การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ กวดวิชาเอกชนขนาดเล็กในจังหวัดลำปาง

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : 0.8-65.6
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 มกราคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ กวดวิชาเอกชนขนาดเล็กในจังหวัดลำปาง
บทคัดย่อ :

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันของธุรกิจกวดวิชาและลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้เรียนในจังหวัดลำปาง 2) ศึกษากลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของ Michael Porter ของธุรกิจกวดวิชาขนาดเล็กและตรงกับความต้องการของผู้เรียน และ 3) เสนอแนวทางการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันสำหรับธุรกิจกวดวิชาขนาดเล็กในจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การศึกษาเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ประกอบการจำนวน 5 ราย โดยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจงและทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา การศึกษาเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างจำนวนทั้งหมด 400 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และใช้แบบทดสอบ t-test และ One – Way ANOVA เพื่อยืนยันสมมติฐาน ผลการศึกษา พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้กลยุทธ์เดียวในการบริหารธุรกิจ แต่ใช้กลยุทธ์แบบผสมผสานที่แตกต่างกัน ซึ่งกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างเป็นกลยุทธ์ที่ใช้มากที่สุด สอดคล้องกับผลการศึกษาจากผู้เรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.22 พบว่า ผู้เรียนให้ความสำคัญด้านความแตกต่างของผู้ให้บริการที่รับฟังข้อเสนอแนะเพื่อใช้ปรับปรุงธุรกิจ รองลงมา คือ กลยุทธ์ความเป็น

ผู้นำด้านต้นทุนมีคะแนนเฉลี่ย 4.17 คือ ด้านราคาที่เหมาะสมกับชั่วโมงเรียน และกลยุทธ์การมุ่งเน้นด้านการเป็นผ้นูำด้านต้นทุนที่มีคะแนนเฉลี่ย 4.11 โดยม่งุเน้นค่าเรียนที่ยุติธรรมเหมาะสมกับคุณภาพของหลักสูตรและบริการที่ดี นอกจากนี้ยังพบว่า ผลการทดสอบสมมุติฐานสนับสนุนความแตกต่างทางด้านประชากรศาสตร์ของผู้เรียนทุกด้านยกเว้นด้านเพศ มีผลต่อการเลือกทุกกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01. สอดคล้องกับกลยุทธ์แบบผสมผสานที่ผู้ประกอบการใช้บริหารธุรกิจกวดวิชาในปัจจุบัน

คำสำคัญ : ความได้เปรียบทางการแข่งขัน ธุรกิจกวดวิชาเอกชน ธุรกิจขนาดเล็ก ลักษณะทางประชากรศาสตร์
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title :
Abstract :

The purposes of this research were to study the current tutorial business environment and demographic characteristics of learners in Lampang; analyze Porter’s generic competitive strategies used by small tutorial school business and preferred by learners; provide competitive advantage guidance to small tutorial school business in Lampang. A mixed method research approach was selected and conducted. First, a qualitative study involving semi-structured interviews was conducted with five entrepreneurs selected through purposive sampling. Second, a survey instrument for quantitative research using a structured questionnaire was distributed to 400 respondents. Data were analyzed by descriptive statistics (percentage, mean, and standard deviation) and One-way ANOVA, t-tests were used for testing hypothesis. The significant findings revealed that most of the entrepreneurs did not use any particular strategy but rather a mix of different strategies. It was found that differentiation strategy is the most preferred strategy

which was confirmed by respondents with the highest mean rating of 4.22; results revealed that learners prioritized the providers who listen to their feedback. Cost Leadership Strategy with mean rating of 4.17 was the second most preferred. Focus Strategy with mean rating of 4.11 was the least preferred strategy; results revealed that learners weighted Cost Focus on fair prices along with high-quality courses and services. Based on the hypothesis testing it was found that learners with different demographic characteristics with the exception of gender yielded a significant difference on all generic competitive preferences. It was found to be consistent with the current strategies used by tutorial businesses at a statistically significant level below 0.01.

Keyword : competitive advantage, private tutorial business, amall business, semographic characteristics
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ญดารัตน์ อินทะขันธ์
ประเภทบุคคล : นักศึกษา
หน่วยงานต้นสังกัด : บริหารธุรกิจ บริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
60 นักวิจัยรุ่นใหม่
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูษณิศา เตชเถกิง
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
20 นักวิจัยรุ่นเก่า
3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา ศรีนฤวรรณ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
10 นักวิจัยรุ่นเก่า
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริกุล ตุลาสมบัติ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยร่วม
10 นักวิจัยรุ่นเก่า
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2565
1/10/2564 ถึง 30/9/2565
ประเภทแหล่งทุน : อื่น ๆ อื่น ๆ
0.00
   รวมจำนวนเงิน : 0.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
30 มิถุนายน 2565
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
ฉบับที่ : 2
หน้า : 161-184
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
0.8
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023