19356 : โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Eco print สู่ Eco-design เพื่อสร้างอัตลักษณ์ชุมชน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2565  ถึง  29/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  26  คน
รายละเอียด  วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ อำเภอลอง จังหวัดแพร่
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 2566 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. น้ำฝน  รักประยูร
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร  จันทร์ฉาย
อาจารย์ ดร. นิติกาญจน์  นาคประสม
อาจารย์ ดร. เกศินี  วีรศิลป์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66-3 เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 66-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 66-3.1.7 จำนวนโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยด้าน Organic Green Eco
กลยุทธ์ 66-3.1.7.1.1 ส่งเสริมและยกระดับโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยด้าน Organic Green Eco
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “การเกษตรยังคงต้องพึ่งพาทรัพยากรสำคัญ ได้แก่ ดิน และน้ำ เช่นที่เคยเป็นมา นักศึกษาทั้งหลายที่จะเป็นเกษตรกรแห่งอนาคต จึงควรจะต้องศึกษา และทำความเข้าใจธรรมชาติของทรัพยากร 2 สิ่งนี้ ให้มีความรู้ถ่องแท้ และศึกษาค้นคว้า ทดลองหาวิธีทำการเกษตรที่เหมาะสม อย่างที่สมัยนี้เรียกกันว่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือไม่ทำความเสียหายแก่ทรัพยากร หรือเมื่อทรัพยากรเสื่อมโทรมลง ก็ต้องเรียนรู้วิธีอนุรักษ์ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน สามารถใช้ประโยชน์สืบต่อไปได้อีกหลายชั่วอายุคน” (พระราชดำรัส การประชุมวิชาการระดับชาติ องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุทัยธานี ตำบลหนองแก อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี วันที่ 03 กุมภาพันธ์ 2560) สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) ที่ระบุว่า “การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว โดยให้ความสําคัญกับการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต การให้บริการ และการบริโภคเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม Eco printing เป็นกระบวนการพิมพ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้วิธีการพิมพ์ผ้าด้วยใบไม้ ถ่ายโอนสีและโครงสร้างจากใบไม้สู่ผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ฝ้าย ไหม เป็นต้น เริ่มพัฒนาจากประเทศออสเตรเลีย เป็นผลิตภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม รักษ์โลก ไม่ใช้สารเคมี เมื่อนำใบไม้หลากชนิดวางลงบนตัวเนื้อผ้า ผ่านกระบวนการทางธรรมชาติ ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ผ้าสีหลากชนิดไม่ซ้ำกัน เสมือนเป็นหนึ่งเดียวของผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิตแต่ละครั้ง เนื่องจากธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามฤดูกาลและสภาวะแวดล้อม ส่งผลให้สีสันในใบไม้แต่ละใบทรงคุณค่าและสวยงามตามธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์สีธรรมชาติ เชื่อมโยงกับวิถีธรรมชาติ ง่ายต่อการบำรุงรักษา ประหยัดพลังงานและต้นทุนในการดูแล ผลิตภัณฑ์ผ้าสีธรรมชาติจึงเป็นสัญลักษณ์ของการรักษาความสมดุลของธรรมชาติและยังสร้างศิลปะแฟชั่นที่ให้ทั้งคุณค่าและราคา สำหรับประเทศไทย Eco printing ยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก ไม่เหมือนผ้ามัดย้อมที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เท่าที่เห็นมีผู้ผลิตชิ้นงานที่เป็น Eco printing อยู่เพียง 3-4 รายเท่านั้น Eco Printing จากจุดเริ่มต้นการมัดย้อมด้วยสีวิทยาศาสตร์ มาเป็นการมัดย้อมด้วยสีธรรมชาติ ซึ่งพบว่านอกจากมันจะดีต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว สีสันที่ได้ยังแปรเปลี่ยนไปตามการใช้ตัวที่ช่วยทำให้สีติดมากขึ้น ที่เรียกกันว่าตัว ฟิกสี (Mordant) รวมถึงสภาพอากาศด้วย Eco-printing เป็นเรื่องที่ท้าทาย สร้างความแปลกใหม่ได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง ทั้งเรื่องสีสันและลวดลาย ชวนให้หลงใหลมากขึ้น รวมถึงมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือที่เรียกว่า Eco-design ซึ่งจะเครื่องมือสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ห่วงใยในสภาพสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงทรัพยากรที่เพียงพอและสิ่งแวดล้อมที่ดีสำหรับคนรุ่นต่อไป วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ มีประธานกลุ่ม คือ นางหทัยรัตน์ ขันแก้ว อยู่บ้านเลขที่ 137/1 หมู่ที่ 11 บ้านแม่ลานเหนือ ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ มีแนวคิดในการทำรวมกลุ่มสมาชิกเพื่อจัดทำผลิตภัณฑ์หัตถกรรมทำมือ เช่น พวงกุญแจ ยางรัดผม กระเป๋าจากเศษผ้าต่าง ๆ ขายในชุมชนอยู่แล้ว โดยมีฐานคิดในการทำธุรกิจเพื่อสังคม สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับกลุ่มแม่บ้านในตำบลห้วยอ้อ อย่างไรก็ตามในสถานการณ์โควิด 19 พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทางกลุ่มผลิตออกจำหน่ายมียอดขายที่ลดลงเนื่องจากการงดจัดงานแสดงสินค้า การชะลอตัวของเศรษฐกิจ แต่ทางกลุ่มก็มีงานทอมือผ้าตีนจกที่สามารถจำหน่ายได้เรื่อย ๆ ส่วนผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เคยผลิตมีคู่แข่งขันในตลาดค่อนข้างมาก จึงมีแนวคิดที่จะหาเอกลักษณ์และความแตกต่างของผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของกลุ่มฯ โดยเน้นการใช้ทรัพยากรในชุมชน และสนใจที่จะทำ Eco-print เช่น การพิมพ์ผ้าด้วยใบสัก (leaves Teak tree) หรือ ใบไม้อื่น ๆ ที่หาได้ในชุมชน เพื่อนำไปต่อยอดในด้านงาน Eco-design ให้เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ซึ่งกำลังเริ่มได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย ดังนั้น การสร้างอาชีพให้กับชุมชนด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน จะสามารถสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนได้ สอดคล้องกับ พระราชดำรัสตอนหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระองค์จึงทรงมุ่งพัฒนาให้ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคง สามารถพึ่งตนเองได้ ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ว่า ...."การที่จะแจกสิ่งของหรือเงินแก่ราษฎรนั้น เป็นการช่วยเหลือชั่วคราว ไม่ยั่งยืน การที่จะให้ประชาชนอยู่รอดได้ก็คือ การให้อาชีพ" ....พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ดังนั้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวเพื่อจะใช้นวัตกรรมด้านการทำสีธรรมชาติจากใบไม้ เปลือกไม้และการออกแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด มาใช้ในการถ่ายทอดไปยังกลุ่มเป้าหมาย การนำเอาองค์ความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์แนวทางการสร้างอัตลักษณ์ชุมชนและจัดทำแผนการตลาด พัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสามารถนำมาขายในเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งจะทำให้สามารถยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก Eco-print วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ นอกจากนี้จะทำให้ชุมชนได้เรียนรู้วิธีอนุรักษ์ป่าไม้ให้เกิดความยั่งยืน เป็นแหล่งรายได้แก่ครัวเรือนได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ Eco-print ให้กับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์และหัตถกรรมบ้านแม่ลานเหนือ
2 เพื่อวิเคราะห์แนวทางการสร้างอัตลักษณ์ชุมชนและวางแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ Eco-print
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. ผลิตภัณฑ์ Eco print 2. ชุมชนได้องค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนและสามารถวางแผนการตลาดได้
KPI 1 : จำนวนผลผลิต / ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 แบบ 3
KPI 2 : ผู้ประกอบการ/วิสาหกิจชุมชนที่พัฒนาผลิตภัณฑ์จาก Eco-print มีศักยภาพในการเข้าสู่ตลาดสีเขียวในเชิงพาณิชย์ในระดับประเทศได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 ร้อยละ 20
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : แนวทางการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนและแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ Eco-print
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แผน 1
KPI 7 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.02464 0.02536 ล้านบาท 0.05
KPI 8 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 10 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
26 คน 26
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. ผลิตภัณฑ์ Eco print 2. ชุมชนได้องค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนและสามารถวางแผนการตลาดได้
ชื่อกิจกรรม :
อบรมเชิงปฏิบัติการทำ Eco-print

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.นิติกาญจน์  นาคประสม (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เกศินี  วีรศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 26 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35บาท เป็นเงิน 3,640 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 2 วัน ๆ ละ 26 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5,200 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 2 วัน ๆ ละ 1 คัน ๆ ละ 2,500 บาท 2 วัน เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 13,840.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 13,840.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 2 วัน ๆ ละ 3 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 24640.00
ชื่อกิจกรรม :
อบรมเชิงปฎิบัติการการวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนและการวางแผนการตลาด

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำฝน  รักประยูร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.เกศินี  วีรศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.นิติกาญจน์  นาคประสม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 26 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35บาท เป็นเงิน 3,640 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 2 วัน ๆ ละ 26 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5,200 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 2 วัน ๆ ละ 1 คัน ๆ ละ 2,500 บาท 2 วัน เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 13,840.00 บาท 0.00 บาท 13,840.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 2 วัน ๆ ละ 3 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษบรุ๊ฟ ดินสอ ยางลบ ฯลฯ เป็นเงิน 720 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 720.00 บาท 0.00 บาท 720.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 25360.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล