19186 : การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเหง้าของกล้วยไม้นกคุ้มไฟในสภาพปลอดเชื้อ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.พิชณิชา นิปุณะ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 30/11/2565 14:14:07
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2565  ถึง  30/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  0  คน
รายละเอียด  ไม่ระบุ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2566 188,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปวีณา  ภูมิสุทธาผล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภรัตน์  นาคสิทธิพันธุ์
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.21 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.7 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 4. การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพานิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ 4.1 สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 1 1. ร้อยละผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเชิงบูรณาการ และผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากการที่ทางโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์กล้วยไม้ไทย จึงมีการสำรวจและจัดทำข้อมูลพื้นฐานกล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้พระราชทาน ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ตรวจสอบสถานภาพข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ของกล้วยไม้ พบว่า กล้วยไม้ไทยพันธุ์แท้หลายชนิดที่อยู่ในสถานะหายาก พบเฉพาะถิ่น และใกล้สูญพันธุ์ โดยที่กล้วยไม้หายากบางชนิดเป็นพืชสมุนไพรที่สร้างคุณประโยชน์ทางการแพทย์ ซึ่งกล้วยไม้สมุนไพรที่สนใจศึกษา คือ กล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟ หรือนกคุ้มไฟ (Anoectochilus burmanicus) เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่น พบในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นกล้วยไม้ดินหายากที่จัดอยู่ในกลุ่มกล้วยไม้อัญมณี (jewel orchids) ซึ่งมีใบสวยงาม เป็นกล้วยไม้ดิน 1 ใน 6 ชนิด ที่พบในประเทศไทย ปัจจุบันนกคุ้มไฟในสภาพธรรมชาติของประเทศไทยมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการบุกรุกป่าเพื่อทำพื้นที่การเกษตร สภาพป่าที่เปลี่ยนแปลงทำให้ปริมาณกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง และเมื่อพิจารณาถึงความต้องการใช้พืชสมุนไพรที่มีศักยภาพในปัจจุบันที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี ส่งผลให้มีการเก็บพืชสมุนไพรจากป่าในปริมาณเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงส่งผลกระทบต่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในแหล่งธรรมชาติและเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ เป็นที่ทราบกันดีว่าการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นเทคโนโลยีที่สามารถช่วยเพิ่มการผลิตต้นพันธุ์พืชให้เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งช่วยลดปัญหาการลักลอบนำพืชออกมาจากแหล่งธรรมชาติ ดังนั้นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชจึงเป็นแนวทางที่สำคัญอีกแนวทางหนึ่งสำหรับการขยายพันธุ์กล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟให้ได้ปริมาณมาก เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ โดยมีแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจในการขยายพันธุ์นกคุ้มไฟด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ นั่นก็คือ การกระตุ้นให้เกิดการสร้างเหง้า (rhizome) ซึ่งเหง้าเป็นลำต้นสะสมอาหารหรือหัวประเภทหนึ่ง จากการเหง้ามีอาหารสะสมอยู่ทำให้เป็นแหล่งต้นพันธุ์ที่แข็งแรง จึงส่งผลต่อการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตของพืชเมื่อนำไปออกปลูก นอกจากนี้เหง้ายังเป็นแหล่งของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญของของพืชสมุนไพรหลายชนิด มีรายงานวิจัยในกล้วยไม้กลุ่มเดียวกับนกคุ้มไฟ เช่น ว่านไหมนา (Anoectochilus roxburghii) เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเหง้าเพื่อใช้เป็นแหล่งเนื้อเยื่อสำหรับการผลิตสารสำคัญ ในการกระตุ้นให้พืชสร้างลำต้นสะสมอาหารในสภาพปลอดเชื้อมีการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ เช่น สารควบคุมการเจริญเติบโต สารชะลอการเจริญเติบโต น้ำตาล สภาวะแวดล้อมของการเพาะเลี้ยง และสภาวะเครียดทางกายภาพ เป็นต้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวของกับการกระตุ้นการสร้างเหง้าของนกคุ้มไฟในสภาพปลอดเชื้อ โดยมีปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ความเข้มข้นของน้ำตาล สภาพแสง และสภาวะเครียดทางกายภาพ ซึ่งผลการศึกษาที่ได้จะทำให้ทราบแนวทางในการพัฒนาวิธีการผลิตเหง้านกคุ้มไฟเพื่อเป็นต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพ และเป็นแหล่งเนื้อเยื่อเพื่อการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
7.1 เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
7.2 เพื่อศึกษาผลของปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ระดับความเข้มข้นน้ำตาลซูโครส สภาพแสง และสภาวะเครียดทางกายภาพระดับปานกลาง ต่อการสร้างเหง้าของนกคุ้มไฟในสภาพปลอดเชื้อ
7.3 เพื่อศึกษาการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตของเหง้าที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเมื่อนำไปย้ายปลูก
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลการดำเนินการ การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเหง้าของกล้วยไม้นกคุ้มไฟในสภาพปลอดเชื้อ
KPI 1 : จำนวนรายวิชาที่ประยุกต์ใช้โครงการฯ ในการเรียนการสอน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 รายวิชา 1
KPI 2 : องค์ความรู้เกี่ยวกับสภาวะที่เหมาะสมในการกระตุ้นการสร้างเหง้านกคุ้มไฟในสภาพปลอดเชื้อ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลการดำเนินการ การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเหง้าของกล้วยไม้นกคุ้มไฟในสภาพปลอดเชื้อ
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเหง้าของกล้วยไม้นกคุ้มไฟในสภาพปลอดเชื้อ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา  ภูมิสุทธาผล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นางภานรินทร์  ปรีชาวัฒนากร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน ป.โท (1 คน x 120 วัน x 240 บาท/วัน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
28,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 28,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 159,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 159,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 188000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล