19949 : โครงการส่งเสริมฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสุนัขและแมวจรจัด ประจำปี 2566
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางณัฐธนะนันท์ เอี่ยมตะกูล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 31/3/2566 18:11:12
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
20/02/2566  ถึง  31/08/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  18  คน
รายละเอียด  สุนัขและแมวจรจัดภายนอกมหาวิทยาลัยแม่โจ้
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน วัคซีนที่ได้รับริจาค และวัคซีนใกล้หมดอายุ สามารถนำไปฉีดให้กับสุนัขในวัด หรือส่วนงานที่มีสุนัขและแมวไม่มีเจ้าของ โดยไม่เบิกค่าใช้จ่าย 2566 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. บัญชา  พงศ์พิศาลธรรม
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. วศิน  เจริญตัณธนกุล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสัตวแพทยศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการกำกับติดตามแบบบูรณาการ
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 65-69 MJU 1.1.2 ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนที่มีความร้ายแรง ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยและสัตว์ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตเกือบทุกราย พาหะนำโรคนี้ ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น สุนัข แมว หนู ลิง และกระต่าย เป็นต้น โดยโรคนี้สามารถติดต่อจากการสัมผัสน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรค จากการถูกกัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่มีบาดแผลหรือรอยขีดข่วน เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยและสัตว์ป่วยจะแสดงอาการเริ่มแรก ได้แก่ มีไข้ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย และต่อมามีการแสดงอาการทางประสาท กระสับกระส่าย กลืนลำบาก ทำให้ชัก เกร็ง หายใจลำบาก และเสียชีวิตในที่สุด ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ด้วยพระปณิธานใน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยพระองค์ทรงมีความห่วงใยถึงปัญหาโรคพิษสุนัขบ้าซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของชาติและทรงมีพระประสงค์ให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย จึงเป็นที่ีมาโครงการ “สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า” ตามวาระแห่งชาติ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกัน ทั้งนี้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า รวมไปถึงแนวทางวิธีการป้องกัน และควบคุมปริมาณการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่ชุมชน จึงจัดการทำโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสุนัขและแมว ประจำปี พ.ศ. 2566 ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้าตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยเป็นความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน เครือข่ายสถานพยาบาลสัตว์ และเครือข่ายวิชาชีพสัตวแพทย์ เพื่อทำให้ประเทศไทยปลอดโรคพิษสุนัขบ้าตามพระปณิธานฯ ต่อไปนี้ขึ้นมา

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
• เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่สุนัขและแมวจรจัดภายนอกมหาวิทยาลัยแม่โจ้ • เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคพิษสุนัขบ้าแก่ผู้ให้การอุปการะเลี้ยงดูสุนัขและแมวจรจัด • เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไปสู่ประชากรมนุษย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการส่งเสริมฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสุนัขและแมวจรจัด ประจำปี 2566
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จ
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : จำนวนสุนัขและแมว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 4 4 ตัว 18
KPI 3 : ร้อยละของสุนัขและแมวจากภายนอก
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการส่งเสริมฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสุนัขและแมวจรจัด ประจำปี 2566
ชื่อกิจกรรม :
โครงการส่งเสริมฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสุนัขและแมวจรจัด ประจำปี 2566

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 20/03/2566 - 31/08/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.ทิพย์ภาภรณ์  อุปโย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ นายสัตวแพทย์ภากร  ลิ้มเล็งเลิศ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ สัตวแพทย์หญิงสาริศา  กลิ่นหอม (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.รุ่งเรือง  โพธิ์สิงห์ทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางณัฐธนะนันท์  เอี่ยมตะกูล (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.กรประภา  ปัญญาวีร์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.นงค์รัก  คนดี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
โครงการส่งเสริมฉีดวัคซีน จากการบริจาค โดยไม่เบิกค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1. อันตรายจากสัตว์รับบริการฉีดวัคซีน เช่น โดนกัด ข่วน เป็นต้น 2. สัตว์บางตัวอาจมีอาการแพ้วัคซีนหลังฉีดวัคซีน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1. ให้ผู้ที่คุ้นเคยกับตัวสัตว์เป็นผู้พาสัตว์เข้ารับบริการและจับบังคับสัตว์ในการฉีดวัคซีน 2. ผู้ที่คุ้นเคยกับตัวสัตว์เป็นผู้สังเกตอาการแพ้หลังจากสัตว์ได้รับการฉีดวัคซีน อย่างน้อย 30 นาที หากสัตว์แสดงอาการแพ้วัคซีน เช่น มีอาการบวมรอบดวงตา ปาก ใบหน้า มีตุ่มหรือผื่นขึ้นตามตัวและคัน อาเจียน ถ่ายเหลว หายใจหอบ หัวใจเต้นเร็ว อ่อนแรง เดินเซ ให้รีบพาสุนัขไปยังสถานพยาบาลสัตว์ใกล้เคียง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล