19718 : โครงการอบรมหลักสูตร Lifelong learning เพื่อการเป็นผู้ประกอบการ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
นางเพ็ญศิริ หน่อแก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/02/2566  ถึง  30/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  250  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมายจำนวน 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. นักศึกษาและศิษย์เก่า วิทยาลัยพลังงานทดแทน 2. เครือข่ายผู้สนใจ และบุคคลภายนอก
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ วิทยาลัยพลังงานทดแทน หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณเงินรายได้ แผนงานวิจัย งานวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี กองทุนเพื่อการวิจัย งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป (มิติที่ 4) จำนวน....20,000...บาท 2566 20,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ภคมน  ปินตานา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รจพรรณ  นิรัญศิลป์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สราวุธ  พลวงษ์ศรี
น.ส. นงเยาว์  เต๋จ๊ะใหม่
น.ส. โสภา  หาญยุทธ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 4.6 ระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเร่งพัฒนาผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 4.1.3 พัฒนาศักยภาพของศิษย์เก่าแม่โจ้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบ Re-training หรือ Re-skills เพื่อให้สามารถเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ หรือมีความสามารถเป็นที่พอใจของนายจ้าง
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66-ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 66-4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (Technology and Innovation)
ตัวชี้วัด 66-4.1.6 ร 66-4.1.6 ระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเร่งพัฒนาผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 66-ส่งเสริมพัฒนาระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเร่งพัฒนาผู้ประกอบการ
ตัวชี้วัด 66-4.1.7 ห 66-4.1.7 หลักสูตร/โปรแกรมเฉพาะที่ใช้เทคโนโลยี/นวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 66-ส่งเสริมพัฒนาระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเร่งพัฒนาผู้ประกอบการ
ตัวชี้วัด 66-4.1.8 ง 66-4.1.8 งบประมาณการพัฒนาเทคโนโลยี/นวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 66-ส่งเสริมบทบาทความร่วมมือกับภาคเอกชนและอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุน และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนาไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรมของประเทศ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ด้วยตัวเองซึ่งจะเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ โดยการศึกษาเรียนรู้ไม่ได้จบแค่ในโรงเรียนหรือมหาลัยไม่ว่าจะเป็นวัยผู้ใหญ่หรือวัยชราก็ยังสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตัวเอง Lifelong Learning เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้มีความก้าวหน้าและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และยังเป็นทักษะที่สอดรับกับยุคปัจจุบันในการทำงานไม่ว่าจะเป็นองค์กรระดับชาติ นานาชาติ รวมถึงการเป็นผู้ประกอบการ ทักษะที่น่าสนใจของการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ต้องมีเพื่อที่จะเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมีดังนี้ 1. Creativity หรือ ความคิดสร้างสรรค์ การมีความคิดสร้างสรรค์ทำให้เราเรียนรู้ได้อย่างไม่มีกรอบและไม่จำกัด รวมถึงช่วยพัฒนาต่อยอดความคิดไปในด้านอื่น ๆ อีกด้วย 2. Problem Solving หรือ การแก้ปัญหา ทักษะการแก้ปัญหาถือเป็นทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิต รวมถึงการพัฒนาการเรียนรู้เพราะเมื่อใดที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาหรือความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ก็จะสามารถแก้ไขได้เป็นอย่างดี 3. Critical Thinking หรือ การคิดเชิงวิพากษ์ ทักษะการคิดแบบ Critical Thinking เป็นทักษะที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่แตกต่าง เพราะเราจะกล้าคิด กล้าถามคำถามในสิ่งที่ต่างออกไป นับเป็นทักษะสำคัญในการเรียนรู้ 4. Leadership หรือ การเป็นผู้นำ การเป็นผู้นำเป็นทักษะที่จะทำให้เรากล้าคิดกล้าทำและนำความรู้จากสิ่งที่เราเรียนรู้ไปถ่ายถอดให้ผู้อื่นได้อีกด้วย 5. Communication หรือ การสื่อสาร การสื่อสารเป็นทักษะที่สำคัญไม่ว่าคุณจะทำอะไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่การเรียนรู้หรือทำธุรกิจล้วนอยู่ในรูปแบบออนไลน์ การพัฒนาด้านการตลาดออนไลน์ก็จะยิ่งช่วยให้สื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. Collaboration หรือ การประสานงาน นอกจากทักษะที่จะช่วยให้เราเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองแล้วการประสานงานหรือการทำงานกับผู้อื่นก็เป็นส่วนที่จะทำให้พัฒนาตัวเอง ก้าวหน้า และมองเห็นภาพรวมมากขึ้น 7. Information Management หรือ การจัดการข้อมูล ในยุคที่มีข้อมูลมากมาย เราในฐานะผู้รับข้อมูลสามารถที่จะเลือกรับได้อย่างไม่จำกัด ทำให้การเรียนรู้มีมากมาย การจัดการข้อมูลและนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ในหลาย ๆ ด้านและนำไปใช้ในอนาคต 8. Adaptability หรือ การปรับตัว การปรับตัวเป็นทักษะสำคัญในยุคปัจจุบันเพราะโลกและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การปรับตัวและเรียนรู้เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นแบบคาดเดาไม่ได้ในอนาคต 9. Curiosity หรือ ความอยากรู้อยากเห็น ความอยากรู้อยากเห็นเป็นประโยชน์ในการแสวงหาความรู้ การกระหายความรู้เป็นสิ่งที่จะทำให้เราพัฒนาและเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ได้ตลอดชีวิต วิทยาลัยพลังงานทดแทนได้วางวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยไว้เช่นกันคือ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในวิชาการและวิชาชีพโดยเฉพาะการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurs) ที่ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงโดยเน้นทางด้านการเกษตร วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาวิชาที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ ชุมชนท้องถิ่น และสังคมของประเทศ จึงได้ส่งต่อแนวคิดนี้มายังหลักสูตรในสังกัดวิทยาลัยพลังงานทดแทน ในการกำหนดทิศทาง วัตถุประสงค์ และปรัชญาของหลักสูตร เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตมีความสามารถในการประกอบการอิสระเป็นผู้ประกอบธุรกิจรุ่นใหม่ อย่างไรก็ตามการที่นักศึกษา หรือศิษย์เก่า จะสามารถเริ่มเป็นผู้ประกอบการได้นั้น นอกจากองค์ความรู้ที่ได้รับระหว่างเรียนแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ทักษะ Lifelong Learning ดังนั้นวิทยาลัยจึงได้จัดโครงการอบรมหลักสูตร Lifelong learning เพื่อการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อก่อให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ที่ดี มีความรู้และทักษะทางด้านวิชาชีพ ให้ได้รับความรู้ในการประกอบธุรกิจจะทำให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาศักยภาพ สามารถเป็นผู้ประกอบการใหม่ที่ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้วิทยาลัยพลังงานทดแทนได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการมาอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีจึงมีแนวคิดในการส่งเสริมให้ความรู้เช่นนี้ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อส่งเสริมพัฒนาระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเร่งพัฒนาผู้ประกอบการ
ส่งเสริมหลักสูตร/โปรแกรมเฉพาะที่ใช้เทคโนโลยี/นวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ หรือรายวิชาที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับหลักสูตร Lifelong learning ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้ประกอบการบนฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรม Tech and Inno base Entrepreneur
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. ระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเร่งพัฒนาผู้ประกอบการ 2. หลักสูตรหรือโปรแกรมเฉพาะที่ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อความเป็นผู้ประกอบการ
KPI 1 : - จำนวนหลักสูตรหรือรายวิชาที่มีการพัฒนาเนื้อหาที่เกี่ยวกับการพัฒนาผู้ประกอบการบนฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรม แบบ Lifelong learning
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 หลักสูตร/รายวิชา 2
KPI 2 : - นักศึกษาและศิษย์เก่าเข้าได้รับการส่งเสริมพัฒนาระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเร่งพัฒนาผู้ประกอบการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 ระดับ 3
KPI 3 : - จำนวนนักศึกษาและศิษย์เก่าเข้าได้รับการส่งเสริมพัฒนาระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเร่งพัฒนาผู้ประกอบการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
250 คน 250
KPI 4 : - วิทยาลัยหลักสูตร/รายวิชาที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้ประกอบการบนฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรม แบบ Lifelong learning
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 รายวิชา/หลักสูตร 2
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. ระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเร่งพัฒนาผู้ประกอบการ 2. หลักสูตรหรือโปรแกรมเฉพาะที่ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อความเป็นผู้ประกอบการ
ชื่อกิจกรรม :
1. การอบรม Lifelong learning สำหรับการส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ (ดร.ภคมน ปินตานา)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/02/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ภคมน  ปินตานา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน ๆ 35 บาท จำนวน 1 มื้อ (สำหรับผู้เข้าอบรม วิทยากร และเจ้าหน้าที่)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 3 ชั่วโมง ๆ 1,200
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมศึกษาดูงานเพื่อเรียนรู้ทักษะ Lifelong learning ของผู้ประกอบการ (ดร.รจพรรณ นิรัญศิลป์)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รจพรรณ  นิรัญศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 13 คัน ๆ ละ 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,800.00 บาท 0.00 บาท 7,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 7800.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมอบรมเพื่อพัฒนาการทำงานและเป็นผู้ประกอบการด้านผู้รับผิดชอบอาคารและโรงงาน
(ดร.สราวุธ พลวงษ์ศรี)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/02/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ  พลวงษ์ศรี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 6 ชั่วโมง ๆ 1,200
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 7200.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล