19722 : โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากมันฝรั่งตกเกรดเพื่อเพิ่มมูลค่า
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.ปวริศา ศรีสง่า (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2/2/2566 11:19:29
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2565  ถึง  30/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  เกษตรกร กลุ่มแม่บ้าน และผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2566 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ศรัญญา  สุวรรณอังกูร
นาง จันทร์จิรา  วันชนะ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 2.19 EN66 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีการเพาะปลูกมันฝรั่ง (Solanum tuberosum) มาอย่างยาวนานในบริเวณภาคเหนือตอนบนเพื่อนำมาใช้บริโภคสด ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2530-2531 ได้เริ่มมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปแปรรูปเป็นมันฝรั่งทอดกรอบ เมื่อได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น ภายหลังจึงได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกและรับซื้อผลผลิตเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานแปรรูปผ่าน “โครงการทดลองปลูกมันฝรั่งเพื่ออุตสาหกรรมแปรรูป” ด้วยแนวโน้มการบริโภคมันฝรั่งทอดกรอบที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปีส่งผลให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมันฝรั่งเพิ่มมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกมันฝรั่งรวมทั้งสิ้น 37,858 ไร่และมีผลผลิตรวม 107,103 ตันต่อปี (ธนรักษ, 2561) แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้นำมันฝรั่งมาบริโภคเป็นอาหารหลัก แต่ก็ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งยังมีบทบาทสำคัญต่อภาคเกษตรกรรม เนื่องจากสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรไทยได้จำนวนไม่น้อย อย่างไรก็ตามความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรเป็นอีกสาเหตุหลักของความเสี่ยงในภาคการเกษตร โดนเฉพาะอย่างยิ่งการผันผวนราคาสินค้าเกษตรที่เกิดจากผลผลิตล้นตลาด พืชผลไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน หรืออาจมาจากสภาพดินฟ้าอากาศที่เป็นปัจจัยที่ไม่อาจควบคุมได้ ซึ่งส่งผลให้ราคาของสินค้ามีการขยับขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเกษตรกร หรือผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตร อาจจำเป็นต้องมีการฝึกฝน เรียนรู้ และพัฒนาเทคนิคในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าทางการเกษตรของตัวเอง การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าเกษตร เป็นเทคนิคที่สำคัญที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตทางการเกษตรของตัวเอง ด้วยการเพิ่มลักษะพิเศษหรือจุดเด่นบางอย่างให้ต่างไปจากเดิม เพื่อให้ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น สินค้าทางการเกษตรที่เป็นอาหารนั้นจะมีเทคนิคในการเพิ่มมูลค่าโดยการการแปรรูปหรือการถนอมอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าแก่สินค้าให้มีราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งยังเสริมสร้างอาชีพใหม่ๆ ในชุมชน และยังสามารถลดต้นทุนการผลิตสินค้าได้อีกด้วย เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรที่ผ่านกระบวนการแปรรูปนั้นส่วนใหญ่จะมีขนาดที่เล็กกว่าขนาดปกติ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิตไปยังแหล่งจัดจำหน่ายลดลง อีกทั้งผลจากการแปรรูปส่งผลให้สินค้าสามารถเก็บได้นานขึ้นและเกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง ดังโครงการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้จัดตั้ง “โครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” ด้วยการจัดตั้งโรงงานหลวง เพื่อเพิ่มมูลค่าพืชผลทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ทั้งหมดได้รับการดูแลเชิงพาณิชย์ ภายใต้นิติบุคคลในนาม “บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด” โดยดำเนินงานในรูปแบบของธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) ผ่านตราผลิตภัณฑ์ “ดอยคำ” หรือ “โครงการหลวงดอยคำ” ดังนั้นเพื่อให้เกิดรูปแบบเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ควรเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อให้เกิดความสมดุล เข้มแข็ง มั่นคง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบนที่มีสภาพภูมิศาสตร์เหมาะสมกับการเพาะปลูกมันฝรั่งหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “มันอาลู” ซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่อากาศหนาว โดยอำเภอที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมันฝรั่งมากที่สุดได้แก่ อำเภอสันทราย อำเภอสันกำแพง และอำเภอดอยสะเก็ด (ธนรักษ, 2561) ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ขายมันฝรั่งให้กับบริษัทเอกชน เพื่อทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มันฝรั่งทอดกรอบ แต่อย่างไรก็ตามมันฝรั่งบางส่วนมีขนาดเล็กไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้บริษัทรับซื้อมันฝรั่งในราคาที่ถูกหรือไม่รับซื้อ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นวิธีการหนึ่งที่หลายภาคส่วนริเริ่มนำมาแก้ไขเพื่อให้พืชผลทางการเกษตรของชุมชนมีมูลค่ายิ่งขึ้น การเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าชุมชนนั้นมีหลายมิติที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะเป็นมิติด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น มิติด้านความเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และนโยบายภาครัฐด้านการส่งเสริมการค้า เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทุกระดับให้เติบโตอย่างยั่งยืนและตอบโจทย์นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล จากความเป็นมาและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับพืชผลทางการเกษตรดังกล่าวข้างต้น ทางคณะผู้วิจัยจึงสนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากมันฝรั่งตกเกรดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ตามแนวทางพระราชดำริที่ส่งเสริมชุมชนหรือการพัฒนาชนบทในการประกอบอาชีพการเกษตรอย่างยั่งยืน ดังนั้นการนำผลมันฝรั่งตกเกรดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ขนมกะหรี่ปั๊บ เค้กมันฝรั่งน้ำผึ้ง คุกกี้มันฝรั่ง หรือขนมอบประเภทต่าง ๆ เป็นหนึ่งช่องทางในการสร้างมูลค่าให้กับผลิตผลที่ตกเกรดและสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากมันฝรั่งที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นและยังเป็นการสร้างอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรอีกหนึ่งช่องทางหนึ่ง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ด้านการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากมันฝรั่งตกเกรด
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้รับความรู้และเพิ่มทักษะทางวิชาการ วิชาชีพ และช่องทางการตลาด
เพื่อสนับสนุนให้มีการนำแนวทางพระราชดำริเกี่ยวกับการส่งเสริมชุมชนหรือการพัฒนาชนบทโดยสามารถพึ่งตนเองได้ในด้านอาชีพ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้ารับการฝึกอบรมความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากมันฝรั่งตกเกรดเพื่อเพิ่มมูลค่า
KPI 1 : จำนวนผลิตภัณฑ์ที่แปรรูป
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ผลิตภัณฑ์ 2
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผู้เข้าอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 5 : จำนวนช่องทางการตลาด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ช่องทาง 1
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 7 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 9 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้ารับการฝึกอบรมความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากมันฝรั่งตกเกรดเพื่อเพิ่มมูลค่า
ชื่อกิจกรรม :
การจัดฝึกอบรมความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากมันฝรั่งตกเกรดเพื่อเพิ่มมูลค่า
1. ประชาสัมพันธ์โครงการ
2. จัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรม
3. ติดต่อประสาน เตรียมอุปกรณ์ และสถานที่จัดฝึกอบรม
4. จัดกิจกรรมฝึกอบรม (ภาคบรรยาย/ปฏิบัติ)
5. สรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ศรัญญา  สุวรรณอังกูร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางจันทร์จิรา  วันชนะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ ขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ผืนๆละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
- ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท 1 วัน เป็นเงิน 2,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 14,300.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
บรรยาย จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท
ปฏิบัติ จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 2 คน 1 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท
- ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 8 คนๆ ละ 200 บาท 1 วัน เป็นเงิน 1,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้ม ปากกา ค่าถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 4,500 บาท
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น มันฝรั่ง แม่พิมพ์ ถุงพลาสติก ถุงมือ เนย น้ำตาล ฯลฯ เป็นเงิน 21,800 บาท
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น โซเดียมไบคาร์บอเนต เบเกอร์ยีสต์ ฯลฯ เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 29,300.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 29,300.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล