20290 : “ปั้นนวัตกรน้อย” เพื่อการพัฒนาสินค้าเกษตรและการตลาดออนไลน์ในชุมชนตำบลป่าไผ่สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (ยุวชนอาสา ประจำปีงบประมาณ 2566)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
นายฉัตรชัย ก๋าเร็ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการในลักษณะโครงการ (Project base) เพื่อบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
26/06/2566  ถึง  30/11/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  120  คน
รายละเอียด  นักศึกษา และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น คณะบริหารธุรกิจ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2566 250,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ปิยวรรณ  สิริประเสริฐศิลป์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะบริหารธุรกิจ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ BA66-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ BA66-G-15 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด BA66-KPI-24 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ BA66-S-42 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ทิศทางการพัฒนาประเทศ ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 มุ่งเน้นการแก้ปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ ต้องการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถแก่ชุมชนและท้องถิ่นให้เรียนรู้สิ่งใหม่ พึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนสามารถปรับใช้นวัตกรรม นำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงและจัดการปัญหาการพัฒนาอาชีพในชุมชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตรกรรมภายใต้การเติบโตสีเขียว (Green Growth) เพื่อพัฒนาผลผลิตทางมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสร้างพลังทางสังคมให้เป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม การเกษตรที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ เกษตรและอาหาร พลังงาน สุขภาพ และการท่องเที่ยว ซึ่งเกี่ยวข้องกับชุมชนที่เป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรรายย่อย ผู้ประกอการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และชุมชน ด้วยประเทศไทยมุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่มีเป้าหมายการขับเคลื่อนความมั่งคง มั่งคั่งด้วยนวัตกรรม ดังนั้น การที่จะพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและต่อเนื่องด้วยชุมชนเองได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ชุมชนต้องเข้าใจและมีแนวทางในการสร้างนวัตกรรมภายในชุมชนเอง และมีวิธีการสนับสนุนอย่างไรให้เกิดนวัตกรรม ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 8 หมู่บ้าน พื้นที่นา 2,100 ไร่ พื้นที่ไร่ 300 ไร่ พื้นที่สวน 478 ไร่ พื้นที่เลี้ยงสัตว์ 15 ไร่ พื้นที่ประมง 142 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 7,505 ไร่ พื้นที่ชลประทาน 12,300 ไร่ เนื่องจากมีแหล่งน้ำปริมาณมาก อาชีพส่วนใหญ่จึงทำการเกษตรปลูกผัก ทำสวน และการประมง รองลงมาคือรับจ้างทั่วไป และค้าขาย มีรายได้ (เฉลี่ยต่อคน/ปี) 84,417 บาท/ปี รายจ่าย (เฉลี่ยต่อคน/ปี) 78,011.94 บาท/ปี (รายงานผลการสำรวจเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564) จากการประชุมผู้นำและคณะกรรมการชุมชนป่าไผ่ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ วันที่ 20 ธันวาคม 2564 ที่ศาลาประชาคม หมู่ 1 บ้านเหล่ายาว ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาชุมชนป่าไผ่ให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น จากอาชีพการทำการเกษตร โดยมุ่งทำการเกษตรปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลการประชุมได้ข้อสรุปความต้องการของชุมชน/พื้นที่ที่รับผิดชอบที่ยังคงต้องพัฒนาต่อยอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและพัฒนานักนวัตกร ให้เกิดการเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนป่าไผ่ ดังนี้ (1) พัฒนาต่อยอดสินค้าเกษตร เพื่อการเพิ่มรายได้รูปแบบอื่นให้แก่ชุมชนให้มากยิ่งขึ้น อาทิ ผัก ผลไม้ สมุนไพร กบ จิ้งหรีด ปลานิลอินทรี ที่ต้องการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน (2) สร้างอาชีพการเกษตรสู่เกษตรปลอดภัยและอินทรีย์ให้มากยิ่งขึ้น และยกระดับเกษตรกรอินทรีย์สู่การรับรองมาตรฐานให้มากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการบริโภคอาหารปลอดภัย (3) พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ เพื่อรองรับสังคมเมืองสู่ชุมชนป่าไผ่ ตามเป้าหมายสิ่งแวดล้อมสมดุลสู่ “ป่าไผ่เมืองพัฒนาชุมชนให้มั่นคง สู่การเป็นท้องถิ่นที่เข้มแข็มด้วยภูมินิเวศเกษตร” (4) พัฒนาเยาวชนคนรุ่นใหม่ขับเคลื่อนชุมชนเศรษฐกิจสีเขียว (5) หาแนวทางการให้ความรู้ ความเข้าใจและส่งเสริมการบริโภคที่ผลิตเองที่ถูกสุขอนามัย จัดการเศษอาหารและสิ่งเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ในครัวเรือนและท้องถิ่น (6) ส่งเสริมให้คนในชุมชนป่าไผ่บริโภคสินค้าและผลิตภัณฑ์ ที่ชุมชนผลิตขึ้น (7) มีกิจกรรมที่สนับสนุนส่งเสริมด้านการจัดการน้ำเพื่อผลิตเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน (8) หน่วยรวบรวมสินค้า และผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ผลิตขึ้น เพื่อเชื่อมโยงผู้บริโภคทั้งรายย่อยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในตำบลป่าไผ่พัฒนาตลาดออนไลน์ของชุมชน (9) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนป่าไผ่ที่เน้นเชิงวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมสู่เป้าหมาย “ป่าไผ่เมืองภูมินิเวศเกษตร” จากความต้องการของชุมชนป่าไผ่ข้างต้น คณาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความต้องการทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าและต่อยอดสินค้าเกษตรให้กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร และวิสาหกิจในชุมชน โดยประยุกต์ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้ได้ผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างน้อย 5 ผลิตภัณฑ์สู่การตลาดออนไลน์ ตลอดจน ค้นหาและสร้างทีมนวัตกรในพื้นที่ชุมชนป่าไผ่สู่เศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมีการดำเนินการตามแนวทางการสร้างและสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมแก่เกษตรกร ผู้ประกอบการธุรกิจ และวิสาหกิจชุมชนป่าไผ่ เริ่มตั้งแต่ การเรียนรู้ด้านนวัตกรรม (Innovation) สินค้า (Production) และกำหนดแนวทางในการเสริมสร้างทักษะให้ตรงกับความต้องการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้การขับเคลื่อนผ่านกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบ Production Based Learning นำไปสู่การทดลองปฏิบัติจริง ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมกลุ่มยุวชนสู่การเป็นนวัตกรน้อยในการถ่ายทอดความรู้ความสามารถด้านการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อการค้า และการตลาดออนไลน์ให้กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการ และวิสาหกิจในชุมชนป่าไผ่
เพื่อเพิ่มมูลค่าและต่อยอดสินค้าเกษตรให้กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร และวิสาหกิจในชุมชนป่าไผ่สู่เศรษฐกิจหมุนเวียน โดยประยุกต์ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
เพื่อสร้างทีม นวัตกรในยกระดับและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อการค้า และการตลาดออนไลน์ในพื้นที่ชุมชนป่าไผ่สู่เศรษฐกิจหมุนเวียนได้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : องค์ความรู้การจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนในป่าไผ่ โดยชุมชนการคัดเลือกและสำรวจองค์ความรู้จากการวิจัยที่เป็นไปตามความต้องการตรงตามกรอบงานและเป้าหมาย และองค์ความรู้ด้านข้อมูลพื้นฐานชุมชนป่าไผ่
KPI 1 : แผนธุรกิจสินค้าเกษตรชุมชนป่าไผ่
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 แผน 5
KPI 2 : ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ระดับ 3.51
KPI 3 : จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
120 คน 120
ผลผลิต : สินค้าเกษตรและเศษอาหารและวัสดุเกษตรเหลือใช้ เพื่อยกระดับสู่งผลิตภัณฑ์ นวัตกรชุมชน
KPI 1 : นวัตกรชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 ราย 5
KPI 2 : ผลิตภัณฑ์ชุมชน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 ผลิตภัณฑ์ 5
KPI 3 : ช่องทางการตลาดออนไลน์ชุมชนป่าไผ่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ช่องทาง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : องค์ความรู้การจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนในป่าไผ่ โดยชุมชนการคัดเลือกและสำรวจองค์ความรู้จากการวิจัยที่เป็นไปตามความต้องการตรงตามกรอบงานและเป้าหมาย และองค์ความรู้ด้านข้อมูลพื้นฐานชุมชนป่าไผ่
ชื่อกิจกรรม :
ให้ความรู้สู่การเสวนาเพื่อหาแนวทางการสร้างและสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ในกลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร และวิสาหกิจชุมชนป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 26/06/2566 - 31/07/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ปิยวรรณ  สิริประเสริฐศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 120 คน ๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 12,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120 คน ๆ ละ 30 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 7,200 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถยนต์และน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2500 บาท 6 วัน เป็นเงิน 15,000 บาท
4. ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ (คลิปวีดีโอ ความยาวไม่เกิน 10 นาที) จำนวน 6 คลิป ๆ 1,500 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 43,200.00 บาท 43,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 21,800 บาท
2. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 8,000 บาท
3. ค่าวัสดุการเกษตร เช่น ยูเรีย ฟาง ฯลฯ เป็นเงิน 25,000 บาท
4. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ตะกร้า น้ำตาล น้ำปลา ฯลฯ เป็นเงิน 10,000 บาท
5. ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 120 ชุด ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 76,800.00 บาท 76,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 120000.00
ผลผลิต : สินค้าเกษตรและเศษอาหารและวัสดุเกษตรเหลือใช้ เพื่อยกระดับสู่งผลิตภัณฑ์ นวัตกรชุมชน
ชื่อกิจกรรม :
ยกระดับและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/08/2566 - 18/11/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ปิยวรรณ  สิริประเสริฐศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาจัดเก็บข้อมูล รวบรวม วิเคราะห์ และจัดทำรายงาน เป็นเงิน 30,000 บาท
2. ค่าจ้างเหมาออกแบบจัดทำโลโก้และบรรจุภัณฑ์ จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ๆ ละ 15,000 บาท เป็นเงิน 75,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 105,000.00 บาท 105,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 105000.00
ชื่อกิจกรรม :
บริหารจัดการโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 26/06/2566 - 30/11/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ปิยวรรณ  สิริประเสริฐศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าสาธารณูปโภค
1.ค่าสาธารณูปโภค เป็นเงิน 25,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 25,000.00 บาท 25,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 25000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ยุวชนอาสา 1
ยุวชนอาสา2
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล