19857 : โครงการจัดการป้องกันโรคอย่างแม่นยำด้วยเทคนิคและนวัตกรรม PCR on farm ในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและปศุสัตว์ เพื่อการผลิตอาหารปลอดภัยและอาหารอินทรีย์อย่างยั่งยืน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 23/2/2566 16:19:05
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/01/2566  ถึง  29/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร และเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 2566 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิราพร  โรจน์ทินกร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บัวเรียม  มณีวรรณ์
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. วศิน  เจริญตัณธนกุล
อาจารย์ ดร. วันทมาส  จันทะสินธุ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-66-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ FT-66-2.3 ส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด FT-66-2-27 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FT-66-2.3.3 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์และสัตว์น้ำ เป็นอุตสาหกรรมเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากสัตว์และสัตว์น้ำเป็นแหล่งอาหารโปรตีน ปัญหาสำคัญของการเพาะเลี้ยงสัตว์และสัตว์น้ำ คือ การเกิดโรคระบาดจากเชื้อจุลินทรีย์ ทั้งไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา โดยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเกิดภาวะโลกร้อน (global warming) และภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง (climate change) มีผลให้เกิดโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่ที่ร้ายแรงในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและปศุสัตว์ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากมาย ทั้งความสูญเสียของเกษตรกรและด้านความมั่นคงทางอาหาร ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเกิดโรคระบาดจากเชื้อจุลินทรีย์ ทั้งไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา ทำให้เกษตรกรเกิดความเสียหายอย่างมากมาย โดยเฉพาะโรคไวรัส ซึ่งสัตว์น้ำจะแสดงอาการให้เห็นได้ชัด เมื่อมีจำนวนเชื้อโรคจำนวนมากแล้ว การป้องกันจึงทำได้ยาก โรคที่สำคัญในปลานิล ไวรัส ได้แก่ TiLV และแบคทีเรีย ได้แก่ Aeromonas spp., Streptococcus spp. และ Flavobacterium columnare โรคที่สำคัญในกุ้งทะเล ไวรัส ได้แก่ WSSV YHV IHHNV TSV IMNV DIV1 และโรคขี้ขาวจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ Vibrio spp. ได้มีงานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการและแนวทางการป้องกันโรค เช่น การผลิตลูกพันธุ์กุ้งปลอดเชื้อโรคจำเพาะ (specific pathogen free, SPF) การพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคไวรัสสำเร็จรูป การพัฒนาวัคซีนของสัตว์น้ำ การใช้สมุนไพรและโพรไบโอติกส์เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน (จิราพร, 2558; ชนกันต์, 2559; Southern Shrimp Alliance, 2019) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีแนวทางการป้องกันโรคที่ได้ผลชัดเจน ทำให้เกษตรกรมีการใช้ยาปฏิชีวนะเกินจำเป็น ส่งผลให้มีสารตกค้างในเนื้อสัตว์น้ำ มีรายงานว่า พบยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อกุ้งส่งออกจำนวนมาก (Southern Shrimp Alliance, 2021) นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีแนวโน้มใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีเพิ่มขึ้น โดยจะเพิ่มขึ้น 33% ในปี ค.ศ. 2030 (Schar et al., 2020) สำหรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีก เกษตรกรต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีกชนิดนั้น ๆ ของกรมปศุสัตว์โดยมีการระบุชัดเจนทั้งการจัดการด้านโรงเรือน สิ่งแวดล้อม น้ำและอาหาร อย่างไรก็ตามยังคงมีโอกาสเกิดโรคในการเลี้ยงสัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่เนื้อและไก่ไข่ที่มีการเลี้ยงอย่างหนาแน่นและเลี้ยงในจำนวนที่มากอยู่เสมอ โรคที่สำคัญที่มักเกิดในฟาร์มไก่ที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง โรคจากเชื้อไวรัส ได้แก่ นิวคาสเซิล (new Castle disease) โรคหลอดลมอักเสบ (Infectious Bronchitis, IB) และไข้หวัดนก (avain influenza) โรคจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ อหิวาต์ไก่ (fowl cholera) ในสุกร โรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS: porcine reproductive and respiratory syndrome) และโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) เป็นโรคระบาดสัตว์ในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ทั้งสองโรคนี้เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ระบาดในสุกร ทำให้สุกรตายเป็นจำนวนมากในเวลารวดเร็ว ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจและสังคม ประเทศที่มีสองโรคนี้ระบาดจะไม่สามารถส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรได้ ทั้งสองโรคนี้ติดได้ทั้งสุกรเลี้ยงและสุกรป่า แต่สุกรป่าอาจจะไม่แสดงอาการป่วยก็ได้ แต่จะทำหน้าที่เป็นแหล่งรังโรค (reservoir) ต่อไป สุกรเลี้ยงที่รอดชีวิตจากสองโรคนี้ก็จะเป็นแหล่งรังโรคตลอดชีวิต ดังนั้นหลายประเทศที่พบการระบาดของโรคนี้จึงมีมาตรการทำลายสุกรทิ้งทั้งฟาร์มเพื่อหยุดการแพร่ระบาด ทั้งสองโรคนี้ไม่ติดต่อสู่คนและสัตว์ชนิดอื่น โรคพีอาร์อาร์เอสมีวัคซีนที่ช่วยลดความสูญเสียของโรคได้ในขณะที่โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ในปัจจุบัน ประเทศไทยพบการระบาดของโรคพีอาร์เอาร์เอส แต่ยังไม่พบรายงานการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ในขณะที่โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรกำลังมีการระบาดในประเทศเพื่อนบ้านรอบประเทศไทย ได้แก่ จีน เวียดนาม กัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ สำหรับโค เกษตรกรผู้เลี้ยงประสบปัญหาโรคอุบัติซ้ำระบาดรุนแรงและต่อเนื่องเช่นกัน ปัจจุบันโรคในโคนมที่เกิดการระบาด ได้แก่ โรคบรูเซลโลซีสหรือโรคแท้งติดต่อ โรคปากและเท้าเปื่อยจากเชื้อไวรัส โรคคอบวมหรือโรคคอดัง โรคแอนแทรกซ์ และโรคเต้านมอักเสบ โรคติดเชื้อที่สำคัญในโคเนื้อ ได้แก่ โรคแอนแทรกซ์ โรคเมลิออยโดซีส โรครายิกเซฟติกซีเมีย โรคไข้ขา โรคพยาธิในเลือด วัณโรค โรคไอบีอาร์ โรคบีวีดี โรคพาราทีบี โรคเลปโตสไปโรซีส และโรคบรูเซลโลซีส จากสถานการณ์โรคอุบัติใหม่โควิด ทำให้เป็นที่ทราบกันดีว่าเทคนิค PCR เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการป้องกันโรคระบาดนี้ในมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ในทศวรรษที่ผ่าน มีการพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี PCR เพื่อใช้ในการตรวจวัดสารพันธุกรรมในภาคสนามได้ โดย ผศ.ดร.จิราพร โรจน์ทินกร ได้รับทุนวิจัยจาก คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (จิราพร, 2564) เพื่อพัฒนากระบวนการตรวจสอบสารพันธุกรรมของเชื้อโรคสัตว์น้ำด้วยเทคนิค PCR แบบเชิงคุณภาพ ที่มีประสิทธิภาพสูง ไม่ต้องใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ชั้นสูง ใช้ง่ายมีเพียง 2 ขั้นตอน สามารถใช้งานภาคสนาม มีความสะดวก ใช้ได้ง่าย และมีราคาไม่สูง ทำให้เหมาะสมสำหรับการใช้ตรวจสอบเชื้อก่อโรคในฟาร์มเพาะเลี้ยงปศุสัตว์และสัตว์น้ำ ในอนาคตสามารถฝึกทักษะให้เกษตรกรทำด้วยตนเองได้ ในโครงการนี้ คณะทำงานจะถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับ PCR on farm โดยจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการด้านปศุสัตว์-สัตว์น้ำ และบริการตรวจประเมินเชื้อก่อโรคในฟาร์มทั้งฟาร์มเกษตรกรและฟาร์มในโครงการพระราชดำริฯ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดใกล้เคียง และภาคเหนือตอนบน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการประยุกต์ใช้และการฝึกทักษะด้านเทคนิค PCR on farm ในการตรวจโรคในฟาร์มปศุสัตว์และสัตว์น้ำ (ได้แก่ ปลานิล-ทับทิม ไก่ไข่ สุกร และโคนม) เพื่อการป้องกันโรคและจัดการฟาร์มได้อย่างถูกต้องแม่นยำ มีประสิทธิภาพสูง และมีความปลอดภัย ให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ ในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดใกล้เคียง และภาคเหนือตอนบน
เพื่อบริการตรวจประเมินเชื้อก่อโรค และแนะนำแนวทางการจัดการป้องกันโรคในฟาร์มปศุสัตว์และสัตว์น้ำ และฟาร์มโครงการพระราชดำริ ในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดใกล้เคียง และภาคเหนือตอนบน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การถ่ายทอดเทคโนโลยี PCR on farm
KPI 1 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของรายได้ของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 10 10 คน 30
KPI 7 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 8 : ร้อยละของการจัดการป้องกันโรคที่ได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 10 : ร้อยละของผลผลิตปศุสัตว์และสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้นจากการนำองค์ความรู้ PCR ไปจัดการโรคในฟาร์ม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การถ่ายทอดเทคโนโลยี PCR on farm
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการป้องกันโรคอย่างแม่นยำด้วยเทคนิคและนวัตกรรม PCR on farm ในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและปศุสัตว์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/01/2566 - 31/07/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราพร  โรจน์ทินกร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัวเรียม  มณีวรรณ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.วศิน  เจริญตัณธนกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.วันทมาส  จันทะสินธุ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าชดเชยการใช้พาหนะส่วนตัว เดินทางไป-กลับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ฟาร์มเกษตรกร ที่ ฟาร์มปลา-ไก่ อ.จอมทอง เชียงใหม่ (170 กิโลเมตร) หน่วยวิจัยประมง ดอยอินท์ (224 กิโลเมตร) ฟาร์มปลา อ.เมือง อุตรดิตถ์ (526 กิโลเมตร) สหกรณ์โคนมแม่โจ้ (10 กิโลเมตร) สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร เชียงใหม่-ลำพูน (90 กิโลเมตร) ฟาร์มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ต.บ้านปง อ.หางดง เชียงใหม่ (72 กิโลเมตร) สถานีเกษตรหลวง ปางดะ (86 กิโลเมตร) รวม 1,178 กิโลเมตรๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 4,712 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,712.00 บาท 0.00 บาท 4,712.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าที่พักเหมาจ่าย 1 คืนๆ ละ 800 บาท 3 ครั้ง รวม 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,200.00 บาท 1,200.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
ฟาร์มปลา-ไก่ อ.จอมทอง เชียงใหม่, หน่วยวิจัยประมง ดอยอินทนนท์, ฟาร์มปลา อ.เมือง อุตรดิตถ์
- บรรยาย จำนวน 1 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน 3 ครั้ง เป็นเงิน 1,800 บาท
- ปฏิบัติ จำนวน 1 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 1 คน 1 วัน 3 ครั้ง เป็นเงิน 900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,700.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
สหกรณ์โคนมแม่โจ้, สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร เชียงใหม่-ลำพูน, กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ตำบลบ้านปง อ.หางดง เชียงใหม่, สถานีเกษตรหลวงปางดะ
- บรรยาย จำนวน 1 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 2 คน 1 วัน 4 ครั้ง เป็นเงิน 4,800 บาท
- ปฏิบัติ จำนวน 1 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 2 คน 1 วัน 4 ครั้ง เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 17012.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 การบริการตรวจประเมินโรค ด้วยเทคนิค PCR on farm ให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและเกษตรกรปศุสัตว์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/01/2566 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราพร  โรจน์ทินกร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัวเรียม  มณีวรรณ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.วศิน  เจริญตัณธนกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.วันทมาส  จันทะสินธุ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าชดเชยการใช้พาหนะส่วนตัว เดินทางไป-กลับ เก็บตัวอย่างที่ฟาร์มในโครงการพระราชดำริฯ หน่วยวิจัยประมง ดอยอินทนนท์ (224 กิโลเมตร) สถานีเกษตรหลวง ปางดะ (86 กิโลเมตร) รวม 310 กิโลเมตรๆ 4 บาท เป็นเงิน 1,240 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,240.00 บาท 0.00 บาท 1,240.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 4 คนๆ ละ 200 บาท 10 วัน เป็นเงิน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 8,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ซองเอกสาร ปากกา กระดาษพิมพ์ ฯลฯ เป็นเงิน 560 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 560.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 560.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เก็บข้อมูล ฯลฯ เป็นเงิน 1,440 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,440.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,440.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น วัสดุและสารเคมีที่เกี่ยวกับการทำ PCR ฯลฯ เป็นเงิน 21,748 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 21,748.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 21,748.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 32988.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
จำนวนผู้ประสงค์เข้าร่วมการอบรมอาจมีมากเกินจำนวนที่กำหนด
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
มีการจัดทำเอกสารประกอบการอบรมให้แก่ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมการอบรมและแนะนำให้เข้ามาปรึกษาวิทยากรได้โดยตรง
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล