19250 : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมและการใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการของห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 1/12/2565 11:13:34
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/12/2565  ถึง  29/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  นักศึกษา นักวิจัย และผู้ประกอบการทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 2566 188,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร  จันทร์ฉาย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66-3 เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 66-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 66-3.1.8 จำนวนโครงการสนองงานในพระราชดำริ/โครงการอพสธ /โครงการภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ 66-3.1.8.1 บูรณาการโครงการพระราชดำริกับพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ต้นห้อมมีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น โดยที่จังหวัดแพร่ ลำปาง เชียงใหม่ และเชียงราย เรียกห้อมน้อย แม่ฮ่องสอนเรียกครามดอย ส่วนจังหวัดน่านเรียกห้อมเมือง และห้อมหลวง จากฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ต้นห้อมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze วงศ์ ACANTHACEAE จากการสำรวจพื้นที่เบื้องต้นบ้านนาคูหาและบ้านแม่ลัว ตำบลสวนเขื่อน และบ้านนาตอง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบห้อม 3 สายพันธุ์ คือ 1) สายพันธุ์ Strobilanthes cusia เป็นห้อมสายพันธุ์ใบใหญ่ พบที่บ้านแม่ลัวเป็น 2) สายพันธุ์ Strobilanthes auriculate voucher เป็นห้อมสายพันธุ์ในเล็กพบที่บ้านนาตอง 3) สายพันธุ์ Baphicacanthus cusia voucher เป็นห้อมใบใหญ่ พบที่บ้านนาตอง (ณัฐพร, 2562) พื้นที่ดังกล่าวพบต้นห้อมขึ้นตามธรรมชาติในหมู่บ้านบริเวณสวนหลังบ้านที่ชื้นแฉะโดยเฉพาะข้างลำห้วย บ้านนาตองปลูกห้อม 21 ครัวเรือน บ้านนาคูหา 23 ครัวเรือน และบ้านแม่ลัว 31 ครัวเรือน (ซึ่งแต่ละครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกที่ไม่ชัดเจนเนื่องจากส่วนใหญ่จะปลูกริมห้วยในป่า และปลูกแซมกับพืชอื่น) ทั้ง 3 หมู่บ้านตั้งอยู่บนพื้นที่สูงมีสภาพป่าธรรมชาติล้อมรอบ ทำให้มีอากาศเย็นเกือบตลอดทั้งปี ในปัจจุบันต้นห้อมในธรรมชาติมีเหลือไม่มากนัก เนื่องจากมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการสวมใส่ผ้าหม้อห้อมทำให้การผลิตและค้าขายเสื้อผ้าหม้อห้อม มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ต้นห้อมที่นำมาย้อมสีเจริญเติบโตไม่ทันตามความต้องการ จากการสำรวจพบว่า ห้อมแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มห้อมใบใหญ่ ได้แก่ สายต้นแพร่ 1 เชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา 1 2) กลุ่มห้อมใบเล็ก ได้แก่ สายต้นแพร่ 2 และพะเยา 2 การเจริญเติบโตของห้อมทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน รวมทั้งการให้คุณภาพของสี ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก กลุ่มห้อมใบใหญ่ให้ผลผลิตห้อมสด 1,407-1,933 กิโลกรัมต่อไร่ ทำเป็นเนื้อห้อมได้ 110-180 กิโลกรัมต่อไร่ และสารอินดิโก 7.06-9.56 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มห้อมใบเล็กให้ผลผลิตห้อมสด 1,600-1,687 กิโลกรัมต่อไร่ ทำเป็นเนื้อห้อมได้ 122-169 กิโลกรัมต่อไร่ และสารอินดิโก 3.46-5.03 เปอร์เซ็นต์ (ประนอม, 2556) ซึ่งราคาห้อมสดจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 15-20 บาท ราคาห้อมเปียกจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 300-400 บาท สายพันธุ์ห้อมที่นิยมปลูกในประเทศไทย คือ Strobilanthes cusia (Nees.) Kuntze หรือห้อมใบใหญ่และยังมีสายพันธุ์ห้อมใบเล็ก Strobilanthes sp. ซึ่งชาวบ้านในชุมชนบ้านนาตองเชื่อว่าสายพันธุ์ใบเล็กให้ปริมาณเนื้อและสีที่ดีกว่าสายพันธุ์ใบใหญ่ แต่ก็ต้องทำการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ต่อไป ในปี 2562 จังหวัดแพร่ได้จัดทำการขอขึ้นทะเบียนสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ในเรื่อง “ผ้าหม้อห้อมแพร่” โดยมีผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อม บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 37 คน และเป็นผู้ประกอบการที่ผลิตผ้าหม้อห้อม ซึ่งสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนแล้วจะต้องจัดให้มีระบบการควบคุมคุณภาพ กระบวนการผลิตและแหล่งที่มาของสินค้า เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถรักษามาตรฐานตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาโดย GI เป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่น และเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ให้สามารถยกระดับสินค้าจากท้องถิ่นออกสู่ระดับประเทศและต่างประเทศ จึงทำให้ผู้ประกอบการที่ผลิตผ้าหม้อห้อมย้อมสีธรรมชาติต้องการห้อมเปียกหรือเปอะ (Indigo plast) ที่มีคุณภาพในปริมาณที่สูง สารพฤกษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytochemical หรือ Phytonutrients) หมายถึง สารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืช สารกลุ่มนี้อาจเป็นสารที่ทำให้พืชผักชนิดนั้น ๆ มีสี กลิ่นหรือรสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว เป็นสารประกอบไบโอแอ็กทีฟ (Bioactive compounds) ที่พบได้ในอาหารประเภทพืชผักต่าง ๆ สารพฤกษเคมีเหล่านี้หลายชนิดมีฤทธิ์ต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิดและโรคสำคัญที่มักจะกล่าวกันว่าสารกลุ่มนี้ช่วยป้องกันได้คือ “ โรคมะเร็ง ” กลไกการทำงานของสารพฤกษเคมีเมื่อเข้าสู่ร่างกายอาจเป็นไปโดยการช่วยให้เอ็นไซม์บางกลุ่มทำงานได้ดีขึ้น เอ็นไซม์บางชนิดทำหน้าที่ทำลายสารก่อมะเร็งที่เข้าสู่ร่างกาย มีผลทำให้สารก่อมะเร็งหมดฤทธิ์ ซึ่งปัจจุบันพบสารพฤกษเคมีแล้วมากกว่า 15,000 ชนิด (PHELIC, 2560 : ออนไลน์) การใช้ห้อมเป็นยาสมุนไพร จากงานวิจัยของ ฉันทนา และคณะ (2563) เป็นการศึกษาตำรับยาสมุนไพรโดยใช้ห้อมเป็นตัวหลักในการทำเนื้อสมุนไพรลดไข้ จากผลการประเมินความพึงพอใจ ได้รับความพึงพอใจอย่างมาก ในกลุ่มตัวอย่าง จากงานวิจัยนี้ ได้ทำแบบสอบถามด้านการใช้ประโยชน์ห้อม พบว่ากลุ่มที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ทราบถึงสรรพคุณยาและเคยใช้ห้อมในการลดไข้ การศึกษางานวิจัย โดย Honda (1979) เกี่ยวกับสารประกอบเคมีจากต้นห้อม พบว่า สารส่วนใหญ่เป็นสารที่ให้สี สารกลุ่มอัลคาลอยด์และสารกลุ่มเทอร์ปีน (Terpenes) และมีการนำสารสกัดจากห้อมไปทดสอบในสัตว์ทดลองโดย Ho et al. (2003) กล่าวว่า สารสกัดจากห้อม แสดงฤทธิ์ต้านอาการอักเสบและลดไข้ในหนูทดลอง โดยส่วนของใบห้อมสามารถใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดบวม คางทูม การเจ็บคอและผิวหนังอักเสบได้ Gu et al. (2014) พบ Indole alkaloid glycosides คือ strobilanthosides A−C และฟีนิเลธานอยด์ไกลโคไซด์ 5 ชนิด ถูกแยกออกจากห้อม และได้ทำการวิเคราะห์โครงสร้างของสารประกอบใหม่ พบว่าแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ได้ การศึกษาอย่างต่อเนื่องของใบห้อม ยังมีส่วนประกอบทางเคมีที่มีประสิทธิภาพซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียต้านการอักเสบและต้านมะเร็ง ได้แก่ β-sitosterol, indirubin, tryptanthrin (6,12-dihydro-6,12-dioxoindolo- (2,1-b) -quinazoline) betulin, indigodole A, indigodole B (5aR-ethyltryptanthrin) และ phenylethanoidglycosides ชีวนวัตกรรม คือ ความก้าวล้ำของเทคโนโลยีที่สามารถพลิกฟื้นการเกษตรที่เป็นรากฐานของสังคมไทยให้ก้าวไกลทัดเทียมกับอารยะประเทศ จากการบูรณาการเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ เข้ากับเกษตรแบบดั้งเดิม เพื่อให้เกิดเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพิ่มผลผลิต และเพิ่มคุณภาพผลผลิตด้วยสารชีวภัณฑ์ (Bio product) ที่มีความปลอดภัย เพื่อลดการใช้สารเคมี และยาปฏิชีวนะที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในระยะยาว อีกทั้งยังช่วยในการลดต้นทุน และสามารถควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้ ความสำคัญของชีวนวัตกรรม คือ เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อความมั่นคงที่ยั่งยืนของเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สามารถช่วยในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจในระยะยาวได้ เนื่องจากชีวนวัตกรรม ถือเป็นโมเดลพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการยกระดับสินค้าเพื่อให้ออกสู่ตลาดสากล และลดต้นทุนในกระบวนการผลิตในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร เป็นต้น โดยการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้า และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Growth engine) อีกทั้งสามารถผลักดัน และพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศให้มีประสิทธิภาพ และใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างคุ้มค่า โดยการพัฒนานวัตกรรม ในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้จะส่งต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศมีเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่มั่นคง ซึ่งผู้วิจัยมีองค์ความรู้ในด้านชีวนวัตกรรมในการปลูกห้อมให้ทนต่อโรค เพิ่มการเจริญเติบโต เพิ่มคุณภาพสี ทั้งยังทำให้ได้ห้อมอินทรีย์ จากงานวิจัยที่ผ่านมาการใช้เอนโดไฟติกแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากรากห้อม และคัดแยกจุลินทรีย์ในน้ำหมักห้อม (หม้อย้อม) ที่มีคุณภาพสูงต่อการย้อมห้อมและได้จดสิทธิบัตรงานดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เช่น สิทธิบัตรจุลินทรีย์อัดแท่งเพื่อใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ สิทธิบัตรการใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ผงต่อการก่อหม้อ สิทธิบัตรการใช้ห้อมผงเพื่อใช้ในการย้อม รวมทั้งได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากห้อมโดยการใช้ห้อมผง หัวเชื้อจุลินทรีย์ผง เป็นชุด Kit พร้อมย้อมให้กับชุมชน จากทุนสนับสนุนของ BEDO ทั้งสิ้น 5 ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ณัฐพร (2563) ได้ทำการจดทะเบียนสิทธิบัตรเกี่ยวกับหม้อห้อมทั้งสิ้น 3 เรื่อง คือ 1) กระบวนการสร้างสีลิวโคอินดิโกแบบแห้ง เลขที่สิทธิบัตร 2001001405 2) การก่อหม้อและกรรมวิธีการผลิตสิ่งนั้น เลขที่สิทธิบัตร 2003000405 และ 3) ผลิตภัณฑ์ห้อมผงและกรรมวิธีการผลิต เลขที่สิทธิบัตร 2001001102 ซึ่งเป็นชีวนวัตกรรมที่จะนำไปใช้ในกระบวนการผลิตผ้าหม้อห้อม และได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ห้อมผงนาตอง หัวเชื้อจุลินทรีย์ในการสร้างสี Leuco Indigo แบบแห้งเพื่อใช้ในการก่อหม้อในการย้อมผ้าหม้อห้อม ผลิตภัณฑ์ชุด Kit สีน้ำระบายสี และผลิตภัณฑ์ห้อมเปียกนาคูหา รวมทั้งสิ้น 5 ผลิตภัณฑ์จากการสนับสนุนงบประมาณจาก BEDO และกำลังทำการวิจัยทดลองปลูกห้อมโดยใช้ชีวนวัตกรรมเข้ามาช่วย เรื่องผลของเอนโดไฟติกแบคทีเรีย PsenaloXanthomoras spadiX MJUP08 ต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพสีของห้อมในจังหวัดแพร่ อีกด้วย มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงมีความประสงค์ที่ต้องการสร้างฐานเรียนรู้การปลูกพืชอนุรักษ์อื่น ๆ ดังกล่าวขึ้น ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เพื่อให้บริการวิชาการให้แก่ นักวิจัยคณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปที่สนใจ ได้ศึกษาเรียนรู้เพื่อนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ต่อไป โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมและการใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการของห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ ที่ปลูกในสภาพพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงได้จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างเป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อรวบรวม รักษา และถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้รับการพัฒนา เช่น ห้อมผง ห้อมเปียก ผลิตภัณฑ์ชุด kit เสื้อ ชุด kit ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น และเพื่อขยายผลการปลูกพืชอนุรักษ์ต่าง ๆ ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้ดำเนินการปลูก เช่น แปลงทดสอบการปลูกห้อมและพืชให้สีคราม ของจังหวัดแพร่

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2. เพื่อศึกษาค้นคว้า ทดลอง วิจัย และพัฒนาเป็นพฤกษเคมีพร้อมใช้จากพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมและการใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการของห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 2 : จำนวนผลผลิตพฤกษเคมีพร้อมใช้จากพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 กิโลกรัม 20
KPI 3 : ผู้เข้าศึกษาดูงานมีความพึงพอใจต่อการศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผลิตภัณฑ์จากพฤกษเคมีพร้อมใช้จากพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 ผลิตภัณฑ์ 5
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมและการใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการของห้อมและพืชให้สีครามของจังหวัดแพร่
ชื่อกิจกรรม :
หาองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากพืชให้สีครามในจังหวัดแพร่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/12/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาผู้ประสานงานโครงการ จำนวน 1 คน ๆ ละ 3 เดือน ๆ ละ 15,000 บาท เป็นเงิน 45,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 45,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 45,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เป็นเงิน 43,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 43,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 43,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 88000.00
ชื่อกิจกรรม :
การพัฒนาพฤกษเคมีพร้อมใช้จากพืชให้สีครามในจังหวัดแพร่ เช่น สีผสมอาหาร สมุนไพร (ยา) อาหารและเครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง (สบู่ เซรั่ม ยาสระผม)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/12/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เป็นเงิน 50,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 50,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
ชื่อกิจกรรม :
การประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชให้สีครามในจังหวัดแพร่ต่อการต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/12/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เป็นเงิน 39,200 บาท
2. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 10,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล