20239 : โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Jelly popping สมุนไพรระงับกลิ่นปากตำรับสูตรคำภีร์โบราณ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/08/2566  ถึง  30/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  9  คน
รายละเอียด  1. บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ จำนวน 3 คน 2. บุคลากรของสถานประกอบการ จำนวน 6 คน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน (ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 2566 170,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
อาจารย์ ดร. สุภารัตน์  อำนาจ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 4.9 ความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมกับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 4.1.4 ส่งเสริมบทบาทความร่วมมือกับภาคเอกชนและอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุน และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรมของประเทศ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66-6 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิเศษ
เป้าประสงค์ 66-6.5 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing)
ตัวชี้วัด 66-6.5.6 ความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมกับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
กลยุทธ์ 66-6.5.6.1ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมระหว่างภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

วิสาหกิจชุมชนณหทัยเนเชอรัลเฮิร์บ ตั้งอยู่เลขที่ 77 หมู่ 3 ต.ทุ่งศรี อ.ร้องกวาง จ.แพร่ ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอางตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 โดยการแปรรูปสมุนไพรในชุมชนให้เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทของเครื่องสำอาง ความงาม และอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เป็นที่รู้จักกันในนามแบรนด์บ้านสมุนไพรภูพฤกษา 89 แบร์น Namose, แบรนด์ Nadenta และปี พ.ศ. 2563 ได้เริ่มพัฒนา และผลิตอาหารเพื่อสุขภาพประเภทเยลลี่กัมมี่และได้ขอการรับรองสถานประกอบการประเภทอาหารโดยการแปรรูปพืชสมุนไพรอายุรเวทล้านนาในตำรับล้านนา เช่น ยาขางปากเปื่อย แผลร้อนใน และตำรับยาหอมในผลิตภัณฑ์เยลลี่ระงับกลิ่นปากและระบบทางเดินหายใจส่วนบน โดยได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากหน่วยงานต่าง ๆ สำหรับรูปแบบในการจัดการองค์กรและการบริหารงานขององค์กร การดำเนินงานจะเน้นพัฒนาด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารและคณะกรรมการบริหารกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยเน้นการคัดเลือกสินค้าแปรรูปและพัฒนาร่วมกับแพทย์แผนไทยล้านนาที่มีใบประกอบโรคศิลป์ในตำรับอายุรเวทล้านนาบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะมุ่งเน้นแนวคิดใหม่ผนวกกับนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์สำหรับผู้บริโภคทุกกลุ่ม ทั้งนี้จะอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐอาทิเช่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศูนย์นวัตกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นต้น การดำเนินงานของกลุ่มตลอดระยะเวลาในการดำเนินงานที่ผ่านมาผลงานของวิสาหกิจชุมชนณหทัยเนเชอรัลเฮิร์บได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค กลุ่มลูกค้า และยังได้รับรางวัลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากองค์กรต่างๆ มากมายด้วย สำหรับช่องทางทางด้านการตลาดของวิสาหกิจชุมชนณหทัยเนเชอรัลเฮิร์บ มุ่งในการพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์สำหรับลูกค้าในแต่ละวัย เช่น วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ นอกจากนั้นยังได้มีช่องทางและแผนการตลาดขยายฐานลูกค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สปป. ลาว นอกจากนั้นวิสาหกิจชุมชนณหทัยเนเชอรัลเฮิร์บ ยังให้ความสำคัญกับการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนในห่วงโซ่ของกระบวนการผลิตยังได้คำนึงถึงความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ โดยเลือกใช้วัตถุดิบที่ผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตเพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ รวมทั้งจะเป็นการสร้างความยั่งยืนให้แก่สังคมรอบข้าง โดยได้ส่งเสริมให้ชุมชนรอบข้างปลูกพืช และผลิตวัตถุดิบในระบบเกษตรอินทรีย์ สำหรับความต้องการที่จะพัฒนาจากโครงการนี้ โดยทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนณหทัยเนเชอรัลเฮิร์บมีความต้องการในการพัฒนาตำรับคัมภีร์ยาล้านนาให้สามารถใช้งานได้ง่ายในรูปแบบใหม่โดยอาศัยนวัตกรรมสำหรับผู้สูงวัยและผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งผลิตภัณฑ์ต้องปราศจากแป้งและน้ำตาล โดยต่อยอดจากการยกระดับผลิตภัณฑ์เดิมเพื่อให้การใช้งานที่ง่ายสะดวกในการใช้ เพื่อผลักดันเข้าสู่ตลาดในกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่ม ขยายการตลาดเพื่อการส่งออก การต่อยอดภูมิปัญญาให้มีนวัตกรรมโดยให้ผลดูแลและฟื้นฟูช่องปากและฟันสามารถลดปัญหาฟันผุได้ ซึ่งโครงการดังกล่าวมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในประเด็นการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing) ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation) ซึ่งมีกลยุทธ์ในการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมกับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม โดยส่งเสริมบทบาทความร่วมมือกับภาคเอกชนและอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุน และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรมของประเทศ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เจลลี่ป๊อปปิ้งให้อยู่ในรูปแบบซอฟเจล และผลิตภัณฑ์มีความคงตัว ทานได้ง่าย และสามารถแตกตัวได้เมื่ออยู่ในปาก สามารถตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าผู้สูงวัย และผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้กับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
2. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เจลลี่ป๊อปปิ้งให้อยู่ในรูปแบบฮาร์ดเจล และผลิตภัณฑ์มีความคงตัว ทานได้ง่าย สามารถแตกตัวได้ดีเมื่ออยู่ในปาก และสามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นาน รวมทั้งสามารถตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าผู้สูงวัย และผู้ป่วยจิตเวช เวช ซึ่งเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้กับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
3. เพื่อพัฒนาออกแบบตัวบรรจุภัณฑ์และฉลากสำหรับผลิตภัณฑ์เจลลี่ป๊อปปิ้งระงับกลิ่นปาก (Jelly popping) เพื่อพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Jelly popping สมุนไพรระงับกลิ่นปากตำรับสูตรคำภีร์โบราณ
KPI 1 : ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ Jelly popping อยู่ในรูปแบบ ฮาร์ดเจล และผลิตภัณฑ์มีความคงตัว ทานได้ง่าย แตกตัวได้เมื่ออยู่ในปาก และมีอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
170000 บาท 170000
KPI 3 : ผู้ประกอบการได้รับการยกระดับ และผลิตภัณฑ์สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 4 : ผลิตภัณฑ์ได้รับการยกระดับ มีรูปลักษณ์ที่ดีขึ้น มีฉลากข้อมูลโภชนาการเป็นไปตามกฎหมาย และผลิตภัณฑ์สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 5 : ได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์และฉลากที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์เจลลี่ป้อปปิ้งระงับกลิ่นปาก (Jelly popping)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 7 : ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ Jelly popping ที่อยู่ในรูปแบบซอฟเจล และผลิตภัณฑ์มีความคงตัว ทานได้ง่าย และสามารถแตกตัวได้เมื่ออยู่ในปาก
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Jelly popping สมุนไพรระงับกลิ่นปากตำรับสูตรคำภีร์โบราณ
ชื่อกิจกรรม :
1. พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบเจลลี่ป้อปปิ้งแบบซอฟท์เจล
2. พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบเจลลี่ป้อปปิ้งแบบ ฮาร์ดเจล
3. พัฒนาบรรจุภัณฑ์และฉลากที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์เจลลี่ป้อปปิ้ง (Jelly popping) ระงับกลิ่นปาก

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/08/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐพงศ์  ปกแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.สุภารัตน์  อำนาจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
1.1 ค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับเดินทางเพื่อนำส่งตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ จำนวน 3 ครั้ง ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 240 บาท เป็นเงิน 720 บาท
1.2 ค่าพาหนะรถยนต์ส่วนตัว เพื่อนำส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ (จ.แพร่ - จ.เชียงใหม่) จำนวน 3 ครั้ง ๆ ละ 500 กิโลเมตร ๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
2. ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ตัวอย่าง จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ ๆ ละ 45,000 บาท เป็นเงิน 45,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงานโครงการ เป็นเงิน 3,000 บาท
4. ค่าจ้างเหมาออกแบบฉลากและบรรจุภัณฑ์ และค่าจัดทำฉลากและบรรจุภัณฑ์ เป็นเงิน 20,000 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 74,720.00 บาท 74,720.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 4 วัน ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 5 วัน ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
3. ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ (วันหยุด) จำนวน 2 คน ๆ ละ 20 วัน ๆ ละ 240 บาท เป็นเงิน 9,600 บาท
4. ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ (วันธรรมดา) จำนวน 2 คน ๆ ละ 20 วัน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 41,000.00 บาท 41,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เป็นเงิน 19,000 บาท
2. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 13,280 บาท
3. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 37,280.00 บาท 37,280.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าสาธารณูปโภค
1. ค่าสาธารณูปโภคของหน่วยงาน (ไม่เกินร้อยละ 10 ของวงเงินโครงการ) เป็นเงิน 17,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 17,000.00 บาท 17,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 170000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
รายวิชาระบบการจัดการฟาร์มเกษตร ตามมาตรฐานสากล
ช่วงเวลา : 01/06/2566 - 30/09/2566
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล