19555 : โครงการอาหารสัตว์น้ำอินทรีย์จากวัตถุดิบพื้นบ้าน เพื่อมุ่งสู่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 12/1/2566 13:26:33
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2565  ถึง  29/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  เกษตรกร นักศึกษา ศิษย์เก่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน ต.แม่แรม อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ และ ชุมชน ต. แม่วาง อ. แม่วาง จ. เชียงใหม่
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 2566 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุดาพร  ตงศิริ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดารชาต์  เทียมเมือง
น.ส. น้ำเพชร  ประกอบศิลป์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-66-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ FT-66-2.3 ส่งเสริมองค์ความรู้ทางด้านการประมงให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด FT-66-2-27 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ FT-66-2.3.3 สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกในการบูรณาการองค์ความรู้ทางการประมงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ก่อให้เกิดรายได้และไม่เกิดรายได้
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เกษตรอินทรีย์ คือ ระบบการผลิตที่ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช และเป็นระบบการผลิตที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในมาตรฐาน มกท. มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขั้นพื้นฐานของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements หรือ IFOAM) ปัจจุบัน มกท. มีมาตรฐานครอบคลุมในเรื่องการผลิตพืชอินทรีย์ การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปผลิตภัณฑ์อินทรีย์การเก็บผลิตผลจากธรรมชาติ การผลิตปัจจัยการผลิตเพื่อการค้า การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ และรายการอาหารอินทรีย์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์เป็นระบบการผลิตสัตว์น้ำที่ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี ยาและสารเคมี หรือสิ่งต้องห้ามในการป้องกันกำจัดศัตรู และเป็นระบบการผลิตที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในมาตรฐาน มกท. มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ตามแนวทางมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขั้นพื้นฐานของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM, International Federation of Organic Agriculture Movements) ซึ่งมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ครอบคลุมสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม และทั้งที่เป็นสัตว์กินพืช สัตว์กินเนื้อ และสัตว์ที่กินทั้งพืช และเนื้อ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์สามารถทำได้ทั้งในระบบเปิด หรือในแหล่งน้ำที่มีน้ำไหลเวียนตามธรรมชาติเช่น การเลี้ยงในกระชังเป็นต้น และในระบบปิด เช่น บ่อดิน บ่อปูน เป็นต้น มาตรฐานนี้ไม่รวมถึงการจับสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ และสัตว์น้ำที่ว่ายอย่างอิสระอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่ไม่สามารถตรวจสอบตามหลักการผลิตแบบอินทรีย์ได้โดยหลักการคือการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการฟาร์มเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์เป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนและมีมาตรการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม (สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์, 2555) การผลิตอาหารสัตว์น้ำอินทรีย์ ต้องประกอบไปด้วยหลักสำคัญคือ อาหารสัตว์น้ำอินทรีย์ต้องเป็นอาหารที่มาจากส่วนผสมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ อาหารสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์น้ำที่กินเนื้อ จะต้องมาจากแหล่งต่อไปนี้ตามลำดับ อาหารสัตว์น้ำเกษตรอินทรีย์ที่ได้จากสัตว์น้ำเกษตรอินทรีย์ ปลาป่นและน้ำมันปลาจากการตัดแต่งสัตว์น้ำเกษตรอินทรีย์ ปลาป่นและน้ำมันปลาและเศษปลา ที่ได้จากการตัดแต่งปลาที่จับเพื่อใช้ในการบริโภคของมนุษย์และเป็นการจับแบบยั่งยืน อาหารสัตว์น้ำเกษตรอินทรีย์ที่มาจากพืชหรือปศุสัตว์ และห้ามใช้สัตว์น้ำชนิดเดียวกันมาเป็นอาหาร ในกรณีของสัตว์น้ำกินเนื้อ อัตราส่วนของอาหารอาจประกอบด้วยวัตถุดิบจากพืชอินทรีย์สูงสุด 60% เพื่อไม่ให้สัตว์มีปัญหาทางโภชนาการ (มาตรฐาน มกท, 2555 (IFOAM); มาตรฐานกรมประมง, 2550) อาหารสัตว์น้ำอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองจาก USDA organic เช่น อาหารยี่ห้อ Aquatic organic fish feed ที่มีส่วนประกอบ คือ ผลผลิตที่มาจากฟาร์มที่เป็นอินทรีย์ ไม่มีพืชหรือสัตว์ที่มีการตัดต่อพันธุกรรม ไม่มีปลาป่น และ ถั่วเหลืองที่ตัดต่อพันธุกรรม (Aquaponic source, 2017) การผลิตสัตว์น้ำอินทรีย์ โดยการใช้วัตถุดิบพื้นบ้าน เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถดำเนินการได้ เพราะการใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น มีการเพาะปลูกแบบอินทรีย์ เป็นการช่วยลดต้นทุนของวัตถุดิบอาหารสัตว์ รวมถึงยังเป็นแนวทางหนึ่งที่เกษตรกรสามารถใช้ส่งเสริมเรื่องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ และก่อให้เกิดรายได้เพิ่มจากการเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ ซึ่งสอดคล้องกับการส่งเสริมให้ประชาชนมีการดำรงชีวิตที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งของโครงการพระราชดำนิ เพื่อมุ่งหวังให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้ และพัฒนาสู่ระบบการเลี้ยงแบบอินทรีย์ต่อไป ผลงานวิจัยที่นำมาใช้ในการบริการวิชาการในครั้งนี้ คือ ผลงานวิจัยเรื่อง การยกระดับการผลิตปลานิลจากระบบไบโอฟลอคเข้าสู่ผลิตภัณฑ์อินทรีย์คุณภาพสูงเพื่ออุตสาหกรรม Food valley สอดคล้องกับ SDGs : เป้าหมายที่ 3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้เกษตรกรสามารถเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบอินทรีย์ และผลิตอาหารอินทรีย์โดยใช้วัตถุดิบพื้นบ้านได้
เพื่อส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบอินทรีย์เป็นอาชีพของเกษตรกร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกร ผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไป นักศึกษา นักเรียน มีความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบอินทรีย์ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และผลิตอาหารสัตว์น้ำอินทรีย์โดยใช้วัตถุดิบพื้นบ้านได้
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 2 : สนับสนุนงานด้านการเรียน การสอนในคณะเทคโนโลยีการประมงฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 รายวิชา 1
KPI 3 : ผลิตอาหารปลาอินทรีย์แบบง่าย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 สูตร 1
KPI 4 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 5 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 7 : ร้อยละของผู้รับบริการมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการบริการวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 10 : ส่งเสริมให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์เป็นเป็นอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 อาชีพ 1
KPI 11 : การบูรณาการผลงานบริการวิชาการสู่พันธกิจอื่น ๆ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 พันธกิจ 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกร ผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไป นักศึกษา นักเรียน มีความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบอินทรีย์ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และผลิตอาหารสัตว์น้ำอินทรีย์โดยใช้วัตถุดิบพื้นบ้านได้
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 การอบรม เรื่อง”อาหารสัตว์น้ำอินทรีย์จากวัตถุดิบพื้นบ้าน เพื่อมุ่งสู่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์”
กิจกรรมที่ 2 การอบรม เรื่อง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดาพร  ตงศิริ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดารชาต์  เทียมเมือง (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.น้ำเพชร  ประกอบศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 4,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ 2 วันเป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 คน 2 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ปฏิบัติ จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 2 คน 2 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ที่มิใช่บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 1 คน ๆละ 1,200 บาท 2 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท 0.00 บาท 4,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น วัตถุดิบอาหาร กระชัง เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้ม ปากกา สมุด เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น แผ่นซีดี external hardisk เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น น้ำยาลางจาน กะละมัง ถุง เป็นเงิน 1,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,400.00 บาท 0.00 บาท 1,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
20.ย.002 ปี66 ผศ.ดร.สุดาพร ตงศิริ.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล