19113 : โครงการศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
รองศาสตราจารย์ ดร.ระวี คเณชาบริรักษ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 30/3/2566 11:07:37
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2565  ถึง  30/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  80  คน
รายละเอียด  1. เกษตรกรและประชาชนทั่วไป 2. นักเรียน นักศึกษา ภายในและนอกมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 3. นักวิจัย นักวิชาการ และคณาจารย์ ภายในและนอกมหาวิทยาลัยแม่โจ้
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 256ุ แผนงานพื้นฐาน แผนงานรอง: แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
ผลผลิต: การให้บริการวิชาการ กิจกรรมหลักเผยแพร่ความรู้งานบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์ แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป โครงการศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
2566 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ระวี  คเณชาบริรักษ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ผานิตย์  นาขยัน
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ และพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศ แก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 66 AP การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 2.19 66 AP องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ 66 AP 2.3.1 กำหนดยุทธศาสตร์การบริการวิชาการและพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิภาค นโยบายรัฐบาล ตอบสนองการพัฒนาประเทศแก้ปัญหาพื้นที่
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี (Biological control of Insect Pests) เป็นศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยอาศัยหลักการใช้สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าศัตรูธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ แมลงตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อโรค ควบคุมประชากรของศัตรูพืชให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อความเสียหายทางเศรษฐกิจ และนับว่าเป็นวิธีการบริหารจัดการแมลงศัตรูพืชทางเลือกอย่างหนึ่งที่ ช่วยลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดแมลงในการผลิตพืช โดยที่มีรายงานอ้างอิงว่าเป็นวิธีการที่สามารถใช้ทดแทนการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ในหลายกรณี อีกทั้งมีต้นทุนที่ถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารเคมีในระยะยาว ทั้งในทางตรงด้านการผลิต และทางอ้อม เช่น ต้นทุนด้านการดูแลสุขภาพของประชากร และด้านปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นกลยุทธ์หนึ่งของการควบคุมศัตรูพืช (Pest control) ซึ่งโดยทั่วไปและเป็นส่วนใหญ่ มีการนำมาใช้เป็นวิธีการหนึ่งในการควบคุมแมลงศัตรูพืช ไรศัตรูพืช สัตว์ศัตรูพืช และ วัชพืชชนิดต่าง ๆ ที่มีความสำคัญทางการเกษตร และ สาธารณสุข และในปัจจุบัน ควรจะมีการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์หลักของการควบคุมศัตรูพืชในบริบทของ “ระบบการบริหารศัตรูพืชแบบบูรณภาพ” (Integrated pest management หรือ IPM system) ดังนั้นการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี จึงเป็นกลไกหนึ่งสำหรับการขับเคลื่อนการเกษตรยั่งยืน (sustainable agriculture) การเกษตรอินทรีย์ (organic farming) และ แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (sufficiency economy) ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์และสมุนไพรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และนโยบายของรัฐบาลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งการการนำแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวฯ เรื่องการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ ซึ่งแนวคิดการพัฒนาเพื่อพึ่งพาตนเองของเกษตรกร งได้มีแนวทางการพัฒนาด้านการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ กล่าวคือการ ส่งเสริมและเร่งขยายผลแนวคิดการทำการเกษตรตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง โดย ส่งเสริมขยายผลและพัฒนาการผลิตในระบบ เกษตรกรรมยั่งยืน ทั้งในรูปแบบเกษตรทฤษฏีใหม่ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ เกษตร ธรรมชาติ รวมถึงการทำเกษตรกรรมตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี โดยสนับสนุนบทบาทเครือข่าย ปราชญ์ชาวบ้านในการขับเคลื่อน และการปรับกลไกและโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรที่จำเป็นในการทำเกษตรกรรมยั่งยืน อาทิ การพัฒนาระบบข้อมูลเกษตรกรรมยั่งยืน การสร้างองค์ความรู้ ควบคุมการใช้สารเคมีการเกษตรที่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ส่งเสริมการใช้ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพทดแทนสารเคมีการเกษตรให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการใช้สารเคมีการเกษตรอย่าง เหมาะสมตามหลักวิชาการ เพื่อลดผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการได้รับการสนับสนุนโครงการ พัฒนา “ศูนย์เรียนรู้ด้านเทคโนโลยีด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี (Biological Control Technology Learning Center – MJU- BCTLC)” ภายใต้โครงการอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 -2561 ซึ่งได้มีการจัดตั้งศูนย์ฯ ณ บริเวณพื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีการดำเนินกิจกรรมด้านการบริการวิชาการ เช่นการฝึกอบรม การเปิดให้ศึกษาดูงาน และให้บริการเชื้อพันธุ์ศัตรูธรรมชาติ รวมทั้งการบูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย ตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยแม่โจ้อย่างเป็นรูปธรรม โดยศูนย์ฯ ได้ตั้งพันธกิจหลักของศูนย์ฯ ได้แก่ (1) การผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ด้านการดำเนินงาน ด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีสู่ตลาดแรงงานด้านการบริหารจัดการศัตรูพืช ครอบคลุมทั้ง แมลงศัตรูพืช โรคพืช และวัชพืช (2) การสร้างองค์ความรู้ และผลงานทางวิชาการในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ทั้งด้านองค์ ความรู้และเชื้อพันธุ์ศัตรูธรรมชาติที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ในปัจจุบันในด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี และ (3) การสร้างเครือข่ายด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ทั้งระดับท้องถิ่น ประเทศ และนานาประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขยายของอุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบและมีความยั่งยืน และในส่วนผลการดำเนินงานที่แล้วเสร็จเช่น การจัดทำฐานข้อมูลด้านการควบคุมโดยชีววิธี โดยมีเป้าหมายการสร้างเครือข่ายภาครัฐ เกษตรกร และเอกชน จำนวนรวม 300- 600 ราย/ปี การจัดฝึกอบรมและร่วมกิจกรรมการฝึกอบรมด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี อย่างน้อยปีงบประมาณละ 2 ครั้ง การบูรณาการการเรียนการสอนในวิชาเรียนที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 4 หลักสูตรในคณะผลิตกรรมการเกษตร และการผลิตและเผยแพร่องค์ความรู้ เช่น การเพาะเลี้ยงมวนตัวห้ำ ด้วงเต่าตัวห้ำ การผลิตเชื้อจุลินทรีย์ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช การใช้เทคโนโลยีด้านการควบคุมโดยชีววิธีในการผลิตพืชอินทรีย์ทุกชนิด และการให้บริการเชื้อพันธุ์ศัตรูธรรมชาติแก่เกษตรกรและผู้สนใจหลากหลายชนิด ในการนี้เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของโครงการฯ ด้านการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งจะนำประโยชน์สู่สังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในชุมชนรอบมหาวิทยาลัย ในอันที่จะเกิดการขยายผลไปสู่การปฏิบัติที่สัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์และมีความยั่งยืน โดยในระหว่างปี พ.ศ. 2559-2564 ได้มีการให้บริการทางวิชาการแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แล้วอย่างต่อเนื่องกว่า 1, 500 ราย และ ในปีงบประมาณ 2566 นี้มีเป้าหมายหลัก คือ การเป็นที่พึ่งทางวิชาการด้านการควบคุมโดยชีววิธีแก่เกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งกิจกรรมหลักที่คาดว่าจะดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้แก่ การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการควบคุมโดยชีววิธีควบคู่ไปกับการรักษาศักยภาพการใช้บริการวิชาการด้านการเปิดให้เข้าศึกษาดูงานในพื้นที่สาธิตที่ได้รับการพัฒนาแล้ว ในพื้นที่โดยประมาณ 5 ไร่ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยสาธิตการเพาะเลี้ยงแมลงศัตรูธรรมชาติ หน่วยสาธิตการใช้ประโยชน์ศัตรูธรรมชาติในการควบคุมแมลงศัตรูพืช หน่วยสาธิตการควบคุมวัชพืชโดยชีววิธี และหน่วยฝึกทักษะในการติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ และ/หรือการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโดยใช้ศูนย์ฯ เป็นปัจจัยหลัก อีกทั้งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านความรู้ความเชี่ยวชาญด้านบุคลากรและ/หรือบัณฑิตด้านการควบคุมโดยชีววิธี จะมีการบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนซึ่งเน้นการปฏิบัติจริงและการวิจัย ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกการขับเคลื่อน ความสอดคล้องกับโครงการพระราชดำริ การการนำแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวฯ เรื่องการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ ซึ่งแนวคิดการพัฒนาเพื่อพึ่งพาตนเองของเกษตรกร งได้มีแนวทางการพัฒนาด้านการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ กล่าวคือการ ส่งเสริมและเร่งขยายผลแนวคิดการทำการเกษตรตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง โดย ส่งเสริมขยายผลและพัฒนาการผลิตในระบบ เกษตรกรรมยั่งยืน ทั้งในรูปแบบเกษตรทฤษฏีใหม่ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ เกษตร ธรรมชาติ รวมถึงการทำเกษตรกรรมตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี โดยสนับสนุนบทบาทเครือข่าย ปราชญ์ชาวบ้านในการขับเคลื่อน และการปรับกลไกและโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรที่จำเป็นในการทำเกษตรกรรมยั่งยืน อาทิ การพัฒนาระบบข้อมูลเกษตรกรรมยั่งยืน การสร้างองค์ความรู้ ควบคุมการใช้สารเคมีการเกษตรที่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ส่งเสริมการใช้ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพทดแทนสารเคมีการเกษตรให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการใช้สารเคมีการเกษตรอย่าง เหมาะสมตามหลักวิชาการ เพื่อลดผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับการให้บริการด้านวิชาการ แก่กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญา และบัณฑิตศึกษา ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย ทั้งในและต่างประเทศ หน่วยงานบริการวิชาการอื่นๆ และเกษตรและประชาชนทั่วไป
เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตเชื้อพันธุ์ศัตรูธรรมชาติที่ผ่านการควบคุมคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บริการเครือข่ายการผลิตพืชอินทรีย์ ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ตามแนวคิดและทฤษฎีของการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านแนวคิดการพัฒนาเพื่อพึ่งพาตนเองของเกษตรกร
เพื่อเป็น แหล่งเรียนรู้เทคโนโลยี ตลอดจน แนวทางการใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เพื่อการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ในระบบการเกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ ตามแนวคิดและทฤษฎีของการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้าน การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แนวคิดการพัฒนาเพื่อพึ่งพาตนเองของเกษตรกร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1.เชื้อพันธ์ุศัตรูธรรมชาติ และชีวภัณฑ์ที่ผ่านการควบคุมคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บริการเครือข่ายการผลิตพืชอินทรีย์ 2. องค์ความรู้สำหรับการจัดการเรียนการสอนด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีในระบบเกษตรอินทรีย์ 3. แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิถี และการบริหารจัดการศัตรูพืชในระบบเกษตรอินทรีย์
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าศึกษาดูงาน/เยี่ยมชมศูนย์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
KPI 2 : จำนวนสื่ออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับศูนย์เรียนรู้ฯ ที่ได้รับการเผยแพร่
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 สื่อ 1
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนแหล่งเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แหล่ง 1
KPI 5 : ร้อยละของผู้รับบริการที่สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อชีวิตและสังคมได้
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 ร้อยละ 10
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 8 : จำนวนผู้ได้รับบริการเชื้อพันธ์ุศัตรูธรรมชาติ และ/หรือ ชีวภัณฑ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 คน 80
KPI 9 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 10 : ร้อยละของความพีงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 11 : จำนวนนักศึกษาผู้ผ่านการเรียนรู้จากโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
60 คน 60
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1.เชื้อพันธ์ุศัตรูธรรมชาติ และชีวภัณฑ์ที่ผ่านการควบคุมคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บริการเครือข่ายการผลิตพืชอินทรีย์ 2. องค์ความรู้สำหรับการจัดการเรียนการสอนด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีในระบบเกษตรอินทรีย์ 3. แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิถี และการบริหารจัดการศัตรูพืชในระบบเกษตรอินทรีย์
ชื่อกิจกรรม :
พัฒนาแหล่งเรียนรู้ และเปิดให้เข้าศึกษาดูงาน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/01/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ระวี  คเณชาบริรักษ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผานิตย์  นาขยัน (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น อาหารเพาะเลี้ยงเชื้อ เช่น PDA SDA และ NA เป็นเงิน 25,000 บาท
เช่น อาหารเพาะเลี้ยงแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น ยีสต์สกัด และโปรตันสกัด 20,000 บาท
เช่น วัสดุสำหรับกิจกรรมการเตรียมอาหารในสภาพปลอดเชื้อ เช่น สำลี เมทธิลแอลกอฮอล์
เอทธิลแอลกอฮอล์ ตะเกียงแอลกอฮอล์ เป็นต้น เป็นเงิน 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 50,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
เกิดการตายและการลดอัตราการขยายพันธุ์ของเชื้อพันธุ์ศัตรูธรรมชาติที่ผลิต
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
พัฒนาระบบควบคุมคุณภาพควบคู่ไปกับกิจกรรมการผลิตฯ
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การนำนักศึกษาไปฝึกฝนและมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน (โดยขอให้ระบุรายวิชา ตาม มคอ. และระบุจำนวนคน) การนำนักศึกษาไปฝึกฝนและมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน และใช้ฐาน การผลิต และศูนย์เรียนรู้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปฏิบัติของรายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรเกษตรศาสตร์สาขาวิชาเกษตรอินทรีย์ และอีก 6 สาขาวิชา และหลักสูตรพืชสวน จำนวนอย่างน้อย 60 คน
ช่วงเวลา : 02/01/2566 - 30/09/2566
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล