20262 : โครงการการศึกษาและรวบรวมงานเซรามิกประดับสู่การสืบสานงานศิลปกรรมล้านนา (ปั้นมอม)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
อาจารย์สุรชัย ศรีนรจันทร์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
18/08/2566  ถึง  30/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  บุคคลที่สนใจทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะศิลปศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงาน ยุทธศาสตร์ แผนงานรอง แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ผลผลิต ผลงานการให้บริการวิชาการ
กิจกรรมหลัก เผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์ แผนงาน บริการวิชาการแก่สังคมงาน
บริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุน บริการวิชาการ งบเงิน อุดหนุน จากการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมอบรม คนละ 1,200 บาท จำ นวน 20 คน เป็นเงิน 24,000 บาท
2566 24,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฐาปกรณ์  เครือระยา
อาจารย์ สุรชัย  ศรีนรจันทร์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านทรัพย์สิน การเงิน และการลงทุน
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.22 รายได้จากการให้บริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.8 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรหรือหน่วยงานให้บริการวิชาการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.4 เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.24 จำนวนกิจกรรมด้านการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมแก่หน่วยงานภายนอก
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.4.3 พัฒนารูปแบบในการจัดกิจกรรม/โครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และวัฒนธรรมการเกษตร ให้น่าสนใจและทันสมัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA66มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC): การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์ LA66-2.7 มีการบริการวิชาการด้านมุษยศาสตร์และสังคม ศาสตร์ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนเพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
ตัวชี้วัด LA66-2.9-7 รายได้จากการให้บริการวิชาการ
กลยุทธ์ LA66-2.9-5 ส่งเสริมการบริการวิชาการเพื่อสร้างรายได้ให้กับหน่วยงาน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

งานศิลปกรรมล้านนา ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเมือง ให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะและนำไปสู่รูปแบบงานศิลปะที่เป็นแบบแผนได้อย่างลงตัวและน่าสนใจ จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าในช่วงเวลาต่อมา เมื่อพูดถึงเซรามิกประดับอาคารสถาปัตยกรรมแล้ว ส่วนใหญ่จะนึกถึงศิลปกรรมในสมัยสุโขทัย ที่ปรากฎเครื่องประดับสถาปัตยกรรมสังคโลกให้เห็นอยู่มากมายในกลุ่มเมืองเก่า โดยมีแหล่งเตาสำคัญที่ศรีสัชนาลัยเป็นแหล่งผลิต มีความนิยมแพร่หลายตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา โดยผลิตชิ้นงานในการใช้ประกอบ ประดับส่วนต่างๆของวิหาร อุโบสถ เช่น ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เป็นต้น ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่ายิ่ง ในส่วนของวัฒนธรรมล้านนานั้น พบงานเซรามิกประดับที่ค่อนข้างชัดเจนและมีความนิยมในกลุ่มช่างลำปางซึ่งอาจจะกล่าวได้มามีความสวยงามและสำคัญไม่แพ้กับศิลปกรรมในสมัยสุโขทัยเลย ดังปรากฏชิ้นส่วนของเซรามิกประดับวิหารวัดพระธาตุเสด็จ จังหวัดลำปาง เป็นช่อฟ้าเซรามิกรูปทรงเป็นพญานาคสูงเพรียว ดินเผาเคลือบสีน้ำตาลเข้ม ด้านหน้ามีลวดลายประดับเป็นรูปเทวดายืนพนมมือ ด้านหลังมีจารึกว่าสร้างในปี จ.ศ. 1008 ตรงกับ พ.ศ. 2189 ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์แห่ชาติหริภุญชัย อายุช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ซึ่งเป็นช่วงที่อาณาจักรล้านนาตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า แสดงให้เห็นว่าในล้านนาก็นิยมประดับศาสนสถานด้วยเครื่องปั้นดินเผาเช่นเดียวกันกับแหล่งอื่นๆ ทั้งอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากสุโขทัย และทางฉานของพม่าร่วมด้วย จากการเก็บข้อมูลเบื้องต้น พบว่าดินเผาเคลือบเขียวแก่ใสนี้ ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของงานเคลือบดินเผาล้านนา ที่ปรากฏขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 22 และหายไปในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 แต่ก็ยังคงมีการทำหม้อเคลือบในลักษณะดังกล่าวอยู่ในหลายพื้นที่เช่น อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันองค์ความรู้สูตรน้ำเคลือบดังกล่าวนั้นได้หายไปจากหลายชุมชนที่มีการผลิตเครื่องเคลือบ ทำให้รูปแบบงานเครื่องเคลือบนั้นขาดหายไป จากการสอบถามเบื้องต้นพบว่าสารเคลือบดังกล่าวที่ทำให้เกิดเป็นสีเขียวนั้น มาจากพืชพรรณไม้ในธรรมชาติทั้งนั้น ทั้งจากขี้เถ้าใบหญ้าคา ขี้เถ้าไม้มะฮกฟ้า ผสมกับผงตะไบตะกั่วในการทำน้ำเคลือบเพื่อให้ได้สีดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากในการที่จะศึกษาสูตรผสมสารเคลือบเพื่อนำไปรื้อฟื้นและสานต่องานศิลปกรรมเซรามิกประดับที่ได้หายไปจากงานช่างล้านนาเกือบ 200 ปี ให้กับกลุ่มช่างล้านนาเพื่อใช้ประโยชน์ในการนำเทคนิคดังกล่าวกลับมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรมทางพุทธศาสนาในแผ่นดินล้านนาอีกครั้ง ดังนั้นการศึกษาและรวบรวมงานเซรามิกประดับ สู่การสืบสานงานศิลปกรรมล้านนา จึงนำมาสู่การบริการวิชาการ ทั้งในเชิงการอบรมรูปแบบงานเซรามิกประดับ ที่ใช้ในการประดับงานสถาปัตยกรรมในทางพุทธศาสนา เพื่อเผยแพร่ รวมถึงองค์ความรู้เรื่องเครื่องปั้นดินเผา เทคนิควิธีและสูตรน้ำเคลือบ และการอบรมเชิงปฏิบัติการ อันเป็นหนึ่งองค์ความรู้รูปแบบงานช่างที่ปรากฏในวัฒนธรรมล้านนา เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้สร้างสรรค์และออกแบบได้อย่างไม่มีขีดจำกัด เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสังคม ทั้งด้านงานศิลปกรรมทางด้านอุตสาหกรรม รวมถึงด้านการท่องเที่ยว โดยองค์ความรู้เหล่านี้สามารถพัฒนาองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาช่างล้านนา อันจะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมในอนาคตต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเซรามิกประดับสู่การสืบสานงานศิลปกรรมล้านนา (ปั้นมอม)
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเซรามิกประดับสู่การสืบสานงานศิลปกรรมล้านนา (ปั้นมอม)
KPI 1 : ผูู้เข้ารับการอบรมมีทักษะการปั้นมอม ผ่านเกณฑ์ พอใช้ (ประเมินโดยผู้สอน)
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 ระดับ 3
KPI 2 : ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.5 ระดับ 3.5
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเซรามิกประดับสู่การสืบสานงานศิลปกรรมล้านนา (ปั้นมอม)
ชื่อกิจกรรม :
อบรมเชิงปฏิบัติการปั้นมอมดินเผาเซรามิก ณ วัดทุ่งหมื่นน้อย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 18/08/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐาปกรณ์  เครือระยา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์สุรชัย  ศรีนรจันทร์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.หฤทัย  คงธนจารุอนันต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเผาเคลือบ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆละ 35 บาท* 2มื้อ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,400.00 บาท 1,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,400.00 บาท 1,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว (เครื่องมือปั้น แป้นหมุนพลาสติก ถังน้ำ ฯลฯ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร (ดินป้้น ฯลฯ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท 1,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าสาธารณูปโภค
ค่าสาธารณูปโภค
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 2,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 14200.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล