19302 : ชุดโครงการ "ป่าเคี่ยมผืนสุดท้ายกับการอนุรักษ์ ขยายพันธุ์และใช้ประโยชน์จากต้นเคี่ยมอย่างยั่งยืน"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
อาจารย์ปิยนุช จันทรัมพร (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2565  ถึง  30/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  140  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร ผู้ประกอบการ ประชาชน เจ้าหน้าที่หน่วยงาน และบุคคลที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณจากโครงการอพสธ. 2566 800,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ปิยนุช  จันทรัมพร
อาจารย์ ประสาทพร  กออวยชัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา  จินดาซิงห์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุทธิรักษ์  ผลเจริญ
อาจารย์ วิชชุดา  เอื้ออารี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.2 เป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์ของประเทศ (Organic Education Hub)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.4 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.2.2 ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เคลื่อนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University Strategy)
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.19 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.4 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.66 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 1.2 เป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์ของประเทศ (Organic Education Hub)
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:1.2.1 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 3. ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University Strategy)
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.66 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:2.3.2 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการจากแหล่งทุนภายนอก
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 42. ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:2.3.5 จำนวนฐานการเรียนรู้ที่เป็นที่พึ่งของชุมชน (ชุมพร)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 45. ผลักดันการตั้งฐานเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถเป็นที่พึ่งให้กับชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมพืชต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย ก่อให้เกิดกิจกรรมเพื่อให้มีการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติที่นำผลประโยชน์มาถึงประชาชนชาวไทย ตลอดจนให้มีการจัดทำระบบข้อมูลพันธุกรรมพืช ให้แพร่หลายสามารถสื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ ต้นเคี่ยม ชื่อวิทยาศาสตร์ Cotylelobium lanceolatum Craib[1] (ส่วนอีกข้อมูลใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cotylelobium melanoxylon (Hook.f.) Pierre) จัดอยู่ในวงศ์ยางนา (DIPTEROCARPACEAE) ต้นเคี่ยม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เคี่ยม (ทั่วไป), เคี่ยมขาว เคี่ยมดำ เคี่ยมแดง (ภาคใต้) เป็นต้น ต้นเคี่ยม จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 20-40 เมตร ลักษณะเรือนยอดเป็นพุ่มทึบ รูปเจดีย์แบบต่ำ ๆ ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล เปลือกเรียบ มีรอยด่างสีเทาและสีเหลืองสลับกัน และมีต่อมระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป เปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีชันใสตามลำต้นและจะจับกันเป็นก้อนสีเหลืองเมื่อทิ้งไว้นาน ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด (โดยเด็ดปีกออกก่อนการนำไปเพาะ) และวิธีการตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนและดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นสูงและแสงแดดปานกลาง โดยต้นเคี่ยมสามารถพบขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดงดิบทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป และทางภาคใต้ของพม่าลงไปจนถึงภาคเหนือของประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 10-100 เมตร ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีต้นเคี่ยมอยู่ 2 ชนิด คือ เคี่ยมขาวและเคี่ยมดำ ซึ่งเคี่ยมดำเปลือกต้นจะหนาและเข้มกว่าเปลือกต้นเคี่ยมขาว มีขึ้นอยู่ตามป่าดงดิบในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปที่สูงจากระดับน้ำทะเล 10-100 เมตร ภาคใต้ของพม่าลงไปถึงภาคเหนือของมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซีย เปลือกเคี่ยมใช้เป็นยากลางบ้าน ซึ่งเปลือกลำต้นมีน้ำยาง ช่วยสมานแผล แก้ฟกช้ำ ใช้เป็นสารกันบูดในน้ำตาลสดเนื่องจาก สามารถลดจจำนวนแบคทีเรียที่จะทำให้ปริมาณกรดในน้ำตาลมากขึ้น เพราะในเปลือกของเคี่ยมมีสารแทนนินในปริมาณมาก และแทนนินมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ องค์ประกอบทางเคมีที่พบในสารสกัดชั้นเมทานอลจากเปลือกและนื้อไม้เคี่ยม ได้แก่ stilbene dimer, stilbene trimer และ lignan โดยพบว่าสาร stilbene trimer 3 ชนิด ได้แก่ Vaticanol A,E และ G มีฤทธิ์ยับยั้งระดับน้ำตาลกลูโคสในพลาสมา เดิมพื้นที่ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรมีสภาพเป็นป่าไม้ มีพันธุ์ไม้อยู่นานาชนิด โดยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ต้นเคี่ยม จากการบุกรุกพื้นที่เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ของชาวบ้านในพื้นที่ ทำให้ต้นเคี่ยมถูกลักลอบตัดเพื่อนำไม้ไปใช้ประโยชน์อย่างมากมาย และต้นเคี่ยมบ้างส่วนถูกตัดเพื่อนำพื้นที่มาพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในแง่ของการสร้างอาคาร ด้านการเรียนการสอน ทำให้ประชากรของต้นเคี่ยมในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ยิ่งมีจำนวนเหลือน้อยลง ประกอบกับโดยธรรมชาติต้นเคี่ยมจะขยายพันธุ์ได้ค่อนข้างยาก เพราะต้นกล้าเคี่ยมต้องการสภาพแวดล้อมที่เฉพาะเจาะจง คือ ต้องการร่มเงาในระยะเริ่มปลูกจนถึง 3 ปีแรก ทำให้โอกาสที่จะเพิ่มประชากรต้นเคี่ยมในธรรมชาติจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย การนำต้นกล้าเคี่ยมไปปลูกยังแปลงปลูกที่ไม่เหมาะต้นกล้าเคี่ยมจะตายภายในระยะ 1 ปี 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหากคิดจะเพิ่มประชากรของต้นเคี่ยมจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีไม้ปลูกนำไปก่อนโดยไม้ปลูกนำส่วนใหญ่นิยมใช้ต้นกระทินเทพา เพราะเป็นไม้ที่โตไว และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุก ๆ สภาพแวดล้อม เมื่อปลูกกระทินเทพาไปก่อน 1-2 ปี จึงนำกล้าต้นเคี่ยมไปปลูกแสมเพื่ออาศัยร่มเงาจะทำให้อัตราการรอดของต้นเคี่ยมมีอัตราการรอดในปีแรกสูงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ และอาจจะเป็นการกล่าวที่ไม่เกินเลยไปว่า ป่าเคี่ยมฝืนสุดท้ายที่หลงเหลืออยู่ในเขตอำเภอละแม จังหวัดชุมพร คงเหลือเพียงป่าเคี่ยมในพื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เท่านั้น และจะเหลืออยู่จำนวนเท่านั้นและลดจำนวนลงไปเรื่อย ๆ จากการลักลอบตัด ท่านคณะผู้ดำเนินโครงการจึงมีความเห็นพ้องต้องกันว่าต้องเร่งขยายพื้นที่ปลูก เพิ่มจำนวนประชากรต้นเคี่ยมก่อนที่ต้นเคี่ยมจะสูญพันธุ์ไปจากป่าเคี่ยมแหล่งสุดท้ายซึ่งตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โครงการขยายพันธุ์และทำแปลงรวบรมพันธุ์ต้นเคี่ยมในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และโครงการ “MR. GUARD” การ์ดอาสา ปกป้องอนุรักษ์เคี่ยม เป็นกิจกรรมการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชแก่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ได้แก่ เยาวชน บุคคลทั่วไป ประชาชน รวมถึงเกษตรกรในพื้นที่ให้มีความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญเกิดความปิติ และสำนึกที่จะร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์ พืชพรรณของไทยให้คงอยู่เป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าประจำชาติสืบไป เพื่อเป็นสื่อในการสร้างจิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยให้เยาวชนนั้นได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้ เห็นคุณค่าประโยชน์ ความสวยงาม อันจะก่อให้เกิดสำนึกในการอนุรักษ์พรรณพืชต่อไป นอกจากนี้การอนุรักษ์ต้นเคี่ยมอย่างมั่นคง ยั่งยืน ต้องแสวงหาแนวทางใช้ประโยชน์จากต้นไม้โดยวิธีการอื่น ๆ โดยมุ่งเน้นให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น โครงการการวิเคราะห์สารสำคัญของเคี่ยมเพื่อการใช้ประโยชน์เน้นการวิเคราะห์สารสำคัญและองค์ประกอบทางเคมีด้วยเทคนิคก๊าซโครมาโทกราฟี/แมสสเปคโทรเมตรี เป็นการเชื่อมต่อเทคนิคก๊าซโครมาโทกราฟีเข้ากับเทคนิคแมสสเปคโทรเมตรี เพื่อให้ได้เทคนิคการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพขึ้น เทคนิคก๊าซโครมาโทรกราฟีสามารถแยกองค์ประกอบของสารผสมได้ ในขณะที่เทคนิคแมสสเปคโทรเมตรี มีจุดเด่นในด้านความเฉพาะเจาะจง ความว่องไว และความรวดเร็ว ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์ประกอบที่แยกโดยเทคนิคก๊าซโครมาโทรกราฟี โดยจากการวิเคราะห์สาระสำคัญจะนำมาสู่การใช้ประโยชน์จากเคี่ยมได้มากยิ่งขึ้น โดยการใช้สารสกัดจากเคี่ยมในการป้องกันกำจัดโรคพืชเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการใช้สารสกัดจากเคี่ยม โรคแอนแทรคโนสในพริก ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum spp. โดยเชื้อสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนและทุกระยะการเจริญเติบโตของต้นพริก ดังนั้น โรคจึงเกิดอาการได้ทั้งในระยะต้นกล้า อาการบนลำต้น ใบ และผลพริก โรคนี้พบในแหล่งที่มีการปลูกพริกทั่วไป ทําความเสียหายให้กับผลพริกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลพริกที่แก่จัด ซึ่งทําให้ผลเน่าได้ในขณะที่ปลูกอยู่ในแปลง หรืออาจเกิดอาการเน่าในโรงเก็บหรือในขณะขนส่ง ทําให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย อาการเริ่มต้นของโรคแอนเทรคโนสในพริก คือ แผลจะเป็นจุดเล็กๆ ฉ่ำน้ำ บริเวณภายในแผลมีสีเหลืองอ่อน เนื้อเยื่อผิวของผลจะยุบบุ๋มลง จากนั้นเมื่อมีความชื้นสูงแผลจะขยายใหญ่ขึ้น เป็นวงรีหรือวงกลมซ้อนๆกันเป็นชั้นๆ ตรงกลางแผลจะเห็นเม็ดสปอร์สีดำซึ่งเป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา แผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและมักมีหลายแผลบนผลที่เชื้อเข้าทำลาย เมื่อเชื้อราเจริญเต็มที่ เชื้อสาเหตุของโรคแอนเทรคโนสในพริกในประเทศไทยพบมี 3 ชนิด ได้แก่ C. gloeosporioides C. capsici และ C. piperatum เนื่องจากความซับซ้อนทางชนิดของเชื้อราสาตุนี้ ก่อให้เกิดผลที่ยุ่งยากต่อการพัฒนาพันธุ์พริกที่ต้านทานโรคและเชื้อต่างชนิดกันก็จะมีความรุนแรงในการเกิดโรคที่ต่างกัน และส่งผลในทางปฏิกิริยาต่อสารเคมีกำจัดโรคพืช(chemical fungicides) ต่างกัน ทำให้เกิดการดื้อยาเกิดขึ้น ทำให้การป้องกันกำจัดโรคด้วยสารเคมี ในบางกรณีไม่ได้ผล จากการศึกษาความสามารถในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของสารสกัดจากไม้เคี่ยม พบว่าความเข้มข้นของสารสกัดจากไม้เคี่ยมที่ 300 มิลิลกรัม/ลิตร เป็นความเข้มข้นต่ำสุด (Minimal Bactiricidal concentration, MBC) ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้อย่างมีนัยสำคัญ (เถวียน , 2554) กานต์สิรีและคณะ (2559) พบว่าสารสกัดจากกิ่งเคี่ยมสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ทั้ง 2 ชนิด คือ เชื้อ Pestalotiopsis sp. และเชื้อ Phomopsis sp.โดยสารสกัดที่ระดับความเข้มข้น 2,000 ไมโครลิตร ต่อมิลลิลิตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ Pestalotiopsis sp. ได้ดีที่สุด สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ 29.54 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในเชื้อ Phomopsis sp. พบว่า สารสกัดความเข้มข้น 4,000 ไมโครลิตรต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ดีที่สุด คือ 37.03 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหากสามารถใช้สารสกัดจากเคี่ยมในการยับยั้งโรคแอนเทรคโนสในพริกก็จะเป็นการลดการใช้สารเคมีป้องกันปัญหาการดื้อยา ส่งในเกิดผลดีต่อสภาพแวดล้อม ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค อีกทั้งเป็นการช่วยลด ต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรได้ นอกจากนั้นการนำความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของต้นเคี่ยมไปเผยแพร่ให้แก่ประชาชนและเกษตรกรจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนและเกษตรกรเห็นความสำคัญของต้นเคี่ยม และนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ต้นเคี่ยม เพื่อให้ต้นเคี่ยมยังคงอยู่ไม่สูญหายไปจากสภาพธรรมชาติ การผลิตสบู่โดยใช้วัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติ ได้แก่ ผึ้งชันโรง (stingless bee) สารสกัดจากต้นเคี่ยมและสารสกัดของมังคุด เป็นอีกแนวคิดหนึ่งซึ่งสามารถยกสร้างจิตสำนึกแก่ประชาชนในการเห็นคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น เป็นการใช้วัตถุดิบซึ่งมีอยู่แล้วในท้องถิ่นมาผลิตเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เป็นสินค้าเฉพาะถิ่น โดยน้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งชันโรงน้ำผึ้งชันโรงมีรสหวานอมเปรี้ยว มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน และน้ำตาลกลูโคสสูงกว่าน้ำผึ้งทั่วไป จึงมีราคาสูงกว่าถึงสิบเท่า นิยมนำไปทำยาและเครื่องสำอาง จึงทำให้มีราคาที่สูงกว่าน้ำผึ้งจากผึ้งทั่วไป เพราะเชื่อว่าน้ำผึ้งที่ได้จากชันโรงมีสรรพคุณทางยาเหนือกว่าน้ำผึ้งทั่วไปด้วยความเข้มข้น เนื่องจากนำผึ้งชันโรงมีความชื้นในน้ำผึ้งมากกว่าน้ำผึ้งรวงจึงมีกระบวนการหมัก (ferment) เกิดขึ้นช้าๆตามธรรมชาติ โดยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ จึงอาจพบการเกิดแก๊สหรือฟองบนผิวหรือในตัวน้ำผึ้งชันโรงซึ่งถือว่าเป็นสิ่งปกติและเป็นสิ่งที่แสดงถึงน้ำผึ้งชันโรงแท้ ฟองเหล่านี้เรียกว่า honey foam ซึ่งรับประทานได้ โดยสรรพคุณที่โดดเด่นของน้ำผึ้งชันโรงคือมี สารต้านอนุมูลอิสระที่สูงมาก ชะลอความแก่และความเสื่อมของเซลล์ เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศและการเจริญพันธุ์ เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย ต้านแบคทีเรียลดการอักเสบ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น และยังมีสมบัติต้านเซลล์มะเร็ง ผลของปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงทำให้น้ำผึ้งขันโรงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory) อีกด้วย โดยจะป้องกันเซลล์ไม่ให้ถูกทำลายด้วยสารอนุมูล นอกจากนี้นำผึ้งชันโรงมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย (anti-bacterial activities) ที่ก่อโรคเช่นแบคทีเรีย S. aureus สมบัติต้านเชื้อโรคนี้ก่อให้เกิดสมดุลของภูมิคุ้มกันของร่างการที่แผล ทำให้กลไกการรักษาตัวเองของร่างกายมีประสิทธิภาพ กระตุ้นการเกิดใหม่ของเซลล์ ซึ่งมีรายงานการรับประทานเพื่อรักษาอาการเจ็บคอ แผลในช่องปาก ตาอักเสบ แผลเบาหวาน หรือ แผลจากมะเร็ง จนกลายเป็นน้ำผึ้งที่มีคุณภาพสูงมีกลิ่นหอมรสชาติอร่อยเปรี้ยวอมหวานจากการหมักตามธรรมชาติ ชันโรงมีสารพฤกษเคมีหลากหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ มีผลในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อโรค เพิ่มภูมิคุ้มกัน งานวิจัยพบว่าน้ำผึ้งชันโรงนั้นมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าน้ำผึ้งรวงหลายเท่าตัว โดยอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติจำพวก กรดphenolic และflavonoid ซึ่งมีอยู่ถึง 99.04±5.14 mg/ml และ 17.67±0.75 mg/ml ตามลำดับ จึงทำให้น้ำผึ้งชันโรงเป็นน้ำผึ้งที่อุดมคุณค่าทางอาหารและยา มากกว่าน้ำหวานจากผึ้งทั่วไป นอกจากนั้นหน้าที่สำคัญของชันโรงในระบบนิเวศ คือการผสมเกสรดอกไม้ของพืช และแน่นอนว่าชันโรงจะอยู่รอดได้ย่อมต้องการสภาพแวดล้อมที่ปลอดจากสารเคมีอันตราย การเลี้ยงผึ้งชันโรงจึงสามารถตอบโจทย์ความสมบูรณ์แบบของการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ตอบโจทย์ความเป็นอินทรีย์อย่างแท้จริงและพื้นที่ข้างเคียงได้รับผลประโยชน์ไปด้วย ในพื้นที่จังหวัดชุมพร มีมังคุด (Gacinia mangostana L.) เป็นพืชเศรษฐกิจซึ่งสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร มังคุดจัดอยู่ในวงศ์ Guttiferae มังคุดได้ชื่อว่าเป็น “ราชินีผลไม้เขตร้อน”ซึ่งจุดเด่นของผลิตภัณฑ์จากเปลือกมังคุดนั้นคือจะมีราคาถูกและมีประสิทธิภาพในการป้องกันและฆ่าเชื้อไวรัสรวมถึงยับยั้งการติดเชื้อต่างๆได้นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์จากเปลือกมังคุดนี้ยังถือเป็นครั้งแรกที่ทุกกระบวนการทั้งการวิจัย ผลิต และพัฒนา เป็นฝีมือของคนในประเทศไทย สารสกัดจากเปลือกมังคุดซึ่งเป็นผลผลิตเหลือทิ้งจากภาคการเกษตร ที่มีประโยชน์มากมายและมีสรรพคุณทางการแพทย์สูงในการรักษาโรคได้ เมื่อนำมาผ่านกรรมวิธีพิเศษทางเคมีจะสามารถสกัดได้สารพบแทนนิน (Tannin) และแซนโทน (Xanthones) ในปริมาณสูง โดยจะอยู่ในรูปแบบผงและผงของสารแซนโทน (Xanthones ) จะสามารถเก็บได้นานประมาณ 2-3 ปี ซึ่งสำหรับสารแซนโทนนั้นมีสรรพคุณทางการแพทย์คือมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบจากการติดเชื้อ รักษาเซลล์มะเร็ง และฆ่าเชื้อก่อโรคทางเดินระบบหายใจร้ายแรง เช่น เชื้อวัณโรคชนิดดื้อยา เชื้อก่อโรคผิวหนังอักเสบและสิว และมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อไวรัส เช่น เอชไอ โดยที่สารแทนนิน มีฤทธิ์สมานแผลช่วยให้แผลหายได้เร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งสารสกัดจากเปลือกมังคุดไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น สบู่เปลือกมังคุด ที่ช่วยดับกลิ่นเต่าช่วยบรรเทาโรคผิวหนัง รักษาสิวฝ้า ซึ่งใช้ได้ผลดีและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคสารสกัดจากเปลือกมังคุดมีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อสิวได้ และยังออกฤทธิ์ต้านเชื้อสิวอักเสบได้ และด้วยสรรพคุณทางยาของต้นเคี่ยม (Cotylelobium melanoxylon syn. C. lanceolatum) โดยเปลือกเคี่ยมใช้เป็นยากลางบ้าน ซึ่งเปลือกลำต้นมีน้ำยาง ช่วยสมานแผล แก้ฟกช้ำ ใช้เป็นสารกันบูดในน้ำตาลสดเนื่องจาก สามารถลดจจำนวนแบคทีเรียที่จะทำให้ปริมาณกรดในน้ำตาลมากขึ้น เพราะในเปลือกของเคี่ยมมีสารแทนนินในปริมาณมาก และแทนนินมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ องค์ประกอบทางเคมีที่พบในสารสกัดชั้นเมทานอลจากเปลือกและนื้อไม้เคี่ยม ได้แก่ stilbene dimer, stilbene trimer และ lignan โดยพบว่าสาร stilbene trimer 3 ชนิด ได้แก่ Vaticanol A,E และ G มีฤทธิ์ยับยั้งระดับน้ำตาลกลูโคสในพลาสมา เคี่ยมไม้ยืนต้น เจริญเติบโตช้า ไม่มีในท้องถิ่นภาคใต้ และมีการลักลอบตัดมาขาย จึงคาดหวังได้ว่าสบู่ที่มีส่วนผสมของชันโรง สารสกัดจากต้นเคี่ยมและสารสกัดจากมังคุด จะมีคุณสมบัติที่ทำให้สามารถทำความสะอาดได้ดี และไม่เป็นอันตรายต่อผิว คือมีค่า pH อยู่ระหว่าง 8-10 เดิมใช้เพิ่อทำความสะอาดร่างกาย เช่น การอาบน้ำ การล้างมือ สบู่จะช่วยละลาย ไขมัน ทำให้การชำระล้างสะอาดมากขึ้น ปัจจุบันกระบวนการผลิตสบู่มีการเพิ่มส่วนผสมอื่นๆ เพื่อให้สบู่มีสรรพคุณตรงตาม ความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น เช่นมีสีสรรที่สวยงามน่าใช้ มีกลิ่นหอม และมีสรรพคุณทางยา ในทางการค้ามีการใช้ สารสังเคราะห์เพิ่มขึ้นทำให้ ผลิตภัณฑ์ น่าใช้ บรรจุภัณฑ์ สวยงามแต่ แฝงไปด้วยสารเคมีที่เป็นอันตราย มีพิษตกค้างและราคาสูง ปัจจุบันนิยมใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่ในธรรมชาติ มาเป็นส่วนผสมเพิ่มเติม ในสบู่แทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์ พืชสมุนไพรที่ใช้มีสารสำคัญและ มีสรรพคุณทางยา เช่น มีน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นเฉพาะใช้ ในการบำบัดโรค มีสีสรรสวยงาม หาง่าย ราคาถูก ประหยัด ปลอดภัย ไร้สารสังเคราะห์และไม่มีพิษตกค้าง ทำให้สบู่สมุนไพรที่ผลิตขึ้นจาก ผลิตภัณฑ์ ธรรมชาติ ที่มีคุณลักษณะเฉพาะ หลากหลาย จึงเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นถึง ความมหัศจรรย์ของสมุนไพรไทยที่มีคุณค่ายิ่งของสมุนไพรไทย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ขยายพันธุ์และทำแปลงรวบรมพันธุ์ต้นเคี่ยมในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายมิสเตอร์การ์ดอาสาอนุรักษ์เคี่ยม ในพื้นที่จังหวัดชุมพร
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทราบถึงหลักการและขั้นตอนการจัดการอนุรักษ์ปกปักษ์พันธุกรรมเคี่ยม
เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หาสารสำคัญ และหาองค์ประกอบทางเคมีที่มีอยู่ในเคี่ยมและนำผลวิเคราะห์ที่ได้มาใช้ประโยชน์
ศึกษาแนวทางการใช้สารสกัดจากเคี่ยมในการยับยั้งเชื้อโรคแอนเทรคโนสในพริก เพื่อลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคพืช
เพื่อพัฒนาสูตรที่เหมาะสมในการผลิตสบู่สมุนไพรจากผงเปลือกมังคุดร่วมด้วยเคี่ยมและน้ำผึ้งชันโรงและออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการตลาดในยุค new normal
ถ่ายทอดกระบวนการทำสบู่สมุนไพรจากผงเปลือกมังคุด เคี่ยมและน้ำผึ้งชันโรง รวมทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับการจำหน่ายออกสู่ตลาดในยุค new normal เพื่อเป็นทางเลือกในการสร้างอาชีพของกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร และเป็นการเพิ่มรายได้ครัวเรือน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 1 แปลงอนุรักษ์พันธุ์เคี่ยม
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : แปลงอนุรักษ์พันธุ์เคี่ยม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แปลง 1
KPI 4 : จำนวนต้นเคี่ยม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
400 300 300 ต้น 1000
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
180000 บาท 180000
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 2 เครือข่ายมิสเตอร์การ์ดอาสาอนุรักษ์เคี่ยม ในพื้นที่จังหวัดชุมพร
KPI 1 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าร่วมการอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 ตน 30
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
180000 บาท 180000
KPI 5 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : เครือข่ายมิสเตอร์การ์ดอาสาอนุรักษ์เคี่ยมจังหวัดชุมพร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เครือข่าย 1
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 3 สารสำคัญและองค์ประกอบทางเคมีที่มีอยู่ในเคี่ยม
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : สารสำคัญที่วิเคราะห์ได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 องค์ความรู้ 1
KPI 3 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับการบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
180000 บาท 180000
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนผู้เข้าร่วมการอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 4 สารสกัดจากเคี่ยมที่ใช้ควบคุมโรคแอนเทรคโนสในพริก
KPI 1 : ระดับความเข้มข้นของสารสกัดจากเคี่ยมที่สามารถควบคุมโรคเคี่ยมให้พริกได้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ความเข้มข้น 1
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
93000 17000 บาท 110000
KPI 6 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 5 สบู่สมุนไพรจากผงเปลือกมังคุดร่วมด้วยเคี่ยมและน้ำผึ้งชันโรง
KPI 1 : สูตรสบู่สมุนไพรจากผงเปลือกมังคุดร่วมด้วยเคี่ยมและน้ำผึ้งชันโรง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 สูตร 1
KPI 2 : งบประมาณภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
107500 42500 บาท 150000
KPI 3 : ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรมการผลิตสบู่สมุนไพรจากผงเปลือกมังคุดร่วมด้วยเคี่ยมและน้ำผึ้งชันโรง
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 1 แปลงอนุรักษ์พันธุ์เคี่ยม
ชื่อกิจกรรม :
เตรียมแปลงปลูกและทำแปลงรวบรมพันธุ์ต้นเคี่ยมในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 08/12/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ประสาทพร  กออวยชัย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ปิยนุช  จันทรัมพร (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาปลูกต้นกล้าเคี่ยม จำนวน 1,000 ต้น ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาใส่ปุ๋ย จำนวน 500 กระสอบ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 25,000 บาท
- ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมพื้นที่ จำนวน 10 ไร่ ๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 49,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 49,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าปุ๋ยคอก จำนวน 450 กระสอบ ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 27,000 บาท
- ค่าปุ๋ย สูตร 0-3-0 จำนวน 30 กระสอบ ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าปุ๋ย สูตร 15-15-15 จำนวน 20 กระสอบ ๆ ละ 1,400 บาท เป็นเงิน 28,000 บาท
- ค่าต้นกล้าเคี่ยม จำนวน 1,000 ต้น ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 70,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 131,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 131,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 180000.00
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 2 เครือข่ายมิสเตอร์การ์ดอาสาอนุรักษ์เคี่ยม ในพื้นที่จังหวัดชุมพร
ชื่อกิจกรรม :
- จัดอบรมให้ความรู้หลักการและขั้นตอนการจัดการอนุรักษ์ปกปักษ์เคี่ยม
- เครือข่ายมิสเตอร์การ์ดอาสาอนุรักษ์เคี่ยม ในพื้นจังหวัดชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 08/12/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา  จินดาซิงห์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิรักษ์  ผลเจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม - ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
ค่าอาหารกลางวัน - ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 7 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุเกษตร เช่น ดินปลูก ท่อพีอี ท่อพีวีซี เทปน้ำพุ่ง ข่อต่อ สปริงเกอร์ สายยาง ฯลฯ เป็นเงิน 25,200 บาท
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้ม กระดาษ ปากกา สมุด ถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 45,000 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ แผ่นบันทึกข้อมูล ฯลฯ เป็นเงิน 35,000 บาท
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถังล้อเลื่อน ตะกร้าพลาสติก ขวดพลาสติก แกลลอน ฯลฯ เป็นเงิน 64,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 169,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 169,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 180000.00
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 3 สารสำคัญและองค์ประกอบทางเคมีที่มีอยู่ในเคี่ยม
ชื่อกิจกรรม :
- ศึกษาและวิเคราะห์หาสารสำคัญ และหาองค์ประกอบทางเคมีที่มีอยู่ในเคี่ยม
- จัดอบรมให้ความรู้หลักการและขั้นตอนการจัดการวิเคราะห์สารสำคัญ และการนำไปใช้ประโยชน์ในเคี่ยม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 08/12/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิรักษ์  ผลเจริญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา  จินดาซิงห์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม - ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
ค่าอาหารกลางวัน - ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,600.00 บาท 0.00 บาท 6,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร - ภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 7 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุเกษตร เช่น ดินปลูก ท่อพีอี ท่อพีวีซี เทปน้ำพุ่ง ข่อต่อ สปริงเกอร์ สายยาง ฯลฯ เป็นเงิน 25,200 บาท
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้ม กระดาษ ปากกา สมุด ถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 45,000 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ แผ่นบันทึกข้อมูล ฯลฯ เป็นเงิน 35,000 บาท
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถังล้อเลื่อน ตะกร้าพลาสติก ขวดพลาสติก แกลลอน ฯลฯ เป็นเงิน 64,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 169,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 169,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 180000.00
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 4 สารสกัดจากเคี่ยมที่ใช้ควบคุมโรคแอนเทรคโนสในพริก
ชื่อกิจกรรม :
- เก็บตัวอย่างเชื้อโรคแอนเทรคโนสในพริกในจังหวัดชุมพรนำมาเลี้ยงขยายในห้องปฏิบัติการ
- เตรียมสารสกัดจากเคี่ยม
- ทดสอบความสามารถของสารสกัดจากเคี่ยมในการยับยั้งเชื้อโรคแอนเทรคโนสในพริก
- เผยแพร่ความรู้และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ต้นเคี่ยม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 08/12/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ปิยนุช  จันทรัมพร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ประสาทพร  กออวยชัย (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม- ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
ค่าอาหารกลางวัน - ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
- ค่าจ้างเหมาเก็บตัวอย่างและขยายเชื้อแอนเทรคโนส จำนวน 1 งาน ๆ ละ 9,000 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
ค่าจ้างเหมา - ค่าจ้างเหมาทดสอบสารสกัดจากเคี่ยม จำนวน 1 งาน ๆ ละ 12,000 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 21,000.00 บาท 11,000.00 บาท 0.00 บาท 32,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้ม กระดาษ ปากกา สมุด ถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น เช่น หมึกพิมพ์ แผ่นบันทึกข้อมูล ฯลฯ เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น เอททิลแอลกอฮอล์ อาหารเลี้ยงเชื้อ จานเลี้ยงเชื้อ ขวดรูปชมพู่ บีกเกอร์ ฯลฯ เป็นเงิน 72,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 72,000.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 78,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 110000.00
ผลผลิต : ผลผลิตที่ 5 สบู่สมุนไพรจากผงเปลือกมังคุดร่วมด้วยเคี่ยมและน้ำผึ้งชันโรง
ชื่อกิจกรรม :
- การผลิตสบู่สมุนไพรจากผงเปลือกมังคุดร่วมด้วยเคี่ยมและน้ำผึ้งชันโรง
- ถ่ายทอดกระบวนการทำสบู่สมุนไพรจากผงเปลือกมังคุด เคี่ยมและน้ำผึ้งชันโรง รวมทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับการจำหน่ายออกสู่ตลาดในยุค new normal

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 08/12/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์วิชชุดา  เอื้ออารี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.จิรภรณ์  ใจอ่อน (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 30 คน ๆละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
- ค่าเดินทางไปปฏิบัติงาน จำนวน 5 ครั้ง ๆ ละ 1,202 กม. ๆ (ไป-กลับ) ละ 4 บาท เป็นเงิน 24,040 บาท
- ค่าที่พักเหมาจ่าย จำนวน 10 คืน ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
- ค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 15 วัน ๆ ละ 240 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
35,640.00 บาท 13,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 48,840.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ (มกราคม-กันยายน 2566) เป็นเงิน 22,100 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 2 วัน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 29,300.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 29,300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถุงซีลสุญญากาศ ถุงพลาสติกใส กล่องกระดาษ ฯลฯ เป็นเงิน 26,000 บาท
- ค่าวัสดุเกษตร เช่น มีดพร้า ตะแกรง ผงสกัดเปลือกมังคุด ฯลฯ เป็นเงิน 29,000 บาท
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น เช่น กลีเซอรีน แอลกอฮอล์ บีกเกอร์ ฯลฯ เป็นเงิน 16,860 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 71,860.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 71,860.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 150000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี
ช่วงเวลา : 20/12/2565 - 25/03/2566
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล