20208 : โครงการการยกระดับกระบวนการผลิตกล้วยบดผงเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การยื่นขอรับรองมาตรฐาน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
26/07/2566  ถึง  30/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  25  คน
รายละเอียด  ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัยในมือเราตามรอยพ่อ ที่ลงทะเบียนคูปองโอทอป และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน (ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป) ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 2566 180,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. พัตรเพ็ญ  เพ็ญจำรัส
อาจารย์ ดร. สุภารัตน์  อำนาจ
นาย อนุกูล  จันทร์แก้ว
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 4.9 ความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมกับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 4.1.4 ส่งเสริมบทบาทความร่วมมือกับภาคเอกชนและอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุน และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรมของประเทศ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66-6 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิเศษ
เป้าประสงค์ 66-6.5 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing)
ตัวชี้วัด 66-6.5.6 ความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมกับภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม
กลยุทธ์ 66-6.5.6.1ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมระหว่างภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

วิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัยในมือเราตามรอยพ่อ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 78/1 หมู่ 5 บ้านวังโป่ง ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ซึ่งดำเนินกิจการปลูกผักปลอดสารพิษ รวมถึงผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ ได้แก่ กล้วย น้ำว้ามะลิอ่อง และพืช สมุนไพรพื้นบ้าน ประกอบด้วย ตะไคร้พื้นบ้าน ใบหม่อนใบดาวอินคา โดยแปลงปลูกผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (SDGsPGS) อย่างไรก็ตาม ผลผลิตทางการเกษตรล้วนเป็นผลิตผลที่เสื่อมเสียได้ง่าย โดยเฉพาะกล้วยซึ่งยังคงมีการหายใจหลังการเก็บเกี่ยว ส่งผลให้มูลค่าของสินค้าลดลง เพิ่มต้นทุนการผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจึงเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบบเกษตรของประเทศ การนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปจะช่วยป้องกันการล้นตลาดของผลิตผลสด ลดการเสื่อมเสียของผลิตผล ซึ่งช่วยยกระดับราคาผลิตผล ไม่ให้ตกต่ำ การเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นอาหารระดับอุตสาหกรรมที่สามารถรับวัตถุดิบเพื่อผลิตเป็นอาหารจำนวนมากได้ การผลิตอาหารให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค การส่งเสริม ให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารให้เป็นที่ยอมรับ และสามารถขยายตลาดการค้า จะช่วยเพิ่มพูนรายได้ให้แก่เกษตรกร ดังนั้นการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มในประเทศตลอดห่วงโซ่ของกระบวนการผลิตนับตั้งแต่การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การแปรรูปผลผลิตโดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีคุณค่าเพิ่มขึ้น มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีอายุการเก็บรักษายาวนานขึ้น และมีความสะดวกในการอุปโภคบริโภค กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัยในมือเราตามรอยพ่อจึงมีแนวคิดในการนำผลผลิตจากกลุ่มมาแปรรูป โดยมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์และขึ้นทะเบียน OTOP ทั้งสิ้น รวม 8 รายการ และกล้วยบดผง เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีการขึ้นทะเบียน และมีการผลิตอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยกล้วยบดผง ซึ่งผลิตจากผลดิบบดเป็นผงนั้นมีสรรพคุณใช้ป้องกัน บำบัด โรคแผลในกระเพาะอาหาร โดยจะไปกระตุ้นให้เซลล์ในเยื่อบุกระเพาะหลั่งสาร mucin ออกมาช่วยเคลือบกระเพาะ เปลือกกล้วยและเนื้อมี serotonin ช่วยยับยั้งการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ผลดิบยังใช้รักษาอาการท้องเสียนอกจากนั้นกล้วยดิบยังมีสารแทนนินที่สามารถช่วยแก้อาการท้องเสียได้ จึงมีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่สนใจผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องคือ กลุ่มผู้มีปัญหาเรื่องระบบลำไส้ กระเพาะอาหาร และมีลมในช่องท้อง ทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังประสบปัญหาด้านกระบวนการผลิตที่ยังไม่สม่ำเสมอ ทั้งด้านการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ รวมถึงการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการจึงมีความต้องการที่จะยกระดับคุณภาพกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพที่สม่ำเสมอ และถูกต้องตามหลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตอาหาร ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการยื่นขอการรับรองมาตรฐานต่อไปในอนาคต เนื่องด้วยยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ยังต้องมีการปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตอาหาร ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการยื่นขอการรับรองมาตรฐาน จึงต้องการการแนะนำ ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการยื่นขอรับรอง การดำเนินงานดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของมหาวิทยาลัยที่ทำให้เกิดความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก โดยกิจกรรมเน้นให้เกิดการพัฒนา ยกระดับการผลิตสินค้าด้านผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่ดีขึ้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยผงให้มีคุณภาพสม่ำเสมอ
2 เพื่อตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์
3 เพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์
4 เพื่อพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์และดึงดูดผู้บริโภค
5 เพื่อพัฒนาการผลิตให้ถูกหลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตอาหารเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการยื่นขอการรับรอง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการการยกระดับกระบวนการผลิตกล้วยบดผงเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การยื่นขอรับรองมาตรฐาน
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
25 คน 25
KPI 2 : ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการปรับปรุงคุณภาพบรรจุภัณฑ์และออกแบบฉลากตราสินค้า
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในการการยกระดับกระบวนการผลิตกล้วยบดผงเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การยื่นขอรับรองมาตรฐาน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ผลิตภัณฑ์กล้วยผงที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิต
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
180000 บาท 180000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการการยกระดับกระบวนการผลิตกล้วยบดผงเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การยื่นขอรับรองมาตรฐาน
ชื่อกิจกรรม :
1. พัฒนากระบวนและออกแบบกระบวนการผลิต โดยทดลองวิจัยและพัฒนาหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกล้วยผงให้อยู่ในลักษณะพร้อมรับประทาน
2. การตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์
3. จัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตที่ได้พัฒนา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 26/07/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.พัตรเพ็ญ  เพ็ญจำรัส (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.สุภารัตน์  อำนาจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายอนุกูล  จันทร์แก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 5 วัน ๆ ละ 3 คน ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 3 วันๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 35 บาท จำนวน 25 คน เป็นเงิน 5,250 บาท
3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 3 วันๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 130 บาท จำนวน 25 คน เป็นเงิน 9,750 บาท
4. ค่าจ้างเหมาตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ เป็นเงิน 20,000 บาท
5. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับประสานงานและติดตามโครงการ (โดยรถยนต์ส่วนบุคคล) ระยะทาง 264 กิโลเมตรๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 1,056 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 37,856.00 บาท 37,856.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 3 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท
2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 5 วัน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 11,800.00 บาท 11,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น มีด เขียง กะละมัง ตะกร้า ผ้ากันเปื้อน ถุงพลาสติก กล่องพลาสติก เป็นต้น เป็นเงิน 35,400 บาท
2. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น ถุงมือ หมวกคลุมผมตัวหนอน เป็นเงิน 15,000 บาท
3. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 ปากกาไวท์บอร์ด ซองเอกสาร เป็นเงิน 9,000 บาท
3.1 ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 3,000 แผ่นๆ ละ 1 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
4. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกปริ้นท์ Flashdrive เป็นเงิน 7,632 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 70,032.00 บาท 70,032.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 119688.00
ชื่อกิจกรรม :
วิเคราะห์ การเลือกใช้วัสดุและลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษา และออกแบบตราสินค้าและฉลากให้สวยงาม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 26/07/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.พัตรเพ็ญ  เพ็ญจำรัส (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.สุภารัตน์  อำนาจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายอนุกูล  จันทร์แก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาออกแบบและทำบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ เป็นเงิน 20,000 บาท
2. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับประสานงานและติดตามโครงการ (โดยรถยนต์ส่วนบุคคล) ระยะทาง 264 กิโลเมตรๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 1,056 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 21,056.00 บาท 21,056.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 21056.00
ชื่อกิจกรรม :
1. การถ่ายทอดความรู้การจัดการความปลอดภัยในการผลิตอาหาร การตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้น การเตรียมความพร้อมสู่การยื่นขอมาตรฐาน
อาหารและยา
2. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 26/07/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.พัตรเพ็ญ  เพ็ญจำรัส (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.สุภารัตน์  อำนาจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายอนุกูล  จันทร์แก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คน ๆ ละ 2 วันๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 2 วันๆ ละ 25 คน ๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 130 บาท เป็นเงิน 6,500 บาท
3. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (ค่าพาหนะ) จำนวน 264 กิโลเมตรๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 1,056 บาท
4. ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารรายงานสรุปโครงการ เป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 13,056.00 บาท 13,056.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 2 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 5 วันๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,200.00 บาท 8,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าสาธารณูปโภค
1. ค่าสาธารณูปโภคของหน่วยงาน (ไม่เกินร้อยละ 10 ของวงเงินโครงการ) เป็นเงิน 18,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 18,000.00 บาท 18,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 39256.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีการบูรณาการกับการเรียนการสอน เนื่องด้วยหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่มีการดำเนินการเรียนการสอน
ช่วงเวลา : 26/07/2566 - 30/09/2566
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล