19385 : โครงการนำนักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสิ่งแวดล้อมศึกษาดูงานนอกสถานที่ ประจำปีการศึกษา 2565
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
รองศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ นันทะเสน (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
23/02/2566  ถึง  26/02/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  36  คน
รายละเอียด  คณาจารย์จำนวน 5 ท่านและนักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 3 จำนวน 31 คน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเศรษฐศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานการเรียนการสอน งานสนับสนุนการจัดการศึกษากองทุนกิจการนักศึกษา งบเงินอุดหนุน หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป (โครงการตามแผนปฎิบัติการมหาวิทยาลัย(มิติที่ 2)) 2566 20,800.00
งบประมาณจากแหล่งอื่น คณะเศรษฐศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ผู้ร่วมโครงการเป็นผู้รับผิดชอบ 2566 27,200.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. วราภรณ์  นันทะเสน
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเศรษฐศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.3 ร้อยละของบัณฑิตที่มีงานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.4 พัฒนาคุณภาพของบัณฑิตเพื่อรองรับหรือเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในตลาดแรงงานระดับอาเซียนหรือนานาชาติ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2565] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-69ECON 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69ECON2-1 ขยายฐานบัณฑิต ผลิตบัณฑิตที่เป็นนักคิดวิเคราะห์ นักปฏิบัติ และสามารถเป็นผู้ประกอบการที่มีฐานคิดด้านเศรษฐศาสตร์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
ตัวชี้วัด 65-69ECON2-1.8 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 65-69ECON 2-1.8.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 65-69ECON 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69ECON2-1 ขยายฐานบัณฑิต ผลิตบัณฑิตที่เป็นนักคิดวิเคราะห์ นักปฏิบัติ และสามารถเป็นผู้ประกอบการที่มีฐานคิดด้านเศรษฐศาสตร์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
ตัวชี้วัด 65-69ECON2-1.8 ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 65-69ECON 2-1.8.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ตามหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสิ่งแวดล้อม ได้บรรจุรายวิชา ศล313 เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรน้ำ ศล 333 เศรษฐศาสตร์การผลิต ศล 363 การวิเคราะห์และประเมินโครงการ ศล 322 สิ่งแวดล้อมชุมชนและ ศศ 497 สหกิจศึกษา ไว้ในหลักสูตร และเพื่อเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์และทักษะในการเรียนวิชาดังกล่าวให้สามารถนำไปปฎิบัติจริง และเพื่อเป็นการพัฒนาความรู้และขีดความสามารถให้แก่นักศึกษา ประกอบกับการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา ในการพิจารณาหน่วยงานหรือสถาบัน เพื่อการไปฝึกประสบการณ์สหกิจศึกษาให้ตรงตามความสนใจในการประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา อีกทั้งเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพนกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงทั้งศึกษาการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสิ่งแวดล้อม จึงจัดโครงการนำนักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสิ่งแวดล้อม ศึกษาดูงานนอกสถานที่ ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 23-26 กุมภาพันธ์ 2566 โดยนำนักศึกษาไปศึกษา และดูการดำเนินงาน ณ ฟาร์มคูโบต้า จังหวัดชลบุรี สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 1 จังหวัดระยอง และ ป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำ จังหวัดระยอง

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการแปรรูปผลผลิตเกษตร การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากประสบการณ์จริงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง
เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ ประยุกต์ใช้ และสามารถเชื่อมโยงกระบวนการผลิต การขนส่งในระบบธุรกิจเกษตร สู่การป้องกันและการแก้ไขมลพิษและสิ่งแวดล้อม ในการทำงานในอนาคต
เพื่อปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 แก่นักศึกษา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้ การบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การดำเนินการธุรกิจเกษตร ด้านการแปรรูปและการผลิต ตลอดจนเป็นทางเลือกในการตัดสินใจเลือกสถานที่ปฎิบัติการสหกิจศึกษา และนักศึกษามีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
KPI 1 : นักศึกษามีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ระดับความรู้ ความเข้าใจ 3.51
KPI 2 : นักศึกษามีความรู้ด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ระดับความรู้ ความเข้าใจ 3.51
KPI 3 : นักศึกษามีความรู้ด้านการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ระดับความรู้ความเข้าใจ 3.51
KPI 4 : นักศึกษามีข้อมูลเพียงพอสำหรับการตัดสินใจเลือกน่วยงานที่จะไปปฎิบัติสหกิจศึกษาและมีความพร้อมก่อนไปสหกิจศึกษา
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ระดับความรู้ ความเข้าใจ 3.51
KPI 5 : จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ (31คน)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้ การบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การดำเนินการธุรกิจเกษตร ด้านการแปรรูปและการผลิต ตลอดจนเป็นทางเลือกในการตัดสินใจเลือกสถานที่ปฎิบัติการสหกิจศึกษา และนักศึกษามีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ชื่อกิจกรรม :
การศึกษาดูงานนอกสถานที่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 23/02/2566 - 26/02/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์  นันทะเสน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.เกศสุดา  สิทธิสันติกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขนิษฐา  เสถียรพีระกุล (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์  สุภาพันธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.นลินี  คงสุบรรณ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถบัส ปรับอากาศ 2 ชั้น ขนาด 40 ที่นั่ง จำนวน 1 คัน (4 วันๆละ 12,000 บาท รวม 48,000 บาท) ทั้งนี้ขอเบิกค่าจ้างเหมารถบัสเพียง 20,800 บาท (สองหมื่นแปดร้อยบาทถ้วน) ส่วนที่เหลือ 27,200 บาท (สองหมื่นเจ็ดพันสองร้อยบาทถ้วน) ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นผู้รับผิดชอบ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 48,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 48,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 48000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ผู้ร่วมโครงการทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เว้นระยะห่างที่เหมาะสม และมีเจลแอลลกอฮอล์ไว้บริการ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
กำหนดการ.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล