19395 : โครงการเพาะเลี้ยงเห็ดเศรษฐกิจแบบอัจฉริยะและการแปรรูปเห็ดเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
19/01/2566  ถึง  29/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  บุคคลภายในและบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน 2566 50,400.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิชญาพร  อายุมั่น
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.22 รายได้จากการให้บริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.8 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรหรือหน่วยงานให้บริการวิชาการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66-3 เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 66-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 66-3.1.5 รายได้จากการให้บริการวิชาการ
กลยุทธ์ 66-3.1.5.1 ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการที่ก่อให้เกิดการสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย/หน่วยงาน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เห็ดเป็นพืชผักที่นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะสารอาหารประเภทโปรตีน ซึ่งสามารถใช้ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ (Plant based protein) และเห็ดบางชนิดยังมีสรรพคุณทางยาที่สามารถป้องกันและรักษาโรคบางอย่างได้ จึงมีผู้นิยมบริโภคเห็ดกันทั่วไป เห็ดที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป ได้แก่ เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดนางนวล เห็ดหอม เห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดเป๋าฮื้อ และเห็ดหลินจือ เป็นต้น นอกจากเห็ดจะมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ในแง่ของอาหารและยาป้องกันรักษาโรคแล้ว เห็ดหลายชนิดมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมสำหรับการเพาะเห็ดหลายชนิด วัสดุที่นำมาเพาะเห็ดส่วนใหญ่เป็นวัสดุเหลือใช้ในภาคเกษตรกรรม เช่น ขี้เลื่อยฟางข้าว ฝักและซังข้าวโพด ชานอ้อย หรือแกลบ เป็นต้น ซึ่งหาได้ง่ายและทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ ทำให้อาชีพการเพาะเห็ดเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับความสนใจ ประกอบกับมีการศึกษาวิจัยการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ จึงทำให้ปัจจุบันมีเห็ดหลายชนิดสามารถเพาะให้เกิดดอกได้และกลายเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญที่สามารถทำเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมได้เป็นอย่างดี เช่น เห็ดหัวลิง เห็ดนางนวล เห็ดออเรนจิ เห็ดขอนขาว เห็ดบด (ลม) เห็ดโคนญี่ปุ่น เห็ดแครง และเห็ดหลินจือ เป็นต้น เห็ดที่ผลิตได้ในประเทศไทยมีมากกว่า 1.2 แสนตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 6,000 ล้านบาท เห็ดที่ผลิตได้ในแต่ละปีใช้ในการบริโภคภายในประเทศ มีบางส่วนประมาณ 6,000 ตัน มีการส่งออกไปต่างประเทศในรูปของเห็ดแช่แข็ง และเห็ดกระป๋อง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้เล็งเห็นความสำคัญของเห็ด จึงจัดให้มีการเรียนการสอนของนักศึกษาเป็นประจำทุกภาคการศึกษา มีงานวิจัยเกี่ยวกับเห็ดชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังให้บริการวิชาการแก่ชุมชนในรูปแบบของการฝึกอบรมเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการเพิ่มแหล่งอาหารและรายได้แก่ประชาชน ซึ่งการเพาะเห็ดสามารถทำเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพรองของนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจ ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเพาะเลี้ยงเห็ดเศรษฐกิจแบบอัจฉริยะและการแปรรูปเห็ดเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์” ให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไปขึ้น โดยเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของเห็ด เช่น วงจรชีวิตเห็ดธรรมชาติและเห็ดจากการเพาะเลี้ยง ขั้นตอนการเพาะเห็ดแบบครบวงจร และข้อมูลจำเพาะของเห็ดแต่ละชนิด รวมถึงขั้นตอนการทำแม่เชื้อเห็ด (เทคนิคการทำอาหารวุ้น PDA, เทคนิคการนึ่งวุ้น PDA ให้ปลอดเชื้อด้วยหม้อนึ่งแรงดัน, เทคนิคการเขี่ยเชื้อและเทคนิคการเลี้ยงแม่เชื้อเห็ด) และการทำก้อนเชื้อเห็ดแบบมืออาชีพ (สูตรอาหารเห็ด คุณสมบัติของส่วนผสมอาหารเห็ด เทคนิคการหมักวัสดุให้เห็ดออกดี ลดปัญหาเชื้อรา เทคนิคการผสมอาหารเห็ดให้เส้นใยเดินดี ฝึกปฏิบัติอัดก้อนเห็ดด้วยมือ เทคนิคการนึ่งก้อนเห็ดด้วยเตานึ่ง ข้อควรระวังในการนึ่งก้อนเห็ด) เทคนิคการทำเชื้อข้าวฟ่าง การบ่มก้อนเชื้อเห็ด (การออกแบบและการสร้างโรงบ่มก้อนเชื้อเห็ด การควบคุมและบริหารต้นทุน การดูแลและป้องกันศัตรูก้อนเชื้อเห็ด) เทคนิคการเปิดดอกเห็ดให้ดอกสวย น้ำหนักดี ปัจจัยแวดล้อมในการเพาะเห็ด การสร้างโรงเรียนเพาะเห็ดแบบอัจฉริยะ รวมถึงการแปรรูปเห็ดไปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ และการตลาดและศัตรูเห็ดที่ควรระวัง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะทำการเพาะเห็ดไม่ว่าจะเป็นเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือนหรือต่อยอดพัฒนาเป็นธุรกิจเพื่อให้ประสบความสำเร็จ ลดความเสี่ยงของการลงทุน เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกรโดยสามารถเพาะเลี้ยงผสมผสานกับการทำเกษตรพืชผักโดยทั่วไปได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของเทคนิคการเพาะเห็ดเศรษฐกิจแบบอัจฉริยะและการแปรรูปเห็ด เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
2. เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ในครัวเรือนแก่เกษตรกร
3. เพื่อเพิ่มเติมความรู้ด้านวิชาการ ประสบการณ์ให้เกษตรกรผู้เพาะเห็ดนำไปพัฒนาปรับปรุงผลผลิตเพิ่มมากขึ้น
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการเพาะเลี้ยงเห็ดเศรษฐกิจแบบอัจฉริยะและการแปรรูปเห็ดเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์
KPI 1 : จำนวนเงินรายได้ที่นำส่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
27600 บาท 27600
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการเพาะเลี้ยงเห็ดเศรษฐกิจแบบอัจฉริยะและการแปรรูปเห็ดเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์
ชื่อกิจกรรม :
การเพาะเลี้ยงเห็ดเศรษฐกิจแบบอัจฉริยะและการแปรรูปเห็ดเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 19/01/2566 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร  อายุมั่น (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์  ไชยมณี (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกอาทิตย์  ฤทธิเดชยิ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.พัตรเพ็ญ  เพ็ญจำรัส (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อนุวัฒน์  จรัสรัตนไพบูลย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.พัชรณัฐ  ดาวดึงษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 4,200 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน ๆ ละ 1 มื้อ 80 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 20 ชุด ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,400.00 บาท 0.00 บาท 10,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เป็นเงิน 10,000 บาท
2. ค่าวัสดุเกษตร เป็นเงิน 20,000 บาท
3. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50400.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล