ความระมัดระวังทางบัญชีและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่ใช้เจ้าของเงินทุน

รหัสอ้างอิงมหาวิทยาลัย : มจ.2-65-023
รหัสอ้างอิง วช. : -- ไม่ระบุ --
สถานะการดำเนินการ : ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว
วันที่ดำเนินการ : 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป ภาษาไทย :
หัวข้อ : ความระมัดระวังทางบัญชีและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่ใช้เจ้าของเงินทุน
บทคัดย่อ :

ผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่ใช่เจ้าของเงินทุนมีอิทธิพลต่อการใช้ความระมัดระวังทางบัญชีในการรายงานทางการเงินของบริษัท การศึกษาในครั้งนี้จึงทำการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความเกี่ยวข้องของกิจการกับผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่ใช่เจ้าของเงินทุนและความระมัดระวังทางบัญชี ทดสอบบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 2,295 บริษัท ในช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2564 ตัวแปรความระมัดระวังทางบัญชี วัดค่าจากโมเดล Khan and Watts (2009) ตัวแปรความเกี่ยวข้องของกิจการกับผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่ใช่เจ้าของเงินทุน กำหนดตัวแทนวัดค่าตัวแทนแรกคือ ระดับความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการที่มีต่อลูกค้า และตัวแทนที่สองคืออิทธิพลของบุคลากรพนักงานที่สะท้อนผ่านมูลค่าทุนทางปัญญาของกิจการ วัดค่าจาก Value added intellectual coefficient (VAIC) ผลการศึกษาเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย โดยพบว่าตัวแปรความเกี่ยวข้องของกิจการกับผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่ใช่เจ้าของเงินทุนมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความระมัดระวังทางบัญชีของบริษัท นอกจากนี้ระดับความสัมพันธ์ระหว่างกิจการกับผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่ใช่เจ้าของเงินทุนมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับระดับความระมัดระวังทางบัญชีมากขึ้น เมื่อกิจการมีการจ่ายเงินปันผลในระดับที่สูงขึ้น (การจ่ายเงินปันผลเป็นตัวแปรกำกับ) ผลการศึกษาในครั้งนี้ยืนยันทฤษฎีผู้มีส่วนได้เสียของโครงสร้างเงินทุน โดยเสนอว่าการตัดสินใจในการใช้ความระมัดระวังทางบัญชีของบริษัท เป็นผลมาจากการตัดสินใจด้านนโยบายทางการเงิน ซึ่งถูกผลักดันมาจากระดับของความสัมพันธ์ระหว่างกิจการกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่ใช่เจ้าของเงินทุน ผลการศึกษาให้แนวทางกับหน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยงานกำหนดนโยบายที่ควรให้สำคัญกับการกำหนดนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการ โดยควรเน้นถึงความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่ใช่เจ้าของเงินทุนที่ต้องการคุณภาพในรายงานทางการเงินของบริษัทมากขึ้น

คำสำคัญ : ความระมัดระวังทางบัญชีแบบมีเงื่อนไข , ผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่ใช่เจ้าของเงินทุน , ปัญหาตัวแทน , ทฤษฎีผู้มีส่วนได้เสียของโครงสร้างเงินทุน
ข้อมูลทั่วไป ภาษาอังกฤษ :
Title : Accounting Conservatism and Non-Financial Stakeholders
Abstract :

Non-financial stakeholders have an influence on the degree of accounting conservatism in financial reports. This study examines the association between a company’s relationship with non-financial stakeholders and accounting conservatism. The sample comprises of 2,295 firm-years of companies listed on the Stock Exchange of Thailand during 2017 to 2021. The measure of accounting conservatism is proxied by Khan and Watts’s (2009) firm-year specific measure. The company’s relationship with non-financial stakeholders is measured by two proxies. The first is the level of corporate social responsibility towards customers. The second is employee influence, which is proxied by intellectual capital, and measured by the value added intellectual coefficient (VAIC). Results from this study is consistent with the hypothesis that a company’s relationship with non-financial stakeholders is positively associated with conservatism. In addition, the association between a company’s relationship with non-financial stakeholders and accounting conservatism is strengthened when dividend payout is higher (dividend payout is the moderator variable). Findings in this study support the stakeholder theory of capital structure. The theory suggests that the use of accounting conservatism is influenced by the financial policy decisions of firms which is driven from the company’s relationship with non-financial stakeholders. Findings from this research concern regulators and policymakers as it implies the need of non-financial stakeholders for higher quality financial reports from the company. Regulators and policymakers should take this concern into account when establishing corporate governance regulations.

Keyword : Conditional conservatism, Non-financial stakeholders, Agency problem, Stakeholder theory of capital structure
รูปแบบงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
ประเภทงานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
สาขางานวิจัย : -- ไม่ระบุ --
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง : -- ไม่ระบุ --
Road map : -- ไม่ระบุ --
ส่วนที่ 2 ประเภทโครงการวิจัย
โครงการเดี่ยว
ส่วนที่ 3 ลักษณะโครงการวิจัย
โครงการใหม่
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเจ้าของผลงานวิจัย
 รายชื่อนักวิจัยตำแหน่งนักวิจัยสัดส่วน (%)ประเภทนักวิจัย
1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนียา บังเมฆ
ประเภทบุคคล : บุคลากรภายใน     กลุ่มนักวิจัย : มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หน่วยงานต้นสังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
ผู้วิจัยหลัก
(2565)
100 ไม่ระบุ
ส่วนที่ 5 แหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย
 ปีงบประมาณ / วันที่รายละเอียดแหล่งทุนจำนวนเงิน (บาท)
1
ปีงบประมาณ : 2565
1/10/2564 ถึง 30/9/2565
ประเภทแหล่งทุน : งบประมาณภายในสถาบัน งบภายในหน่วยงาน
งบประมาณของหน่วยงาน
10,000.00
   รวมจำนวนเงิน : 10,000.00
ส่วนที่ 6 การนำเสนองานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการนำเสนองานวิจัย
ส่วนที่ 7 การตีพิมพ์เผยแพร่
วันที่ดำเนินการรายละเอียดน้ำหนักการตีพิมพ์
14 กรกฎาคม 2566
วารสารที่ตีพิมพ์ : วารสารวิชาชีพบัญชี 
ฉบับที่ : 63
หน้า : 5-30
ระดับการนำเสนอ : ระดับชาติ
เจ้าของวารสาร :
0.8
ส่วนที่ 8 การอ้างอิงงานวิจัย
ไม่มีข้อมูลการอ้างอิงงานวิจัย
ส่วนที่ 9 การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ไม่มีข้อมูลการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ที่อยู่การติดต่อ
กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์สอบถาม
งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย 0-5387-3000
ระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา 0-5387-3457
ระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากร 0-5387-3285
ERP Maejo University - All Rights Reserved 2023