รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา
ของหน่วยงาน วิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ประจำปีการศึกษา 2565

รายชื่อคณะกรรมการประเมิน
1. รองศาสตราจารย์จันทนี เพชรานนท์ ประธาน
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์ กรรมการ
3. อาจารย์ ดร.อานนท์ ปะเสระกัง กรรมการ
4. น.ส.โสภา หาญยุทธ เลขานุการ
เกณฑ์การบันทึกระดับค่าคะแนน ระดับคณะ/วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย (เกณฑ์ CUPT-QMS)
Criteria 1 : ผลและกระบวนการรับสมัครและคัดเลือกผู้เรียน Rating Score : 3
C.1.1 มีการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการกำหนดคุณสมบัติและจำนวนรับที่เหมาะสม Rating Score : 4
Strengths
1. มีการใช้ข้อมูลประกอบด้วย ข้อกำหนดจากสภาวิศวกร(COE) คุณสมบัติตามเล่ม มคอ.2 ข้อมูลผลการรับนักศึกษาปี 2562-2566 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนจากหลักสูตร
Area for Improvement
1. ทบทวนกระบวนการในการกำหนดคุณสมบัติและจำนวนรับโดยอาศัยข้อมูลที่ครอบคลุมรอบด้านทั้งสภาวิชาชีพ มคอ.2 ข้อมูลการรับนักศึกษา จุดคุ้มทุน ข้อมูลการสำเร็จการศึกษา ภาวะการมีงานทำ ความพอเพียงของห้องปฏิบัติการ ตลอดจนข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษา เพื่อให้คณะและหลักสูตรสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงลึกนำมาสู่การกำหนดจำนวนและคุณสมบัติที่สอดคล้องกับความต้องการของหลักสูตรและตลาดแรงงานอย่างแท้จริง
C.1.2 มีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการรับสมัครและคัดเลือกผู้เรียน และใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงเพื่อให้ได้ ผู้เรียนที่มีคุณสมบัติและจำนวนตามต้องการ Rating Score : 3
Strengths
1. คณะมีการวางระบบรวมถึงพัฒนาระบบติดตามการดำเนินงานด้านวิชาการ (Academic Eng-Agro V2.2) และมีการติดตามการรับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง
2. มีแผนเชิงรุก 3 ปี (2564-2566) โดยการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายโรงเรียนที่ทำ MOU ตลอดจนมีการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ เช่น Open House online ช่องทางสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ส่งผลให้หลายหลักสูตรมีผลการรับเป็นไปตามแผน
3. มีการกำหนดจุดเด่นของแต่ละหลักสูตร
Area for Improvement
1. ทบทวนกระบวนการรับสมัครและคัดเลือกผู้เรียนโดยเฉพาะในหลักสูตรที่มีผลการรับสมัครและคัดเลือกที่ไม่เป็นไปตามแผน
2. ทบทวนแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาการดำเนินการต่าง ๆ ของหลักสูตรเพื่อให้มีจุดเด่นหรืออัตลักษณ์ตามที่คณะกำหนด ตลอดจนการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรที่ทันสมัยตอบสนองต่อความสนใจของกลุ่มเป้าหมายและความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน
Criteria 2 : ผลและกระบวนการจัดการศึกษาของแต่ละหลักสูตรต่อผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) และความต้องการจำเป็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Rating Score : 3
C.2.1 มีการกำกับติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาของแต่ละหลักสูตรให้บรรลุคุณลักษณะพึงประสงค์ของบัณฑิตและผลการเรียนรู้ Rating Score : 3
Strengths
1. คณะแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการมีหน้าที่กำกับติดตามการจัดการศึกษาของแต่ละหลักสูตร
2. มีการกำหนดให้แต่ละหลักสูตรประเมินผลการเรียนรู้ของหลักสูตรตามแนวทางของเกณฑ์ AUN-QA
Area for Improvement
1. ดำเนินการกำกับ ติดตาม ให้แต่ละหลักสูตรประเมินการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนให้ครบถ้วนตามที่คณะและหลักสูตรกำหนด
2. ทบทวนกระบวนการ (เครื่องมือและวิธีการ) ในการประเมินที่สามารถสะท้อนการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง
3. ทบทวนกระบวนการในการนำผลประเมินคุณภาพการศึกษามาใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการจัดการศึกษาของแต่ละหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตลอดจนผลลัพธ์การเรียนรู้
C.2.2 มีการกำกับติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาของแต่ละหลักสูตร ให้ตอบสนองความต้องการและจำเป็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Rating Score : 3
Strengths
1. มีการนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากผู้ใช้บัณฑิตมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการจัดการศึกษาของหลักสูตรให้ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Area for Improvement
1. ทบทวนการนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรมาประกอบการกำหนดแนวทางหรือนโยบายในการพัฒนาการจัดการศึกษาของแต่ละหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของผู้มีมีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นระบบ
2. ทุกหลักสูตรควรทบทวนกระบวนการจัดทำ PLOs โดยมีสารสนเทศจากกระบวนการรับฟังเสียงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญอย่างเป็นระบบและสื่อสารสู่ผู้ปฏิบัติในหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การส่งเสริมสมรรถนะและศักยภาพของผู้รับผิดชอบหลักสูตรและผู้สอนให้มีความเข้าใจในการจัดทำ และออกแบบหลักสูตรตามแนวทาง OBE
C.2.3 มีการกำกับดูแลกระบวนการวัด และประเมินผลผู้เรียนให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้คาดหวังหรือคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้เรียน เพื่อทำให้มั่นใจว่ากระบวนการวัดและผลจากการประเมินผู้เรียนนั้นมีความถูกต้อง เชื่อถือได้และเป็นธรรม (ensure validity, reliability and fairness) Rating Score : 3
Strengths
1. มีระบบกำกับและติดตาม ประเมินผลผู้เรียน และรายงานผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรต่อคณะกรรมการวิชาการตามระบบที่คณะที่กำหนดไว้
Area for Improvement
1. ขับเคลื่อนระบบการติดตาม ประเมินผลผู้เรียน และรายงานผลลัพธ์การเรียนรู้ให้ครอบคลุมทุกรายวิชาของแต่ละหลักสูตร เพื่อที่คณะจะสามารถนำผลการประเมินมากำหนดแนวทางในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
2. ทบทวนกระบวนการกำกับดูแลกระบวนการวัด และประเมินผลผู้เรียนของแต่ละหลักสูตรที่มี ensure validity, reliability and fairness เพื่อนำมาวิเคราะห์และกำหนดแนวทางพัฒนาปรับปรุงกระบวนการวัดและประเมินผลที่สะท้อนผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังหรือคุณสมบัติที่พึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด
C.2.4 มีการกำกับติดตามและประเมินผลของกระบวนการสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา งานให้คำแนะนำและบริการนักศึกษา (student supports / services / advices) เพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ตามผลการเรียนรู้และศักยภาพทางอาชีพ Rating Score : 3
Strengths
1. มีระบบประเมินสิ่งสนับสนับสนุน และความพึงพอใจต่าง ๆ ตลอดจนมีผลประเมินในระดับที่พึงพอใจ
2. มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษา และที่ปรึกษาชมรม ที่นักศึกษาสามารถรับคำแนะนำและให้คำปรึกษา
Area for Improvement
1. ทบทวนกระบวนการในการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาสิ่งสนับสนุนต่าง ๆ รวมถึงกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมผลักดันให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังหรือคุณสมบัติที่พึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด
2. การกำหนดแนวทางหรือระบบในการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของคณะตามพันธกิจต่าง ๆ โดยมีหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบตามช่วงเวลาและทันต่อการบริการ
Criteria 3 : ผลและกระบวนการวิจัย และกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมตามทิศทางการพัฒนาด้านวิจัยและเพื่อผู้เรียน Rating Score : 3
C.3.1 มีการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งจากภายในและภายนอกคณะ/สถาบันในการกำหนดหรือทบทวนทิศทางการวิจัยของคณะ/สถาบัน Rating Score : 3
Strengths
1. คณะมีการวางขั้นตอนการบริหารงานวิจัยและมีการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังเพื่อกำหนดทิศทาง โดยมีคณะกรรมการบริการวิชาการและวิจัยเป็นผู้กำกับดูแล และได้ใช้ข้อมูลจากภายในและภายนอกคณะ เพื่อการพัฒนาการดำเนินงาน
Area for Improvement
1. การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ท้าทายโดยคำนึงถึงผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่จะใช้เป็นตัวกำหนดทิศทางการวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ
C.3.2 มีการกำกับติดตามและประเมินผลการวิจัยและกระบวนการวิจัยให้ตอบสนองทิศทางการวิจัยของคณะ/สถาบันและใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงกระบวนการหรือปรับทิศทางการวิจัย Rating Score : 3
Strengths
1. คณะมีคณะกรรมการบริการวิชาการและวิจัย ทำหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับติดตามผลการดำเนินงานด้านการวิจัย
2. คณะมีการกำกับติดตามและประเมินผลงานวิจัย ตลอดจนมีการประเมินเทียบกับคู่เทียบ
3. บุคลากรสายวิชาการของคณะมีศักยภาพในด้านการวิจัย สร้างงานวิจัยที่นำสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ สอดคล้องกับทิศทางการวิจัยและพันธกิจของคณะ
4. คณะมีการบูรณาการพันธกิจด้านวิจัยกับการบริการวิชาการและการเรียนการสอน
Area for Improvement
1. การกำกับติดตามจำนวนและคุณภาพของงานวิจัยที่ตอบสนองทิศทางและเป้าหมายด้านวิจัยของคณะ
2. การวิเคราะห์ผลจากการกำกับติดตามงานวิจัยจากระบบที่คณะกำหนด ทั้งในเรื่องของทุนวิจัย ผลงานในลักษณะต่าง ๆ การพัฒนาบุคลากรวิจัย รูปแบบการบูรณาการ
3. การแสดงผลของการปรับปรุงกระบวนการวิจัยตามระบบที่คณะกำหนด ว่าส่งผลต่อตัวชี้วัดและเป้าหมายในประเด็นและระดับการพัฒนาอย่างไร
Criteria 4 : ผลและกระบวนการบริการวิชาการ ตามทิศทางการพัฒนาด้านบริการวิชาการแก่ชุมชน และเพื่อผู้เรียน Rating Score : 3
C.4.1 มีการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งจากภายในและภายนอกคณะ/สถาบันในการกำหนดหรือทบทวนทิศทางการบริการวิชาการ แก่ชุมชนและพัฒนาผู้เรียนของคณะ/สถาบัน ตามวิสัยทัศน์ ปณิธาน และ/หรือยุทธศาสตร์ของคณะ/สถาบันที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ Rating Score : 3
Strengths
1. คณะกำหนดแนวทางและขั้นตอนการบริหารงานบริการวิชาการ โดยเน้นการให้บริการวิชาการที่มาจากความต้องการของสังคม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยและยุทธศาสตร์ชาติด้านสิ่งแวดล้อม
Area for Improvement
1. พิจารณาทบทวนการจัดทำแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ด้านการบริการวิชาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 (รูปที่ C4.2) และผลการประเมินการดำเนินงานที่สนองตามแผนข้างต้น
2. การวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริการวิชาการที่คณะกำหนดให้บูรณาการกับการเรียนการสอน และการวิจัย โดยมีระบบการสังเคราะห์ข้อมูลที่สามารถนำผลมาพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาการบริการวิชาการได้ตามเป้าหมาย
C.4.2 มีการกำกับติดตามและประเมินผลการบริการวิชาการและกระบวนการบริการวิชาการให้ตอบสนองทิศทางการบริการวิชาการของคณะ/สถาบันและใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงกระบวนการหรือปรับทิศทาง Rating Score : 3
Strengths
1. คณะมีคณะกรรมการบริการวิชาการและวิจัย ทำหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับติดตามผลการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการ
2. คณะมีการติดตามและประเมินผลโครงการวิชาการ และมีการปรับปรุงการดำเนินงาน เช่น การบูรณาการวิชาการระหว่างสาขาวิชาที่ดีขึ้น และการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ชุมชน ท้องถิ่นในปีงบประมาณ 2565 เป็นต้น
Area for Improvement
1. พิจารณาทบทวนการกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
2. การกำกับติดตาม ผลลัพธ์การเรียนรู้ในระดับรายวิชาที่สอดคล้องกับพันธกิจด้านการบริการวิชาการที่บูรณาการกับการเรียนการสอน
3. ทบทวนการประเมินผลของการบริการวิชาการตามระบบที่คณะกำหนดและนำผลลัพธ์ของการบริหารจัดการงานบริการวิชาการมาพัฒนาแนวทาง หรือกระบวนการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ทั้งต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในคณะ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกทั้งชุมชน องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Criteria 5 : ผลและกระบวนการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้สอดคล้องหรือบูรณาการกับพันธกิจอื่นของสถาบัน Rating Score : 3
C.5.1 มีการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งจากภายในและภายนอกคณะ/สถาบันในการกำหนดหรือทบทวนทิศทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับพันธกิจอื่นของคณะ/สถาบัน หรือเพื่อการพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมความเข้าใจหรือการสืบสานต่อยอดศิลปวัฒนธรรม Rating Score : 3
Strengths
1. คณะมีการใช้ทิศทางและนโยบายของมหาวิทยาลัย มากำหนดแนวทางการดำเนินงานการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของคณะ โดยในปีงบประมาณ 2565 เน้นการสร้าง อัตลักษณ์ของนักศึกษาในคณะ
Area for Improvement
1. คณะควรมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญด้านการดำเนินการพันธกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมทั้งในระดับคณะและบุคคล เพื่อสร้างแนวทางในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดยคำนึงถึงบริบทของคณะ
C.5.2 มีการกำกับดูแลและประเมินผลการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและกระบวนการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้ตอบสนองทิศทางการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของหน่วยงานและใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงกระบวนการหรือปรับทิศทาง Rating Score : 3
Strengths
1. คณะมีคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทำหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับติดตามผลการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และมีขั้นตอนในการกำกับดูแล และประเมินผลโครงการ
Area for Improvement
1. การทบทวนพันธกิจด้านศิลปและวัฒนธรรมที่คณะพึงมี โดยคำนึงถึงค่านิยม และอัตลักษณ์ที่คณะต้องการส่งเสริม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานด้านนี้ และทบทวนระบบการกำกับดูแล และประเมินผลให้สอดคล้องกับแนวทางที่ชัดเจน
Criteria 6 : ผลและกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล Rating Score : 3
C.6.1 มีการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการวางแผนอัตรากำลังของบุคลากร Rating Score : 3
Strengths
1. มีแนวทางการวิเคราะห์อัตรากำลังจากการเก็บข้อมูลสายวิชาการและสายสนับสนุนที่เน้นตำแหน่งหน้าที่ บทบาทการทำงาน ปริมาณคงอยู่และระยะเวลาเกษียนอายุ และมีระบบกำกับติดตามการจัดทำแผน IDP
Area for Improvement
1. การวิเคราะห์อัตรากำลังกับแนวทางการขับเคลื่อนพันธกิจตามยุทธศาสตร์คณะ ซึ่งต้องใช้ข้อมูลอย่างรอบด้านทั้งในเรื่องจำนวน คุณสมบัติ ความสามารถที่จะจัดการต่อพันธกิจต่างๆ อย่างเหมาะสมทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยควรมีการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่คณะและมหาวิทยาลัยต้องดำเนินการ
C.6.2 มีการกำกับ ติดตาม ดำเนินการ และประเมินแผนอัตรากำลังของบุคลากร และใช้ผลการประเมินในการทบทวนและปรับปรุงอัตรากำลังให้มีความเหมาะสมกับความต้องการจำเป็นของคณะ/สถาบัน Rating Score : 3
Strengths
1. คณะมีระบบกำกับติตามการดำเนินงานตามแผนอัตรากำลัง โดยคณะกรรมการคณะและคณะกรรมการพัฒนาบุคลากรคณะ และมีแนวทางการปรับปรุงการจัดทำแผนอัตรากำลังสายวิชาการที่ชัดเจนตามภาระงานในพันธกิจต่างๆ
Area for Improvement
1. การวิเคราะห์ผลของการปรับปรุงอัตรากำลังตามที่วิเคราะห์ว่าส่งผลต่อการบริหารจัดการได้ตามยุทธศาสตร์ที่คณะต้องการขับเคลื่อนได้ตามเป้าหมายอย่างไร
C.6.3 มีการกำหนดสมรรถนะของบุคลากรที่จำเป็นในการขับเคลื่อนพันธกิจต่าง ๆ ของคณะ/สถาบัน มีการติดตามประเมินสมรรถนะของบุคลากรและใช้ผลการประเมินเพื่อการปรับปรุงพัฒนาบุคลากร Rating Score : 3
Strengths
1. มีการวิเคราะห์สมรรถนะตามระบบมหาวิทยาลัย และทำให้อาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนมีผลของการพัฒนาตนเองในตำแหน่งที่สูงขึ้น
Area for Improvement
1. คณะควรวิเคราะห์สมรรถนะของบุคลากรที่สอดคล้องกับการพัฒนาพันธกิจของคณะ โดยคำนึงถึงค่านิยม ปรัชญา ปณิธานและวิสัยทัศน์ของคณะอย่างชัดเจน และมีระบบในการกำกับติดตามสมรรถนะบุคลากร ที่ทำให้การดำเนินงานของพันธกิจบรรลุตามเป้าหมาย
C.6.4 มีการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการได้รับการพัฒนาของบุคลากร และใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการวางแผนพัฒนาบุคลากร Rating Score : 3
Strengths
1. มีการวิเคราะห์ความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากร และกำหนดเป็น IDP Plan ของบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน
Area for Improvement
1. พบว่า การกำหนดความต้องการในแผนพัฒนาบุคลากร 11 ประเด็น ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ โดยเฉพาะด้านวิจัย ด้านบริการวิชาการ ด้านการสอน และด้านการพัฒนาหลักสูตร ทั้งเชิงวิชาการและวิชาชีพ คณะควรทบทวนและกำหนดแผนการพัฒนาที่สอดคล้องกับพันธกิจตามยุทธศาสตร์เป็นตัวหลักมากกว่าการกำหนดการพัฒนา IDP
C.6.5 มีการกำกับ ติดตาม ดำเนินการ และประเมินแผนพัฒนาบุคลากร และใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงพัฒนาบุคลากร Rating Score : 3
Strengths
1. มีระบบกำกับติดตาม แผนพัฒนาบุคลากรโดยคณะกรรมการพัฒนาบุคลากร ที่เน้นจำนวนผู้ไปพัฒนา
Area for Improvement
1. คณะควรวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการพัฒนาบุคลากร โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาคณะเป็นหลัก และใช้ส่วนหนึ่งของการพัฒนา IDP เป็นตัวบูรณาการ หรือ ด้วยกระบวนการอื่น ๆ ที่คณะสามารถขับเคลื่อนได้
C.6.6 มีระบบการประเมินความดีความชอบ ให้รางวัล ยกย่อง และเพิ่มขวัญและกำลังใจของบุคลากรด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม สอดคล้องเหมาะสมกับทิศทางการพัฒนาของคณะ/สถาบัน และส่งเสริมให้เกิดความมุ่งมั่น ร่วมแรงร่วมใจของบุคลากรในการดำเนินพันธกิจต่าง ๆ (Merit System) Rating Score : 3
Strengths
1. มีการใช้ระบบการประเมินของมหาวิทยาลัย และคณะได้มีการสร้างระบบเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในงานวิจัย เป็นประเด็นสำคัญ
Area for Improvement
1. คณะควรมีแนวทางในการวางแผนเพื่อให้เกิดระบบประเมินความดีความชอบ ให้รางวัล ยกย่อง และเพิ่มขวัญและกำลังใจ โดยมีเป้าหมายให้สอดคล้องกับพันธกิจที่สำคัญทั้งในตัวบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน รวมทั้งการบูรณาการกับการเรียนการสอนที่คณะมีรางวัลจากผลงานของนักศึกษา
Criteria 7 : ผลและกระบวนการบริหารจัดการด้านกายภาพ Rating Score : 3
C.7.1 มีการจัดหา บำรุงรักษา และประเมิน ผลการจัดหาและบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ที่ใช้ในการจัดการเรียน การสอน และการฝึกปฏิบัติของผู้เรียน เพื่อให้มีความเพียงพอพร้อมใช้ทันสมัยและตอบสนองความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติ Rating Score : 3
Strengths
1. มีการจัดหา ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการเฉพาะทางของแต่ละสาขา
Area for Improvement
1. ทบทวนกระบวนการในการจัดหา บำรุงรักษาอุปกรณ์ โสตทัศนูปกรณ์โรงเรือนปฏิบัติการ เครื่องมือต่าง ๆ ให้มีความทันสมัย พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
C.7.2 มีการจัดหา บำรุงรักษา ให้บริการ และประเมินผลการจัดหา บำรุงรักษา และให้บริการวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้มีความเพียงพอ พร้อมใช้ ทันสมัย และตอบสนองความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียน การสอน และการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและการบริหารจัดการพันธกิจต่าง ๆ Rating Score : 3
Strengths
1. มีจุดกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ครอบคุลม
Area for Improvement
1. ทบทวนกระบวนการตรวจสอบสัญญาณเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้มีความพร้อมใช้อยู่เสมอ ตลอดจนวางแนวทางในการแก้อย่างเร่งด่วนในกรณีที่มีเหตุขัดข้อง
2. วางแผนในการจัดหา และส่งเสริมในนักศึกษาและบุคลากรใช้งานโปรแกรมที่ถูกลิขสิทธิ์
C.7.3 มีการจัดหา บำรุงรักษา ให้บริการ และประเมินผลการจัดหา บำรุงรักษา และให้บริการทรัพยากรในห้องสมุด เพื่อให้มีความเพียงพอ พร้อมใช้ ทันสมัย และตอบสนองความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน Rating Score : 4
Strengths
1. มีการให้บริการของห้องสมุดประจำคณะ และพัฒนาในรูปแบบ E – library
2. มีการจัดเตรียม Co-working space ภายในคณะเพื่อเป็นแหล่งให้นักศึกษาทำกิจกรรมและเสริมสร้างการเรียนรู้
Area for Improvement
1. ทบทวนกระบวนการจัดหาหนังสือ ตำราที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในแต่ละสาขาวิชาให้มีความเพียงพอกับความต้องการของนักศึกษา ตลอดจนตรวจสอบความทันสมัยของหนังสือหรือตำราเพิ่มมากขึ้น
2. ทบทวนกระบวนการในการให้ความรู้ในการใช้ทรัพยากรและบริการต่าง ๆ ของห้องสมุดเพื่อให้เกิดการใช้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
C.7.4 มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สภาพแวดล้อมทางสังคม และสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ศักยภาพ คุณภาพชีวิต สุขภาพ และความปลอดภัยของผู้เรียน Rating Score : 3
Strengths
1. มีการดำเนินงาน Green office และประยุกต์ใช้ในการจัดการลักษณะทางกายภาพของคณะ
2. มีสนามออกกำลังกายภายในคณะให้กับนักศึกษา
Area for Improvement
1. ทวนกระบวนการในการดูแลสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งอำนายความสะดวกแก่ผู้ใช้งานทั้งปกติและผู้ที่มีความต้องการพิเศษ เช่น ห้องสุขาสำหรับเพศทางเลือก หรือผู้บกพร่องทางด้านร่างกาย รวมถึงสุขภาวะที่ดี โดยคำนึงถึงความเพียงพอ การดูแลให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
Criteria 8 : ผลและกระบวนการบริหารจัดการด้านภาวะผู้นำ ธรรมาภิบาล และการตอบสนองผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Rating Score : 3
C.8.1 มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกคณะ/สถาบันอย่างเป็นระบบ Rating Score : 3
Strengths
1. คณะกำหนดแนวทางรับฟังคิดเห็นจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก ตามพันธกิจ 5 ด้าน โดยมีผู้รับผิดชอบ ช่องทางการสื่อสาร ระยะเวลา และวิธีการต่างๆ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการบริหารจัดการ
Area for Improvement
1. การประเมินผลของการกำหนดแนวทางรับฟังเสียงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กับข้อมูลที่ได้มาว่ามีความสอดคล้องกับการนำไปใช้ในการพัฒนาพันธกิจต่าง ๆ มากน้อยอย่างไร หรือจักต้องปรับรายละเอียดตรงส่วนใดเพื่อให้กระบวนการดังกล่าวให้มีความเหมาะสมกับการนำไปใช้ตามพันธกิจที่กำหนด
C.8.2 มีการใช้ข้อมูลความคิดเห็นและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งสารสนเทศอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดทำวิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนกลยุทธ์ Rating Score : 3
Strengths
1. ปีการศึกษา ๒๕๖๕ คณะใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์โดยมอบให้ผู้เกี่ยวข้องวิเคราะห์การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย SWOT และ TOWS เพื่อทบทวนวิสัยทัศน์และพันธกิจ และใช้ในการทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ
Area for Improvement
1. การวิเคราะห์กระบวนการใช้ข้อมูลที่ได้มาจากกระบวนการรับฟังเสียงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่แสดงให้เห็นถึงผลผลิตและผลลัพธ์ของการนำไปใช้การพัฒนาพันธกิจต่างๆ (โดยอาจแสดงผลชองการส่งเสริมกระบวนการทำงานและทำให้เกิดผลดีในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างไร)
C.8.3 มีกระบวนการถ่ายทอดแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ กำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์อย่างเป็นระบบ และใช้ผลการประเมินในการปรับปรุงพัฒนาเพื่อผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ Rating Score : 3
Strengths
1. คณะมีการกำหนดขั้นตอนการถ่ายทอดแผนกลยุทธ์ตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย 6 มิติ สู่แผนปฏิบัติการประจำปี และมีกระบวนการกำกับติดตาม และการปรับปรุงพัฒนาแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ สู่แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ผ่านการประชุมของผู้บริหาร ประธานผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และหัวหน้างานที่เกี่ยวข้อง
Area for Improvement
1. การวิเคราะห์กระบวนการถ่ายทอดแผนต่างๆ และผลการดำเนินงานตามพันธกิจเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของแผนกลยุทธ์ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพตามพันธกิจที่สอดคล้องกับเป้าหมายการบรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ (ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจาก C1 – C7 จะเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงให้เห็นว่าบรรลุตามเป้าหมายมากน้อยเพียงไร และอาจพบว่าการถ่ายทอดลงสู่การปฏิบัติในแต่ละจุดควรแก้ไขในประเด็นใด)
C.8.4 มีกระบวนการสื่อสารข้อมูลสำคัญตามพันธกิจและกระบวนการสร้างความผูกพันกับบุคลากรและผู้เรียน รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญอย่างเป็นระบบ Rating Score : 3
Strengths
1. คณะกำหนดแนวทางการสื่อสารผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านกิจกรรมและโครงการข่าวสารและข้อมูลตามพันธกิจต่างๆ ในแผนปฏิบัติการประจำปี (อ้างอิง 8.5) และมีการประเมินช่องทางการสื่อสาร รูปแบบการสื่อสาร และข้อมูลสารสนเทศในการสื่อสาร สรุปได้ว่า Facebook เพจคณะ และเว็บไซด์คณะ เหมาะสมต่อการสื่อสารที่ดี
Area for Improvement
1. การวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการสื่อสารที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การพัฒนาพันธกิจที่ครบถ้วน รวมถึงกระบวนการสร้างความผูกผัน นอกเหนือจากการประเมินช่องทางการสื่อสารโดยควรพิจารณาทั้งรูปแบบและสาระสำคัญตามพันธกิจ และอาจนำไปแลกเปลี่ยนรู้เพื่อพัฒนาพันธกิจต่าง ๆ ของทั้งหลักสูตรและคณะ โดยคำนึงถึงยุทธศาสตร์ที่ต้องการขับเคลื่อนตามวิสัยทัศน์
C.8.5 มีกระบวนการประเมินภาวะผู้นำ ธรรมาภิบาล และผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารคณะ/สถาบัน รวมทั้งผู้บริหารสูงสุด และสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน และใช้ผลการประเมินเพื่อการพัฒนาปรับปรุง Rating Score : 3
Strengths
1. มีการประเมินคณบดี รองคณบดี และคณะกรรมการคณะ ผ่านที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาบุคลากรของคณะ
Area for Improvement
1. กระบวนการประเมินภาวะผู้นำและผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารควรมีการประเมินให้ครบทุกระดับ และให้ครบทุกกลุ่มงานทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน โดยควรทบทวนประเด็นของเรื่องที่จะประเมินให้สอดคล้องกับงานและพันธกิจ และมีระบบในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ตลอดถึงการแจ้งผลเพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนารายบุคคลโดยคำนึงความสอดคล้องของกลยุทธ์ตามวิสัยทัศน์ของคณะ
C.8.6 มีการใช้ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาทุกระดับในการพัฒนา ปรับปรุง การบริหารและการดำเนินพันธกิจของคณะ/สถาบัน Rating Score : 3
Strengths
1. มีกระบวนการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับหลักสูตรและในระดับคณะ และนำข้อมูลจากการประเมินมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการดำเนินงานตามที่มีข้อเสนอแนะ และมีผลการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นตามเกณฑ์บางส่วน
2. มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละส่วนงานที่ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ในแต่ละพันธกิจ โดยจัดเก็บไว้ในไดรฟ์ของคณะ
Area for Improvement
1. ควรมีการรวบรวมผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นจาการปรับปรุงพัฒนาเพื่อแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายการพัฒนาในแต่ละช่วงเวลา และควรแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาตามพันธกิจที่ถูกนำไปวางแผนในการประเมินรอบต่อไป ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
2. จากข้อมูลที่รวบรวมไว้ควรมีการวิเคราะห์และมีระบบจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเพื่อแสดงถึงสถิติของข้อมูลและสารสนเทศเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลที่สำคัญในการตัดสินใจของผู้บริหารในการบริหารจัดการพันธกิจ โดยฐานข้อมูลนี้ควรมีระบบของการเข้าถึงและความปลอดภัย
สรุปคะแนนในภาพรวม : 3
ข้อมูลสะท้อนข้อคิดจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
1. ผู้บริหาร
ข้อมูลสะท้อนความคิด

1. คณะมีการขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมกับคู่ความร่วมมือด้านวิจัยและบริการวิชาการ

2. คณะมีการบูรณาการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการบริการวิชาการและการวิจัย เพื่อให้ครอบคลุมทุกหลักสูตรแต่ก็ยังไม่ครอบคลุมกับกลุ่ม HR ทั้งนี้ในปีต่อไปได้ตั้งเป้าการบริการจัดการให้ครอบคลุม

3. คณะมีการดำเนินการวิเคราะห์คู่เทียบในส่วนของหลักสูตรวิศวกรรมเกษตร กับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น

4. คณะมีโครงการวิจัยที่ค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นจุดหนึ่งในการเพิ่มจำนวนนักศึกษาใน 2-3 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นจากการสื่อสารประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยของอาจารย์เชิงประจักษ์

5. คณะได้กำหนดแผนการทดแทนอัตรากำลังบุคลากรเกษียณเพื่อให้ได้บุคลากรที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการบริหารจัดการ

ผู้ให้สัมภาษณ์

ผู้บริหาร

ชุดเดิม

1. รองศาสตราจารย์จักรพงษ์ พิมพ์พิมล คณบดี

2. รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ จตุรงค์ล้ำเลิศ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย

4. อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและสิ่งแวดล้อม

ชุดปัจจุบัน

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคประสม คณบดี

2. อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพร ปัญโญใหญ่ รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการ

4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินันท์ รัตนพรหม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและการต่างประเทศ

5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกวรรณ ตาลดี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และงานคลัง

6. อาจารย์ ดร.แพรวพรรณ จอมงาม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยี นวัตกรรมและจัดหารายได้

ผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี

1. นางชุลีพันธ์ วงศ์คำตัน

2. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ข้อมูลสะท้อนความคิด

1. การจัดการเรียนการสอนในบางหลักสูตรมีการบูรณาการร่วมกัน เนื่องจากในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมามีจำนวนนักศึกษามีแนวโน้มที่สูงขึ้นในบางหลักสูตรซึ่งเกินแผนการรับนักศึกษาในเล่ม มคอ.2 และสามารถบริหารจัดการได้ เช่น สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

2. หลักสูตรมีการสื่อสารให้กลุ่มเป้าหมายในการรับนักศึกษา ผ่านสื่อสังคมออนไลน์หลากหลายช่องทาง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างสม่ำเสมอ กับกลุ่มศิษย์เก่าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อื่น ๆ เพื่อกระตุ้นยอดนักศึกษาให้เป็นไปตามแผนการรับนักศึกษาของหลักสูตร

3. คณะมีระบบกำกับติดตามการดำเนินการของกระบวนการจัดทำหลักสูตรโดยคณะกรรมการวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้หลักสูตรมีการพัฒนา PLOs ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โดยสื่อสารให้อาจารย์ผู้สอนรับรู้ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของแต่ละหลักสูตรในการประชุมคณะ เพื่อนำไปทบทวนจัดทำกระบวนการให้สอดคล้องตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร

4. มีข้อเสนอแนะให้ขยายการเปิดหลักสูตร สาขาวิชาวิศวกรรมที่ทันสมัยเพิ่มขึ้น เช่น ด้านวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธา เพื่อเป็นฐานของวิศวกรรมเกษตร รวมถึงการสร้างสื่อและเทคโนโลยีในการสอนที่เป็นระบบอัตโนมัติ เช่น หุ่นยนต์ โรงงานอัจฉริยะ เป็นต้น

5. การพัฒนาหลักสูตร Non-Degree (หลักสูตรระยะสั้น) เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าที่ไม่ต้องการการศึกษาในระบบ

ผู้ให้สัมภาษณ์

1. รองศาสตราจารย์ ดร.จตุรภัทร วาฤทธิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร

2. รองศาสตราจารย์บัณฑิต หิรัญสถิตย์พร สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินันท์ รัตนพรหม สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอ

4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนันท์ภัสร์ ราษฎร์นิยม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

5. อาจารย์ ดร.ธิดารัตน์ แก้วคำ สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

3. นักศึกษาปัจจุบัน
ข้อมูลสะท้อนความคิด

1. นักศึกษามีการศึกษาเพื่อรับรู้ข้อมูลของหลักสูตรที่เพียงพอต่อการตัดสินใจเข้ามาศึกษาต่อ โดยมีเป้าหมายที่ค่อนข้างชัดเจนในการต่อยอดการพัฒนาธุรกิจเกษตรของครอบครัว และการประกอบอาชีพในอนาคต

2. นักศึกษาบางส่วนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการของหลักสูตร ผ่านรายวิชาหรือกิจกรรมที่นักศึกษากำหนดขึ้นเอง หรือร่วมกับงานวิจัยของอาจารย์

3. อุปกรณ์ครุภัณฑ์ สารเคมี ยังมีไม่เพียงพอและทันสมัยต่อการเรียนการสอน และต้องการให้คณะเพิ่มสื่อการเรียนการสอนที่มีเทคโนโลยีทันสมัย เช่น เครื่องปรินส์ 3D

4. นักศึกษาต้องการให้คณะบริหารจัดการอาคารสถานที่เพื่อการเรียนการสอน การทำกิจกรรมให้เพียงพอและเหมาะสมต่อปริมาณและคุณภาพชีวิตของนักศึกษา

5. เพิ่มการศึกษาดูงานนอกพื้นที่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อหาประสบการณ์นอกห้องเรียนที่จะเรียนรู้จากสถานการณ์จริงมาปรับใช้กับการเรียนของตนเองและเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ

6. เพิ่มพื้นที่การปฎิบัติการที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับรายวิชาที่ต้องการใช้ทดลองหรือใช้ในการทำโครงงาน

7. อยากให้คณะวางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมทักษะด้านวิชาการและวิชาชีพ เช่น เวทีการแข่งขันต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากภายนอกในการพัฒนาตนเองมากขึ้น

8. คณะเปิดโอกาสให้นักศึกษาสร้างกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยขับเคลื่อนผ่านชมรมของสาขาและสโมสรนักศึกษาในการจัดกิจกรรมต่างๆ และมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนา

ผู้ให้สัมภาษณ์

1. นายอมร ธนะโรจน์รุ่งเรือง สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร รหัสนักศึกษา 6403101345

2. นายกฤษฎา มุ่งพูนกลาง สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ รหัสนักศึกษา 6303105301

3. นางสาว จันทร์จิรา เกษี สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว รหัสนักศึกษา 630310430

4. นางสาวธนธรณ์ ชอบใหญ่ สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร รหัสนักศึกษา 6403102332

5. นางสาวธนพร ชอบใหญ่ สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร รหัสนักศึกษา 6403102333

4. บุคลากรสายสนับสนุน
ข้อมูลสะท้อนความคิด

1. ส่วนงานสนับสนุนวิชาการสำนักงานคณบดี มีระบบในการจัดทำข้อมูลส่วนกลาง โดยการจัดทำฐานข้อมูลเป็นอยู่ในลิงค์ ที่ทุกส่วนงานและทุกคนสามารถดึงข้อมูลไปใช้ได้ซึ่งจะได้รับสิทธิ์ในการดูและนำไปใช้

2. คณะได้กำหนดแผนการพัฒนาบุคลากรตาม IDP ในการวัดประเมินผลตามสายงานให้มีความเชี่ยวชาญที่สูงขึ้นไป

3. คณะได้มีการบริหารจัดการซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างที่ชำรุด เช่น ห้องเรียน ห้องน้ำ ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนผ่านคณะ เพื่อไม่กระทบต่อการเรียนของนักศึกษาและผู้ใช้บริการ

4. คณะควรจัดมีการจัดการเรียนการสอน และการวิจัยที่บูรณาการข้ามหลักสูตร เพื่อให้เกิดการประหยัดงบประมาณในการบริหารจัดการ นอกจากนี้คณะควรมีการกำหนดเป้าหมายในการส่งเสริม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้หลักสูตรนำไปบูรณาการกับรายวิชาทุกหลักสูตร

5. คณะควรมีการพัฒนาหลักสูตรใหม่ให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษาและเพิ่มงบประมาณในการดำเนินงานของคณะและเพิ่มทรัพยากรสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนอื่น ๆ ให้มากยิ่งขึ้น

6. คณะควรมีการวิเคราะห์สมรรถนะของสายสนับสนุนให้ชัดเจน ว่าแต่ละคนแต่ละงานขาดสมรรถนะใดและเพียงพอหรือไม่เพียงพอ พร้อมทั้งผลักดันให้สายสนับสนุนได้รับโอกาสในการพัฒนาตามสมรรถนะ โดยคณะควรมีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร และวิเคราะห์เรียงลำดับความสำคัญเพื่อรับการพัฒนาให้ทั่วถึง และนำมาบูรณาการงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของคณะ

ผู้ให้สัมภาษณ์

1. นางสาวรัชนี ทัศเกตุ

2. นางวิภาวรรณ ผาภูมิ

3. นายอดุลย์ โพธิ

4. นางสาวยุรีวรรณ นนทวาสี

5. นางสาวปวริศา ศรีสง่า

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ

1. ทบทวนกระบวนการวิเคราะห์วิสัยทัศน์และกำหนดทิศทางของคณะให้สอดคล้องกับความต้องของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกให้ชัดเจน และสื่อสารสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง

2. การแสดงผลลัพธ์ที่สะท้อนผลตามเป้าหมายในพันธกิจต่าง ๆ โดยคณะควรวิเคราะห์ตัวชี้วัด และเป้าหมายที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และกำหนดกระบวนการจัดการสารสนเทศที่จะนำไปใช้ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินการเพื่อการพัฒนาในแต่ละช่วงเวลา

3. การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากพันธกิจทุกประเด็น โดยคำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงภายนอกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะเรื่องของการบริหารการเงิน ทรัพยากรต่าง ๆ และเทคโนโลยีที่ปรับเปลี่ยน

4. การพัฒนาค่านิยมของบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนอย่างเป็นระบบ และให้มีเป้าหมายต่อการพัฒนาสมรรถนะ และศักยภาพของบุคลากรเพื่อรองรับการพัฒนายุทธศาสตร์ของคณะ รวมถึงการพัฒนาอัตลักษณ์ของนักศึกษา

5. ทบทวนและศึกษาการเขียนโครงร่างองค์กรของคณะโดยมีสารสนเทศที่สำคัญประกอบการพิจารณา

กำหนดการประเมิน

กำหนดการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ

คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปีการศึกษา 2565

ระหว่างวันที่ 26-27 กรกฎาคม 2566

ห้องประชุมชั้น 4 อาคารเรียนรวม สาขาวิศวกรรมศาสตร์

**********************

วัน/เวลา กิจกรรม สถานที่

26 กรกฎาคม 2566

09.00-09.30 น.

09.30-10.30 น.

10.30-11.00 น.

11.00-11.30 น.

11.30-12.00 น.

12.00-13.00 น.

13.00-16.30 น.

คณะกรรมการประเมินฯ พบผู้บริหารคณะฯ

- คณบดีแนะนำคณะฯ และผู้บริหาร

- ผู้บริหารนำเสนอผลการดำเนินงานของคณะฯ

- คณะกรรมการประเมินฯ กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประเมิน

สัมภาษณ์ผู้บริหาร (คณบดี รองคณบดี และผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี)

สัมภาษณ์ตัวแทนอาจารย์

สัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา

สัมภาษณ์ตัวแทนบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ

(ด้านวิชาการ,ธุรการ,การวิจัย,การเงิน,แผน)

รับประทานอาหารกลางวัน

คณะกรรมการฯ ประชุม ศึกษาข้อมูลและเอกสาร

ห้องประชุมชั้น 4

อาคารเรียนรวม

สาขาวิศวกรรมศาสตร์

27 กรกฎาคม 2566

09.00-12.00 น.

12.00-13.00 น.

13.00-15.00 น.

15.00-16.30 น.

คณะกรรมการฯ ประชุมและสรุปผลการประเมิน

รับประทานอาหารกลางวัน

คณะกรรมการฯ ประชุมและสรุปผลการประเมิน

คณะกรรมการฯ นำเสนอผลการประเมินคุณภาพภายในต่อบุคลากรคณะฯ

ห้องประชุมชั้น 4

อาคารเรียนรวม

สาขาวิศวกรรมศาสตร์

หมายเหตุ กำหนดการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

เอกสารประกอบ
รูปภาพประกอบกิจกรรม
ลงนามรับรองจากกรรมการประเมิน
(รองศาสตราจารย์จันทนี เพชรานนท์)
ประธาน
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์)
กรรมการ
(อาจารย์ ดร.อานนท์ ปะเสระกัง)
กรรมการ
(น.ส.โสภา หาญยุทธ)
เลขานุการ

ได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาในวันที่ 27 กรกฎาคม 2566