19125 : โครงการการจัดการความรู้และการพัฒนาพื้นที่แหล่งเรียนรู้ด้านคาร์บอนเครดิต
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
น.ส.สุลาวัลย์ อาทิตย์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 8/3/2566 9:41:19
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/03/2566  ถึง  30/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  1. แกนนำและเยาวชนในพื้นที่แปลงศึกษา จำนวน 20 คน 2. สมาชิกในชุมชนพื้นที่แปลงศึกษา จำนวน 100 ครัวเรือน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2566 แผนงานพื้นฐาน แผนงานรอง แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยกรมนุษย์ ผลผลิตผลงานการให้บริการวิชาการ กิจกรรมหลัก เผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์ แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) 2566 188,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปฏิภาณ  สุทธิกุลบุตร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร. ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.3 พัฒนาองค์ความรู้และผลักกดันสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 66 AP การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 2.19 66 AP องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ 66 AP 2.3.3 พัฒนาองค์ความรู้และผลักดันสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยจะยังคงเผชิญกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของโลก ทั้งที่เป็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นและระยะยาว ที่สามารถคาดการณ์ผลกระทบได้และที่ไม่สามารถคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในมิติต่าง ๆ อย่างมีนัยสำคัญ ด้วยขนาดและลักษณะที่แตกต่างกันออกไป โดยบริบทและเงื่อนไขสภาพแวดล้อม ภายในประเทศจะเป็นตัวแปรหลักที่บ่งชี้ว่า บริบทการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกที่เกิดขึ้นจะสร้างโอกาสหรือเป็นความเสี่ยงต่อการพัฒนาประเทศ รวมถึงมีอิทธิพลต่อการกำหนดทิศทางของไทยในอนาคต สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีแนวโน้มที่จะเกิดรวดเร็วและรุนแรงขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้เดิม โดยใน พ.ศ.2550 มีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้น 1.5 ถึง 5.1 องศาเซลเซียส ภายในปี พ.ศ.2643 เมื่อเทียบกับระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรม (Preindustrial Level) แต่การคาดการณ์เมื่อ พ.ศ.2561 ระบุว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอาจเพิ่มขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส เร็วขึ้นเป็นภายใน พ.ศ.2573 – 2595 (Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) (2018). ซึ่งอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดคลื่นความร้อนในพื้นที่ส่วนใหญ่ที่มนุษย์ตั้งถิ่นฐานอยู่ และในบางพื้นที่จะมีโอกาสที่ภัยแล้งและภาวะฝนทิ้งช่วงจะเกิดถี่ขึ้น ในขณะที่หลายภูมิภาคอาจเผชิญกับความถี่ของการเกิดพายุที่บ่อยและรุนแรงขึ้น ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะสร้างความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดย OECD ได้คาดการณ์ว่า หากไม่มีการดำเนินงานที่สำคัญเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะทำให้ภายใน พ.ศ.2603 ความเสียหายอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะมีมูลค่าถึงร้อยละ 1.0-3.3 ของ GDP โลก และมูลค่าความเสียหายจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.0-10.0 ภายใน พ.ศ. 2643 (OECD (2015). โดยภาคการเกษตรจะได้รับความเสียหายมากกว่าภาคการผลิตอื่น เนื่องจากภาคการเกษตรต้องพึ่งพาสภาพอากาศและฤดูกาลตามธรรมชาติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลให้ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรลดลง หรือพืชบางชนิดอาจมีระยะเวลาการให้ผลผลิตที่เปลี่ยนแปลงไป ยิ่งไปกว่านั้นพื้นที่การเกษตรบางส่วนที่ประสบกับภัยแล้งยาวนานหรือน้ำท่วมซ้ำซาก จะไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ ส่งผลกระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้น้อย ในขณะเดียวกันสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปยังส่งผลทำให้การแพร่ระบาดของโรคตามฤดูกาล มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น รวมทั้งยังเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำในหลายพื้นที่ของโลก (สรันยา เฮงพระพรหม (2552). โลกร้อนกับโรคระบาด. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข) ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคมีผลกระทบต่อสังคม ทั้งในมิติของสุขอนามัยประชาชน ชุมชนและเศรษฐกิจครัวเรือน นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศยังส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงและปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง (ศิริรัตน์ สังขรักษ์ (2563)) เกิดการสูญเสียทรัพยากร ชายฝั่งอันเนื่องมาจากการกัดเซาะที่รุนแรง และจำนวนสัตว์ทะเลลดลงจากการที่ทะเลมีความเป็นกรดสูงขึ้น อีกทั้งพื้นที่ราบที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลจะถูกน้ำทะเลท่วม สร้างความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน ส่งผลให้ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่น้ำท่วมต้องอพยพย้ายถิ่นฐาน โดยกลุ่มคนผู้มีรายได้น้อยจะเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความสามารถในการปรับตัวต่ำ และอาจไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาใช้ชีวิตได้ดังเดิม ศิริรัตน์ สังขรักษ์ และคณะ (2563) ให้ข้อมูลว่า ในประเทศไทยสภาพภูมิประเทศของไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ประชากรจำนวนมากดำรงชีพด้วยการพึ่งพิงภาคการเกษตร รวมทั้งมีระยะทางของพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวถึง 3,100 กิโลเมตร จึงมีโอกาสสูงที่ไทยจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากกว่า หลายประเทศ โดยพบว่า ที่ผ่านมาพื้นที่ร้อยละ 23 ของประเทศได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนสภาพ ภูมิอากาศในหลากหลายรูปแบบ เช่น น้ำท่วมฉับพลัน ภาวะภัยแล้ง และการรุกล้ำของน้ำทะเล เป็นต้น ซึ่งรายงาน Global Climate Risk Index ของ Germanwatch ได้จัดอันดับให้ประเทศไทยมีมูลค่าความสูญเสีย จากภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศในช่วงปี 2542 - 2560 สูงเป็นอันดับที่ 8 จาก 181 ประเทศทั่วโลกด้วย นอกจากนี้ ทรัพยากรป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ สัดส่วนของพื้นที่ป่าไม้ในปี 2562 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงปลายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (ปี 2559) โดยเพิ่มจากร้อยละ 31.6 เป็นร้อยละ 31.7 ของพื้นที่ประเทศ และเมื่อพิจารณาแนวโน้มที่ผ่านมาในระยะยาวพบว่า ในช่วงราว 20 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ ปี 2543 สัดส่วนพื้นที่ป่าไม้ของไทยมีแนวโน้มค่อนข้างคงที่อยู่ในช่วงร้อยละ 31-33 โดยสาเหตุที่ทำให้สัดส่วน พื้นที่ป่าไม้ของประเทศค่อนข้างคงที่ในระยะหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาคส่วนต่าง ๆ มีการปลูกป่าไม้ทดแทน ได้เป็นจำนวนพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ที่สูญเสียไปในแต่ละปีจากการบุกรุกทำลายโดยมนุษย์และไฟป่า ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมาไฟป่าได้กลายมาเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ที่รุนแรงที่สุดแทนการบุกรุกทำลาย จากรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2562) พื้นที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุกจากสถิติการทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และเขตพื้นที่ป่าในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ปี 2559-2561 เฉลี่ยปีละ 94,217 ไร่ และพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกไฟไหม้ จากสถิติการดับไฟป่าของกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในช่วงปี 2559-2561 ไฟป่าได้ทำลายพื้นที่ป่าไม้เฉลี่ยถึงปีละ 124,978 ไร่ การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เนื่องจากป่าไม้เป็นแหล่งที่อยู่สำคัญของพืชและสัตว์หลากหลายชนิด นอกเหนือจากพื้นที่ชุ่มน้ำและทะเล โดยประเทศไทยถูกจัดเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงเป็นอันดับที่ 15 ของโลก (Butler, R. A. (2019). ซึ่งคาดว่ามีชนิดพันธุ์ของสัตว์รวมกันมากกว่า 84,000 ชนิด แบ่งเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังมากกว่า 4,000 ชนิด และสัตว์ไม่มีกระดูก สันหลังมากกว่า 80,000 ชนิด (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2561). เนื่องด้วยสถานการณ์ความรุนแรงของสถานการณ์ไฟป่าที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอาจส่งผลให้อุณหภูมิและความแห้งแล้งเพิ่มสูงขึ้น จึงมีความเป็นไปได้ ที่ปัญหาไฟป่าซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อพื้นที่ป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ความแห้งแล้งและอุณหภูมิที่สูงขึ้นอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะ ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพในมิติอื่นร่วมด้วย โดยจะส่งผลให้อัตราการขยายพันธุ์ของทั้งพืช และสัตว์ป่ามีแนวโน้มที่จะลดลงและยังมีโอกาสเกิดโรคเพิ่มขึ้น (Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO) (2012). ท่ามกลางโอกาสและความเสี่ยงที่ประเทศจะต้องเผชิญ เป็นผลเนื่องมาจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลกที่เกิดขึ้นและบริบทภายในประเทศที่ปรับเปลี่ยนไปเป็นฉับพลันรวดเร็วนั้น การวางกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป ให้สามารถกำหนดแนวทางที่ประเทศจะมุ่งไปเพื่อบรรลุผลในระยะ 5 ปี ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนประเทศไปสู่การบรรลุเป้าหมายระยะยาวภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้นั้น จำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการและรับมือกับความเสี่ยง ตลอดจนสรรค์สร้างประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นได้เป็นเหมาะสมและทันท่วงที ซึ่งความเชื่อมโยงระหว่างแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลก (Megatrends) ตลอดจนผลกระทบและความปกติใหม่ (New Normal) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เข้ามากระทบต่อสถานะของการพัฒนาประเทศ การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ และสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาประเทศ การพลิกโฉมประเทศไทย (Thailand’s Transformation) ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 จึงมีเป้าหมายหลักเพื่อพลิกโฉมประเทศไปสู่ “เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน” หรือ “Hi-Value and Sustainable Thailand” โดยใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการยกระดับ ศักยภาพและพัฒนาประเทศในทุกมิติ เพื่อสนับสนุน เสริมสร้างการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและขีด ความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมเป็นทั่วถึง ตลอดจนเพื่อให้ เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปในทิศทางที่ประเทศ สามารถปรับตัวและรองรับกับการเปลี่ยนแปลงได้เป็นเท่าทัน ตลอดจนสามารถอยู่รอดและเติบโตได้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เป็นพื้นที่แปลงถาวรด้านคาร์บอนเครดิต
เพื่อขยายผลองค์ความรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้ และบริการทางวิชาการให้กับสมาชิกและเครือข่าย อพ.สธ.
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การจัดการความรู้และการพัฒนาพื้นที่แหล่งเรียนรู้ด้านคาร์บอนเครดิต
KPI 1 : สื่อที่เหมาะสมในการเผยแพร่องค์ความรู้และข้อมูลข่าวสาร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 ประเภท 3
KPI 2 : การมีส่วนร่วมของชุมชนในการเข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : โครงการสามารถดำเนินการตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : แปลงเก็บข้อมูลคาร์บอนเครดิตถาวร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 แปลง 2
KPI 5 : แกนนำและเยาวชน เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านคาร์บอนเครดิต
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 6 : ความพึงพอใจในการเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ข้อมูลและองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและคาร์บอนเดรดิต
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ชุดความรู้ 2
KPI 8 : ร้อยละของค่าใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามแผน
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การจัดการความรู้และการพัฒนาพื้นที่แหล่งเรียนรู้ด้านคาร์บอนเครดิต
ชื่อกิจกรรม :
การศึกษาและเก็บข้อมูลแปลงถาวรคาร์บอนเครดิต

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ  สุทธิกุลบุตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างผู้ช่วยนักวิจัย วุฒิปริญญาตรี (1คน*15,000บาท*4เดือน)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 60,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาการสำรวจและเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ (1คน*5,000บาท*2แปลงพื้นที่)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ดิน (1คน*7,000บาท*2แปลงพื้นที่)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 14,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาการนำเข้าฐานข้อมูลและแผนที่ (1คน*7,000บาท*2แปลงพื้นที่)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 14,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุสำนักงาน (เช่น กระดาษ ดินสอ ปากกา ปากกาเคมี (แดง ดำ น้ำเงิน เขียว) )
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,640.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,640.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ (เช่น น้ำหมึก แผ่นบันทึกข้อมูล)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,360.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,360.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าถ่ายเอกสารแบบบันทึกข้อมูล (200บาท*2พื้นที่)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 120400.00
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านคาร์บอนเครดิต (พื้นที่ละ 2 วัน)

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ  สุทธิกุลบุตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหาร (10คน*2มื้อ*150บาท*2 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (10คน*4มื้อ*35บาท*2ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท 0.00 บาท 2,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (2คน*6ชั่วโมง*1,200บาท*2 ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 28,800.00 บาท 0.00 บาท 28,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 37600.00
ชื่อกิจกรรม :
การผลิตสื่อ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/03/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิภาณ  สุทธิกุลบุตร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จัดทำแผนที่และโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ (15ชิ้น*1โครงการ*400บาท*1ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จัดทำวีดีทัศน์ (1โครงการ*10,000*1ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
จัดทำหนังสือ (70 เล่ม*1โครงการ*200บาท*1ครั้ง)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 14,000.00 บาท 0.00 บาท 14,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 30000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล