19220 : โครงการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักเชียงดาเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 25/11/2565 13:32:34
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/12/2565  ถึง  29/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  40  คน
รายละเอียด  เกษตรกรผู้เพาะปลูกผักเชียงดา และประชาชนทั่วไปที่สนใจการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักเชียงดา
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 2566 110,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. พัตรเพ็ญ  เพ็ญจำรัส
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66-3 เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 66-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 66-3.1.8 จำนวนโครงการสนองงานในพระราชดำริ/โครงการอพสธ /โครงการภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ 66-3.1.8.1 บูรณาการโครงการพระราชดำริกับพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ผักเชียงดาเป็นไม้เลื้อยที่พบทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัด แพร่ น่าน พะเยา เชียงราย เถาแก่มีสีน้ำตาล ใบสีเขียวแก่ รูปร่างใบแตกต่างกันใบตามสายพันธุ์ เช่น รียาว รีสั้น หรือเป็นรูปหัวใจ เป็นพืชที่ทนแล้งได้ดีสามารถแตกยอดได้ตลอดปี ชาวเหนือนิยมนำมารับประทานสดเคียงกับน้ำพริก ผัด หรือแกง มีรายงานสรรพคุณของผักเชียงดาว่าเป็นพืชที่มีสรรพคุณในการลดน้ำตาลในเลือด และมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นยารักษาโรคเบาหวาน เนื่องด้วยมีสาระสำคัญในกลุ่ม ไตรเทอร์ปีนซาโปนินที่ออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา คือ “Gymnemic acid” ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ที่สกัดได้จากใบและรากของผักเชียงดา ซึ่งการจัดเรียงตัวของอะตอมในโมเลกุลของ Gymnemic acid จะคล้ายกับโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคส มีรายงานว่า ผักเชียงดาจะไปฟื้นฟูเซลล์ของตับอ่อน ซึ่งเป็นอวัยวะที่สร้างอินซูลิน ทำให้ผักเชียงดาสามารถช่วยควบคุมน้ำตาลได้ในคนที่เป็นเบาหวาน ผักเชียงดาจึงมีแนวโน้มที่จะถูกนำมาใช้เพื่อเป็นทางเลือกในการควบคุมน้ำตาลขั้นต้น อีกทั้งผักเชียงดาวเป็นผักที่มีการบริโภคเป็นอาหารกันมาช้านานโดยไม่ปรากฏความเป็นพิษต่อตับ ผักเชียงดาไม่เพียงแต่มีสรรพคุณในการควบคุมน้ำตาลเท่านั้น แต่ยังเป็นผักที่มีปริมาณ แคลเซียมและเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งเบต้าแคโรทีนเป็นสารตั้งต้นของการสังเคราะห์วิตามินเอ มีประโยชน์ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง ป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน และป้องกันการเกิดโรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ ผักเชียงดาเป็นผักที่มีศักยภาพในการผลิต และผลผลิตสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน และจากสรรพคุณดังกล่าว ผักเชียงดาจึงได้รับการส่งเสริมเป็นพืชอนุรักษ์ โดยมีการเพาะปลูกและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ชาผักเชียงดา โดยแผนกชาสมุนไพรของศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช อพ.สธ.คลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมา นอกจากนั้นเมื่อวันที่ 25-26 มิถุนายน 2561 กรมวิทยาศาสตร์บริการได้ลงพื้นที่และเข้าเยี่ยมชม สถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาลำปาง จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นหน่วยงานเครือข่าย อพ.สธ. ที่ร่วมสนองพระราชดำริในด้านการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์พืชอนุรักษ์ในภาคเหนือ เพื่อปรึกษาหารือความร่วมมือในการวิจัยพัฒนาผักเชียงดาและพืชอนุรักษ์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางการดำเนินการและแผนปฏิบัติงานโครงการ อพ.สธ. ปีงบประมาณ 2562 สำหรับในจังหวัดแพร่นั้น เกษตรกรในพื้นที่ตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีการเพาะปลูกผักเชียงดาเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้การบริโภคและเพื่อการจำหน่าย และมีกลุ่มเกษตรกร คือ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนธรรมชาติบำบัด อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ได้ทำการเพาะปลูกผักเชียงดา และจัดส่งศูนย์เกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เพื่อการแปรรูปเบื้องต้น คือ การทำแห้ง เพื่อผลิตชาชงดื่ม คณะทำงานจึงเล็งเห็นว่าเพื่อให้เกิดการผลิตอย่างครบวงจร ควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้เพิ่มเติมในด้านการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และจะส่งผลให้เกิดความยั่งยืนของระบบเกษตร ซึ่งส่งผลให้เกิดความยั่งยืนและพึ่งพาตนเองได้ของชุมชน โดยการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการให้ความรู้และทักษะในการแปรรูปและการควบคุมคุณภาพการผลิตอย่างครบวงจรตั้งแต่การผลิตขั้นต้น (วัตถุดิบในการผลิตอาหาร) จนกระทั่งได้ผลิตภัณฑ์สุดท้าย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความหลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เช่น การบรรจุแคปซูล การผลิตกัมมี่ เยลลี่ เบเกอรี่ เป็นต้น โดยเฉพาะเทคนิคการรักษาสีเขียวของผักในระหว่างการแปรรูปที่มักเกิดการเปลี่ยนแปลงจากสีเขียวเป็นเขียวคล้ำ และสีน้ำตาลจากการสูญเสียคลอโรฟิลล์ และการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย โดยเน้นการฝึกทักษะการจัดจำหน่ายออนไลน์ ซึ่งเป็นช่องทางที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักเชียงดาให้แก่เกษตรกรผู้เพาะปลูกและผู้สนใจ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักเชียงดาเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ถ่ายทอด
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 ผลิตภัณฑ์ 4
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.018 0.07182 0.02018 ล้านบาท 0.11
KPI 5 : ร้อยละของมูลค่าผักเชียงดาที่เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 ร้อยละ 20
KPI 6 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
40 คน 40
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักเชียงดาเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์
ชื่อกิจกรรม :
การอบรมถ่ายทอดการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักเชียงดา

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/12/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.พัตรเพ็ญ  เพ็ญจำรัส (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.สุภารัตน์  อำนาจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิศรา  วัฒนนภาเกษม (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐพงศ์  ปกแก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายอนุกูล  จันทร์แก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางสุรัลชนา  มะโนเนือง (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.อังคณา  ชมภูมิ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.บังอร  ปินนะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 44 คน ๆ ละ 4 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 6,160 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 44 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 13,200 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรม จำนวน 40 เล่ม ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
22,160.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 22,160.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคปฏิบัติ (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 4 คน ๆ ละ 4 วัน ๆ ละ 7 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 33,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
33,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 33,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 28,560 บาท
2. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 2,000 บาท
3. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
33,560.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 33,560.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 89320.00
ชื่อกิจกรรม :
การส่งเสริมการสร้างตราสินค้า และการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/12/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.พัตรเพ็ญ  เพ็ญจำรัส (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐพงศ์  ปกแก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สุภารัตน์  อำนาจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.บังอร  ปินนะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายอนุกูล  จันทร์แก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางสุรัลชนา  มะโนเนือง (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.อังคณา  ชมภูมิ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิศรา  วัฒนนภาเกษม (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 22 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,080 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 22 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 6,600 บาท
3. ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือประกอบการฝึกอบรม จำนวน 40 เล่ม ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 12,480.00 บาท 12,480.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (บุคลากรของรัฐ) จำนวน 2 วัน ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 7,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 19680.00
ชื่อกิจกรรม :
การติดตามโครงการ และสรุปผลการดำเนินงาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/12/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.พัตรเพ็ญ  เพ็ญจำรัส (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐพงศ์  ปกแก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิศรา  วัฒนนภาเกษม (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สุภารัตน์  อำนาจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.บังอร  ปินนะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายอนุกูล  จันทร์แก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางสุรัลชนา  มะโนเนือง (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.อังคณา  ชมภูมิ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับประสานงานและติดตามโครงการ (ค่าพาหนะรถยนต์ส่วนบุคคล) จำนวน 250 กิโลเมตร ๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 1000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรมอบรมเป็นช่วงระยะเวลาของฤดูกาลเพาะปลูก ทำให้นัดหมายเวลาค่อนข้างยาก
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ขอความอนุเคราะห์ผ่านผู้นำกลุ่มในการนัดหมายกิจกรรม และให้ผู้เข้าร่วมอบรมช่วยกันประชาสัมพันธ์เชิญชวนสมาชิกมาเข้าร่วมอบรม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล