19355 : โครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ระบบนิเวศบนบก พืชสีครามในพื้นที่บ้านนาตอง จังหวัดแพร่ คืนห้อมสู่ป่าธรรมชาติบ้านนาตอง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19/12/2565 15:55:16
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
27/12/2565  ถึง  29/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  60  คน
รายละเอียด  เกษตรกร ประชาชนผู้สนใจทั่วไป เป็นผู้เยี่ยมชมฐานเรียนรู้ จำนวน 30 คน และผู้เข้าอบรม จำนวน 30 คน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 2566 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร  จันทร์ฉาย
อาจารย์ ศรีสุดา  ทาหาร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66-3 เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 66-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 66-3.1.7 จำนวนโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยด้าน Organic Green Eco
กลยุทธ์ 66-3.1.7.1.1 ส่งเสริมและยกระดับโครงการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยด้าน Organic Green Eco
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพพืชท้องถิ่นกลุ่มห้อมที่เกิดจากผลกระทบภัยพิบัติธรรมชาติดินโคลนถล่ม ปี 2549 ในพื้นที่บ้านนาตอง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ทำให้สายพันธุ์ห้อมท้องถิ่นของบ้านนาตองในป่าธรรมชาติลดลงจนใกล้สูญพันธุ์ ทำให้จำนวนชนิดพันธุ์ถูกคุกคามหรือใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากห้อมเป็นพืชเศรษฐกิจที่นำมาใช้ในการย้อมสีธรรมชาติ เป็นสินค้าหลักของจังหวัดแพร่ ซึ่งมีความสอดคล้องกับการนำแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมวงศานุวงศ์มาบริการวิชาการ ตามนโยบายของสำนักงบประมาณ และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมุ่งสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว และจากประสบการณ์ทำงานวิจัยและการบริการวิชาการต่าง ๆ เกี่ยวกับห้อม ทำให้ทราบปัญหาถึงความขาดแคลนห้อมที่จะนำมาใช้เป็นพืชเศรษฐกิจได้อย่างเพียงพอ ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ระบบนิเวศบนบก พืชสีครามในพื้นที่บ้านนาตอง จังหวัดแพร่ คืนห้อมสู่ป่าธรรมชาติบ้านนาตอง ถึงแม้จะมีการขยายพื้นที่ปลูกตามบ้านเรือนของชุมชนบ้านนาตอง แต่ในป่าธรรมชาติต้นห้อมมีปริมาณลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด จึงอาจเข้าสู่วิกฤตต่อการสูญพันธุ์ได้ ต้นห้อมมีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น โดยที่จังหวัดแพร่ ลำปาง เชียงใหม่ และเชียงราย เรียกห้อมน้อย แม่ฮ่องสอนเรียกครามดอย ส่วนจังหวัดน่าน เรียกห้อมเมือง และห้อมหลวง จากฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ต้นห้อมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Strobilanthes cusia (Nees.) Kuntze. วงศ์ ACANTHACEAE จากการสำรวจพื้นที่เบื้องต้นบ้านนาคูหาและบ้านแม่ลัว ตำบลสวนเขื่อน และบ้านนาตอง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบห้อม 3 สายพันธุ์ คือ 1) สายพันธุ์ Strobilanthes cusia เป็นห้อมสายพันธุ์ใบใหญ่ พบที่บ้านแม่ลัวเป็น 2) สายพันธุ์ Strobilanthes auriculata voucher เป็นห้อมสายพันธุ์ในเล็กพบที่บ้านนาตอง 3) สายพันธุ์ Baphicacanthus cusia voucher เป็นห้อมใบใหญ่ พบที่บ้านนาตอง (ณัฐพร, 2562) พื้นที่ดังกล่าวพบต้นห้อมขึ้นตามธรรมชาติในหมู่บ้านบริเวณสวนหลังบ้านที่ชื้นแฉะโดยเฉพาะข้างลำห้วย บ้านนาตองปลูกห้อม 21 ครัวเรือน บ้านนาคูหา 23 ครัวเรือน และบ้านแม่ลัว 31 ครัวเรือน (ซึ่งแต่ละครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกที่ไม่ชัดเจนเนื่องจากส่วนใหญ่จะปลูกริมห้วยในป่า และปลูกแซมกับพืชอื่น) ทั้ง 3 หมู่บ้านตั้งอยู่บนพื้นที่สูงมีสภาพป่าธรรมชาติล้อมรอบทำให้มีอากาศเย็นเกือบตลอดทั้งปี ในปัจจุบันต้นห้อมในธรรมชาติมีเหลือไม่มากนัก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติในปี 2549 เกิดอุทกภัยเกิดขึ้น ดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลากเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความเสียหายแก่พืชในท้องถิ่นและพืชให้สีคราม บ้านนาตอง จังหวัดแพร่ หลังจากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้น ทำให้พืชในท้องถิ่นและพืชให้สีครามมีจำนวนที่ลดลงเป็นจำนวนมากจากแต่ก่อนเดิม ซึ่งชาวจังหวัดแพร่นั้นมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับห้อมเป็นจำนวนมาก เพราะ ห้อมเป็นหนึ่งในพืชท้องถิ่นที่สำคัญของชาวจังหวัดแพร่ และห้อมถูกมุ่งเน้นในการปลูกเพื่อเพิ่มมูลค่า และรายได้ให้แก่ชาวจังหวัดแพร่ ซึ่งในปัจจุบันยังคงทำการปลูกเพื่อเป็นรายได้ และเพื่อรักษาระบบนิเวศในป่า อย่างไรก็ตามคุณค่าของห้อมที่สำคัญ คือ เป็นพืชในท้องถิ่นและพืชให้สีคราม ปัญหาที่สำคัญ คือ จะทำยังไงให้ต้นห้อมมีจำนวนที่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ให้ได้อย่างยั่งยืน และในปี 2562 จังหวัดแพร่ได้จัดทำการขอขึ้นทะเบียนสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ในเรื่อง “ผ้าหม้อห้อมแพร่” โดยมีผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อม บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 37 คน และเป็นผู้ประกอบการที่ผลิตผ้าหม้อห้อม ซึ่งสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนแล้วจะต้องจัดให้มีระบบการควบคุมคุณภาพ กระบวนการผลิตและแหล่งที่มาของสินค้า เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถรักษามาตรฐานตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดย GI เป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่น และเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ให้สามารถยกระดับสินค้าจากท้องถิ่นออกสู่ระดับประเทศและต่างประเทศ จึงทำให้ผู้ประกอบการที่ผลิตผ้าหม้อห้อมย้อมสีธรรมชาติต้องการห้อมเปียกหรือเปรอะ (Indigo plast) ที่มีคุณภาพในปริมาณที่สูง สืบเนื่องจากการอบรมเรื่องการก่อหม้อห้อมให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการ ผ้าหม้อห้อมแพร่เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2562 พบปัญหาเรื่องของปริมาณเนื้อห้อมเปียกที่ไม่เพียงพอต่อการก่อหม้อย้อมของผู้ผลิตและผู้ประกอบการในจังหวัดแพร่ เนื่องจากใบห้อมที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดแพร่มีลักษณะใบบาง ความเข้มของการติดสีน้อย เปอร์เซ็นต์การให้เนื้อห้อมน้อย เกิดจากผู้ปลูกพึ่งพิงธรรมชาติเป็นหลัก และยังมีปัญหาเกี่ยวกับการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าที่ต้นห้อมมักเป็นโรคนี้กันค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักพบโรครากเน่าโคนเน่านี้ในช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว เพราะเป็นช่วงที่มีความชื้นสูงทำให้ดินมีความชื้นสูงตามไปด้วย จุลินทรีย์ร้ายต่าง ๆ ที่อยู่ในดินเจริญเติบโตแพร่ขยายเผ่าพันธุ์ได้ดีและเร็ว สาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า เกิดจากเชื้อราไฟทอฟโธรา (Phytophthora parasitica Dastur) เชื้อราโรคพืชกลุ่มนี้จะอาศัยอยู่ในดินปกติอยู่แล้ว รอเวลาที่ต้นพืชที่ปลูกอ่อนแอหรือไม่มีภูมิคุ้มกันโรค เชื้อราไฟทอปโธราก็จะเข้าทำลาย สังเกตได้จากเวลาพบต้นห้อมเป็นโรครากเน่าโคนเน่า จะไม่พบการระบาดทั่วทั้งแปลงแต่จะพบเป็นบางต้นและค่อย ๆ ลุกลามไปยังต้นข้างเคียงแสดงให้เห็นว่า เชื้อราไฟทอฟโธราจะเข้าทำลายต้นที่อ่อนแอมีภูมิคุ้นกันต่อโรคต่ำที่สุด แต่ถ้าดูแลให้ต้นห้อมแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันที่ดีอยู่ตลอดเวลาแล้ว อัตราการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าก็จะลดลงตามไปด้วย การแก้ปัญหาดังกล่าวผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการปลูกห้อมควรมีการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกห้อมให้อาหารทางใบสำหรับต้นห้อมและการใช้สารชีวภัณฑ์ ได้แก่ บิวเวอเรีย เมธาไรเซียมป้องกันแมลง ใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เพิ่มความหนาของใบ และเม็ดสีของใบห้อมใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า ราสนิมน้ำค้าง ซึ่งพบว่าต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพหลายชนิด แต่ถ้าเกิดใช้เอนโดไฟติกเเบคทีเรียเพียงชนิดเดียวสามารถให้ประสิทธิผลครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน จากงานวิจัยการใช้ เชื้อเอนโดไฟติกแบคทีเรียของ ณัฐพร (2561) สามารถทำให้ ต้นห้อมสามารถปลูกในพื้นที่ราบได้โดยควบคุมความชื้นให้อยู่ที่ 75-80 เปอร์เซ็นต์ ไม่พบการเกิดโรครากเน่าโคนเน่า ห้อมให้ผลผลิตที่ดีมีขนาดต้นที่สูงขึ้น จำนวนกอและกิ่งเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว อีกทั้งปริมาณเนื้อห้อมเพิ่มสูงขึ้น และให้การเปลี่ยนสีที่ดีขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับเชื้อจุลินทรีย์ในการก่อหม้อ (ณัฐพร, 2562) และเนื่องจากจังหวัดแพร่ต้องการผลักดันผ้าหม้อห้อมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจึงบรรจุงานต่าง ๆ เรื่องห้อมไว้ในแผนยุทธศาสตร์ของ จังหวัด โดยจะอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งมีเป้าหมาย คือ 1) ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน 2) ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงในประเด็นการเกษตรสร้างมูลค่า คือ 1) เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ส่งเสริมการนำอัตลักษณ์พื้นถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยมาเป็นผลิตภัณฑ์การเกษตร 2) เกษตรปลอดภัย ให้ความรู้ สนับสนุนกลไกตลาด เปลี่ยนผ่านสู่เกษตรอินทรีย์ 3) เกษตรชีวภาพ ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากฐานเกษตรกรรมฐานทรัพยากรชีวภาพ 4) เกษตรแปรรูป เพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์และสินค้าเกษตรพรีเมียม 5) เกษตรอัจฉริยะ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณห้อมและกำลังการผลิตในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ จึงต้องมีการนำชีวนวัตกรรมเข้ามาช่วยเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมแพร่ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ชีวนวัตกรรม คือ ความก้าวล้ำของเทคโนโลยีที่สามารถพลิกฟื้นการเกษตรที่เป็นรากฐานของสังคมไทยให้ก้าวไกลทัดเทียมกับอารยะประเทศ จากการบูรณาการเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ เข้ากับเกษตรแบบดั้งเดิม เพื่อให้เกิดเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพิ่มผลผลิต และเพิ่มคุณภาพผลผลิตด้วยสารชีวภัณฑ์ (Bio product) ที่มีความปลอดภัย เพื่อลดการใช้สารเคมี และยาปฏิชีวนะที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในระยะยาว อีกทั้งยังช่วยในการลดต้นทุน และสามารถควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้ ความสำคัญของชีวนวัตกรรม คือ เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อความมั่นคงที่ยั่งยืนของเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สามารถช่วยในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจในระยะยาวได้ เนื่องจากชีวนวัตกรรม ถือเป็นโมเดลพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการยกระดับสินค้าเพื่อให้ออกสู่ตลาดสากล และลดต้นทุนในกระบวนการผลิตในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร เป็นต้น โดยการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้า และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Growth engine) อีกทั้งสามารถผลักดัน และพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศให้มีประสิทธิภาพ และใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างคุ้มค่า โดยการพัฒนานวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้จะส่งต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศมีเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่มั่นคง ซึ่งผู้วิจัยมีองค์ความรู้ในด้านชีวนวัตกรรมในการปลูกห้อมให้ทนต่อโรค เพิ่มการเจริญเติบโต เพิ่มคุณภาพสี ทั้งยังทำให้ได้ห้อมอินทรีย์ จากงานวิจัยที่ผ่านมาการใช้เอนโดไฟติกแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากรากห้อม และคัดแยกจุลินทรีย์ในน้ำหมักห้อม (หม้อย้อม) ที่มีคุณภาพสูงต่อการย้อมห้อมและได้จดสิทธิบัตรงานดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เช่น สิทธิบัตรจุลินทรีย์อัดแท่งเพื่อใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ สิทธิบัตรการใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ผงต่อการก่อหม้อ สิทธิบัตรการใช้ห้อมผงเพื่อใช้ในการย้อม รวมทั้งได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากห้อมโดยการใช้ห้อมผง หัวเชื้อจุลินทรีย์ผง เป็นชุด Kit พร้อมย้อมให้กับชุมชน จากทุนสนับสนุนของ BEDO ทั้งสิ้น 5 ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ณัฐพร (2563) ได้ทำการจดทะเบียนสิทธิบัตรเกี่ยวกับหม้อห้อมทั้งสิ้น 3 เรื่อง คือ 1) กระบวนการสร้างสีลิวโคอินดิโกแบบแห้ง เลขที่สิทธิบัตร 2001001405 2) การก่อหม้อและกรรมวิธีการผลิตสิ่งนั้น เลขที่สิทธิบัตร 2003000405 และ 3) ผลิตภัณฑ์ห้อมผงและกรรมวิธีการผลิต เลขที่สิทธิบัตร 2001001102 ซึ่งเป็นชีวนวัตกรรมที่จะนำไปใช้ในกระบวนการผลิตผ้าหม้อห้อม และได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ห้อมผงนาตอง หัวเชื้อจุลินทรีย์ ในการสร้างสี Leuco Indigo แบบแห้งเพื่อใช้ในการก่อหม้อในการย้อมผ้าหม้อห้อม ผลิตภัณฑ์ชุด Kit สีน้ำระบายสี และผลิตภัณฑ์ ห้อมเปียกนาคูหา รวมทั้งสิ้น 5 ผลิตภัณฑ์ จากการสนับสนุนงบประมาณจาก BEDO และกำลังทำการวิจัยทดลองปลูกห้อมโดยใช้ชีวนวัตกรรมเข้ามาช่วย เรื่องผลของเอนโดไฟติกแบคทีเรีย Pseudoxanthomonas spadiX MJUP08 ต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพสีของห้อมในจังหวัดแพร่ อีกด้วย มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงมีความประสงค์ที่ต้องการสร้างฐานเรียนรู้การปลูกพืชอนุรักษ์อื่น ๆ ดังกล่าวขึ้น ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เพื่อให้บริการวิชาการให้แก่ นักวิจัยคณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปที่สนใจ ได้ศึกษาเรียนรู้เพื่อนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ต่อไป โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมและการใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการณ์ของห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ ที่ปลูกในสภาพพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงได้จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อรวบรวม รักษา และถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้รับการพัฒนา เช่น ห้อมผง ห้อมเปียก ผลิตภัณฑ์ชุด kit เสื้อ ชุด kit ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น และเพื่อขยายผลการปลูกพืชอนุรักษ์ต่าง ๆ ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้ดำเนินการปลูก เช่น แปลงทดสอบการปลูกห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ บ้านนาตองตั้งอยู่ในพื้นที่เขตตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ (พิกัด GPS : ละติจูด 17.9997245, ลองจิจูด 100.254368) โดยชุมชนบ้านนาตองตั้งอยู่ในพื้นที่ราบสูง อากาศชื้นซึ่งเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชให้สีคราม นอกจากนี้บ้านนาตองยังเป็นแหล่งอาศัยของ "เต่าปูลู" เป็นเต่าขนาดเล็กแต่มีหัวใหญ่จึงไม่สามารถหดหัว เข้าไปในกระดองได้ ปากงุ้มคล้ายปากนกแก้ว กระดองแข็งสีน้ำตาลแกมแดง ลำตัวสีเหลือง หางยาวกว่ากระดองมีลักษณะเป็นข้อปล้องสี่เหลี่ยม เรียงต่อกันอุ้งเท้ามีเล็บและหางช่วยค้ำยัน สามารถปีนป่ายต้นไม้และเดินขึ้นเขาได้ เมื่อโตเต็มวัยมีขนาดความยาว 20 เซนติเมตร น้ำหนักราว 500 กรัม วางไข่ปลายเดือนเมษายน ครั้งละ 3-4 ฟอง ลูกเต่าจะมีขอบกระดองคล้ายฟันเลื่อยชอบอาศัยอยู่บริเวณริมห้วยที่เย็นและชุ่มชื้นมีถิ่นกำเนิดบริเวณรอยต่อ 3 ประเทศ คือ ภาคเหนือของประเทศไทย ภาคตะวันออกของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และทางตอนใต้ของประเทศจีน เต่าปูลูจะอาศัยอยู่ในเฉพาะพื้นที่ที่มีแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์และน้ำสะอาดเท่านั้น ปัจจุบันเต่าปูลูใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว และบ้านนาตองมีประชากรประมาณ 148 หลังคาเรือน มีประชากรชาย 224 คน และหญิง 185 คน พืชให้สีครามในพื้นที่บ้านนาตองประกอบด้วย 3 ชนิด คือ (1) ห้อมสายพันธุ์ใบเล็กบ้านนาตอง สายพันธุ์ Strobilanthes auriculata voucher (2) ห้อมใบใหญ่ สายพันธุ์ Baphicacanthus cusia voucher และ (3) ต้นเบิก Marsdenia tinctoria อ้างอิงจาก ณัฐพร, (2562) บ้านนาตองจึงเริ่มปลูกห้อมในปี 2556-2557 โดยได้รับกล้าห้อมมาจากบริเวณป่าในพื้นที่บ้านนาตอง โดยได้รับแจกจ่ายโครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ จำนวน 10 ราย ๆ ละ 100 ต้น พื้นที่ประมาณ 5 ไร่ จากนั้นในปี 2558 ได้มีการขยายพื้นที่และเพิ่มกล้าห้อมด้วยวิธีการปักชำด้วยตนเองเป็นจำนวนประมาณ 8,250 ต้น ปัจจุบันจำนวนต้นห้อมบ้านนาตองมีจำนวนที่ลดลง เนื่องด้วยเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ ได้แก่ ภัยแล้ง ทำให้น้ำไม่เพียงพอต่อการปลูกต้นห้อม และอุทกภัยปี 2549 ทำให้ต้นห้อมล้มตายเป็นจำนวนมาก ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของที่ดินและระบบนิเวศบนบก ส่งผลอาจทำให้ต้นห้อมในพื้นที่บ้านนาตองสูญพันธุ์ไปในอนาคต จากปัญหาดังกล่าวทางโครงการจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพืชในท้องถิ่น และพืชให้สีครามในพื้นที่บ้านนาตอง จึงเกิดโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ระบบนิเวศบนบก พืชสีครามในพื้นที่บ้านนาตอง จังหวัดแพร่ คืนสู่ป่าธรรมชาติ เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และระบบนิเวศบนบก รวมถึงปกป้อง คุ้มครองพันธุ์ห้อมและพืชให้สีครามในพื้นที่บ้านนาตองไม่ให้สูญพันธุ์จากการถูกคุกคามโดยมนุษย์ การถูกรุกรานโดยชนิดพันธุ์ต่างถิ่น และภัยพิบัติธรรมชาติ เพื่อให้คงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน เท่าเทียม และเป็นธรรม บนแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน โดยบูรณาการณ์มูลค่าของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปสู่กระบวนการจัดทำแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนารักษาความหลากหลายทางชีวภาพและอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศบนบกเพื่อจะได้เป็นระบบนิเวศบนบกที่สมบรูณ์ที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์อีกด้วย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่ออนุรักษ์พืชในท้องถิ่นหรือพืชให้สีครามบ้านนาตอง จังหวัดแพร่ไม่ให้สูญพันธุ์ไปในอนาคต
2 เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศบนบกของบ้านนาตอง จังหวัดแพร่ ให้เป็นพื้นที่ในการเพาะปลูกห้อมโดยเกษตรอินทรีย์ 100%
3 เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับพืชในท้องถิ่นหรือพืชให้สีครามบ้านนาตอง จังหวัดแพร่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พืชในท้องถิ่นหรือพืชให้สีครามในจังหวัดแพร่มีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น เพียงพอต่อการนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากพืชให้สีครามในจังหวัดแพร่ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านั้นผลิตมาจากพืชให้สีครามเพาะปลูกโดยเกษตรอินทรีย์ 100% จึงทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีความปลอดภัยปราศจากสารเคมี
KPI 1 : จำนวนผู้เยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 2 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนพืชสีคราม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 ชนิด 3
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 ร้อยละ 30
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.03855 0.01145 ล้านบาท 0.05
KPI 7 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : จำนวนพื้นที่ที่ฟื้นฟู
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ไร่ 10
KPI 10 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 11 : จำนวนผลผลิต / ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 ชิ้น 3
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พืชในท้องถิ่นหรือพืชให้สีครามในจังหวัดแพร่มีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น เพียงพอต่อการนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากพืชให้สีครามในจังหวัดแพร่ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านั้นผลิตมาจากพืชให้สีครามเพาะปลูกโดยเกษตรอินทรีย์ 100% จึงทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีความปลอดภัยปราศจากสารเคมี
ชื่อกิจกรรม :
อบรมฝึกปฏิบัติการ การเพาะขยายพันธุ์พืชสีครามและระบบอินทรีย์ เพื่อเตรียมความพร้อมชุมชนสำหรับการปลูกและดูแลรักษาแปลงรวบรวมพันธุ์ โดยมีกิจกรรมบริหารจัดการให้เกิดการดูแลรักษาสายพันธุ์ทรัพยากรชีวภาพให้คงมีชีวิตไว้และสามารถขยายพันธุ์ต่อไปได้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 27/12/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ศรีสุดา  ทาหาร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 35 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,450 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 35 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คัน ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 8,450.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,450.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 8 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 3 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงานสำหรับการสำรวจ เช่น สมุดบันทึก เครื่องเขียน ฯลฯ เป็นเงิน 4,850 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,850.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,850.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 18700.00
ชื่อกิจกรรม :
พัฒนาแปลงรวบรวมพันธุ์ในพื้นที่บ้านนาตอง (กิจกรรมบริหารจัดการให้เกิดการดูแลรักษาสายพันธุ์ทรัพยากรชีวภาพให้คงมีชีวิตไว้และสามารถขยายพันธุ์ต่อไปได้)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 27/12/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ศรีสุดา  ทาหาร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 35 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,450 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 35 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คัน ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 8,450.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,450.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 8 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 3 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุเกษตรสำหรับปรับปรุงแปลงรวมรวมพันธุ์ เช่น เชือก ลวด ถัง ดิน ฯลฯ เป็นเงิน 8,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 8,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 19850.00
ชื่อกิจกรรม :
การอบรมการนำพันธุ์ที่ได้ไปปลูกคืนสู่ป่า เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน และเพิ่มมูลค่าให้พืชในท้องถิ่น/พืชสีคราม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 27/12/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ศรีสุดา  ทาหาร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 35 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,450 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 35 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
3. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คัน ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,450.00 บาท 0.00 บาท 8,450.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 8 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
2. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 3 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 11450.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล