20100 : โครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 (เงินรับฝาก อว.)
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/08/2566  ถึง  30/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  3500  คน
รายละเอียด  คณะครูนักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาในจังหวัดแพร่ และบุคลากรนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากเงินรับฝากจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 2566 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศศิกานต์  คู่วัฒนา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66-3 เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 66-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 66-3.1.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 66-3.1.4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

รัฐบาลได้เห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ จึงได้มีมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 เห็นชอบให้วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย โดยได้มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย โดยได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในการจัดกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นประชาชน เยาวชนไทยให้มีความตื่นตัวเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ และเห็นความสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้จัดโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์ต่อเนื่องกันมา เริ่มต้นในปี 2549 ซึ่งได้รับการตอบรับของโรงเรียนในจังหวัดแพร่และจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างดี ผลของการจัดงานอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จักมากขึ้น ท้องถิ่นทราบถึงความสามารถและศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย รวมทั้งช่วยกระตุ้นความสนใจและความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาได้อย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าการจัดโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์นั้นส่งผลดีต่อมหาวิทยาลัย ดังนั้นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และแสดงถึงศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งแสดงให้ท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียงได้เล็งเห็นว่าทางมหาวิทยาลัยเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงได้จัดทำโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 ขึ้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"
2 เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นประชาชน เยาวชนไทยให้มีความตื่นตัวเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ และเห็นความสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 (เงินรับฝาก อว.)
KPI 1 : ระยะเวลาในการจัดโครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3500 คน 3500
KPI 3 : งบประมาณที่ได้การจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.1 ล้านบาท 0.1
KPI 4 : มหาวิทยาลัยมีศักยภาพและความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 (เงินรับฝาก อว.)
ชื่อกิจกรรม :
งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/08/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิกานต์  คู่วัฒนา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติและแสดงอัตลักษณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 4 นิทรรศการ เป็นเงิน 32,000 บาท ได้แก่
1.1 นิทรรศการเทิดพระเกียรติ และพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
1.2 นิทรรศการเทิดพระเกียรติ พระบามสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”
1.3 นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
1.4 นิทรรศการแสดงอัตลักษณ์และความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย
2. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาช่วยงาน จำนวน 165 คน ๆ ละ 3 มื้อ ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 29,700 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาช่วยงาน จำนวน 165 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 34,650 บาท
4. ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงาน จำนวน 4 เล่ม ๆ ละ 912.50 บาท เป็นเงิน 3,650 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท 100,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล