19110 : โครงการบูรณาการเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้สำหรับการประกอบอาชีพของประชาชนในยุควิถีชีวิตใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 1/2/2566 16:27:57
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/11/2565  ถึง  30/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  240  คน
รายละเอียด  1) ประชาชนผู้อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 2) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและผู้เกี่ยวข้องของเขตเทศบาลตำบลแม่แฝกและสำนักงานเกษตรอำเภอสันทราย 3) กลุ่มยุวเกษตรกร นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ 4) นักศึกษาสาขาวิชาการส่งเสริมและสื่อสารเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน คณะผลิตกรรมการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบบริการวิชาการ ปีงบประมาณ 2566 2566 350,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. พุฒิสรรค์  เครือคำ
อาจารย์ ดร. สุเทพ  วัชรเวชศฤงคาร
อาจารย์ ดร. แสงเดือน  อินชนบท
นาย ปรีชา  รัตนัง
อาจารย์ ดร. ประนอม  ยังคำมั่น
อาจารย์ วินัย  แสงแก้ว
นาง อภิชนา  วงศ์วารเตชะ
อาจารย์ ดร. วงค์พันธ์  พรหมวงศ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะผลิตกรรมการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.2 มีผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่ใช้เกษตรเป็นรากฐาน และได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.14 ร้อยละผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเชิงบูรณาการ และผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ 66 AP 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 66 AP การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 2.19 66 AP องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ 66 AP 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน “ภาคเกษตร” ได้รับการกล่าวขานว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมาโดยตลอด โดยเฉพาะการเป็นฐานอาชีพ และเป็นแหล่งรายได้สำหรับการดำเนินวิถีชีวิตของประชาชนในเขตชนบทแต่ละภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ทั้งนี้ในอีกมิติหนึ่งภาคการเกษตรยังเป็นที่มาของแรงงานที่ผันตัวเคลื่อนย้ายเข้าสู่เมืองใหญ่เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ-สังคมอีกโครงสร้างหนึ่งคือ “ภาคอุตสาหกรรมและการบริการ” อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ต้นปี 2563 ประเทศไทยได้ประสบปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ที่ตอกย้ำปัญหาที่เกษตรกรได้ประสบมาเป็นระยะเวลายาวนาน อาทิ ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ การขาดแหล่งตลาดที่รับซื้อผลผลิตที่มีความชัดเจน รวมถึงการประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่น ๆ เช่น ภัยแล้ง อุทกภัย หรือการระบาดของศัตรู เป็นต้น โดยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ดังกล่าวได้กระทบถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของครัวเรือนเกษตรกรรายย่อยที่ต้องหยุดชะงักชั่วคราวจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ส่งผลกระทบต่อระบบขนส่ง (โลจิสติกส์) ที่ไม่สามารถทำการได้ และความต้องการผลผลิตทางการเกษตรของตลาดมีการเปลี่ยนแปลงยากที่จะคาดการณ์ ประกอบกับการรายงานของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2563) ได้แสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นคงทางรายได้ของเกษตรกรจากข้อมูลที่บ่งชี้ว่า ร้อยละ 76 ของครัวเรือนเกษตรไทยพึ่งพิงรายได้จากการประกอบอาชีพนอกภาคเกษตร และมีครัวเรือนถึงร้อยละ 62 มีแหล่งรายได้จากการรับจ้างทั่วไปนอกภาคเกษตร ซึ่งอาจนำไปสู่การมีภาระหนี้สินเพิ่มสูงขึ้นของครัวเรือนเกษตรกรจากการขาดความสามารถใชการชำระหนี้ เนื่องจากลดลงของรายได้ทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร และที่สำคัญสภาพปัญหามิได้เกิดเพียงในโครงการภาคการเกษตรเพียงเท่านั้น แต่ยังกระทบกับแรงงานที่เดินทางไปทำงานในเมืองใหญ่ที่ต้องประสบกับปัญหาการพักงาน หรือการเลิกจ้างจากภาคอุสาหกรรมและการบริการต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาเดิม แต่ทว่าวิกฤตการณ์ในครั้งนี้กลับลดศักยภาพของภาคการเกษตรในการรองรับการกลับมาของแรงงานดังกล่าว โดยเฉพาะการปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตร การขาดที่ดินทำกินที่ตนเองมีกรรมสิทธิ์ หรือการประสบอุทกภัย หรือราคาผลผลิตที่ลดลงจากการจำกัดการรับซื้อของตลาด ภายใต้การเกิดสภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 อีกทางหนึ่งก็มาพร้อมกับการสร้างโอกาสให้แก่ภาคการเกษตรในพื้นที่ชนบทของประเทศไทยที่จะมีแรงงานคุณภาพและอายุน้อยที่พร้อมเป็นกำลังหลักในการทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาภาคเกษตรอันเป็นฐานเศรษฐกิจท้องถิ่น และอีกหนึ่งโอกาสคือ การเกิดข้อจำกัดจากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถบีบบังคับให้เกษตรกรได้เรียนรู้ และใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้เพื่อยกระดับการผลิต สร้างคุณค่า ตลอดจนการเข้าถึงตลาดของเกษตรกร ทั้งนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสให้หน่วยงาน หรือสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชนตั้งแต่ในประเทศ ภูมิภาค และท้องถิ่นได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับภาคการเกษตร หรือชุมชนที่มีการเกษตรเป็นรากฐานให้เกิดความเข้มแข็งขึ้น (สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์, 2563) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นมหาวิทยาลัยหรือสถาบันทางการศึกษาที่มีปรัชญาคือ “การมุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน” โดยมีหนึ่งพันธกิจที่สำคัญในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการเกษตร และวิทยาศาสตร์ประยุกต์เพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่สังคม” ซึ่งมีคณะผลิตกรรมการเกษตรเป็นหนึ่งในหน่วยงานหนึ่งที่สนับสนุน และขับเคลื่อนวิสัยทัศน์และพันธกิจดังกล่าวให้บรรลุผลสำเร็จภายใต้การดำเนินการของศูนย์บริการวิชาการที่เป็นตัวกลางในการประสานงานทางวิชาการของบุคลากรของแต่ละหลักสูตรภายใต้คณะฯ เพื่อถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรสู่การพัฒนาชุมชน และสร้างความร่วมมือในการพัฒนาทักษะอาชีพแก่ประชาชน โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตรเป็นฐาน เพื่อนำไปสู่การได้มาซึ่งผลผลิตทางการเกษตร หรือผลิตภัณฑ์ของชุมชน ที่มีการหนุนเสริมช่องทางการจำหน่ายโดยศูนย์จำหน่ายสินค้าคณะผลิตกรรมการเกษตร (AP SHOP) ที่มีบทบาทสำคัญคือ “ขับเคลื่อนภาคการตลาด: รับซื้อผลผลิต กระจายสินค้าสู่ผู้บริโภค” โดยในปัจจุบันคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กำหนดให้พื้นที่เทศบาลตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่เป้าหมายในการบริการวิชาการ และเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ประสบวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 เช่น รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรลดลง ปริมาณการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรมีปริมาณลดลง ประชาชนบางส่วนทยอยกลับเข้ามาพักอาศัยในชุมชนจากการประสบปัญหาการว่างงาน หรือการพักงานชั่วคราว รวมถึงการประสบกับการมีรายได้ไม่เพียงพอจากการลดเงินเดือน เป็นต้น ตลอดจนปัญหาทางสังคมอื่น ๆ โดยเฉพาะปัญหาการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ หรือการขยายตัวของเมืองที่กระทบต่อวิถีชีวิตเกษตรกรรมอันเป็นอาชีพเดิมของประชาชนโดยส่วนใหญ่ ซึ่งจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นการเสริมวิทยาการความรู้ทางการเกษตรบนฐานทักษะเดิมแก่เกษตรกร การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาทักษะอาชีพด้านการเกษตรแก่ประชาชนที่กลับเข้ามายังชุมชน หรือประชาชนผู้สูงวัยถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสร้างคุณภาพชีวิต การฟื้นคืนกลับสู่สภาพเดิมมั่นคง และการใช้ชีวิตในยุควิถีใหม่อย่างยั่งยืน ภายใต้การดำเนินโครงการชื่อว่า “โครงการบูรณาการเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้สำหรับการประกอบอาชีพในยุควิถีชีวิติใหม่” ที่งมุ่งเน้นในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรของแต่ละหลักสูตรภายใต้คณะผลิตกรรมการเกษตร การสนับสนุนทักษะอาชีพด้านการเกษตรและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และการสร้างเครือข่ายด้านการตลาดสินค้าเกษตรแก่ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยโครงการนี้สามารถสร้างผลลัพธ์ให้ประชาชนเกิดความพอประมาณในดำเนินชีวิตได้อย่างพอดีจากมีการใช้จ่ายตามกำลังและความสามารถด้วยการสร้างรายได้จากความรู้ทางการเกษตรที่ตนเองได้รับ การมีเหตุผลในการเลือกเทคโนโลยีด้านการเกษตรเพื่อพัฒนาเป็นทักษะอาชีพ และการสร้างภูมิคุมกันเพื่อรองรับการเกิดสถานการณ์วิกฤติหรือการฟื้นตัวสู่ภาวะปกติ บนฐานของการได้รับความรู้ด้านการเกษตรที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และการถ่ายทอดโดยมุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสอดคล้องกับโครงการพระราชดำริด้านการพัฒนาการเกษตร ตลอดจนยังเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติในเป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตร กรรมที่ยั่งยืน ตามเป้าประสงค์ที่ 2.3 การเพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและรายได้ของผู้ผลิตอาหารรายเล็ก รวมถึงการเข้าถึงที่ดิน ทรัพยากร และปัจจัยในการผลิต ความรู้ บริการทางการเงิน ตลาด และโอกาสสำหรับการเพิ่มมูลค่าและการจ้างงานนอกภาคการเกษตรอย่างปลอดภัยและเท่าเทียม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรในการพัฒนาทักษะอาชีพด้านการเกษตรแบบบูรณาการของหลักสูตรภายใต้คณะผลิตกรรมการเกษตร
เพื่อจัดทำคู่มือ “การบูรณาการเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้สำหรับการประกอบอาชีพในยุควิถีชีวิติใหม่”
เพื่อพัฒนาทักษะและสร้างเครือข่ายด้านการตลาดสินค้าเกษตร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1) ประชาชนเกิดการพัฒนาทักษะอาชีพจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเกษตรสำหรับการสร้างรายได้เสริม หรือรายได้หลักภายใต้วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 หรือการสร้างเป็นอาชีพเสริมของคนรุ่นใหม่ที่หวนคืนกลับสู่ชุมชน รวมถึงการสร้างอาชีพของผู้สูงอายุ 2) ประชาชนมีคู่มือ “การบูรณาการเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้สำหรับการประกอบอาชีพในยุควิถีชีวิติใหม่” และ 3) เกิดเครือข่ายการตลาดสินค้าเกษตร
KPI 1 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.35 ล้านบาท 0.35
KPI 2 : จำนวนผู้รับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
240 คน 240
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 5 : จำนวนเครือข่ายการตลาดสินค้าเกษตร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
5 เครือข่าย 5
KPI 6 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 7 : ร้อยละของผู้รับการฝึกอบรมที่นำองค์ความรู้ไปต่อยอด/สร้างอาชีพ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 8 : จำนวนคู่มือสำหรับการฝึกอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
240 เล่ม 240
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 10 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กร ที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 11 : จำนวนตราสินค้าเกษตร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 แบบ 1
KPI 12 : จำนวนบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 แบบ 3
KPI 13 : จำนวนผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 ชนิด 3
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1) ประชาชนเกิดการพัฒนาทักษะอาชีพจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเกษตรสำหรับการสร้างรายได้เสริม หรือรายได้หลักภายใต้วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 หรือการสร้างเป็นอาชีพเสริมของคนรุ่นใหม่ที่หวนคืนกลับสู่ชุมชน รวมถึงการสร้างอาชีพของผู้สูงอายุ 2) ประชาชนมีคู่มือ “การบูรณาการเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้สำหรับการประกอบอาชีพในยุควิถีชีวิติใหม่” และ 3) เกิดเครือข่ายการตลาดสินค้าเกษตร
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 1 การฝึกอบรมการผลิตต้นอ่อนเชิงการค้า

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.สุเทพ  วัชรเวชศฤงคาร (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ถาดเพาะ เมล็ดพันธุ์ทานตะวัน เมล็ดพันธุ์ผักบุ้ง ขุยมะพร้าว เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 27700.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 2 การฝึกอบรมการปลูกพืชผักเศรษฐกิจในระบบเกษตรอินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.แสงเดือน  อินชนบท (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ถาดเพาะ เมล็ดพันธุ์ผัก ต้นกล้าผัก ดินเพาะปลูก เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 27700.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 3 การฝึกอบรมการผลิตเห็ดเศรษฐกิจ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นายปรีชา  รัตนัง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ก้อนเชื้อเห็ด สแลน ถุงพลาสติก เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 27700.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 4 การฝึกอบรมการผลิตและแปรรูปไม้ดอกเพื่อสุขภาพ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ประนอม  ยังคำมั่น (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ต้นกล้าไม้ดอก ดินปลูก ถุงเพาะ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 8,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถุงพลาสติก ซองชา แก้วน้ำ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 8,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 27700.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 5 การฝึกอบรมการขยายพันธุ์ไม้ผล และไม้ยืนต้น

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,600.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น กรรไกรตัดกิ่ง มีด ดินเพาะ ถุงปลูก ต้นกล้าไม้ผลและไม้ยืนต้น เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 16,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 16,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 27700.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 6 การฝึกอบรมการจัดการของเหลือจากอาหารด้วยหนอนแมลงวันทหารดำ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์  พรหมวงศ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ปากกา เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,600.00 บาท 0.00 บาท 1,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าวัสดุเกษตร เช่น กระบะ ถังน้ำ อีเอ็ม กากน้ำตาล รำ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 16,500.00 บาท 0.00 บาท 16,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 27700.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 7 การฝึกอบรมการแปรรูปพืชสมุนไพรพื้นบ้าน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์วินัย  แสงแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ผงขมิ้นชัน ต้นกล้าใบบัวบก ต้นหว่านหางจระเข้ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 1,600.00 บาท 0.00 บาท 1,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น มีด หม้อ ถาด ถ้วยตวง ขวดน้ำ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,500.00 บาท 0.00 บาท 8,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น กลีเซอรีน น้ำมันหอมระเหย แอลกอฮอล์ การบูร ลาโนลีน เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 27700.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมย่อยที่ 8 การฝึกอบรมการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการสร้างเครือข่ายด้านตลาดสินค้าเกษตร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/11/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นางอภิชนา  วงศ์วารเตชะ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์วินัย  แสงแก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.พุฒิสรรค์  เครือคำ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.เขมินทรา  ติ๊บปัญญา (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.นวลทิพย์  ชัยลิ้นฟ้า (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.เบ็ญจา  บำรุงเมือง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 50 บาท 2 มื้อ 7 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 21,000.00 บาท 0.00 บาท 21,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 100 บาท 1 มื้อ 7 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 21,000.00 บาท 0.00 บาท 21,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล ขนาด 3 x 1 เมตร จำนวน 1 ผืน ๆ ละ 800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท 0.00 บาท 800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือประกอบการอบรม คู่มือ “การบูรณาการเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้สำหรับการประกอบอาชีพในยุควิถีชีวิต จำนวน 240 เล่ม ๆ ละ 30 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท 0.00 บาท 7,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาออกแบบและจัดทำบรรจุภัณฑ์สินค้าแปรรูป จำนวน 3 ชนิด ๆ ละ 5,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาออกแบบและจัดทำถุงพลาสติกสำหรับจำหน่ายสินค้าเกษตรจำนวน 1 ชนิด ๆ ละ 13,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 13,800.00 บาท 0.00 บาท 13,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาออกแบบและจัดทำตราสินค้าเกษตรจำนวน 1 แบบ ๆ ละ 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวน 7 ครั้ง ๆ ละ 2,300 บาท 1 คัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 16,100.00 บาท 0.00 บาท 16,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท 2 คน 7 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,600.00 บาท 0.00 บาท 12,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษไข ปากกา เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ตะกร้าพลาสติก น้ำยาล้างจาน ถุงขยะ เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 16,000.00 บาท 0.00 บาท 16,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ถังพลาสติก สายยาง เป็นต้น
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 156100.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
1) ช่วงเวลาการจัดกิจกรรมอาจตรงกับช่วงฤดูกาลเพาะปลูกหรือการเก็บเกี่ยวของประชาชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งอาจส่งผลให้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมน้อยน้อย
2) การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้ไม่สามารถร่วมกลุ่มประชาชนเพื่อนำเนินกิจกรรมได้ อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการ
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
1) มีการนัดหมายในช่วงเวลาที่เหมาะสมและอาศัยผู้นำท้องถิ่นในการประสานงานและประชาสัมพันธ์โครงการ
มีการติดตามข่าวสารและมาตรการควบคุมโรคจากสำนักงานสาธารณสุขจังเชียงใหม่ หรือกรมควบคุมโรค ตลอดจนมีการติดต่อกับผู้นำชุมชนอยู่เสมอเพื่อเตรียมความพร้อมในการฝึกอบรม
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การบูรณาการเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้สำหรับการประกอบอาชีพในยุควิถีชีวิติใหม่
ช่วงเวลา : 01/10/2565 - 30/09/2566
ตัวชี้วัด
5.2 กระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
การบูรณาการ
วัตถุประสงค์การบูรณาการผลการประเมินการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการ
มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้มีโอกาสฝึกฝนและมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน 80 หลักสูตรและศูนย์การเรียนรู้ของคณะผลิตกรรมการเกษตรมีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยให้ความสำคัญกับนักศึกษามากขึ้นในรูปแบบของการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการสร้างทักษะด้านวิชาชีพ และมีเอกสารทางวิชาการด้านการเกษตรที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างรายได้และอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล