19214 : โครงการ การศึกษาคุณสมบัติทางชีวภาพและองค์ประกอบทางเคมีของฮ่อมเพื่อการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
06/12/2565  ถึง  29/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  นักศึกษา/นักวิจัย/เกษตรกร/ประชาชนทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 2566 188,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. วีรนันท์  ไชยมณี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ศุกรี  อยู่สุข
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66-3 เป็นศูนย์การเรียนรู้และการบริการวิชาการแก่สังคม
เป้าประสงค์ 66-3.1 การเป็นสถาบันที่ประชาชนพึ่งพาได้และมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนาความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตของชุมชน
ตัวชี้วัด 66-3.1.8 จำนวนโครงการสนองงานในพระราชดำริ/โครงการอพสธ /โครงการภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ 66-3.1.8.1 บูรณาการโครงการพระราชดำริกับพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ฮ่อม (Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze) เป็นพืชล้มลุกชนิดพื้นเมืองของไทยที่นิยมนำมาใช้เป็นสีย้อมผ้าธรรมชาติมาอย่างยาวนาน พบมากตามพื้นที่ชุ่มชื้นในป่าดงดิบทางภาคเหนือของประเทศไทยที่ช่วงความสูงระดับน้ำทะเลประมาณ 700-1,800 เมตร ในจังหวัดแพร่ถือว่าเป็นแหล่งฮ่อมธรรมชาติ และมีการเพาะปลูกฮ่อมในหลายพื้นที่ ได้แก่ ตำบลนาตอง น้ำจ้อม น้ำก๋าย นาคูหา แม่ลัว ห้วยม้า อำเภอเมือง ซึ่งจากองค์ประกอบที่สำคัญในฮ่อม คือ อินดิโกและอินดิรูบิน ที่จะทำให้เกิดเป็นสารคราม (indigo blue) นั้น ทำให้มีการนำส่วนของใบและยอดฮ่อมสดมาเป็นวัตถุดิบในการย้อมผ้าเป็นส่วนใหญ่ โดยปัจจุบันใบฮ่อมสดมีราคาขายกิโลกรัมละ 10 - 20 บาท เมื่อนำมาหมักเป็นเนื้อฮ่อมโดยทำตามขั้นตอนการทำเนื้อฮ่อม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ฮ่อมเปียก เมื่อใช้ใบฮ่อมสด 5 กิโลกรัม จะสามารถหมักได้เนื้อฮ่อมได้ปริมาณ 1 กิโลกรัม และขายเนื้อฮ่อมได้กิโลกรัมละ 200 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าต้องใช้ใบฮ่อมในปริมาณที่มากเพื่อให้ได้เนื้อสีมาย้อมผ้า อีกทั้งปัจจุบันต้นฮ่อมที่นำมาใช้ย้อมสีที่มีในธรรมชาติ และที่มีการเพาะปลูกก็มีปริมาณน้อยลงด้วย อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากการนำมาเป็นวัตถุดิบในการย้อมสีหม้อฮ่อมแล้ว ได้มีการรายงานของพืชที่อยู่ในกลุ่ม Strobilanthes จากต่างประเทศว่าใบของพืชกลุ่มนี้มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้ มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีสารสำคัญที่ช่วยยับยั้งอาการภูมิแพ้และเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเลือดฝอย ช่วยขับสารพิษในร่างกาย และลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย และพืชที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้มีสารสำคัญอยู่หลายชนิด เช่น สารอินดิรูบิน (Indirubin) อินดิโก (Indigo) อินดิกอยด์ (Indigoid) และแอลคาลอยด์ (Alkaloids) เป็นต้น ที่ส่งผลให้พืชตระกูลฮ่อมมีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย ทั้งนี้คุณสมบัติทางชีวภาพและปริมาณสารสำคัญที่อยู่ในฮ่อมนั้นจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของฮ่อม พื้นที่ปลูก และปัจจัยทางสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ดังนั้นจึงเป็นแนวคิดของโครงการวิจัยนี้ที่ต้องการศึกษาคุณสมบัติทางชีวภาพ และองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญของฮ่อมในจังหวัดแพร่ เพื่อเป็นข้อมูลในการนำฮ่อมไปประยุกต์ใช้ในงานด้านอื่น ๆ เช่น การประยุกต์ใช้ในเครื่องสำอางหรือทางการแพทย์เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของฮ่อมในจังหวัดแพร่ได้ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความตระหนักและให้ประชาชนในจังหวัดแพร่เล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ของฮ่อมมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์พืชท้องถิ่นและการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2. เพื่อทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคของสารสกัดฮ่อมที่เก็บมาจากพื้นที่ต่าง ๆ ในจังหวัดแพร่
3. เพื่อวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณขององค์ประกอบทางเคมีในสารสกัดฮ่อม
4. เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติทางชีวภาพและปริมาณสารสำคัญของผงฮ่อมเพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการ การศึกษาคุณสมบัติทางชีวภาพและองค์ประกอบทางเคมีของฮ่อมเพื่อการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : จำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลงาน 1
KPI 3 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
7500 67750 40000 72750 บาท 188000
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการ การศึกษาคุณสมบัติทางชีวภาพและองค์ประกอบทางเคมีของฮ่อมเพื่อการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
ชื่อกิจกรรม :
การศึกษาคุณสมบัติทางชีวภาพและองค์ประกอบทางเคมีของฮ่อมเพื่อการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 06/12/2565 - 29/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์  ไชยมณี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาพร  อายุมั่น (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ธีราพัฒน์  จักรเงิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดฮ่อม จำนวน 10 ตัวอย่าง ๆ ละ 2,000 บาทเป็นเงิน 20,000 บาท
2. ค่าจ้างเหมาเก็บฮ่อมในพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัดแพร่ จำนวน 5 ตัวอย่าง ๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
3. ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญในสารสกัดห้อม จำนวน 10 ตัวอย่าง ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 25,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 52,500.00 บาท 0.00 บาท 52,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ เป็นเงิน 10,000 บาท
2. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ เป็นเงิน 5,000 บาท
3. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น จานอาหารเลี้ยงเชื้อ เชื้อจุลินทรีย์ทดสอบ อาหารเลี้ยงเชื้อ เป็นเงิน 110,500 บาท
4. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น กระดาษทิชชู ตะกร้า ถุงพลาสติก เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
67,750.00 บาท 67,750.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 135,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 188000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล