19322 : โครงการฐานเรียนรู้การผลิตพืชจิ๋วไมโครกรีน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2565  ถึง  29/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  230  คน
รายละเอียด  กลุ่มแม่บ้านและเกษตรกร ต.แม่ทราย อ.ร้องกวาง จ.แพร่
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 2566 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ละออทิพย์  นะโลกา
อาจารย์ ดร. ศิริโสภา อินขะ  วรรณวงศ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66-3 เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 66-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 66-3.1.3 จำนวนแหล่งเรียนรู้ /ฐานเรียนรู้
กลยุทธ์ 66-3.1.3.1 พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่าให้มีศักยภาพ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การตระหนักถึงการบริโภคอาหารปลอดภัยในปัจจุบันนั้นถือว่ามีความสำคัญมาก เนื่องด้วยโดยสถานการณ์ในปัจจุบันซึ่งอยู่ในยุคข้าวยากหมากแพง เข้าสู่ยุคการรัดเข็มขัดใช้จ่ายอย่างประหยัดและ ประชากรของประเทศต้องเผชิญสถานการณ์โรคติดต่อ เช่น โควิด 19 ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการว่างงาน ตกลงาน ย้ายถิ่นฐานกลับคืนสู่มาตุภูมิบ้านเกิด อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และการเผชิญมีผลทำให้การเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีพ การจ้างงาน และการดูแลสุขภาพของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบุคคล หรือประชากร ชุมชน หรือเกษตรกรทุกคนจะต้องมีการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งจะต้องดำรงชีพด้วยหลักการที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ในขณะเดียวกันการใช้ชีวิตหรือการปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีพให้อยู่อย่างพอเพียงตามหลักการแนวทางพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ก็ยังสามารถนำมาปรับใช้ในวิถีปัจจุบันได้ เพื่อให้สามารถดำรงชีพด้วยความปลอดภัย และการคำนึงถึงความเป็นอยู่อย่างพอเพียง ดังนั้นการที่จะพัฒนาศักยภาพของเอง จึงเป็นส่วนที่ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งมีนโยบายการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางการเกษตรสู่ชุมชน เพื่อให้ชุมชนดำรงอยู่อย่างยั่งยืน สร้างวิชาชีพและสร้างรายได้ เพื่อเป็นการพัฒนาอาชีพและผลิตอาหารปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และอาชีพการเพาะงอกต้นกล้าอ่อนก็ถือว่าเป็นอาชีพที่สามารถพัฒนานำไปสู่กระบวนการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัยได้ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและให้องค์ความรู้แก่ชุมชนเพื่อการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ และสามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ในกระบวนการผลิตให้แก่ชุมชน จึงเป็นแนวทางที่จะสามารถส่งเสริมและชี้แนะแนวทางในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนและผู้ที่สนใจได้ในอนาคต ดังนั้นการส่งเสริมให้ชุมชนที่สนใจจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้ชุมชนหรือกลุ่มเกษตรกรผู้สนใจได้เข้ามาได้รับการถ่ายทอดและร่วมเรียนรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปเป็นอาชีพเสริม และอาชีพหลักต่อไปได้ในอนาคต และสืบเนื่องจากงานบริการวิชาการประจำปี 2564 ที่ผ่านมา ทางผู้จัดได้รับการจัดสรรงบประมาณให้จัดทำโครงการบริการเรื่องไมโครกรีนพืชจิ๋วแต่แจ๋วมาแล้ว และพบว่า ยังมีผู้ที่ให้ความสนใจที่จะฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะความรู้การผลิตพืชไมโครกรีนเพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ในปี 2566 ทางผู้จัดจึงมีความคาดหวังว่าจะจัดตั้งโครงการดังกล่าวให้เป็นฐานการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเพื่อที่จะสามารถรองรับและสามารถให้ความรู้กับผู้สนใจได้หลากหลายเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการขอเสนอโครงการนี้เพื่อเป็นการสอนต่อ ต่อยอด ให้เป็นแหล่งเรียนรู้แบบครบวงจร ให้กับ นักเรียน นักศึกษา เกษตร และผู้สนใจในการผลิตพืชไมโครกรีนเพื่อการค้าต่อไป การผลิตต้นกล้าอ่อน ไมโครกรีน (Sprout / Microgreen) เพื่อการบริโภค ถือได้ว่าเป็นพืชอินทรีย์ที่ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างในผลผลิต เนื่องจากศัตรูพืชยังไม่มาทำลายเพราะใช้ระยะเวลาสั้นในการผลิต อีกทั้งผู้ผลิตดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยมีกรรมวิธีการผลิตที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถเรียนรู้ได้เข้าใจง่ายอย่างรวดเร็ว ต้นอ่อน หรือ ผักงอก คืออะไร ผักงอกก็คือต้นอ่อนของพืช หรือ ภาษาอังกฤษว่า sprout หรือ Microgreen พืชที่นิยมนำต้นอ่อนมาบริโภคได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วดำถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ทานตะวัน ข้าว ข้าวสาลี ผักกาด คะน้า และผักกาดหัว เป็นต้น พืชต่าง ๆ เหล่านี้มีทั้งที่เป็นผักและไม่ใช่ผัก แต่เมื่อนำ ต้นอ่อนมาบริโภคในลักษณะผัก เช่น สลัด ผัด จึงเรียกรวม ๆ ว่า ผักงอกหรือต้นอ่อน ต้นอ่อน หรือต้นกล้าเพาะงอกเริ่มมีการนิยมบริโภคในประเทศไทยเมื่อไม่กี่ปีมานี้ยกเว้น ถั่วงอก แต่ในต่างประเทศมีการบริโภคผักงอกมานานแล้ว เนื่องจากกระแสเรื่องสุขภาพ ที่มีความเชื่อว่า ผักงอกปลอดสารพิษ และมีประโยชน์ ต่อร่างกาย ช่วยบำรุงสุขภาพ ในเรื่องปลอดภัย จากสารพิษนั้น ในที่นี้ก็คือสารเคมีป้องกัน กำจัดศัตรูพืช เพราะผักงอกจะมีอายุ ตั้งแต่เพาะจนถึงเก็บเกี่ยวไม่เกิน 15 วัน และไม่มีการใช้สารเคมีเนื่องจากในการผลิต ไม่ใช่การผลิตในแปลงใหญ่ๆ แบบพืชทั่วไปหลายคนคงได้ยินคำว่า “ต้นอ่อน หรือผักงอก” และคงเคยเห็นในท้องตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในซุปเปอร์มาร์เก็ต ตลาดออนไลน์และบางส่วนในตลาดเกษตรกร นอกจากนี้แล้วในกระบวนการงอกของเมล็ดพืช จะมีกระบวนการเพื่อให้ได้สารอาหารและพลังงานต่าง ๆ จำนวนมากอย่างรวดเร็ว กระตุ้นให้พืชงอก และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อการแข่งขันและโน้มหาแสงเพื่อสังเคราะห์อาหาร ซึ่งในกระบวนการนี้จะมีเอนไซม์ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เอนไซม์ในต้นงอกมีหลากหลาย ชนิดด้วยกัน ในผักงอกช่วงหลังจากปลูกแล้วประมาณ 2-7 วัน มีเอนไซม์และ ปริมาณสารอาหารสูงที่สุด เอนไซม์ที่มีความสำคัญในต้นงอก และมีประโยชน์ ต่อร่างกายของมนุษย์คือ ซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (Superoxide dismutase =S.O.D.) ซึ่งเป็นเอนไซม์ในระบบภูมิคุ้มกันที่เป็นตัวทำลายอนุมูลอิสระ และ โคเอนไซม์คิวเทน ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการต้านอนุมูลอิสระ ดังนั้น การบริโภคผักงอกที่มีเอนไซม์ทั้งสองนี้จึงเป็นประโยชน์กับสุขภาพ แต่มีข้อควรคำนึงคือ ความร้อนในการปรุงอาหารให้สุกจะทำลายเอนไซม์ที่มีอยู่ ในอาหาร โดยเอนไซม์จะถูกทำลายได้เมื่อความร้อนเกิน 45 องศาเซลเซียส นอกจากนี้เอนไซม์ยังอาจถูกทำลายหรือลดปริมาณลงได้ในสภาพความเย็น ผักงอก นอกจากจะมีเอนไซน์ที่มีประโยชน์แล้ว ยังมีการศึกษาว่ามีวิตามินและสารอาหาร สูงกว่าพืชชนิดเดียวกันที่เจริญเต็มที่แล้ว เช่น ต้นอ่อนข้าวสาลีมีวิตามินบี12 เพิ่มขึ้น 4 เท่า วิตามินบีอื่น ๆ เพิ่มขึ้น 3-12 เท่า วิตามินอีเพิ่มขึ้น 3 เท่า ถั่วงอก มีวิตามินเอมากกว่าเมล็ดถั่วแห้ง 2.5 เท่า (การเพาะผักงอก,กรมส่งเสริมการเกษตร,2559) และเมื่อเป็นการผลิตพืชที่น่าสนใจในปัจจุบัน ดังนั้นการจัดทำฐานเรียนรู้การผลิตพืชจิ๋วไมโครกรีน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการพัฒนาศักยภาพและเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพเพื่อการผลิตพืชปลอดภัยตามวิถีเศรษฐกิจพอพียง ให้แก่บุคคลที่ให้ความสนใจในยุคปัจจุบัน สอดคล้องกับโครงการพระราชดำริ (โปรดระบุชื่อโครงการพระราชดำริ/ประเภทของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในด้านการพัฒนาการเกษตรที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้ส่งผลโดยตรงต่อความกินดีอยู่ดีของเกษตรกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโครงการที่มุ่งแก้ปัญหาหลักด้านการพัฒนาการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้เกษตรกรได้มีโอกาสเช่นนี้มาก่อน รวมทั้งยังได้มีโอกาสเรียนรู้และเห็นตัวอย่างของความสำเร็จของการผลิตในพื้นที่ต่างๆ และสามารถนำไปปรับใช้ในการเพาะปลูกของตนเองอย่างได้ผล ความเจริญของภาคเศรษฐกิจแขนงอื่น และของประเทศชาติโดยส่วนรวมด้วยการผลิตพืชตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง การมุ่งใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ยังมีลักษณะสอดคล้องกับวิธีการที่สำคัญของพระองค์อีกประการหนึ่ง คือ การประหยัด ทรงเน้นความจำเป็นที่จะลดค่าใช้จ่ายในการทำมาหากินของเกษตรกรลงให้เหลือน้อยที่สุด โดยอาศัยพึ่งพิงธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อจัดตั้งฐานเรียนรู้ทางการด้านการผลิตพืชไมโครกรีน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้สนใจ
2 เพื่อจัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตต้นอ่อนเพื่อการบริโภคและการค้าโดยส่งเสริมให้พัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ในระยะเวลาอันสั้น
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ วิธีการและขั้นตอนการผลิตผักต้นอ่อน หรือต้นกล้าเพาะงอกหรือพืชไมโครกรีน
KPI 1 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเช้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 4 : ฐานเรียนรู้การผลิตพืชจิ๋วไมโครกรีน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ฐานเรียนรู้ 1
KPI 5 : จำนวนผู้เยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
200 คน 200
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ร้อยละของการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : ร้อยละของรายได้ของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้นในครัวเรือน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 ร้อยละ 5
KPI 10 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ วิธีการและขั้นตอนการผลิตผักต้นอ่อน หรือต้นกล้าเพาะงอกหรือพืชไมโครกรีน
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 การจัดทำฐานเรียนรู้
กิจกรรมที่ 2 ถ่ายทอดวิธีการและขั้นตอนการผลิตผักต้นอ่อน หรือต้นกล้าเพาะงอกหรือพืชไมโครกรีน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ละออทิพย์  นะโลกา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ศิริโสภา อินขะ  วรรณวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 คนๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ ขนาด 2 x 3 เมตร จำนวน 4 ผืน ๆ ละ 700 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 11,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 11,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 2 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 2 คน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
3. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 5 คน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุเกษตร เช่น เมล็ดพันธุ์ ถาดเพาะ ขุยมะพร้าว แกลบดำ ดินปลูก สาย/ท่อPE ซาแลน ฯลฯ เป็นเงิน 22,000 บาท
2. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ดินสอ ปากกา ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 2,500 บาท
3. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ปรินท์เตอร์ ฯลฯ เป็นเงิน 1,500 บาท
4. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ทิชชู ผ้าขาวบาง ถุงพลาสติก ตะกร้า กระบอกฉีดน้ำ ฯลฯ เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 32,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 32,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล