19185 : โครงการการใช้เชื้อจุลินทรีย์เพื่อเกษตรอินทรีย์ตามแนวพระราชดำริ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.พิชณิชา นิปุณะ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2565  ถึง  30/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกร / วิสาหกิจชุมชน /เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะวิทยาศาสตร์ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณโครงการบริการวิชาการ ประจำปี 2566 2566 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิราภรณ์  ชื่นบาล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ดร. ณิชมน  ธรรมรักษ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐปน  ชื่นบาล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะวิทยาศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.3 พัฒนาองค์ความรู้และผลักกดันสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 4. การถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศก่อเกิดการบริการวิชาการเชิงพานิชย์ และเชิงสาธารณะ
เป้าประสงค์ 4.1 สร้างกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านบริการวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรม
ตัวชี้วัด 1 1. ร้อยละผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์
กลยุทธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเชิงบูรณาการ และผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันกิจกรรมภาคการเกษตรโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนนั้น ทัศนคติที่เปลี่ยนไปจากอดีตที่ทำการเกษตรเชิงเดี่ยวมุ่งสู่ภาคการผลิตเพื่อป้อนตลาดอุตสาหกรรม ที่มีความแน่นอนเรื่องการตลาด แต่ปัญหาที่เกิดตามมาคือความไม่แน่นอนกับราคาที่มีมูลค่าเปลี่ยนแปลงตามปริมาณและความต้องการของตลาดอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรบางส่วนที่ประสบความล้มเหลวจึงเลิกทำการเกษตรเชิงเดี่ยวและหันกลับมาทำการเกษตรอย่างพอเพียง โดยอาศัยหลักทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลฯ พระเจ้าอยู่หัวในรัชการลที่ 9 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมา เพียงเพื่อให้ดำรงอยู่ในวิถีเกษตรกรรมการพึ่งตนเองและกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน โดยไม่ยอมให้ถูกชักจูงไปตามกระแสเกษตรเชิงเดี่ยวแผนใหม่หรือการเกษตรแบบมุ่งหวังผลกำไรมากนัก แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการส่งเสริมชุมชนหรือการพัฒนาชนบทที่สำคัญๆ คือ การที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการพึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลัก ในการพัฒนาทั้งด้านอาชีพและส่งเสริมการเกษตร ให้เกษตรกรสามารดำรงชีพอยู่ได้อย่างมั่นคงเป็นปึกแผ่นนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการแนะนำสาธิตให้ประชาชนดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาท เป็นไปตามหลักการพัฒนาสังคมชุมชนอย่างแท้จริง สอดคล้องกับการพัฒนาการเกษตรและเกษตรยั่งยืนในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) และมุ่งเน้นให้เกิดความมั่นคง ยั่งยืน เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และเผยแพร่ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) โดยให้ความสำคัญกับระบบเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการใช้วัสดุเหลือใช้ และมีการกำหนดเป้าหมายพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารอย่างต่อเนื่อง โดยลดพื้นที่ทำการเกษตรและลดต้นทุนการผลิตแต่ให้เน้นการเพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิต โดยอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรกลับมาใช้ประโยชน์ซ้ำในการปรับปรุงดินและการลดสารพิษตกค้างที่เกิดจากการใช้ของเกษตรกรมาอย่างยาวนาน ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูสภาพดินและระบบทรัพยากรธรรมชาติได้อีกทางหนึ่ง รวมทั้งเอื้ออำนวยให้เกษตรกร และชุมชนเกิดการพัฒนาได้อย่างอิสระ เกษตรยั่งยืนจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะสามารถช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้จริง การไม่ใช้สารเคมีในการผลิตทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในการการเกษตร เทคนิคการผลิตปุ๋ยหมักระยะสั้นและเป็นปุ๋ยหมักที่มีหัวเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ต่อโรคพืช ซึ่งได้ผ่านการวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีองค์ความรู้ในการนำมาถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน เกษตรกร นำมาประยุกต์ร่วมกับการนำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำการเกษตรแบบยั่งยืนนั้นก็จะช่วยยกระดับมาตรฐานการผลิตทางการเกษตรสู่ระบบเกษตรที่ปลอดภัย (GAP) มุ่งสู่ระบบการผลิตแบบอินทรีย์ในอนาคต ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพของชีวิตเกษตรกร ให้ดีขึ้นได้ อีกทั้งเราควรจะปลูกฝังให้กับรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างต่อเนื่องด้วยจึงจะเรียกได้ว่ามีความ “ยั่งยืน” ในการทำการเกษตรได้อย่างแท้จริง ในปีงบประมาณ 2560 – 2564 คณะผู้ดำเนินงานได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตปุ๋ยหมักระยะสั้นด้วยการใช้จุลินทรีย์เร่งการย่อยสลาย ด้วยรูปแบบ การจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมในพื้นที่เกษตรกรรมของจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน พบว่า สภาพการทำการเกษตรส่วนใหญ่ยังพึ่งพาอาศัยสารเคมีทางการเกษตรและเกษตรกรยังทำระบบเกษตรเชิงเดี่ยว เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตและการใช้ประโยชน์ สภาพปัญหาอย่างหนึ่งที่ไม่ผลิตปุ๋ยหมักใช้เอง เนื่องจาก ขาดแรงงานในการผลิตปุ๋ยหมัก ขาดองค์ความรู้และทิศทางการยกระดับสู่กระบวนการเกษตรปลอดภัย ขาดข้อมูลการตลาด นั้นค่อนข้างมีอุปสรรคอย่างมาก จากปัญหาดังกล่าวคณะผู้ดำเนินงานเล็งเห็นความจำเป็นในการที่จะจัดทำโครงการบูรณาการในรูปแบบของการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อนำองค์ความรู้ต่อยอดพัฒนาหลักการของการจัดการองค์ความรู้สู่ชุมชน และเป็นแนวทางการพัฒนา ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยรูปแบบการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาระบบเกษตรปลอดภัยด้วยการพึ่งพาเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อสร้างฐานความรู้ พื้นที่สาธิตในชุมชน การใช้ทรัพยากรทางการเกษตรอย่างคุ้มค่า เพื่อสร้างระบบเกษตรอย่างยั่งยืน มั่นคงและยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ซึ่งในโครงการนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงมุ่งเน้นการนำองค์ความรู้ที่จะนำไปใช้ประโยชน์เป็นองค์ความรู้ที่ได้เกิดขึ้นจากจากงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาท้องถิ่น ร่วมกับสวทช. ภาคเหนือ ซึ่งมีความพร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 2 องค์ความรู้ ได้แก่ 1. ประสิทธิภาพของเชื้อรา Trichoderma spp. ร่วมกับแบคทีเรีย Bacillus subtilis ในการช่วยเร่งการย่อยสลายเศษวัสดุอินทรีย์ 2. การผลิตปุ๋ยหมักตามหลักองค์ความรู้ด้านการพัฒนาชนบท สวทช.ภาคเหนือ ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีและสร้างฐานการเรียนรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีการใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ในระดับหมู่บ้านต้นแบบ โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยด้านการเกษตรที่เหมาะสม สู่ภาคเกษตรกรเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืน ด้วยการใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ในการผลิตปุ๋ยหมักระยะสั้น
เพื่อสร้างฐานการเรียนรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีการใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ในระดับหมู่บ้านต้นแบบ โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกร
เพื่อเพิ่มเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัย และชุมชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เกษตรกรมีความรู้เรื่องการใช้เชื้อจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร
KPI 1 : เชิงเวลา - ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 2 : - จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 3 : เชิงต้นทุน - ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 4 : เชิงคุณภาพ - ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 5 : ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (Outcome) เชิงคุณภาพ - มีการนำเอาความรู้เรื่องการใช้เชื้อจุลินทรีย์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชุมชน เพื่อใช้ลดต้นทุนการผลิต
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 ร้อยละ 20
KPI 6 : - ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 7 : - ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 8 : -จำนวนเครือข่ายชุมชนที่มีความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชุมชน 1
KPI 9 : ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (Output) เชิงปริมาณ - จำนวนฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ฐาน 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เกษตรกรมีความรู้เรื่องการใช้เชื้อจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรม 1 การติดต่อประสานงาน
1.1 สำรวจพื้นที่และจัดเตรียมข้อมูล
1.2 การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ชุมชน สำนักงานเกษตรอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิราภรณ์  ชื่นบาล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.ณิชมน  ธรรมรักษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 จัดทำฐานเรียนรู้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิราภรณ์  ชื่นบาล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน  ชื่นบาล (ผู้รับผิดชอบรอง)
ดร.ณิชมน  ธรรมรักษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รวมจำนวนเงินทั้งหมด
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 3 การฝึกอบรม
3.1 จัดเตรียมอุปกรณ์
3.2 การฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี“การใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในการเกษตร”
3.3 สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิราภรณ์  ชื่นบาล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน  ชื่นบาล (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 50 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 200 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ ขนาด A1 (594X841 มิลลิเมตร) พร้อมขาตั้ง จำนวน 3 ผืนๆ ละ 1,350 บาท เป็นเงิน 4,050 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,050.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,050.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน วันละ 2,800 บาท 1 วัน เป็นเงิน 2,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
-ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
-ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 2 คน 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 2 คนๆ ละ 200 บาท 1 วัน เป็นเงิน 400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น แฟ้ม ปากกา กระดาษ ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น เป็นเงิน 1,940 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,940.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,940.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ถังน้ำพลาสติก 100 ลิตร ปั้มเติมอากาศ ถังน้ำ สายยาง แกลลอนบรรจุหัวเชื้อ บัวลดน้ำ เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น สารเคมี อาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ เครื่องแก้ว อุปกรณ์สิ้นเปลืองในห้องปฎิบัติการ ฯลฯ
เป็นเงิน 8,730 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 8,730.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,730.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 35520.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 4 ติดตามการดำเนินงาน
4.1 ติดตามผลของการดำเนินงานของเกษตรกรในการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์
4.2 สรุปผลการดำเนินงาน และจัดทำรูปเล่ม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิราภรณ์  ชื่นบาล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ดร.ณิชมน  ธรรมรักษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาวิเคราะห์ปุ๋ย วิเคราะห์ปุ๋ยที่ได้ จำนวน 2 ตัวอย่าง ๆ ละ 5,000 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลา จำนวน 3 คน ๆ ละ 8 ชั่วโมง ๆ ละ 30 บาท จำนวน 4 วัน เป็นเงิน 2,880 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,880.00 บาท 2,880.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฎิบัติงาน จำนวน 2 คน ๆ ละ 200 บาท 4 วัน เป็นเงิน 1,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,600.00 บาท 1,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 14480.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
อาจจะมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้การลงพื้นที่มีอุปสรรค์ หรือปัญหา ทำให้การทำงานล่าช้าไม่เป็นไปตามกำหนดเวลาที่ตั้งไว้
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
อาจจะต้องมีการอบรมและติดตามผลในรูปแบบ online ในบางส่วน และต้องได้ผู้นำชุมชนที่มีความเข้มแข็ง เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนโครงการ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
โครงการนำองค์ความรู้ เรื่อง 1. ประสิทธิภาพของเชื้อรา Trichoderma sp. ร่วมกับแบคทีเรีย Bacillus subtilis ในการช่วยเร่งการย่อยสลายเศษวัสดุอินทรีย์ 2. การผลิตปุ๋ยหมักตามหลักองค์ความรู้ด้านการพัฒนาชนบท สวทช.ภาคเหนือ มาบริการวิชาการ โครงการเกิดจากการนำผลงานวิจัย เรื่อง1. การผลิตเอนไซม์ย่อยสลายลิกเซลลูโลสโดยแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับไลเคนเพื่อย่อยสลายวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ประจำปี 2561 แหล่งทุน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มาบริการวิชาการ 2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์หัวเชื้อจุลินทรีย์ในการผลิตปุ๋ยหมักเชิง
ช่วงเวลา : 03/01/2566 - 30/09/2565
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ