19310 : โครงการการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อฮ่อมในสภาพปลอดเชื้อ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19/12/2565 15:01:58
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
28/12/2565  ถึง  29/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  0  คน
รายละเอียด  ประชาชนที่มีความต้องการขยายพันธุ์ต้นฮ่อม
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 2566 188,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. อภิรดี  เสียงสืบชาติ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66-3 เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 66-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 66-3.1.8 จำนวนโครงการสนองงานในพระราชดำริ/โครงการอพสธ /โครงการภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ 66-3.1.8.1 บูรณาการโครงการพระราชดำริกับพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ห้อม หรือ ฮ่อมเป็นพืชล้มลุกอยู่ในวงศ์ Acanthaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Strobilanthes cusia (Nees) มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม เจริญเติบโตได้ดีในป่าดิบชื้น พื้นที่ที่มีแสงรำไร อากาศเย็น ความชื้นสูง แต่ไม่ชื้นแฉะ (กำพล, 2544) จากการสำรวจแหล่งกระจายพันธุ์ของต้นฮ่อมในภาคเหนือทั้งที่เป็นแหล่งขึ้นเองตามธรรมชาติ และแหล่งปลูกตามชุมชน พบว่าในแหล่งขึ้นเองตามธรรมชาติเป็นป่าดิบเขาระดับต่ำ ณ ระดับความสูง 900-1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในสภาพดินร่วนจนถึงดินร่วนปนทรายและอินทรียวัตถุมากบนชั้นหน้าดิน สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ปักชำกิ่ง และการชำราก สำหรับประเทศไทยมีแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญได้แก่ บ้านนาตอง บ้านน้ำจ้อม บ้านน้ำก๋าย ตำบลช่อแฮ บ้านนาคูหา ตำบลสวนเขื่อน บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง และบ้านห้วยม้า ตำบลห้วยม้า อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 100 ไร่ เดิมชาวบ้านจะเก็บลำต้นและใบฮ่อมจากป่ามาใช้ประโยชน์แต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าลดลงทำให้ฮ่อมที่ขึ้นในธรรมชาติเหลือน้อยลง และอาจสูญพันธุ์ในอนาคตได้ ในขณะที่การผลิตเสื้อผ้าหม้อฮ่อมเพิ่มมากขึ้น ชาวบ้านจึงขาดวัตถุดิบสำหรับย้อมผ้า จึงต้องนำเข้าฮ่อมสดจากแหล่งอื่น อาทิเช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือพืชชนิดอื่นแทน เช่น คราม ด้วยเหตุนี้การปลูกต้นฮ่อมยังมีข้อจำกัดในสภาพพื้นที่ปลูก จำเป็นที่ต้องปลูกในพื้นที่สูงตามภูเขาที่มีอากาศเย็นตลอดทั้งปี อีกทั้งผู้ปลูกขาดความเข้าใจต่อการพัฒนาหาแหล่งปลูกที่เหมาะสมจนทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการในอุตสาหกรรมการผลิตผ้าหม้อฮ่อม รวมถึงเสี่ยงต่อการติดโรคและแมลงรบกวน จากความต้องการผ้าหม้อฮ่อมที่มีเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ปริมาณต้นฮ่อมในธรรมชาติลดน้อยลง ทำให้ไม่สอดคล้องกับการค้าขายเสื้อผ้าหม้อฮ่อม โดยเฉพาะวัตถุดิบจากต้นฮ่อมที่นำมาใช้ย้อมผ้า ทำให้มีการนำครามหรือสารเคมีมาใช้ย้อมผ้าทดแทนฮ่อม ส่งผลกระทบต่อผู้สวมใส่ที่แพ้สารเคมี ส่วนน้ำย้อมที่เหลือจากการย้อมผ้าปล่อยทิ้งไปในธรรมชาติ ทำให้สภาพแวดล้อม ดิน น้ำใต้ดิน เสื่อมคุณภาพ นอกจากการนำฮ่อมมาใช้ในอุตสาหกรรมการย้อมผ้าแล้ว ฮ่อมยังมีประโยชน์ทางด้านการรักษาโรคได้อีก ได้แก่ รากและใบนำไปต้มดื่มรักษาอาการไข้หวัดใหญ่ เยื่อหุ้มไขสันหลังอักเสบจากไวรัสบี ปอดอักเสบ คางทูม และโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจเฉียบพลัน (SARS) เป็นต้น เทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์ให้ได้ต้นพันธุ์ปริมาณมากในระยะเวลาอันสั้น และมีความสม่ำเสมอในการผลิตต้นพันธุ์ตามความต้องการ ซึ่งจะไม่มีข้อจำกัดในฤดูกาลการขยายพันธุ์และได้ต้นพืชที่ปลอดโรค โดยความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อให้ได้พืชต้นใหม่นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ชิ้นส่วนพืช อาหารเพาะเลี้ยง และสารควบคุมการเจริญเติบโต เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากต้นพืชที่มีความแตกต่างกันระหว่างสกุล ชนิด และสายพันธุ์ ความสามารถในการพัฒนาเป็นพืชต้นใหม่อาจแตกต่างกัน ดังนั้นงานวิจัยครั้งนี้จึงต้องการศึกษาการขยายพันธุ์ฮ่อมด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อช่วยให้ชุมชนมีต้นฮ่อมเพียงพอสำหรับการนำไปผลิตเป็นผ้าหม้อฮ่อม และการนำไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากฮ่อมตามความต้องการต่อไปในอนาคตได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2 เพื่อศึกษาวิธีการเพิ่มปริมาณต้นฮ่อมให้ได้จำนวนมากโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
3 เพื่อช่วยให้ชุมชนมีต้นฮ่อมเพียงพอสำหรับการนำไปผลิตเป็นผ้าหม้อฮ่อม และการนำไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อฮ่อมในสภาพปลอดเชื้อ
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.188 ล้านบาท 0.188
KPI 5 : ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลงาน 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อฮ่อมในสภาพปลอดเชื้อ
ชื่อกิจกรรม :
การเตรียมวัสดุพืช

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/12/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจรัส  เชิงปัญญา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์  ไชยมณี (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร  อายุมั่น (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าเบี้ยเลี้ยงลงพื้นที่เก็บตัวอย่าง จำนวน 2 คน ๆ ละ 240 บาท จำนวน 5 ครั้ง เป็นเงิน 2,400 บาท
2. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (ค่าพาหนะ) ในพื้นที่จังหวัดแพร่ รวมระยะทาง จำนวน 500 กิโลเมตร ๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
3. ค่าจ้างเหมาเก็บฮ่อมในพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัดแพร่ เป็นเงิน 6,000 บาท
4. ค่าจ้างเหมาดูแลต้นฮ่อมก่อนนำมาทำการทดลอง เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
16,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุเกษตร เป็นเงิน 6,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
6,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 23000.00
ชื่อกิจกรรม :
การศึกษาหาวิธีที่เหมาะสมในการฟอกฆ่าเชื้อชิ้นส่วนข้อของฮ่อม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/12/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์  ไชยมณี (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร  อายุมั่น (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจรัส  เชิงปัญญา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คน ๆ ละ 60 วัน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 24,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,000.00 บาท 12,000.00 บาท 0.00 บาท 24,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 5,000 บาท
2. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 4,000 บาท
3. ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 2,000 บาท
4. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เป็นเงิน 45,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 56,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 56,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 80000.00
ชื่อกิจกรรม :
การศึกษาชนิดและระดับความเข้มข้นของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการเพิ่มปริมาณยอดและรากของต้นฮ่อม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 28/12/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์  ไชยมณี (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจรัส  เชิงปัญญา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร  อายุมั่น (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คน ๆ ละ 60 วัน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 24,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,000.00 บาท 12,000.00 บาท 0.00 บาท 24,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุไฟฟ้าและวิทยุ เป็นเงิน 5,000 บาท
2. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เป็นเงิน 56,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 61,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 61,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 85000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล