19270 : โครงการ “กิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการยกระดับ OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” จังหวัดแพร่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2/12/2565 11:17:48
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
06/12/2565  ถึง  29/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  80  คน
รายละเอียด  1. ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน/โอทอป ที่จดทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน ในพื้นที่จังหวัดแพร่ จำนวน 50 คน 2. ผู้บริหารหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน (แผนงานบูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP) 2566 146,800.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
รองศาสตราจารย์ ดร. วีรนันท์  ไชยมณี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐวุฒิ  ดุษฎี
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66-3 เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 66-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 66-3.1.4 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 66-3.1.4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้อยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยี และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ซึ่งตรงตามวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ และมียุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100 (2477-2577) ในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิตสร้างสังคมแห่งการ “กินดี” (Organic live) “อยู่ดี” (Green growth) และ “มีสุข” (Eco System) สอดคล้องกับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ของชาติ ในการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเป้าหมายสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ทั้งนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้ทำการจัดโครงการ “กิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการยกระดับ OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” จังหวัดแพร่ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดหลักของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ (Entrepreneurial University) ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มีคณาจารย์และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในหลายศาสตร์ เช่น เทคโนโลยีการผลิตพืช เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ เทคโนโลยีการอาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร เป็นต้น ที่จะสามารถแนะนำ และให้ความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาและยกระดับสินค้า OTOP ให้ได้มาตรฐาน และให้คำปรึกษาสำหรับผู้ประกอบการที่มีความต้องการแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านการผลิตผลิตภัณฑ์ตามแนวทางวิทย์เพื่อโอทอปได้ ในการนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) โดยกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของ อว. ของจังหวัดแพร่ ทำหน้าที่ในการดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดแพร่ ซึ่งมีการบูรณาการหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดแพร่ในการใช้องค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดแพร่ให้เป็นเมืองสุขภาวะ มากกว่านั้นยังเป็นสถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพและความพร้อมในการจัดกิจกรรมฯ มีบุคลากรที่มีความสามารถในการเป็นที่ปรึกษาให้กลุ่มเป้าหมายทั้งในระหว่างจัดกิจกรรมฯ และภายหลังการจัดกิจกรรมฯ รวมถึงการประสานงานกับเครือข่าย/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และสถานประกอบการที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน โดยเป็นการพัฒนา OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป (โดยการให้คำปรึกษาเชิงลึก ถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือพัฒนาดัดแปลงเทคโนโลยี) ใน 6 ประเด็นการพัฒนา ประกอบด้วย (1) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (2) พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ (3) พัฒนาและออกแบบกระบวนการผลิต (4) พัฒนามาตรฐาน (5) พัฒนาและออกแบบเครื่องจักร (6) พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบต้นน้ำ ใน 5 ประเภทผลิตภัณฑ์ ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม สมุนไพรไม่ใช่อาหาร ผ้าและเครื่องแต่งกาย และของใช้ ของที่ระลึกและของตกแต่ง โดยมุ่งเน้นยกระดับคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ OTOP ของผู้ประกอบการจาก Quadrant C ไป B และ Quadrant B ไป A เพื่อยกระดับด้านการเพิ่มมูลค่าและผลิตภาพของผลิตภัณฑ์ด้วย วทน. และมุ่งเป้าการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสร้างความตระหนัก ความรู้ และความเข้าใจในการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน /โอทอป ด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้กับผู้ประกอบการ
2. เพื่อให้คำปรึกษา / ข้อแนะนำ สำหรับเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ
3. เพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการโอทอปที่มีความพร้อมและมีศักยภาพ เข้าร่วมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตามแนวทางคูปองวิทย์เพื่อโอทอป ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการ “กิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการยกระดับ OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” จังหวัดแพร่
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 คน 80
KPI 2 : ร้อยละความรู้ความเข้าใจในการยกระดับ OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 5 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
75 ร้อยละ 75
KPI 6 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
146800 บาท 146800
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการ “กิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการยกระดับ OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” จังหวัดแพร่
ชื่อกิจกรรม :
สร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการยกระดับ OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” จังหวัดแพร่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 06/12/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ศุกรี  อยู่สุข (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์  ไชยมณี (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิศรา  วัฒนนภาเกษม (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สิริยุพา  เลิศกาญจนาพร (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.จุฬาลักษณ์  เครื่องดี (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลพร  ปานง่อม (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์อุบลวรรณ  สุภาแสน (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.วิลาสินี  บุญธรรม (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.อภิญญา  ชุ่มอินถา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จันทร์จิรา  นันตา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ปณิธี  บุญสา (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โอฬาร  อ่องฬะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ธนวัฒน์  ปินตา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ปิยะพิศ  ขอนแก่น (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางธนันธรณ์  วุฒิญาณ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการเสวนา จำนวน 80 ชุด ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 5,600 บาท
2. ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์สรุปและจัดทำรายงานโครงการฯฉบับสมบูรณ์พร้อมไฟล์เอกสาร จำนวน 1 เล่ม ๆ ละ 4,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
3. ค่าของที่ระลึก จำนวน 6 ชิ้น ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
4. ค่าจ้างเหมารถตู้ พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 2 คัน ๆ ละ 1 วัน ๆ ละ 2,200 บาท เป็นเงิน 4,400 บาท
5. ค่าจ้างเหมารถตู้ พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2 วัน ๆ ละ 3,100 บาท เป็นเงิน 6,200 บาท
6. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เป็นเงิน 67,900 บาท
7. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (สถานที่เอกชน) จำนวน 80 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
8. ค่าอาหารกลางวัน (สถานที่เอกชน) จำนวน 80 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
119,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 119,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคอภิปรายเสวนา (บุคลากรภาครัฐ) จำนวน 4 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคอภิปรายเสวนา (มิใช่บุคลากรภาครัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
10,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 16,900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
16,900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 146800.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล