอนีนในอาหารมีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว (FCR) และต้นทุนอาหารในการเพิ่มน้ำหนักตัว (FCG) ต่ำกว่ากลุ่มที่ให้อาหารควบคุมลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) โดยกลุ่มอาหารควบคุมลบ (NC) ควบคุมบวก (PC) ทดแทนไลซีน 0.60 % เมทไธโอนีน 0.15 % และ ไลซีน 0.65 % เมทไธโอนีน0.15 % มีค่า FCR เท่ากับ 3.60 3.12 3.21 และ 3.32 ตามลำดับ ส่วนค่า FCG เท่ากับ 46.70 41.46 42.12 และ 42.95 ตามลำดับ สรุปผลการศึกษาพบว่าไลซีนและเมไธโอนีนมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และสามารถใช้ทดแทนระดับโปรตีนในอาหารได้โดยไม่ส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการผลิตในสุกรขุน

คำสำคัญ : โปรตีน; ไลซีน; เมทไธโอนีน; ประสิทธิภาพการเจริญเติบโต; สุกรขุน
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Replacement of dietary protein levels with synthetic amino acids ( lysine and methionine) on growth performance and feed costs in finishing pig
Abstract :

A study on the replacement of dietary protein with synthetic amino acids lysine and methionine shows the effects on growth performance and feed costs in finishing pigs. Cross breed finishing pigs (LWxLYxDr) weighing 60 kilograms were fed four formulas: negative control (NC; basal diet without synthetic amino acid; 14% protein), positive control (PC; basal diet with 0.45% lysine 0.10% methionine; 14% protein), and protein replacement feed containing 0.60% lysine 0.15% methionine (T1; 13% protein) and 0.65% lysine 0.15% methionine (T2 The results showed that there were no statistically significant differences in daily feed intake and average daily gain between groups (P > 0.05) , but the groups that contained dietary lysine and methionine showed significantly lower feed conversion ratio and feed cost per gain than the negative control group (P < 0.05). The FCR values of the NC, PC, T1 and T2 groups were 3.60, 3.12, 3.21, and 3.32, and FCG values were 46.70, 41.46, 42.12, and 42.95 respectively. In conclusion, lysine and methionine are important for growth and can be used to replace the protein level in feed without having

a negative effect on productive performance of finishing pigs

Keyword : Protein; Lysine; Methionine; growth performance; finishing pig
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 นายกิตติพงษ์ ทิพยะ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : ไม่ระบุ
หน่วยงานต้นสังกัด : ฝ่ายงานฟาร์ม คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัยหลัก
50 นักวิจัยรุ่นเก่า
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำรูญ มณีวรรณ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัยร่วม
25 นักวิจัยรุ่นเก่า
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤดา ชูเกียรติศิริ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : เกษตรศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัยร่วม
25 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2565
1/10/2564 ถึง 30/9/2565
ประเภทแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว ส่วนตัวของผู้วิจัย
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
2 สิงหาคม 2565
วารสารที่ตีพิมพ์ : บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ฉบับที่ : วารสารสัตวศาสตร์ 3 (พิเศษ 1)
หน้า : 167-170
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.2
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023