19890 : โครงการ Chumphon MJU Green Youth
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 9/3/2566 11:33:02
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
13/03/2566  ถึง  30/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  นักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่ใช้งบประมาณ 2566 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำนาจ  รักษาพล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.3 เป็นต้นแบบการสร้างชุมชนที่ยั่งยืน และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Community &Tourism)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.10 ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ Well-Being @ Chumporn
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.4.3 สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และการท่องเที่ยวต้นแบบแห่งชายฝั่งทะเลตะวันออก
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.7 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.14 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ใกล้ชิดกับชุมชนและเกษตรกร และการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างจิตสาธารณะและจิตสำนึกที่ดีแก่นักศึกษา และภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.66 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 1.3 มีต้นแบบความสำเร็จของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้ง 3 วิทยาเขต Eco Community & Tourism
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:1.3.1 ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ Well-Being @ Chumphon
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 6. สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และการท่องเที่ยวต้นแบบแห่งชายฝั่งทะเลตะวันออก
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.66 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:2.1.7 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 21. ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ใกล้ชิดกับชุมชนและเกษตรกร และการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างจิดสาธารณะและจิดสำนึกที่ดีแก่นักศึกษา และภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:2.1.10 จำนวนรางวัลที่นักศึกษาได้รับในระดับชาติ หรือนานาชาติ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 28. พัฒนาทักษะนักศึกษาทั้งด้าน Hard Skills และ Soft Skills โดยเฉพาะที่สอดคล้องกับยุทธศาตร์ที่มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญคือ GO Eco U.
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:2.3.5 จำนวนฐานการเรียนรู้ที่เป็นที่พึ่งของชุมชน (ชุมพร)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 45. ผลักดันการตั้งฐานเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถเป็นที่พึ่งให้กับชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในฐานะที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นมหาวิทยาลัยฯ ที่เปิดการเรียนการสอนด้านการเกษตรและด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอน ประกอบด้วย สาขาวิชาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ สาขาวิชาการจัดการสำหรับผู้ประกอบการ สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช และสาขาวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็นแหล่งผลิตบุคลากรออกสู่ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอื่นๆ จำนวนมาก ขณะที่มหาวิทยาลัยฯ มีการวางเป้าหมายทิศทางการพัฒนาระยะ 15 ปี พ.ศ.2555-2569 เป็น “มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต” ที่เคารพและให้ความสำคัญกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้ปรัชญา : “มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน” ทั้งนี้ที่ผ่านมากลุ่มนักศึกษาโดยชมรมกองกำลัง “เที่ยว” รับใช้สังคมด้วยการรวมกลุ่มคนจิตอาสา ที่ชอบเที่ยว เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น ผ่านรูปแบบการเที่ยวรับใช้สังคมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามความต้องการของคนในชุมชนท้องถิ่น โดยดำเนินกิจกรรมภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อรวมกลุ่มคนจิตอาสารับใช้สังคม โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน สังคม เศรษฐกิจ และรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชนสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อให้กลุ่มเยาวชนเรียนรู้บริบทชุมชนบนพื้นฐานธรรมชาติ วิถีชีวิต และภูมิมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านรูปแบบการเที่ยวรับใช้สังคม และเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ และร่วมรับใช้สังคมตามความต้องการของชุมชนท้องถิ่น นอกจากนี้ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมเพื่อการกระตุ้นเตือนและส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกแก่นักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้เกิดการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ ได้แก่การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆที่เกิดจากกระบวนการในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 1) ขยะอินทรีย์ภายในโรงอาหารมหาวิทยาลัยฯ 2) การใช้พลังงาน (น้ำมันเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้า) 3) ปริมาณขยะแห้งและขยะอื่นๆ 4) คุณภาพน้ำ 5) การปลูกป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างตามแนวทางศาสตร์พระราชา ควบคู่กับการร่วมเป็นสมาชิกฯ เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพรเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการนำพาพลังจิตอาสาจากสถาบันการศึกษา ไปหนุนเสริมพลังการขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ภายใต้ปณิธานร่วม : “เพื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม มุ่งเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวางทิศทางเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัย” ซึ่งสอดคล้องกับกรอบแนวคิด 4 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) คือ 1) การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย 2) การจัดการของเสียภายในมหาวิทยาลัย 3) การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในมหาวิทยาลัย 4) การจัดการพลังงานภายในมหาวิทยาลัย ดังนั้นจากฐานทุนทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัยฯ ประกอบกับผลการดำเนินกิจกรรมของทาง กองกำลัง “เที่ยว” รับใช้สังคมที่ผ่านมา โครงการดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) โดยมีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานพี่เลี้ยงพร้อมทั้งมีนักศึกษาและคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยในเครือข่าย จำนวน 250 คนจากสถาบันการศึกษาทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางความร่วมมือและการดำเนินงานเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) และเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดี รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานด้านสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อรวมกลุ่มคนจิตอาสารับใช้สังคม โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน สังคมเศรษฐกิจ และรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชนสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน
เพื่อให้กลุ่มเยาวชนเรียนรู้บริบทชุมชนบนพื้นฐานธรรมชาติ วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านรูปแบบการเที่ยวรับใช้สังคม
เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ และร่วมรับใช้สังคมตามความต้องการของชุมชนท้องถิ่น
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : แหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างอย่างเป็นระบบ
KPI 1 : จำนวนรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมในระดับชาติ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 รางวัล 1
KPI 2 : จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แหล่ง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : แหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างอย่างเป็นระบบ
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนาพื้นที่สีเขียวภายในมหาวิทยาลัยฯ รองรับการนำเสนอรางวัล Green youth ระดับประเทศ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 13/03/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล