19659 : โครงการ ความมั่นคงทางอาหารและการอาหารปลอดภัย ณ บ้านดินพอเพียง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 8/3/2566 16:20:55
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
13/03/2566  ถึง  30/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  นักศึกษา บุคลากร และชุมชนสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่ใช้งบประมาณ 2566 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำนาจ  รักษาพล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.66 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:2.3.3 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 43. สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในฐานะที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นมหาวิทยาลัยฯ ที่เปิดการเรียนการสอนด้านการเกษตรและด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอน ประกอบด้วย สาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการประมง (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืชและสาขาวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตบุคลากรออกสู่ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอื่นๆ จำนวนมาก ขณะที่มหาวิทยาลัยฯ มีการวางเป้าหมายทิศทางการพัฒนาระยะ 15 ปี พ.ศ. 2555-2569 เป็น “มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต” ที่เคารพและให้ความสำคัญกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้ปรัชญา : “มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อความรุ่งเรื่องวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน” ทั้งนี้ที่ผ่านมาคณาจารย์และนักศึกษาดำเนินการกิจกรรมภายใต้รูปแบบกองกำลัง “เที่ยว” รับใช้สังคมดำเนินกิจกรรมเพื่อการกระตุ้นเตือนและส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกแก่นักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้เกิดการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ ได้แก่การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆที่เกิดจากระบวนการในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 1) ขยะอินทรีย์ภายในโรงอาหารมหาวิทยาลัยฯ 2) การใช้พลังงาน (น้ำมันเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้า) 3) ปริมาณขยะแห้งและขยะอื่นๆ 4) คุณภาพน้ำ 5) การปลูกป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างตามแนวทางศาสตร์พระราชา ควบคู่กับการร่วมเป็นสมาชิกฯ เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพรเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการนำพาพลังจิตอาสาจากสถาบันการศึกษา ไปหนุนเสริมพลังการขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ดังนั้นจากฐานทุนทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัยฯ โดยเฉพาะการปลูกป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างและปลูกพันธุ์ไม้อาหารท้องถิ่นเพื่อความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย เช่น ส้มจี๊ด มะม่วงหิมพานต์ เหลียง หมาก กล้วยท้องถิ่น และพันธุ์ไม้ยืนต้นชนิดต่างๆ โดยเริ่มต้นจากบ้านดินพอเพียงและขยายต่อไปอาคารแม่โจ้สามัคคี ซึ่งผลผลิตดังกล่าวสามารถดำเนินการต่อยอด สู่ประเด็นการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งสอดคล้องกับ ศ.ดร. วันดี ทาตระกูล คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้นิยามความมั่นคงทางอาหารว่า “การเข้าถึงอาหารที่มีอย่างเพียงพอ สำหรับการบริโภคของประชาชนในประเทศ อาหารมีความปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ เหมาะสมตามความต้องการตามวัย เพื่อการมีสุขภาวะที่ดี รวมทั้งการมีระบบการผลิตที่เกื้อหนุน รักษาสมดุลของระบบนิเวศวิทยา และความคงอยู่ของฐานทรัพยากรทางธรรมชาติของประเทศ ทั้งในภาวะปกติหรือเกิดภัยพิบัติ สาธารณภัยหรือการก่อการร้ายอันเนื่องจากอาหาร” แต่ทั้งนี้ความมั่นคงทางอาหารไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ว่าการมีอาหารอย่างเพียงพอ แต่ความมั่นคงทางอาหารนั้นสัมพันธ์กับมิติต่างๆ อย่างเป็นองค์รวม โดยต้องมองไปถึงความมีอธิปไตยทางอาหารของเกษตรกร ต้องสัมพันธ์กับมิติความมั่นคงด้านต่างๆ เช่น ความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางสังคม และความมั่นคงในการดำรงชีวิต (อ้างถึงใน อุบล, 2558) ทั้งนี้ โครงการการสร้างความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย จึงเป็นการต่อยอดเรื่องการใช้ทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัยฯให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้แนวคิด “การสร้างคุณค่าใหม่บนฐานทุนเดิม”

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อต่อยอดผลผลิตภายในป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างและพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัยภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สู่ประเด็นการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เพื่อใช้ทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบูรณาการสู่การเรียนการสอน การบริการวิชาการและด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พื้นที่ความมั่นคงทางด้านอาหารและอาหารปลอดภัย
KPI 1 : จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แหล่ง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พื้นที่ความมั่นคงทางด้านอาหารและอาหารปลอดภัย
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
-
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ
ช่วงเวลา : 13/03/2566 - 30/09/2566
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล