รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา
ของหน่วยงาน วิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ประจำปีการศึกษา 2564

รายชื่อคณะกรรมการประเมิน
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงดี แสนรักษ์ ประธาน
2. อาจารย์ ดร.มงคล ยะไชย กรรมการ
3. อาจารย์ ดร.จักรพงษ์ ไชยวงศ์ กรรมการ
4. น.ส.โสภา หาญยุทธ เลขานุการ
เกณฑ์การบันทึกระดับค่าคะแนน ระดับคณะ/วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย (เกณฑ์ CUPT-QMS)
Criteria 1 : ผลและกระบวนการรับสมัครและคัดเลือกผู้เรียน
Strengths
Area for Improvement
C.1.1 มีการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการกำหนดคุณสมบัติและจำนวนรับที่เหมาะสม
Strengths
1. มีกระบวนการปรับแผนการรับนักศึกษาให้สอดคล้องกับทรัพยากรและสถานการณ์ปัจจุบัน
Area for Improvement
1. กระบวนการส่งเสริมและกำกับติดตามแนวโน้ม การพัฒนาของหลักสูตรที่มีผู้สมัครเข้าเรียนน้อย
C.1.2 มีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการรับสมัครและคัดเลือกผู้เรียน และใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงเพื่อให้ได้ ผู้เรียนที่มีคุณสมบัติและจำนวนตามต้องการ
Strengths
1. 1. มีกระบวนการรับสมัครที่หลากหลายช่องทาง
2. 2. มีการจัดทำความร่วมมือ MOU กับโรงเรียน
3. 3. มีการกำหนดจุดเด่นของหลักสูตรและใช้ในการประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มเป้าหมาย
Area for Improvement
1. การพัฒนากระบวนการรับเข้าเพื่อให้จำนวนนักศึกษารับเข้าเป็นไปตามเป้าหมาย โดยให้ความสำคัญกับหลักสูตรที่มีจำนวนนักศึกษาไม่เป็นไปตามเป้าหมายอย่างทันเวลา
Criteria 2 : ผลและกระบวนการจัดการศึกษาของแต่ละหลักสูตรต่อผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) และความต้องการจำเป็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Strengths
Area for Improvement
C.2.1 มีการกำกับติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาของแต่ละหลักสูตรให้บรรลุคุณลักษณะพึงประสงค์ของบัณฑิตและผลการเรียนรู้
Strengths
1. มีการใช้ระบบประกันคุณภาพ AUN-QA
Area for Improvement
1. กระบวนการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาที่สะท้อนถึงการพัฒนา/บรรลุผลการเรียนรู้ของหลักสูตรที่ชัดเจน และการรายงานผลอย่างเป็นระบบ
C.2.2 มีการกำกับติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาของแต่ละหลักสูตร ให้ตอบสนองความต้องการและจำเป็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Strengths
1. มีการปรับผลการเรียนรู้ของหลักสูตรที่ชัดเจน ครอบคลุม และประเมินผลได้ตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Area for Improvement
1. การกำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ครอบคลุม และความต้องการจำเป็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มอย่างครบถ้วน และดำเนินการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบจะส่งเสริมให้การจัดการศึกษาของหลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
C.2.3 มีการกำกับดูแลกระบวนการวัด และประเมินผลผู้เรียนให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้คาดหวังหรือคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้เรียน เพื่อทำให้มั่นใจว่ากระบวนการวัดและผลจากการประเมินผู้เรียนนั้นมีความถูกต้อง เชื่อถือได้และเป็นธรรม (ensure validity, reliability and fairness)
Strengths
1. มีการกำกับติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาของแต่ละหลักสูตรโดยใช้ผลการประเมิน AUN-QA
Area for Improvement
1. กระบวนการติดตามและประเมินผลผู้เรียนที่สะท้อนถึงการพัฒนา/บรรลุผลการเรียนรู้ของหลักสูตรตั้งแต่ระดับรายวิชา ชั้นปี และระดับหลักสูตร และการรายงานผลอย่างเป็นระบบ
C.2.4 มีการกำกับติดตามและประเมินผลของกระบวนการสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา งานให้คำแนะนำและบริการนักศึกษา (student supports / services / advices) เพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ตามผลการเรียนรู้และศักยภาพทางอาชีพ
Strengths
1. มีการให้บริการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ การให้คำแนะนำ และการบริการนักศึกษาที่สนับสนุนผลการเรียนรู้และศักยภาพทางอาชีพ
Area for Improvement
1. การประเมินผลการให้บริการที่ครบถ้วนและความพึงพอใจของการปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาอย่างเป็นระบบ และนำผลการประเมินไปพัฒนาการให้บริการและแนะนำนักศึกษา
Criteria 3 : ผลและกระบวนการวิจัย และกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมตามทิศทางการพัฒนาด้านวิจัยและเพื่อผู้เรียน
Strengths
Area for Improvement
C.3.1 มีการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งจากภายในและภายนอกคณะ/สถาบันในการกำหนดหรือทบทวนทิศทางการวิจัยของคณะ/สถาบัน
Strengths
1. คณะฯ มีการกําหนดทิศทางการพัฒนาด้านวิจัย นำข้อมูลย้อนหลัง มาใช้ในการวิเคราะห์ กำหนดเป็นแนวทางในการดำเนินงาน และผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
Area for Improvement
1. การกำหนดสัดส่วนของงานวิจัยละผลงานเผยแพร่งานวิจัยต่อจำนวนอาจารย์ให้มีความท้าทาย
C.3.2 มีการกำกับติดตามและประเมินผลการวิจัยและกระบวนการวิจัยให้ตอบสนองทิศทางการวิจัยของคณะ/สถาบันและใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงกระบวนการหรือปรับทิศทางการวิจัย
Strengths
1. 1.คณะฯ แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานบริหารวิชาการและวิจัยในการกำกับติดตาม การดำเนินงาน
2. 2.การวิจัยตอบสนองทิศทางของคณะ มหาวิทยาลัยและประเทศ โดยเฉพาะ
3. อย่างยิ่งทางด้านเกษตรอัจฉริยะ และ
4. เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว และเกษตรอินทรีย์
Area for Improvement
1. การบูรณาการงานวิจัยกับการสอนหรือการสร้างนวัตกรรมหรือผู้ประกอบการใหม่
2. และกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัด
Criteria 4 : ผลและกระบวนการบริการวิชาการ ตามทิศทางการพัฒนาด้านบริการวิชาการแก่ชุมชน และเพื่อผู้เรียน
Strengths
Area for Improvement
C.4.1 มีการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งจากภายในและภายนอกคณะ/สถาบันในการกำหนดหรือทบทวนทิศทางการบริการวิชาการ แก่ชุมชนและพัฒนาผู้เรียนของคณะ/สถาบัน ตามวิสัยทัศน์ ปณิธาน และ/หรือยุทธศาสตร์ของคณะ/สถาบันที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
Strengths
1. คณะฯ มีการกําหนดทิศทางการพัฒนาด้านการบริการวิชาการวิจัย นำข้อมูลย้อนหลัง มาใช้ในการวิเคราะห์ กำหนดเป็นแนวทางในการดำเนินงาน และผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ผลักดันนโยบายมหาวิทยาลัยด้านเกษตรอินทรีย์ และยุทธศาสตร์ชาติในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
Area for Improvement
1. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการบริการวิชาการ การบูรณาการความร่วมมือการหน่วยงานภายใน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและโอกาสในการบริการวิชาการ
C.4.2 มีการกำกับติดตามและประเมินผลการบริการวิชาการและกระบวนการบริการวิชาการให้ตอบสนองทิศทางการบริการวิชาการของคณะ/สถาบันและใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงกระบวนการหรือปรับทิศทาง
Strengths
1. 1 คณะฯ แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานบริหารวิชาการและวิจัยในการกำกับติดตาม การดำเนินงาน
2. 2 คณะมีการจัดตั้งศูนย์บริการวิชาการ เพื่อฝึกอบรมและให้คำปรึกษา และอำนวยความสะดวกในการบริการวิชาการสำหรับคณาจารย์
Area for Improvement
1. กระบวนการในการติดตาม และประเมินผลประสิทธิภาพของโครงการ การบริการวิชาการ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และนำผลการดำเนินการมาปรับปรุงและพัฒนา
Criteria 5 : ผลและกระบวนการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้สอดคล้องหรือบูรณาการกับพันธกิจอื่นของสถาบัน
Strengths
Area for Improvement
C.5.1 มีการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งจากภายในและภายนอกคณะ/สถาบันในการกำหนดหรือทบทวนทิศทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับพันธกิจอื่นของคณะ/สถาบัน หรือเพื่อการพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมความเข้าใจหรือการสืบสานต่อยอดศิลปวัฒนธรรม
Strengths
1. 1 คณะฯ มีการกําหนดทิศทางการพัฒนาด้านการการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม นำข้อมูลย้อนหลัง มาใช้ในการวิเคราะห์ กำหนดเป็นแนวทางในการดำเนินงาน
2. 2 คณะฯ มีการใช้องค์ความรู้ ทางด้านวิศวกรรมในการส่งเสริมงาน ประเพณีบูรณา การด้านทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการ สอนและกิจกรรมนักศึกษา
Area for Improvement
1. การมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง ของบุคลากรภายใน ทุกประเภท และนศ.
C.5.2 มีการกำกับดูแลและประเมินผลการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและกระบวนการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้ตอบสนองทิศทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของหน่วยงานและใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงกระบวนการหรือปรับทิศทาง
Strengths
1. 1 คณะฯ แต่งตั้งคณะกรรมการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของ ในการกำกับดูแล
2. 2 การกำกับดูแล มีเป้าหมายผลักดัน การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (SCD) และยุทธศาสตร์ Go Eco University
Area for Improvement
1. 1 นำผลการประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานมาพัฒนาและปรับเปลี่ยนและกำหนดทิศทางการดำเนินงาน
2. 2 การมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง และกิจกรรมของ นศ. และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงาน
Criteria 6 : ผลและกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล
Strengths
Area for Improvement
C.6.1 มีการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการวางแผนอัตรากำลังของบุคลากร
Strengths
1. 1. มีการวิเคราะห์อัตรากำลังของบุคลากร และวิเคราะห์อัตราทดแทน
2. 2. มีการรายงานข้อมูลอัตราส่วนบุคลากรสายวิชาการต่อสายสนับสนุน
3. 3. มีการรวมศูนย์ของบุคลากรสาย สนับสนุนวิชาการ
Area for Improvement
1. การเตรียมความพร้อมอัตรากำลังของบุคลากรเพื่อสนับสนุนพันธกิจของคณะในปัจจุบันและอนาคต เช่น ในหลักสูตรที่อาจมีแนวโน้มความสนใจสูง
C.6.2 มีการกำกับ ติดตาม ดำเนินการ และประเมินแผนอัตรากำลังของบุคลากร และใช้ผลการประเมินในการทบทวนและปรับปรุงอัตรากำลังให้มีความเหมาะสมกับความต้องการจำเป็นของคณะ/สถาบัน
Strengths
1. มีการวิเคราะห์ภาระงานของบุคลากร และมีการบริหารภาระงานของบุคลากรให้มีความสมดุลกับพันธกิจ
Area for Improvement
1. กระบวนการประเมินผลการบริหารภาระงานบุคลากร และการใช้ประโยชน์จากผลการประเมิน
C.6.3 มีการกำหนดสมรรถนะของบุคลากรที่จำเป็นในการขับเคลื่อนพันธกิจต่าง ๆ ของคณะ/สถาบัน มีการติดตามประเมินสมรรถนะของบุคลากรและใช้ผลการประเมินเพื่อการปรับปรุงพัฒนาบุคลากร
Strengths
1. มีการวิเคราะห์สมรรถนะที่จำเป็นในการพัฒนาบุคลากร ตามแผนพัฒนาบุคลากร IDP
Area for Improvement
1. การกำหนดสมรรถนะของบุคลากรโดยให้ความสำคัญกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรจะส่งเสริมให้การจัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome based Education) มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
C.6.4 มีการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการได้รับการพัฒนาของบุคลากร และใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการวางแผนพัฒนาบุคลากร
Strengths
1. 1. มีการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการในการพัฒนาบุคลากร
2. 2. มีการประเมินผลสัมฤทธ์แผนพัฒนาบุคลากรในเชิงการไปพัฒนาตนเองมาแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
Area for Improvement
1. การกำหนดความต้องการจำเป็นโดยให้ความสำคัญกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรจะส่งเสริมให้การจัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome based Education) มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
C.6.5 มีการกำกับ ติดตาม ดำเนินการ และประเมินแผนพัฒนาบุคลากร และใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงพัฒนาบุคลากร
Strengths
1. 1. มีแผนการจัดการความรู้ เพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากร
2. 2. มีการจัดทำฐานข้อมูลนักวิจัย จากผลการวิเคราะห์และประเมินผลสัมฤทธิ์ของข้อมูลของบุคลากร
Area for Improvement
1. 1. กระบวนการนำผลการจัดการความรู้ไปใช้ประโยชน์
2. 2. กระบวนการใช้ประโยชน์จากการประเมินผลสัมฤทธิ์แผนพัฒนาบุคลากร
C.6.6 มีระบบการประเมินความดีความชอบ ให้รางวัล ยกย่อง และเพิ่มขวัญและกำลังใจของบุคลากรด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม สอดคล้องเหมาะสมกับทิศทางการพัฒนาของคณะ/สถาบัน และส่งเสริมให้เกิดความมุ่งมั่น ร่วมแรงร่วมใจของบุคลากรในการดำเนินพันธกิจต่าง ๆ (Merit System)
Strengths
1. 1. มีระบบการประเมินความดีความชอบที่ชัดเจนและโปร่งใส และมีการให้รางวัล
2. 2. บุคลากรของคณะมีศักยภาพและได้รับรางวัลทั้งระดับมหาวิทยาลัย และระดับประเทศ
Area for Improvement
1. การสื่อสารถึงสถานการณ์ที่จำเป็นต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลกับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความมุ่งมั่น ร่วมแรงร่วมใจของบุคลากรในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์และพันธกิจของคณะ
Criteria 7 : ผลและกระบวนการบริหารจัดการด้านกายภาพ
Strengths
Area for Improvement
C.7.1 มีการจัดหา บำรุงรักษา และประเมิน ผลการจัดหาและบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ที่ใช้ในการจัดการเรียน การสอน และการฝึกปฏิบัติของผู้เรียน เพื่อให้มีความเพียงพอพร้อมใช้ทันสมัยและตอบสนองความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติ
Strengths
1. มีครุภัณฑ์การศึกษาที่ทันสมัยสำหรับสนับสนุนการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของนักศึกษา
Area for Improvement
1. 1. กระบวนการจัดหาวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ที่สะท้อนถึงการสนับสนุนให้นักศึกษาบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างเป็นระบบ และแนวทางการประเมินผล
2. 2. กระบวนการกำกับ การบำรุงรักษา วัสดุอุปกรณ์และสถานที่ให้มีความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง
3. 3. การประเมินผลความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการบำรุงรักษา วัสดุอุปกรณ์และสถานที่ที่คณะจัดให้
C.7.2 มีการจัดหา บำรุงรักษา ให้บริการ และประเมินผลการจัดหา บำรุงรักษา และให้บริการวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้มีความเพียงพอ พร้อมใช้ ทันสมัย และตอบสนองความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียน การสอน และการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและการบริหารจัดการพันธกิจต่าง ๆ
Strengths
1. 1. มีจุดบริการวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น จุด hotspot
2. บริการอย่างทั่วถึง
3. 2. มีการจัดโปรแกรมสำเร็จรูปที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนและการวิจัย
Area for Improvement
1. 1. กระบวนการกำหนดในการจัดหา วัสดุอุปกรณ์และสถานที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สะท้อนถึงการสนับสนุนให้นักศึกษาบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2. อย่างเป็นระบบ และแนวทางการประเมินผล
3. 2. กระบวนการกำกับ การบำรุงรักษา วัสดุอุปกรณ์และสถานที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง
4. 3. การประเมินผลความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการบำรุงรักษา วัสดุอุปกรณ์และสถานที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่คณะจัดให้
C.7.3 มีการจัดหา บำรุงรักษา ให้บริการ และประเมินผลการจัดหา บำรุงรักษา และให้บริการทรัพยากรในห้องสมุด เพื่อให้มีความเพียงพอ พร้อมใช้ ทันสมัย และตอบสนองความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
Strengths
1. 1. มีการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล และเพิ่มหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
2. 2. มีการประเมินผลความพึงพอใจของนักศึกษา
Area for Improvement
1. กระบวนการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์
C.7.4 มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สภาพแวดล้อมทางสังคม และสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ศักยภาพ คุณภาพชีวิต สุขภาพ และความปลอดภัยของผู้เรียน
Strengths
1. มีการจัดสภาพแวดล้อมโดยใช้หลักแกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวและมีการประเมินผลความพึงพอใจของนักศึกษา
Area for Improvement
1. กระบวนการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์
Criteria 8 : ผลและกระบวนการบริหารจัดการด้านภาวะผู้นำ ธรรมาภิบาล และการตอบสนองผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Strengths
Area for Improvement
C.8.1 มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกคณะ/สถาบันอย่างเป็นระบบ
Strengths
1. มีการกำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ ประเด็นที่ต้องการ ช่องทางการสื่อสาร ระยะเวลาการเก็บและรายงานข้อมูล
Area for Improvement
1. การกำหนดกระบวนการได้มาซึ่งความจำเป็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มอย่างเป็นระบบอย่างครบถ้วนและ จะส่งเสริมให้การบริหารของคณะเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ
C.8.2 มีการใช้ข้อมูลความคิดเห็นและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งสารสนเทศอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดทำวิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนกลยุทธ์
Strengths
1. มีการวิเคราะห์ความคิดเห็นและความต้องการ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มาทบทวนปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจของคณะ
Area for Improvement
1. การสื่อสารผลการสนองต่อข้อคิดเห็นและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะส่งเสริมให้การบริหารของคณะเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ
C.8.3 มีกระบวนการถ่ายทอดแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ กำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์อย่างเป็นระบบ และใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงพัฒนาเพื่อผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายเชิงกลยุทธ์
Strengths
1. 1. มีการถ่ายทอดแผนกลยุทธ์สู่ผู้ปฏิบัติงาน ที่ประกอบด้วย จำนวนมิติ ประเด็นยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดและกลยุทธ์
2. 2. มีการติดตามประเมินแผนปฏิบัติงาน รอบ 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน
Area for Improvement
1. การระบุปัจจัยหรือสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลการดำเนินงานไม่บรรลุเป้าหมายจะทำให้คณะทราบแนวทางในการปรับปรุงเพื่อพัฒนาผลการดำเนินงานของคณะ
C.8.4 มีกระบวนการสื่อสารข้อมูลสำคัญตามพันธกิจและกระบวนการสร้างความผูกพันกับบุคลากรและผู้เรียน รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญอย่างเป็นระบบ
Strengths
1. ผลการวิเคราะห์ช่องทางสื่อสารข้อมูลข่าวสารไปยังกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า ช่องทางที่เข้าถึงมากที่สุดคือ Facebook
Area for Improvement
1. การสื่อสารข้อมูลข่าวสารแบบออนไลน์ที่หลากหลายและการประเมินความสำเร็จของการสื่อสาร จะส่งเสริมให้การสื่อสารข้อมูลสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
C.8.5 มีกระบวนการประเมินภาวะผู้นำ ธรรมาภิบาล และผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารคณะ/สถาบัน รวมทั้งผู้บริหารสูงสุด และสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน และใช้ผลการประเมินเพื่อการพัฒนาปรับปรุง
Strengths
1. ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการของผู้บริหารคณะ ของปีงบประมาณ 2563 และ 2564 มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกประเด็น
Area for Improvement
1. การนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาคณะอย่างต่อเนื่อง
C.8.6 มีการใช้ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาทุกระดับในการพัฒนา ปรับปรุง การบริหารและการดำเนินพันธกิจของคณะ/สถาบัน
Strengths
1. คณะให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ทั้งในระดับหลักสูตรและระดับคณะ มีการวิเคราะห์ผลการประเมินและนำผลการประเมินไปเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาผลการดำเนินงาน
Area for Improvement
1. กระบวนการส่งเสริมการใช้แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา CUPT-QMS guideline สำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ และการใช้ AUN-QA ระดับหลักสูตร เพื่อให้เกิดการพัฒนาปรับปรุง การบริหารและการดำเนินพันธกิจของคณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปคะแนนในภาพรวม : 3
ข้อมูลสะท้อนข้อคิดจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
1. นักศึกษาปัจจุบัน
ข้อมูลสะท้อนความคิด

1. นักศึกษาได้รับผลกระทบจากการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เช่น ในรายวิชาปฏิบัติการไม่สามารถเรียนได้เต็มที่ หรือไม่ได้เรียนรู้กับเครื่องมือปฏิบัติการ

2. ต้องการให้มีการชดเชยทักษะการเรียนรู้ด้านปฏิบัติการห้องปฏิบัติการ และการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ เมื่อมีการเปิดการเรียนการสอนแบบปกติ

3. หลักสูตรมีการให้คำแนะนำและเสริมสร้างทักษะ เนื้อหารายวิชาที่เป็นความรู้เกี่ยวข้องและจำเป็น เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมจากสภาวิศวกร

4. นักศึกษายังไม่รู้เกี่ยวกับผลการเรียนรู้ของหลักสูตร จากการสื่อสารจากหลักสูตร

5. นักศึกษามองว่าการจัดการเรียนการสอนและรายวิชาในหลักสูตร สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มีความหลากหลายของวิชา และมีรายวิชาที่จำนวนมาก ทำให้ขาดความน่าสนใจหรืออาจเป็นสาขาวิชาที่ไม่โดดเด่น ทำให้ผู้สนใจมาเรียนน้อย

6. การใช้เครื่องมือ บางชุดมีอายุการใช้งานที่นานและขาดการซ่อมบำรุง อุปกรณ์บางรายการไม่เพียงพอต่อการใช้งานของนักศึกษา

7. เครื่องมือ อุปกรณ์บางชนิด มีความทันสมัย แต่นักศึกษายังไม่สามารถใช้หรือฝึกได้จนเกิดความชำนาญและนำไปประยุกต์ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้ให้สัมภาษณ์

1.นางสาวสุภาวดี ชนกเศรณี สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

2.นางสาวชนม์นิภา แซ่ว้าง สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์

3.นายนัทธวัฒน์ สารศรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

4. นายนพวิชญ์ สมผิว สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร

5. นายธนเดช ศิลารักษ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร

2. ศิษย์เก่า
ข้อมูลสะท้อนความคิด

1. ศิษย์เก่าสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนของหลักสูตร จนสำเร็จการศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานและการประกอบอาชีพ

2. ควรเน้นให้นักศึกษาที่ก่อนสำเร็จการศึกษาหรือนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายเกี่ยวกับการสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของสภาวิศวกร ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการประกอบการสมัครงาน

3. สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนมาไปประกอบวิชาชีพได้ตรงกับสาขาวิชาที่เรียน

4. มีความพึงพอใจคณะและหลักสูตร ด้านความพันธ์ระหว่างอาจารย์ รุ่นน้อง ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อขอคำแนะนำ ปรึกษา ปัญหาเกี่ยวกับทำงานได้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือชวนน้องไปร่วมทีมงานกับรุ่นพี่

5. รายวิชาเอกเลือกควรเน้นการใช้โปรแกรม AutoCAD และ Solid work ให้นักศึกษามากๆ ซึ่งจำเป็นต่อการนำไปใช้ในการทำงาน

ผู้ให้สัมภาษณ์

1. นางสาวปัทมภรณ์ อินมา

2. นายณัฐวุฒิ วรรณก้อน

3. ผู้บริหาร
ข้อมูลสะท้อนความคิด

1. คณะมีการกำกับติดตามระบบและกลไกการบริหารจัดการหลักสูตร ในประเด็นคู่เทียบมีการกำหนดคู่เทียบเป็นสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคและส่วนกลางของประเทศเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาผลการดำเนินงานของหลักสูตร โดยมีการกำหนดชื่อสถาบัน แต่ยังขาดการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อฺกำหนดประเด็นในการเทียบเคียง

2. คณะมีนโยบายในการส่งเสริมพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อหางานวิจัย และสร้างเครือข่ายงานวิจัยตามความเชี่ยวชาญของนักวิจัยให้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งได้สร้างนักบริการวิชาการหน้าใหม่จากการถ่ายทอดองค์ความรู้จากนักบริการวิชการที่เชี่ยวชาญหรือผู้อาวุโส และมีการตั้งเป็นกลุ่มคณาจารย์ในการพัฒนางานวิจัยอย่างต่อเนื่อง

3. คณะได้กำกับ ติดตาม การบริหารจัดการหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ของหลักสูตร โดยให้หลักสูตรเป็นผู้กำหนดเกณฑ์การประเมิน PLO ของหลักสูตร

4. คณะกำหนดแนวทางในการส่งเสริมพัฒนานักศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีความสามารถในการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมจากสภาวิศวกร

5. คณะมีแนวทางให้มีการปรับปรุงหลักสูตร มีความทันสมัย และสอดคล้องกับตลาดแรงงาน สำหรับหลักสูตรที่มีผู้สมัครเข้าเรียนน้อยติดต่อกัน 2 ปี ได้ชะลอการรับนักศึกษาและให้หลักสูตรดำเนินการปรับปรุงและกำหนดแนวทางการพัฒนา เพื่อเตรียมเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษาต่อไป

6. คณะมีการบริหารภาระงานของคณาจารย์ในหลักสูตรที่มีจำนวนนักศึกษาน้อยหรืองดรับนักศึกษา โดยการให้มีภาระงานสอนในหลักสูตรอื่น หรือการหางบประมาณเงินรายได้จากการภาระงานด้านบริการวิชาการ

ผู้ให้สัมภาษณ์

1. รองศาสตราจารย์จักรพงษ์ พิมพ์พิมล คณบดี

2. รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ จตุรงค์ล้ำเลิศ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย

4. อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและสิ่งแวดล้อม

5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนวัฒน์ นิทัศน์วิจิตร หัวหน้าศูนย์บริการวิชาการ

6. นางชุลีพันธุ์ วงศ์คำตัน ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี

4. บุคลากรสายวิชาการ
ข้อมูลสะท้อนความคิด

1. หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร รุ่นปีการศึกษา 2565 มีจำนวนค่อนข้างมาก อาจทำให้การจัดการในการจัดการเรียนการสอนและการดูแลนักศึกษาทำได้ไม่ทั่วถึง ทั้งนี้หลักสูตรก็ได้จัดเตรียมแผนการดำเนินงาน ทั้งภาระงานสอน ห้องปฏิบัติการ บุคลากรสายสนับสนุน ให้เหมาะสมและเพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา

2. หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ การปรับปรุงหลักสูตร พ.ศ. 2566 มีแนวทางในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรด้วยระบบการออนไลน์ทุกช่องทาง เพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษาให้ได้ตามแผนการรับนักศึกษา อีกทั้งหลักสูตรได้นำข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาวิเคราะห์ปรับปรุงหลักสูตร เช่น มีการลดลงของรายวิชาที่เกี่ยวกับทางด้านเคมี

3. หลักสูตรมีการสื่อสาร และส่งเสริมนักศึกษาทุกชั้นปี ให้รับรู้ รับทราบ การบรรลุผลการเรียนรู้ของหลักสูตร อีกทั้งให้นักศึกษาได้เรียนรู้การประเมินตนเองเกี่ยวกับการบรรลุผลการเรียนรู้ของหลักสูตร

4. หลักสูตรมีความพร้อมที่จะพัฒนาการจัดการศึกษาให้สอดคล้องเป็นไปตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา AUN-QA V.4.0

5. หลักสูตรมีการปรับปรุงเนื้อหารายวิชาพื้นฐาน เพื่อให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรวิศวกรรม

6. หลักสูตรมีความพยายามในการสื่อสารและการสร้างความเข้าใจกับอาจารย์ผู้สอน ในการสร้าง Mindset เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา AUN-QA ในการจัดทำ มคอ.3 ต้องสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ของหลักสูตรที่เป็นปัจจุบัน

ผู้ให้สัมภาษณ์

1. รองศาสตราจารย์บัณฑิต หิรัญสถิตย์พร ตัวแทนสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร

2. รองศาสตราจารย์ ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์ ตัวแทนสาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระพล เสนพันธุ์ ตัวแทนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวาลี ชมภูรัตน์ ตัวแทนสาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิไลวรรณ พรประสิทธิ์ ตัวแทนสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์

5. บุคลากรสายสนับสนุน
ข้อมูลสะท้อนความคิด

1. บุคลากรมีความสุขกับการทำงานแต่ยังคงเป็นกังวลและห่วงในส่วนของการอัตรากำลังที่ลดจำนวนลง ซึ่งจะมีภาระงานที่มากยิ่งขึ้นถ้าไม่มีการเพิ่มจำนวนอัตรากำลัง

2. ผลกระทบจากอัตรากำลังที่หายไปซึ่งมีผลกระทบต่อการทำงานของฝ่ายงาน เป็นอย่างมาก และเป็นกังวลว่าอาจจะได้คนที่มาทดแทนจะมีประสบการณ์ด้านงานเกี่ยวข้องได้มากน้อยเพียงใด

3. การบริหารจัดการด้านงานวิจัยและการบริการวิชาการ มีงบที่ได้รับการจัดสรร มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร ทั้งด้าน การบริระบบการเบิกจ่าย การจัดซื้อจัดจ้าง อีกทั้งมีจำกัดด้วยระยะเวาที่ต้องปิดโครงการที่มีความกระชั้นชิด ซึ่งมีบุคลากรที่จำกัด

4. การบริหารจัดการงบประมาณจากงบพิเศษ งบบริการวิชาการ มีการสื่อสารข้อมูลระเบียบ วิธีการ จัดซื้อ จัดจ้าง ที่ความไม่ชัดเจน จึงทำให้เกิดความล่าช้าในการเบิกจ่าย

5. คณะมีแผนการรวมศูนย์การบริการบุคลากร ในการปรับเปลี่ยนระบบการดำเนินงานให้มีความคล่องตัวและเพื่อลดอัตรากำลังให้สอดคล้องกับงบประมาณของคณะ

6. การบริหารจัดการของทีมผู้บริหารคณะ เป็นที่น่าพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน

ผู้ให้สัมภาษณ์

1. นางสาวรัชนี ทัศเกตุ

2. นางวิภาวรรณ ผาภูมิ

3. นายอดุลย์ โพธิ

4. นางอัจฉรี นาคะเสถียร

5. นางสาวปวริศา ศรีสง่า

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ

ข้อเสนอแนะในการเขียนรายงานการประเมินตนเอง

1. การนำเสนอข้อมูลในแต่ละประเด็นโดยการนำเสนอเป้าหมาย กระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานที่คณะกำหนดเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย ผลการดำเนินงานตามกระบวนการหรือวิธีการที่กำหนด และการประเมินผลการดำเนินงานเทียบกับค่าเป้าหมายอย่างเป็นระบบ จะทำให้มีข้อมูลอ้างอิงเพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาผลการดำเนินงานในประเด็นต่าง ๆ ได้

2. การนำเสนอข้อมูลย้อนหลังในแต่ละประเด็นหลังจากผ่านกระบวนการหรือวิธีการในแต่ละวงรอบแล้ว จะทำให้ทราบแนวโน้มของการพัฒนาผลการดำเนินงาน

กำหนดการประเมิน

กำหนดการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปีการศึกษา 2564

ระหว่างวันที่ 7-8 กรกฎาคม 2565

ห้องประชุมชั้น 4 อาคารเรียนรวม สาขาวิศวกรรมศาสตร์

**********************

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม 2565

09.00 – 09.30 น. คณะกรรมการประเมินฯ พบผู้บริหารคณะฯ

- คณบดีแนะนำคณะฯ และผู้บริหาร

- ผู้บริหารนำเสนอผลการดำเนินงานของคณะฯ

- คณะกรรมการประเมินฯ กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประเมิน

09.30 10.30 น. สัมภาษณ์ผู้บริหาร (คณบดี รองคณบดี หัวหน้าศูนย์บริการวิชาการ

และผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี)

10.30 11.00 น. สัมภาษณ์ตัวแทนอาจารย์

11.00-11.30 น. สัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา

11.30-12.00 น. สัมภาษณ์ตัวแทนบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ

(ด้านวิชาการ,ธุรการ,การวิจัย,การเงิน,แผน)

12.00 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 13.30 น. สัมภาษณ์ตัวแทนศิษย์เก่า

13.30 16.30 น. คณะกรรมการฯ ประชุม ศึกษาข้อมูลและเอกสาร

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2565

09.00-12.00 น. คณะกรรมการฯ ประชุมและสรุปผลการประเมิน

12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 15.00 น. คณะกรรมการฯ ประชุมและสรุปผลการประเมิน

15.00 16.30 น. คณะกรรมการฯ นำเสนอผลการประเมินคุณภาพภายในต่อบุคลากรคณะฯ

15.30 – 16.30 น. คณะกรรมการประเมินฯ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและหลักฐาน

หมายเหตุ กำหนดการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

เอกสารประกอบ
รูปภาพประกอบกิจกรรม
ลงนามรับรองจากกรรมการประเมิน
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดวงดี แสนรักษ์)
ประธาน
(อาจารย์ ดร.มงคล ยะไชย)
กรรมการ
(อาจารย์ ดร.จักรพงษ์ ไชยวงศ์)
กรรมการ
(น.ส.โสภา หาญยุทธ)
เลขานุการ

ได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาในวันที่ 8 กรกฎาคม 2565