19114 : โครงการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตกล้าผักคุณภาพสูงจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและแปลงสาธิตการสร้างตู้เย็นธรรมชาติภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้สู่ชุมชนด้วยเกษตรอินทรีย์แบบยั่งยืน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
อาจารย์ ดร.แสงเดือน อินชนบท (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 25/1/2566 10:49:10
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
10/12/2565  ถึง  30/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  520  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา บุคคลากร เจ้าหน้าที่หน่วยงาน ต่างๆ เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป โดยมีกลุ่มผู้เข้าอบรม จำนวน 20 คน กลุ่มผู้เยี่ยมชมแปลงสาธิต จำนวน 500 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2566 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. แสงเดือน  อินชนบท
อาจารย์ ดร. สุเทพ  วัชรเวชศฤงคาร
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 65-69 MJU 1.1.2 ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 66 AP การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 66 AP ผลักดัน และส่งเสริมให้ฐานเรียนรู้เกษตรอินทรี จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรู้ จากการผลักดัน และส่งเสริมให้ฐานเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ภายใต้หน่วยงาน มีการพัฒนาสร้างความประทับใจ จากผู้เยี่ยมชมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
กลยุทธ์ 66 AP 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ในช่วงระยะสองปีที่ผ่านมา นับว่ามีผลกระทบต่อด้านอาหารการกินของประชากรทั่วโลก เนื่องจากประชาชนกลัวการติดเชื้อไวรัสโคโลนาทำให้จากที่เคยออกไปซื้อหาวัตถุดิบเพื่อนำมาประกอบอาหารโดยเฉพาะพืชผัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนในครอบครัวจำเป็นต้องรับประทาน จึงพบว่าหลายครอบครัวหันมาปลูกผักเพื่อไว้สำหรับรับประทานเอง และต่อมาอาจพบว่าหลายครอบครัวได้ยึดอาชีพการปลูกผักเป็นอาชีพหลักสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากพืชผักเป็นหนึ่งในห้าหมู่ของหมู่อาหารที่มนุษย์ต้องรับประทานเป็นประจำขาดไม่ได้ หากไม่ได้รับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการขาดสารอาหารบางอย่างขึ้นได้ต่อร่างกายของคนเรา โดยทั่วไปแล้วพืชผักเป็นพืชอาหารที่คนไทยใช้รับประทานกันเป็นประจำ ไม่ว่าจะใช้รับประทานเป็นผักสด ใช้จิ้มกับน้ำพริกชนิดต่างๆ หรือใช้ประกอบอาหารในเมนูต่างๆ เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง โดยปัจจุบันการเพาะปลูกพืชผัก มักมีการเตรียมกล้าก่อนการนำไปปลูกในแปลง ซึ่งการให้ได้มาซึ่งต้นกล้านั้นมักมีการใช้วัสดุเพาะสำเร็จรูปจากร้านค้าที่นำมาจำหน่าย ซึ่งวัสดุเพาะสำเร็จรูปส่วนใหญ่มีราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังอาจมีการปนเปื้อนสารเคมีสังเคราะห์ต่างๆได้เช่นบางบริษัทอาจผสมสารป้องกันศัตรูพืช เช่นสารป้องกันโรคและแมลง ซึ่งหากมีการผลิตภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์นั้นจะไม่สามารถนำไปใช้ได้ นอกจากนี้ยังเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง และอาจส่งผลกระทบต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคได้ ปัจจุบันวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในรอบๆพื้นที่ปลูกพืชของเกษตรกรมีมากมายหลายชนิด ซึ่งสามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตกล้าผักอย่างมีคุณภาพสูงได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถนำมาเป็นส่วนผสมสำหรับใช้เป็นวัสดุปลูกในแปลงปลูกได้อย่างดี ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถลดรายจ่ายจากการซื้อวัสดุเพาะกล้าจากร้านค้าได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังปลอดภัยเนื่องจากไม่มีสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องกับขบวนการผลิตกล้าผัก ทำให้ได้กล้าผักที่มีคุณภาพสูง เมื่อนำไปปลูกจึงทำให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง ประกอบกับปัจจุบันมีการรณรงค์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร เปลี่ยนแปลงแนวคิดวิถีการผลิตให้ปลอดภัย โดยการหันมาปลูกพืชผักในแนวทางของเกษตรอินทรีย์และการใช้ปัจจัยการผลิต เช่นสารชีวภัณฑ์ต่างๆที่ผลิตได้เองในพื้นที่เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตร จากเหตุผลดังกล่าวจึงควรมีหน่วยสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการผลิตผักสดในแนวทางของเกษตรอินทรีย์และการทำปัจจัยการผลิตโดยไม่พึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนการผลิต สามารถนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรกลับมาใช้ในพื้นที่ เช่นการนำมาทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ น้ำหมักอินทรีย์ ฮอร์โมนต่างๆ ซึ่งนอกจากจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคได้มีสุขภาพที่ดี ได้รับประทานผักสดที่ปลอดภัยจากสารเคมียังช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว และมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของชุมชนให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป ซึ่งสอดคล้องกับการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริที่แท้จริงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาประยุกต์ใช้และยังสอดคล้องกับแนวนโยบายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และของรัฐบาลในปัจจุบันในด้านการสนับสนุนให้เปลี่ยนเป็นการผลิตแบบระบบเกษตรอินทรีย์อย่างมีคุณภาพ โดยโครงการนี้ได้นำเอาองค์ความรู้ด้านการผลิตพืชผักและการทำปัจจัยการผลิตภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์ร่วมถ่ายทอดสู่กลุ่มเกษตรกร ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนองงานโครงการพระราชดำริ ด้านโครงการการพัฒนาทางการเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับ SCGs : เป้าหมายที่ 1: ขจัดความยากจน ; เป้าหมายที่ 2: ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการสำหรับทุกคนในทุกวัย ; เป้าหมายที่ 3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และ เป้าหมายที่ 12: แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาประยุกต์ใช้ สำหรับสร้างแหล่งอาหารที่ปลอดภัยและสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน
เพื่อพัฒนาแหล่งบริการทางวิชาการด้านการผลิตกล้าผักคุณภาพสูงด้วยระบบเกษตรอินทรีย์
เพื่อเป็นแหล่งผลิตตัวอย่างด้านอาหารปลอดภัยด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และจังหวัดเชียงใหม่
เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตกล้าผักคุณภาพสูงจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จัดทำแปลงสาธิตการสร้างตู้เย็นธรรมชาติภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : เทคโนโลยีการผลิตกล้าผักคุณภาพสูงจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและแปลงสาธิต
KPI 1 : ร้อยละของผู้รับบริการนำไปต่อยอดเป็นอาชีพ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อย 80
KPI 2 : จำนวนผู้เยี่ยมชมแปลงสาธิตการผลิตผัก
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
500 คน 500
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 4 : แหล่งบริการวิชาการด้านการผลิตกล้าผักคุณภาพสูงด้วยระบบเกษตรอินทรีย์/แหล่งผลิตตัวอย่างอาหารปลอดภัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แหล่ง 1
KPI 5 : จำนวนแปลงสาธิตการสร้างตู้เย็นธรรมชาติ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 แปลง 100
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 7 : องค์ความรู้ด้านการผลิตกล้าผักจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 8 : ผู้เข้าร่วมอบรมนำไปสร้างอาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 9 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 10 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 11 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม/ศึกษาดูงาน
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 12 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 13 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อย 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : เทคโนโลยีการผลิตกล้าผักคุณภาพสูงจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและแปลงสาธิต
ชื่อกิจกรรม :
การทำแปลงสาธิตการสร้างตู้เย็นธรรมชาติภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/12/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.แสงเดือน  อินชนบท (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.สุเทพ  วัชรเวชศฤงคาร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุเกษตร เช่น เมล็ดพันธุ์ผัก ปุ๋ยหมัก แกลบ แกลบเผา ขุยมะพร้าว พลาสติกคลุมแปลง จอบ คราด สายยาง ปุ๋ยคอก ถาดเพาะกล้า ดินดำ ตาข่ายพลางแสง สารชีวภัณฑ์ พลาสติกมุงหลังคา เป็นต้น เป็นเงิน 46,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 46,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 46,200.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 46200.00
ชื่อกิจกรรม :
ถ่ายทอด เทคนิคการผลิตกล้าผักด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 10/12/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.แสงเดือน  อินชนบท (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.สุเทพ  วัชรเวชศฤงคาร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 1,400 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 คน ๆ ละ 120 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,800.00 บาท 0.00 บาท 3,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 3800.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การผลิตผัก
ช่วงเวลา : 10/12/2565 - 30/09/2566
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล