19585 : โครงการส่งเสริมอาชีพด้วยทุนชุมชนและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่การสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มน้ำพริก เครื่องแกง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
รองศาสตราจารย์ ดร.รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2565  ถึง  30/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  เกษตรกร/สมาชิกกลุ่มอาชีพ/กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไปในพื้นที่อำเภอสันทราย จำนวน 30 ราย
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเศรษฐศาสตร์ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งาบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป 2566 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. รภัสสรณ์  คงธนจารุอนันต์
รองศาสตราจารย์ ดร. ฤทธิชัย  อัศวราชันย์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเศรษฐศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-69ECON 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69ECON2-4 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชน ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับ
ตัวชี้วัด 65-69ECON2-4.6 จำนวนโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
กลยุทธ์ 65-69ECON 2-4.6.1 สอบถามความต้องการของชุมชนเป้าหมายเพื่อบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ภูมิปัญญาของท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่นั้น มีเอกลักษณ์และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงความรู้ภูมิปัญญาของคนท้องถิ่น ซึ่งไม่ถือเป็นสิ่งที่ล้าสมัยทั้งนี้ในทางตรงกันข้ามเอกลักษณ์และวัฒนธรรมเหล่านั้น เป็นเครื่องบ่งชี้ตัวตนและคุณค่าแบบที่ใครไม่สามารถนำไปเป็นเจ้าของได้ (ศิริขวัญ หวันจิและคณะ ,2563) ในแต่ละพื้นถิ่นมีทรัพยากรบางชนิดสามารถนำมาทำประโยชน์ให้กับชุมชนมาอย่างช้านานจนกลายเป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นนั้นๆโดยใช้ความรู้ความสามารถที่มีนำมาพัฒนา ดัดแปลง ต่อยอด จากรุ่นสู่รุ่นสู่การสรรค์สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ขึ้นมา ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ตามท้องถิ่นที่มาจากภูมิปัญญาได้รับความสนใจจากผู้บริโภคและตลาดมากขึ้น โดยจะมุ่งเน้นไปในทิศทางของการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่นให้มีคุณภาพสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคภายใต้เทคโนโลยีและนวัตกรรมภายในชุมชน น้ำพริกเครื่องแกง เป็นอาหารพื้นบ้านที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนในชุมชนที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน เนื่องจากมีรสชาติถูกปากมีส่วนผสมของเครื่องปรุงที่เป็นเอกลักษณ์ มีรสชาติจัดจ้าน สี กลิ่นรส ต้องตาน่าชิมจึงทำให้น้ำพริกเครื่องแกงเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มีการผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนมากในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ มีส่วนประกอบหลักๆ หลากหลายชนิดที่มีคุณประโยชน์ทางโภชนาการและป้องกันโรคภัยต่างๆ ในปัจจุบันน้ำพริกเครื่องแกงผู้บริโภคจึงมองว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 อีกทั้งในปัจจุบัน ทำให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจอาหารสุขภาพกันมากขึ้น น้ำพริกเครื่องแกงประกอบไปด้วยวัตถุดิบหลัก ได้แก่ พริก กระเทียม ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดและหอมแดง เป็นต้น ในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่มีกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตน้ำพริกเครื่องแกงที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ประเภทน้ำพริกเครื่องแกงที่กลุ่มสตรีฯ ผลิตขึ้น ได้แก่ น้ำพริกน้ำเงี้ยว น้ำพริกแกงอ่อม น้ำพริกแกงเผ็ด น้ำพริกแกงเหลือง น้ำพริกแกงส้ม น้ำพริกแกงฮังเล เป็นต้น มีการส่งจำหน่ายให้กับร้านหมูอินเตอร์จำนวน 61 สาขาทั่วประเทศ (อ้างอิง,www.moointer.com สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564) โดยปัญหาที่ผ่านมาพบว่า เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการผลิต วิธีการเก็บวัตถุดิบปัจจัยการผลิตที่ยังไม่ถูกสุขลักษณะ และวิธีบรรจุผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์มีอายุสั้น รวมทั้งการวางจำหน่ายตามท้องตลาดง่ายต่อการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง หรือแมลงต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการดูแลผลิตภัณฑ์หลังการผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หากนำไปบริโภคอาจเกิดผลเสียต่อร่างกายได้ จากการบริการวิชาการในอดีตที่ผ่านมาโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนงานบริการวิชาการสู่ชุมชน (Sansai Development Model) ตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัยตามยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการยกระดับขีดความรู้ ความสามารถด้านการเกษตรให้แก่ชุมชน สังคม ท้องถิ่น สู่ความยั่งยืน และยุทธศาสตร์ที่ 3 การบูรณาการองค์ความรู้ ผลการวิจัย ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยไปต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยี และการสร้างผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็น University of Life ภายใต้กรอบการพัฒนาด้าน Organic University มุ่งเน้นการส่งเสริมอาชีพพัฒนาทักษะให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) และการบริการวิชาการแก่ชุมชน และสังคมอย่างต่อเนื่องในการเผยแพร่องค์ความรู้สู่การประยุกต์เพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่สังคม จากผลการดำเนินงานจากโครงการบริการวิชาการที่ผ่านมาจัดกิจกรรมอบรมแก่สมาชิกกลุ่มเกษตรกรกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปในพื้นที่อำเภอสันทรายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการการสร้างอำนาจในการต่อรองปัจจัยการผลิตต่างๆ วิธีการรวมซื้อปัจจัยการผลิต และวิธีการรวมขายผลผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ยังพบปัญหาในพื้นที่จากกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปในอำเภอสันทราย พบว่า กลุ่มผลิตน้ำพริกแกงในพื้นที่เกี่ยวกับวิธีการเก็บวัตถุดิบ ปัจจัยการผลิต และบรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะไม่ได้มาตรฐานจึงมีสารปนเปื้อน ไม่สามารถเก็บรักษาผลิตภัณฑ์แปรรูปได้ในระยะยาว อีกทั้งตราผลิตภัณฑ์ไม่สร้างความน่าสนใจแก่ผู้บริโภค รวมทั้งกลุ่มเกษตรกรไม่มีการวางแผนด้านการใช้ปัจจัยการผลิต การวางแผนธุรกิจของกลุ่มฯ โครงสร้างกระบวนการบริหารจัดการกลุ่ม การจัดสรรผลประโยชน์แก่สมาชิกกลุ่ม อีกทั้งมีการทำด้านการตลาดที่ล่าสมัย สมาชิกไม่เคยได้รับการพัฒนาส่งเสริมทักษะด้านการผลิต และด้านขายการจัดจำหน่าย ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงการรับรู้ของผู้บริโภคจึงส่งผลทำให้เกิดการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นโครงการบริการวิชาการครั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาส่งเสริมอาชีพและการบริการวิชาการแก่ชุมชน สังคม ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ อาทิ ทีมผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการจากคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรมีความรู้ความเชี่ยวชาญผลิตเครื่องพาสเจอร์ไรซ์ระดับอุตสาหกรรมครัวเรือนที่มีต้นทุนต่ำสู่กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ถูกสุขอนามัยผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ทีมผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการจากคณะเศรษฐศาสตร์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการสร้างแผนธุรกิจ การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของธุรกิจชุมชน กระบวนการบริหารจัดการในกลุ่ม รวมทั้งแนวทางการจัดสรรผลประโยชน์ของสมาชิกกลุ่ม และความร่วมมือจากหัวหน้ากลุ่มผู้ผลิตแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 12 กลุ่ม ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในบริบทของชุมชนตนเองอย่างลึกซึ้ง เพื่อนำมาถ่ายทอดผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ที่มีความแตกต่างในรูปแบบที่ไม่ซ้ำใคร จากข้อมูลที่กล่าวมานั้นโครงการบริการวิชาการครั้งนี้ มีเป้าประสงค์ในการส่งเสริมอาชีพด้วยทุนชุมชนและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่การเป็นธุรกิจชุมชนต้นแบบเกิดจากการได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชนรวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เทศบาลเมืองแม่โจ้ เทศบาลตำบลสันทรายหลวง สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสันทราย สำนักงานเกษตรอำเภอสันทราย สหกรณ์นิคมสันทราย จำกัด และเอ็ม ดี ดี ดี กรุ๊ป จำกัด เป็นต้น โครงการบริการวิชาการครั้งนี้เรื่อง การส่งเสริมอาชีพด้วยทุนชุมชนและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่การสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มน้ำพริกเครื่องแกงอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่เกิดจากการสำรวจความต้องการของคนที่อาศัยในพื้นที่ชุมชนเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยกำหนดภายใต้รูปแบบนวัตกรรมเกษตร อาหารและสุขภาพ เพื่อให้เกิดชุมชนต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economic) นำมาสู่ปรับตัวมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต อาทิ สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงในชีวิตและความยั่งยืน โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio-Circular – Green Economy: BCG) เพื่อให้เกิดองค์การความรู้และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนำมาซึ่งการพัฒนาทักษะส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ในชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม อีกทั้งสร้างความเข้มแข็งเกิดสามัคคีในชุมชนได้อย่างยั่งยืน โครงการบริการวิชาการครั้งนี้ได้นำองค์ความรู้/ผลงานวิจัยเรื่องใดมาบริการวิชาการ (โปรดระบุชื่อองค์ความรู้/ผลงานวิจัย) ดังนี้ 1. องค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกเก๊กฮวยอบแห้ง ภายใต้โครงการวิจัย เรื่องพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกเก๊กฮวยอบแห้งของศูนย์พัฒนาศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะระยะที่ 1-2 2. องค์ความรู้การพัฒนาเครื่องต้นแบบสำหรับการอบแห้งกากมะพร้าวสด ภายใต้โครงการวิจัย เรื่องพัฒนาเครื่องต้นแบบสำหรับการอบแห้งกากมะพร้าวสด 3. องค์ความรู้การพัฒนาเตาอบแห้งอนามัย ภายใต้โครงการวิจัย เรื่องพัฒนาเตาอบแห้งอนามัยเพื่อปรับปรุงกระบวนการแปรรูปเนื้อลำไยอบแห้งสีทองของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปลำไยอบแห้งเนื้อสีทองบ้านสันป่าเหียง 4. องค์ความรู้กระบวนการอบแห้งสมุนไพรและชาดอกไม้ ภายใต้โครงการวิจัย เรื่องพัฒนากระบวนการอบแห้งสมุนไพร ชาดอกไม้: กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโงะ จังหวัดเชียงราย 5. องค์ความรู้กระบวนการยกระดับความเข็มแข็งการบริหารจัดการระหว่างเครือข่ายของเกษตรกร ภายใต้โครงการวิจัย เรื่องการยกระดับความเข็มแข็งการบริหารจัดการระหว่างเครือข่ายของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวระบบเกษตรนาแปลงใหญ่ 6. องค์ความรู้กระบวนพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกลุ่ม ด้านการผลิต ด้านกระบวนการแปรรูป ด้านการตลาดและการจัดสรรผลประโยชน์ของสมาชิก ภายใต้โครงการวิจัย เรื่องการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกลุ่มจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรสู่วิสาหกิจชุมชน 7. องค์ความรู้การทำเกษตรพอเพียงภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้โครงการวิจัย เรื่องการยกระดับความเข็มแข็งการบริหารจัดการระหว่างเครือข่ายของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวระบบเกษตรนาแปลงใหญ่ เป็นต้น โครงการบริการวิชาการครั้งนี้เรื่อง การส่งเสริมอาชีพด้วยทุนชุมชนและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่การสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มน้ำพริกเครื่องแกงอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สอดคล้องกับ SDGs : เป้าหมายที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ำ และ เป้าหมายที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน ในการจัดการกับปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงจำเป็นต้องมีนโยบายที่เหมาะสมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับประชากรกลุ่มที่มีรายได้ต่ำ และส่งเสริมความครอบคลุมทางเศรษฐกิจให้กับทุก ส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาส่งเสริมอาชีพด้วยทุนชุมชนและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่การสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งลดการเคลื่อนย้ายแรงงานซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และสังคมที่เพิ่มขึ้น 6. ความต้องการของชุมชน หรือพื้นที่ที่รับผิดชอบ: ความต้องการของชุมชนกลุ่มผู้ผลิตน้ำพริกแกงสำเร็จรูปอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้ 6.1 วิธีการเก็บวัตถุดิบ ปัจจัยการผลิต และบรรจุภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน สามารถเก็บรักษาผลิตภัณฑ์แปรรูปได้ในระยะยาว ที่ถูกสุขอนามัยผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) 6.2 การพัฒนาตราผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์น่าสนใจแก่ผู้บริโภค สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยง่าย 6.3 แนวทางการวางแผนด้านการใช้ปัจจัยการผลิต การวางแผนธุรกิจ และโครงสร้างกระบวนการบริหารจัดการกลุ่ม รวมทั้งการจัดสรรผลประโยชน์ และการการตลาดที่ทันสมัย ในรูปแบบตลาดออนไลน์แก่กลุ่มกลุ่มผู้ผลิตน้ำพริกแกงสำเร็จรูปในพื้นที่บริการวิชาการครั้งนี้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมอาชีพด้วยทุนชุมชนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มน้ำพริก เครื่องแกง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
2. เพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำพริกแกงสำเร็จรูปพาสเจอร์ไรซ์ตามมาตรฐานความปลอดภัย
3. เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการตลาดออนไลน์ของกลุ่มผู้ผลิตน้ำพริกแกงสำเร็จรูปพาสเจอร์ไรซ์สู่การสร้างรายได้เชิงพาณิชย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกร/สมาชิกกลุ่มอาชีพ/กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมอาชีพด้วยทุนชุมชนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และวิธีการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำพริกแกงสำเร็จรูปพาสเจอร์ไรซ์ตามมาตรฐานความปลอดภัยและพัฒนาระบบการบริหารจัดการการตลาดออนไลน์ของกลุ่มผู้ผลิตน้ำพริกแกงสำเร็จรูปพาสเจอร์ไรซ์สู่การสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 2 : จำนวนผู้รับบริการที่นำองค์ความรู้ไปต่อยอดเป็นอาชีพ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
KPI 3 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 5 : ร้อยละของรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าน้ำพริกแกงสำเร็จรูปพาสเจอร์ไรซ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 7 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 9 : จำนวนอาชีพเสริมจากการส่งเสริมอาชีพผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำพริกแกงสำเร็จรูปพาสเจอร์ไรซ์ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 อาชีพ 1
KPI 10 : จำนวนแพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำพริกแกงสำเร็จรูปพาสเจอร์ไรซ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แพลตฟอร์ม 1
KPI 11 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกร/สมาชิกกลุ่มอาชีพ/กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมอาชีพด้วยทุนชุมชนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และวิธีการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำพริกแกงสำเร็จรูปพาสเจอร์ไรซ์ตามมาตรฐานความปลอดภัยและพัฒนาระบบการบริหารจัดการการตลาดออนไลน์ของกลุ่มผู้ผลิตน้ำพริกแกงสำเร็จรูปพาสเจอร์ไรซ์สู่การสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1: อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมอาชีพด้วยทุนชุมชนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มน้ำพริกเครื่องแกง และพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำพริกแกงสำเร็จรูปพาสเจอร์ไรซ์ตามมาตรฐานความปลอดภัย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 07/04/2566 - 08/04/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.รภัสสรณ์  คงธนจารุอนันต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย  อัศวราชันย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 35 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 วัน
เป็นเงิน 4,900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,900.00 บาท 0.00 บาท 4,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 35 คน ๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ 2 วัน
เป็นเงิน 7,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล ขนาด 1 x 5 เมตร จำนวน 1 ผืนๆละ 900 บาท เป็นเงิน 900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 900.00 บาท 0.00 บาท 900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 2 คน 2 วัน เป็นเงิน 9,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา เป็นต้น เป็นเงิน 3,700 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,700.00 บาท 0.00 บาท 3,700.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 26100.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2: อบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการตลาดออนไลน์ของกลุ่มผู้ผลิตน้ำพริกแกงสำเร็จรูปพาสเจอร์ไรซ์สู่การสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 24/06/2566 - 25/06/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.รภัสสรณ์  คงธนจารุอนันต์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย  อัศวราชันย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 35 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 วัน
เป็นเงิน 4,900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,900.00 บาท 4,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 35 คน ๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ 2 วัน
เป็นเงิน 7,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 8 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 คน 2 วัน เป็นเงิน 9,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา เป็นต้น เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,400.00 บาท 2,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 23900.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล