19173 : โครงการ "การพัฒนาพื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร สู่การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล (IFOAM) ปีที่ 5"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา จินดาซิงห์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 21/11/2565 9:46:18
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/10/2565  ถึง  30/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  1  คน
รายละเอียด  ได้รับการรับรองตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล IFOAM จำนวน 1 แปลง
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณจากแหล่งอื่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณส่วนตัวในการตรวจรับรองแปลง 2566 40,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุทธิรักษ์  ผลเจริญ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา  จินดาซิงห์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชลดรงค์  ทองสง
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.2 เป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์ของประเทศ (Organic Education Hub)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.4 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.2.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรม รวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.66 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 1.2 เป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์ของประเทศ (Organic Education Hub)
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:1.2.1 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 3. ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University Strategy)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกระบวนการผลิตอาหารจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพ สะอาด ถูกสุขอนามัย ซึ่งจะนำไปสู่ความปลอดภัยด้านอาหาร การเข้มงวดความปลอดภัยด้านอาหารได้เพิ่มความรุนแรง โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การค้าโลกได้กำหนดกฎระเบียบและมาตรการต่างๆ ภายใต้เขตการค้าเสรีเพื่อการผลิตอาหารเกษตรที่ปลอดภัยตามมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบและมาตรการตลอดเวลา ประเทศไทยจำเป็นต้องติดตาม และเตรียมความพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และปรับตัวด้านการผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพ มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในระดับสากล ให้ความสำคัญในเรื่องระบบการผลิตในแปลงปลูก โดยเน้นการทำการทำเกษตรแบบอินทรีย์ (Organic) โดยใช้สารสกัดจากพืชหรือชีวินทรีย์ต่างๆ ทดแทน และใช้สารเคมีอย่างปลอดภัยเพื่อไม่ก่อเกิดอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม การจัดระบบสินค้าที่ผ่านกระบวนการผลิตในระดับไร่นาถึงผู้บริโภคภายในประเทศ และการส่งออกอย่างมีมาตรฐาน จำเป็นต้องสร้างระบบการวิเคราะห์ ตรวจสอบผลิตผลและผลิตภัณฑ์เกษตร รวมทั้งปัจจัยการผลิตทางการเกษตรอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากลเป็นการรับรองและประกันคุณภาพ เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้สินค้าเกษตรก้าวไกลในตลาดโลกโดยไม่ถูกกีดกัน รวมทั้งการประเมินขบวนการผลิตสินค้าเกษตรมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงกำหนดแผนงานวิจัยการพัฒนากระบวนการสู่มาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารเกษตร (Food Safety) ให้ปลอดภัยจากอันตรายของผลตกค้าง ส่งผลให้ผู้บริโภคมีสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพื่อแก้ไขปัญหาสารพิษตกค้างในผัก และผลไม้ ลดความเสี่ยงภัยในการบริโภค โดยผลที่ได้จากการทำโครงการนี้ จะช่วยยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารภายในจังหวัดชุมพร อีกทั้งช่วยสร้างความเชื่อมั่นใจต่อผู้บริโภคผลผลิตเกษตรของไทยที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับข้อมูลเกี่ยวกับผลผลิตการเกษตรได้อย่างละเอียดครบถ้วนในทุกขั้นตอนพร้อมทั้งกลไกและมาตรการในการเฝ้าระวัง การควบคุมทั้งต้นทางกลางทาง และปลายทาง การดำเนินการผลิตตามระบบเกษตรอินทรีย์นั้นพบว่ายังมีน้อย โดยแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรที่เข้าไปส่งเสริมเป็นลักษณะต่างคนต่างโดยขั้นตอนการส่งเสริมเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการเกษตรและอาหาร รวมถึงการยกระดับมาตรฐานการผลิตที่เป็นรูปธรรมคือการขอรับการรับรองมาตรฐานยังไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง เป็นผลทำให้ระบบการส่งเสริมดังกล่าวไม่เป็นที่น่าเชื่อถือแก่ผู้บริโภค โดยบางกรณีอาจมีการปลอมปนสินค้าที่ไม่ใช่อินทรีย์และไม่สามารถสืบย้อนกลับได้ โครงการพัฒนายกระดับการผลิตและการแปรรูปสินค้าเกษตรของกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ โดยมีความเชื่อมโยงกับโครงการใหญ่เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการตลอดห่วงโซ่อาหาร และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนแก่กลุ่มเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตสินค้าอินทรีย์ป้อนเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคของจังหวัดชุมพร ดังนั้นหากมีการศึกษาถึงอันตราย หาทางป้องกันไว้ล่วงหน้า รวมทั้งมีการควบคุมและเฝ้าระวัง เพื่อให้แน่ใจว่ามาตรการป้องกันที่กำหนดขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภค มั่นใจได้ว่าอาหารนั้นมีความปลอดภัยทั้งสภาวะแวดล้อมการผลิตที่ดีและคุณภาพความปลอดภัยสูง ปัญหาด้านความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารของจังหวัดชุมพรเป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนชาวชุมพรเองและนักท่องเที่ยว ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐและเอกชนระดับจังหวัดได้มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาแต่พบว่าขาดการดำเนินงานเชิงบูรณาการ ทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาทำได้เพียงบางส่วนไม่ครบตลอดห่วงโซ่อาหารของจังหวัด ประกอบกับขาดงบประมาณดำเนินการอย่างต่อเนื่องจึงทำให้ปัญหาความปลอดภัยของอาหารกลับเข้าสู่สภาวะเดิม คือ การใช้สารเคมีแบบไม่สามารถควบคุมได้ หรือการละเลยการปฏิบัติแบบอินทรีย์โดยหันกลับมาใช้สารเคมีแบบขาดความรู้ความเข้าใจ เป็นผลให้สินค้าเกษตรและอาหารที่จำหน่ายในจังหวัดมีสารเคมีและสารต้องห้ามตกค้างในปริมาณสูง เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ดังนั้นจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการแก้ไขเกี่ยวกับการเพิ่มศักยภาพสินค้าอาหารและเกษตรให้เข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชนพร้อมกับเป็นการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตอาหารปลอดภัยในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร จึงต้นสร้างต้นแบบแปลง/ฟาร์มอินทรีย์ เพื่อที่จะเป็นแหล่งบริการวิชาการและองค์ความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่แก่เกษตรกรในท้องถิ่นตลอดจนผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตรที่จำหน่ายแก่ผู้บริโภคที่เป็นวัตถุดิบให้แก่ภาคอุตสาหกรรมอาหาร หรือจำหน่ายในรูปแบบอื่นๆ และรวมถึงผู้ประกอบการที่มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตด้วย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อให้แปลง/ฟาร์มในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้รับการรับรองแปลงผลิตพืชเกษตรอินทรีย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : แปลง/ฟาร์ม ได้รับการรับรองตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล IFOAM
KPI 1 : แปลง/ฟาร์ม ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล IFOAM
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แปลง 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : แปลง/ฟาร์ม ได้รับการรับรองตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล IFOAM
ชื่อกิจกรรม :
ตรวจรับรองแปลง/ฟาร์ม ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล IFOAM

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/10/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา  จินดาซิงห์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิรักษ์  ผลเจริญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าตรวจรับรองแปลง/ฟาร์ม ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล IFOAM
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท 40,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 40000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีงบประมาณจากมหาวิทยาลัยมาสนับสนนในการดำเนินการตรวจรับรอง
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ควรจัดสรรงบประมาณมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจรับรอง เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัยด้านเกษตรอินทรีย์
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล