19380 : โครงการฐานเรียนรู้การผลิตพืชในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ฟาร์มมหาวิทยาลัย
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 
น.ส.สุกัญญา กิติเวียง (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 31/1/2566 11:13:33
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2565  ถึง  30/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  300  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร ชุมชนเครือข่ายอินทรีย์ และผู้ที่มีความสนใจการผลิตพืชอินทรีย์
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน ฟาร์มมหาวิทยาลัย หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2566 350,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ดร. สุรชัย  ศาลิรัศ
นาย สถาพร  ฉิมทอง
นาย ณัฏฐชัย  อัฐวงศ์ชยากร
นาย สรเดช  จันทร์เที่ยง
นาย กฤษณโชติ  ประชาโรจน์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
ฟาร์มมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.2 เป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์ของประเทศ (Organic Education Hub)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.4 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.2.2 ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เคลื่อนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University Strategy)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันนโยบายของรัฐบาลได้น้อมนำพระราชกระแสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ที่ทรงให้ติดตาม ขับเคลื่อน และเร่งรัด รวมทั้งแก้ไขปัญหาอุปสรรค การดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ บังเกิดประโยชน์สูงสุดกับราษฎร และเพื่อให้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสำเร็จตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งน้อมนําศาสตร์พระราชามาใช้ในการบริหารจัดการดิน น้ำ ป่า ของประเทศ ทั้งในด้านเกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎิใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการเกษตร ที่ทำให้ราษฎร อยู่อย่างพอเพียงตามแนวทางของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ก็ได้น้อมนำเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้มีพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 17 ณ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2538 ความว่า การเกษตรนั้นเป็นทั้งรากฐานและชีวิตสำหรับประเทศของเรา และเกษตรกรรมในยุคปัจจุบันนี้จำเป็นต้องได้รับการวางแผน และพัฒนาอย่างถูกต้อง ทุกคนจึงควรจะได้ถือเป็นภาระหน้าที่ที่จะต้องช่วยกันศึกษาค้นคิดและปฏิบัติทดลอง หาวิธีการที่ดีที่เหมาะสมยิ่งๆ ขึ้น เพื่อให้การเกษตรในประเทศของเราได้พัฒนาก้าวหน้าไปได้อย่างมั่นคง ตลาดเกษตรอินทรีย์ของโลกในปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 600,000 ล้านบาท โดยตลาดส่วนใหญ่อยู่สหภาพยุโรป 250,000 ล้านบาท สหรัฐอเมริกา 200,000 ล้านบาทและญี่ปุ่น 45,000 ล้านบาท โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 25 ต่อปี ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยทั่วไปจะสูงกว่าสินค้าปกติร้อยละ 25 – 50 อย่างไรก็ตามปริมาณสินค้า เกษตรอินทรีย์รวมทั้งโลกในปัจจุบันมีเพียงร้อยละ 1 ดังนั้นโอกาสและลู่ทางในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปขายในตลาดโลกของประเทศไทยยังมีอยู่มากสำหรับการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยกรมวิชาการเกษตรร่วมกับบริษัทในเครือนครหลวงและบริษัทในเครือสยามวิวัฒน์ ผลิตข้าวอินทรีย์ในท้องที่จังหวัดพะเยาและเชียงราย เนื้อที่ประมาณ 10,000 ไร่ ได้ผลผลิตรวม 1,200 – 1,500 ตันส่งไปขายยังต่างประเทศภายใต้การควบคุมขององค์กรตรวจสอบคุณภาพของประเทศอิตาลี มีการผลิตกล้วยหอมอินทรีย์ส่งไปประเทศญี่ปุ่นโดยสหกรณ์การเกษตรท่ายางร่วมกับสหกรณ์ผู้บริโภคโตโต้ ประเทศญี่ปุ่น มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 259 รายในเนื้อที่ 1,500 ไร่ ผลผลิตของสมาชิกในโครงการประมาณ 2,000 – 2,500 ตัน/ปี ปี พ.ศ. 2542 – 2546 กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำโครงการนำร่องการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อการส่งออกร่วมกับบริษัทส่งออก จำนวน 6 บริษัทตั้งเป้าหมายการผลิตพืชอินทรีย์ 6 ชนิดเพื่อการส่งออก คือ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน กล้วยไข่ สับปะรด กระเจี๊ยบเขียว และขิง เพื่อส่งไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีการซื้อขายอยู่ในตลาดโลก ปัจจุบันมีมูลค่าประมาณปีละ 5 – 6 แสนล้านบาท โดยอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยร้อยละ 25 ต่อปี ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยทั่วไปสูงกว่าสินค้าปกติร้อยละ 25.50 ปริมาณสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีอยู่ในตลาดโลกปัจจุบันมีเพียงร้อยละ 1 ดังนั้น โอกาสและลู่ทางในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยเพื่อส่งออกไปขายในตลาดโลกยังมีอยู่มาก ทฤษฎีใหม่เป็นวิธีปฏิบัติการเกษตรอีกแนวทางหนึ่งที่คิดค้นขึ้นสำหรับเกษตรกรที่มีที่ดินจำนวนน้อย หรือแปลงขนาดเล็ก มีหลักสำคัญอยู่ว่า แต่ละแปลงจะแบ่งออกเป็นส่วนๆ สมมุติว่าแปลงหนึ่งมี 15 ไร่ จะปลูกข้าว 5 ไร่ ปลูกไม้ผล พืชไร่ หรือพืชผักสวนครัว 5 ไร่ ขุดสระน้ำ 3 ไร่ ปลูกที่อยู่อาศัยและอื่นๆ อีก 2 ไร่ วิธีนี้ได้ทดลองปฏิบัติขั้นแรกมานานพอสมควร และได้ผลดีที่น่าพอใจระดับหนึ่ง คือเกษตรกรมีข้าวบริโภคเพียงพอตลอดปี และมีรายได้พอเลี้ยงตัวเองได้ต่อไปหากจะให้ได้ผลที่ยิ่งสมบูรณ์ขึ้น ในขั้นที่สอง ก็จะต้องรวมกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ ด้วยความร่วมมือของหน่วยราชการ มูลนิธิ และเอกชน เพื่อช่วยเหลือในด้านการผลิต การตลาด การเป็นอยู่ต่างๆ และในขั้นที่สาม จะต้องร่วมมือกับสถาบันการเงินและการพลังงาน เพื่อช่วยเหลือด้านการจัดตั้ง และบริหารโรงสี ร้านสหกรณ์ รวมทั้งสนับสนุนการลงทุน …” โดยฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้น้อมน้อมนำ พระราชดำริ ให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดูแลเกษตรกร ครั้ง ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จ พื้นที่ บ้านโปง หมู่ 6 ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ถึง 4 ครั้ง โดยในปัจจุบัน ฟาร์มมหาวิทยาลัย ได้มีกิจกรรมต่างๆ ทั้งด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมการทำเกษตรผสมผสาน การผลิตปุ๋ยไว้ใช้เอง การผลิตพืช ต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ให้กับเกษตรกร ผู้สนใจ เข้าเรียนวิธีการผลิตพืช ที่ปลอดภัย ทำให้ลดต้นทุนการผลิต ไม่มีผลกระทบต่อ ดิน น้ำ และนำไปต่อยอด เพื่อสร้างอาชีพให้แก่เกษตรกรในอนาคตต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการทำการเกษตรแบบผสมผสาน
เพื่อเป็นฐานเรียนรู้การผลิตพืชในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ฟาร์มมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ฐานเรียนรู้การผลิตพืชในรูปแบบเกษตรอินทรีย์
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรผสมผสาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 แหล่งเรียนรู้ 5
KPI 4 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผู้เยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 100 100 คน 300
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 7 : จำนวนฐานเรียนรู้การผลิตพืชในรูปแบบเกษตรอินทรีย์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ฐาน 2
KPI 8 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0 0.255 0.075 0.02 ล้านบาท 0.35
KPI 9 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ฐานเรียนรู้การผลิตพืชในรูปแบบเกษตรอินทรีย์
ชื่อกิจกรรม :
1. ฐานเรียนรู้เกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง
2. ฐานเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตผักสดในระบบเกษตรอินทรีย์
3. ฐานการเรียนรู้การผลิตไม้ดอก (เก๊กฮวยอินทรีย์)
4. ฐานเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตลำไยคุณภาพ ในระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อชุมชน
5. ฐานเรียนรู้การผลิตมะม่วงอินทรีย์แบบครบวงจร
6. ฐานเรียนรู้การผลิตกิ่งพันธุ์ไม้ผลรับรองพันธุ์
7. ฐานเรียนรู้เทคนิคการปลูกพืชกระท่อมร่วมกับฟ้าทะลายโจรและกระชายขาวในระบบเกษตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ดร.สุรชัย  ศาลิรัศ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายสถาพร  ฉิมทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายณัฏฐชัย  อัฐวงศ์ชยากร (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายสรเดช  จันทร์เที่ยง (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายกฤษณโชติ  ประชาโรจน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาบริการพ่นสารชีวพันธ์ลำไย จำนวน 1 คน จำนวน 5 ไร่ ๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาพ่นสารชีวพันธ์มะม่วง จำนวน 1 คน จำนวน 10 ไร่ ๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาบริการตัดแต่งกิ่งมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต จำนวน 1 คน พื้นที่ จำนวน 1,000 ต้น ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาบริการเก็บผลผลิตและตัดเกรดมะม่วง จำนวน 1 คน พื้นที่ จำนวน 10 ไร่ ๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 40,000.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 70,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุเกษตร เช่น สารชีวพันธ์ วัสดุเพาะกล้า ถาดเพาะกล้า ขุยมะพร้าว ไม้ค้าง เข่ง คราด พลั่ว ช้อนพรวน
ตอกเสียบแปลง ต้นกล้าพืชผัก เมล็ดพันธุ์พืชผัก มูลวัว ไม้ไผ่ ปุ๋ยอินทรีย์ ดินดำ แกลบดิบ เปลือกถั่ว ตาข่ายพรางแสง ไตรโคเดอร์มา บิววาเรีย พลาสติกมุงหลังคา มูลไก่ มูลวัว ปุ๋ยอินทรีย์ ถุงห่อมะม่วง เป็นเงิน 200,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 200,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 200,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นเงิน 80,000 บาท
(ใส่รถแทรกเตอร์ในการพรวนดิน , ใส่เครื่องตัดหญ้า (กำจัดวัชพืช) , รถยนต์ และจักรยานยนต์พ่วง สำหรับขนของ และรับส่งนักศึกษาฝึกงาน เกษตรกร)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 45,000.00 บาท 20,000.00 บาท 80,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 350000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ขาดงบประมาณสนับสนุน
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ประสานงานกับแหล่งทุน
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
นักศึกษาฝึกงาน ได้เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน สามารถปลูกพืชที่หลากหลาย ไม่ปลูกพืชชนิดเดียว สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายครั้งต่อปี
ช่วงเวลา : 01/12/2565 - 30/09/2566
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
การนำไปบูรณาการการเรียนการสอน วิชา ผษ 101 รายวิชา เกษตรเพื่อชีวิต และนักศึกษาฝึกงาน ทั้งภายในและสถาบันภายนอก
ช่วงเวลา : 01/12/2565 - 30/09/2566
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
การผลิตพืชที่ถูกวิธี ทำให้ นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร ชุมชนเครื่อข่ายเกษตรอินทรีย์ และผู้ที่สนใจการผลิตพืชอินทรีย์ ได้เรียนรู้ และก่อเกิดองค์ความรู้ ด้านการผลิต พืชรวมถึงการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี นำไปต่อยอดในอาชีพปัจจุบันได้
ช่วงเวลา : 01/12/2565 - 30/09/2566
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ