19292 : โครงการศิลปวัฒนธรรมอัตลักษณ์ของสัตวศาสตร์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.พัชรกิต วัชรปรีชา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
04/04/2566  ถึง  30/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  200  คน
รายละเอียด  นักศึกษา คณาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะสัตวศาสตร์ฯ และเจ้าหน้าที่บ.เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2566 14,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาง รจนา  อุดมรักษ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.4 เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.24 จำนวนกิจกรรมด้านการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมแก่หน่วยงานภายนอก
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.4.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียน การสอน และการวิจัย
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.4.3 พัฒนารูปแบบในการจัดกิจกรรม/โครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และวัฒนธรรมการเกษตร ให้น่าสนใจและทันสมัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66-2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 66-2.4.1 มีเครือข่ายความร่วมมือด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด AS 66-2.22 จำนวนกิจกรรมด้านการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมแก่หน่วยงานภายนอก
กลยุทธ์ 66-2.4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตรมีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียนการสอน และการวิจัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นคณะฯ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตบัณฑิตทางสัตวศาสตร์และสัตวบาล เพื่อสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานด้านการเลี้ยงสัตว์ เช่น ด้านสุกร , สัตว์ปีก และด้านโคนมและโคเนื้อ ทั้งนี้ได้ส่งเสริมให้บุคลากร และนักศึกษามีส่วนร่วมด้านการสืบสานประเพณี ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอันดีงามให้คงอยู่สืบไป การทำบุญให้สัตว์ทดลอง เป็นกิจกรรมที่ทำสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งแต่ละปีการศึกษาคณะฯ มีผู้สำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่า 200 คน โดยในระหว่างการศึกษานักศึกษาต้องมีการเรียนในภาคปฏิบัติ ซึ่งต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวสัตว์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีการใช้ตัวอย่างเนื้อเยื่อจากสัตว์สำหรับการเรียนการสอน และการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากตัวอย่างจากสัตว์ที่มีอยู่ในฟาร์มของคณะฯ หรือจากการซื้อตัวอย่างสัตว์จากภายนอกเพื่อใช้ในการศึกษาของนักศึกษา สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวจึงนับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญหรือเป็นส่วนที่ใช้ประโยชน์ในการศึกษาที่เปรียบเสมือนครูอาจารย์สำหรับชาวสัตวบาลทั้งหลายเช่นกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการตอบแทนการเสียสละของสัตว์ทดลองดังกล่าวในการเป็นสิ่งศึกษาหรือสิ่งทดลองของคณะฯ คณะฯ จึงจัดพิธีการทำบุญให้สัตว์ทดลอง เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้แสดงการขอบคุณต่อสัตว์ทดลองที่เสียสละชีวิตเพื่อเป็นสิ่งศึกษาของนักศึกษา และเป็นการสร้างธรรมเนียมที่ดีในการรู้จักการตอบแทนคุณผู้มีพระคุณ ประเพณีวันสงกรานต์หรือปี๋ใหม่เมือง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน เป็นประเพณีที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนศักราชตามความเชื่อระบบจัทรคติ และความเชื่อดั้งเดิมของไทย โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือหรือที่เรียกว่าล้านนา ประเพณีสงกรานต์หรือปี๋ใหม่เมืองจะมีลักษณะเฉพาะถิ่นแตกต่างจากที่อื่น ๆ อาทิเช่น การรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ ครูบาอาจารย์ที่เคารพนับถือ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดการดำรงอยู่และสืบทอดประเพณีอันดีงามนี้ คณะสัตวศาสตร์ฯ จึงได้จัดโครงการสืบสานศิลปวัฒธรรมสงกรานต์ (ปี๋ใหม่เมือง) โดยจัดกิจกรรมให้บุคลากรและนักศึกษาได้ร่วมรดน้ำดำหัวอาจารย์อาวุโสและบุคลากรอาวุโส เป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรและนักศึกษาภายในคณะฯ พิธีทำขวัญควาย คือพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความเชื่อของชาวบ้าน เชื่อว่าเมื่อใช้งานควายจะต้องมีพิธีทำขวัญควาย เพื่อขอขมาควาย ขอบคุณควาย เพราะเชื่อว่าควายก็มีจิตใจมีความรู้สึกเหมือนมนุษย์ และเพื่อให้ควายนั้นเป็นควายที่เชื่อง แสนรู้ และกตัญญูต่อเจ้าของ ดังนั้นคณะฯ จึงเล็งเห็นความสำคัญและเห็นควรอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ประเพณีอันดีงามที่นับวันจะเลือนหายจากไป และเป็นการสร้างธรรมเนียมที่ดีในการรู้จักการตอบแทนคุณผู้มีพระคุณ และสืบสานประเพณีอันเก่าแก่ของพื้นบ้าน เป็นพิธีที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับควาย ที่เป็นไปด้วยความอ่อนโยน เอื้ออาทรและความรู้สำนึกในบุญคุณของควาย ประเพณีทำขวัญควาย จึงเป็นประเพณีที่สมควรจะอนุรักษ์เพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง ได้เห็นภูมิปัญญาและจิตวิญญาณของบรรพชนไทย จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นฯ เพื่อให้นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไปที่สนใจได้เข้าร่วมสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีที่ดีงามให้สืบต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อให้มีการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และผู้อาวุโส
2. เพื่อสืบทอดขนบธรรมเนียมและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามให้คงอยู่ต่อไป
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : บุคลากรและนักศึกษา ได้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : บุคลากรและนักศึกษา ได้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมทำบุญให้สัตว์ทดลอง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/04/2566 - 30/04/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นางรจนา  อุดมรักษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.พัชรกิต  วัชรปรีชา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว
- ค่าสังฆทาน ดอกไม้ ธูป เทียน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 3000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 การสืบสานศิลปวัฒนธรรมวันสงกรานต์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/04/2566 - 30/04/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นางรจนา  อุดมรักษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
น.ส.พัชรกิต  วัชรปรีชา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว
- ตะกร้า ผ้าขนหนู
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 4000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 อนุรักษ์การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และการเลี้ยงไก่ต่อไก่ตั้ง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/06/2566 - 31/07/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายครรชิต  ชมภูพันธ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 4 ทำขวัญควาย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/05/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพโรจน์  ศิลมั่น (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นายอภิชาติ  หมั่นวิชา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาบริการจัดทำบายศรีสู่ขวัญควาย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท 7,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 7000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล