19044 : โครงการ "ธนาคารผึ้งชันโรงเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 2/12/2565 13:43:58
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
25/11/2565  ถึง  30/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  ประกอบด้วย นักเรียน นักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร เกษตรกร และประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการ อพ.สธ. ปี 2566 2566 170,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ว่าที่ ร.ต. ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์
อาจารย์ ดร. พิไลวรรณ  พู่พัฒนศิลป์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.1.1 การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.3 เป็นต้นแบบการสร้างชุมชนที่ยั่งยืน และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Community &Tourism)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.10 ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ Well-Being @ Chumporn
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.4.3 สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และการท่องเที่ยวต้นแบบแห่งชายฝั่งทะเลตะวันออก
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.10 ความสำเร็จในการสร้างพิพิธภัณฑ์เกษตร
กลยุทธ์ 65-69 MJU 1.4.4 สร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.66 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 1. การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 1.3 มีต้นแบบความสำเร็จของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้ง 3 วิทยาเขต Eco Community & Tourism
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:1.3.1 ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ Well-Being @ Chumphon
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 6. สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และการท่องเที่ยวต้นแบบแห่งชายฝั่งทะเลตะวันออก
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.66 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:2.3.5 จำนวนฐานการเรียนรู้ที่เป็นที่พึ่งของชุมชน (ชุมพร)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 45. ผลักดันการตั้งฐานเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถเป็นที่พึ่งให้กับชุมชน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พระราชดำริเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ปี พ.ศ. 2503 ทรงพยายามปกปักยางนา ในฤดูร้อนเกือบทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร) เสด็จแปรพระราชฐาน ไปประทับแรม ณ วังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในระยะแรกเสด็จ พระราชดำเนินโดยรถไฟ ต่อมาเสด็จฯ โดยรถยนต์ เมื่อเสด็จฯ ผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี สองข้างทางมีต้นยางขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มาก ทรงมีพระราชดำริที่จะ สงวนป่าต้นยางนี้ไว้เป็นสวนสาธารณะ ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แต่ไม่สามารถจัดถวายได้ตามพระราชประสงค์ เพราะมีราษฎรเข้ามาทำไร่ทำสวนในบริเวณนั้นมาก จะต้องจ่ายเงินทดแทนในการหาที่ใหม่ในอัตราที่ไม่สามารถจัดได้ พ.ศ. 2504 ป่าสาธิตทดลอง เมื่อไม่สามารถดำเนินการปกปักต้นยางนาที่อำเภอท่ายางได้ จึงทรง ทดลองปลูกต้นยางเอง โดยทรงเพาะเมล็ดยางที่เก็บจากต้นยางนาในเขตอำเภอ ท่ายาง ในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกต้น ยางนาเหล่านั้นในแปลงทดลองใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา พร้อมข้าราช- บริพาร เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2504 จำนวน 1,250 ต้นแม้ต้นยางที่ท่ายางสูญสิ้น แต่พันธุกรรมของยางนาเหล่านั้นยังอนุรักษ์ ไว้ได้ที่สวนจิตรลดา ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพรรณไม้จากภาคต่างๆ ทั่ว ประเทศ มาปลูกในบริเวณที่ประทับ สวนจิตรลดา เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้ ของนิสิตนักศึกษาแทนที่จะต้องเดินทางไปทั่วประเทศ พ.ศ. 2528 ทรงใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออนุรักษ์พืช ในวันพืชมงคล วันที่ 9 พฤษภาคม 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราช ดำเนินไปทรงเปิดอาคารห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่โครงการส่วน พระองค์ฯ สวนจิตรลดา และทรงมีพระราชกระแสให้อนุรักษ์ต้นขนุนหลังพระตำหนัก ไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง ความสำเร็จของการใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชขยายพันธุ์ขนุนไพศาล ทักษิณ นำไปสู่การขยายพันธุ์ต้นไม้ที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ พระราชวังต่างๆ แล้วอนุรักษ์พันธุ์ไม้อีกหลายชนิด ได้แก่พุดสวน มณฑา ยี่หุบ ที่อยู่ในพระบรมมหาราชวัง และสมอไทยในพระที่นั่งอัมพรสถานมงคล ในขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาพันธุกรรมของพืชเอกลักษณ์ใน สภาวะปลอดเชื้อในอุณหภูมิต่ำ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต จนทำให้เก็บรักษาเนื้อเยื่อขนุนที่อุณหภูมิ –196 องศาเซลเซียส ในไนโตรเจนเหลว มีเนื้อเยื่อขนุนที่รอดชีวิตอยู่ได้ 23 เปอร์เซ็นต์ พ.ศ. 2529 ทรงให้อนุรักษ์พันธุกรรมหวาย ทรงมีพระราชดำริให้อนุรักษ์และขยายพันธุ์หวายชนิดต่างๆ โดยการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อเตรียมการแก้ปัญหาการขาดแคลนหวายในอนาคต หวายที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและเป็นเป้าหมาย คือหวายข้อดำ หวายน้ำผึ้ง หวายตะค้าทอง หวายหอม หวายแดง หวายโป่ง หวายกำพวน หวายงวย และหวายขี้เสี้ยน เมื่อขยายพันธุ์ได้ต้นที่สมบูรณ์ของหวายข้อดำและหวาย ตะค้าทองแล้ว ก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทำการทดลองปลูกต้นหวาย เหล่านั้นในป่ายางนาใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา และมีพระราชดำริให้ ทดลองปลูกที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ศึกษา การพัฒนาภูพานฯ จังหวัดสกลนครอีกด้วย การดำเนินการเกี่ยวกับหวายได้มีการขยายผลไปสู่ความร่วมมือระหว่างโครงการ ส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา สำนักพระราชวัง กับส่วนราชการจังหวัดตรัง จัดทำแปลงขยายพันธุ์หวายขึ้นในพื้นที่ 1,000 ไร่ ที่ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เมื่อปี พ.ศ. 2532 และได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นสวนเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนอกจากจะเป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุ์หวายชนิด ต่างๆ ของประเทศไทยแล้วยังได้ใช้เป็นสถานศึกษาวิจัยและขยายพันธุ์หวาย เศรษฐกิจเพื่อให้ผลประโยชน์ถึงประชาชนอย่างกว้างขวางด้วย พ.ศ. 2529 สวนพืชสมุนไพร ในปี พ.ศ. 2529 นอกจากมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์พันธุ์หวายแล้ว ยังได้จัดทำสวนพืชสมุนไพรขึ้นใ โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา เพื่อรวบรวม พืชสมุนไพรมาปลูกเป็นแปลงสาธิต และรวบรวมข้อมูลสรรพคุณ ตลอดจนการนำไป ใช้ประโยชน์กับทั้งให้มีการศึกษาการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร โดยการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อ และเผยแพร่ความรู้ที่ได้สู่ประชาชน พระราชดำริ / พระราโชวาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มิถุนายน ๒๕๓๕ พระราชทานให้กับ เลขาธิการพระราชวัง เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริกับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ให้อนุรักษ์พืชพรรณของประเทศและดำเนินการเป็นธนาคารพืชพรรณ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้เริ่มดำเนินการ โดยฝ่ายวิชาการโครงการส่วนพระองค์ฯ สำหรับงบประมาณดำเนินงานนั้นสำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้สนับสนุนให้กับโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยจัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้นในปี 2536 สำหรับเก็บรักษาพันธุกรรมพืชที่เป็นเมล็ดและเนื้อเยื่อ และสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานทุกกิจกรรมของโครงการ พ.ศ. 2536 จนถึงปัจจุบัน ทรงมีพระราชปรารภพระราชดำริ และพระราชทานแนวทางการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชกับนายพิศิษฐ์ วรอุไร และนายพรชัย จุฑามาศ ในพระราชวโรกาสต่างๆ สรุปดังนี้ วันที่ 8 กุมภาพันธุ์ 2536 ณ อาคารที่ประทับ ในสำนักงานชลประทาน เขต 1 ถนนทุ่งโฮเต็ล จังหวัดเชียงใหม่ - ทรงมีพระราชปรารภถึงการเสด็จพระราชดำเนินผ่านไปทางจังหวัดนนทบุรี ทรงเห็นมีพันธุ์ไม้เก่าๆ อยู่มาก เช่น ทุเรียนบางพันธุ์อาจยังคงมีลักษณะดีอยู่แต่สวนเหล่านี้จะเปลี่ยนสภาพไปจึงทรงห่วงว่าพันธุ์ไม้เหล่านั้นจะหมดไป - พระราชทานแนวทางการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ควรอนุรักษ์พันธุ์ที่ไม่ใช่พืชเศรษฐกิจไว้ด้วย - ตามเกาะต่างๆ มีพืชพรรณอยู่มาก แต่ยังไม่มีผู้สนใจเท่าไร จึงน่าจะมีการสำรวจพืชพรรณตามเกาะด้วย - พระราชทานแนวทางการสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ควรใช้วิธีการปลูก ฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจของพืชพรรณ และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนการอบรมที่ให้เกิดความรู้สึกกลัวว่าหากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสียเกิด อันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อประเทศในระยะยาว - ทรงมีพระราชดำริให้ทำศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช โดยมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถแสดงลักษณะของพืชออกมาเป็นภาพสีได้ เพื่อสะดวกในการอ้างอิงค้นคว้า วันที่ 28 ธันวาคม 2538 ณ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก จังหวัดตาก - พระราชทานแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน - การนำต้นไม้มาปลูกเพิ่มเติมให้เด็กรู้จักนั้น ต้องไม่มีพืชเสพติด - ควรให้เด็กหัดเขียนตำรา จากสิ่งที่เรียนรู้จากสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน - ควรนำตัวอย่าง ดิน หิน แร่ มาแสดงไว้ในห้องพิพิธภัณฑ์พืชด้วย เพราะในจังหวัดตากมีหินแร่อยู่มากชนิด วันที่ 6 มิถุนายน 2539 ณ เขาเสวยกะปิ ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี - ทรงให้อนุรักษ์ต้นหว้าใหญ่ในบริเวณวังไกลกังวล หัวหิน ซึ่งเข้าใจว่าจะเป็นต้นหว้าที่ขึ้นอยู่ที่นั่นก่อนก่อสร้างวัง - ทรงให้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ดำเนินการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่เกาะละวะ จังหวัดพังงา - ทรงให้ทำการสำรวจขึ้นทะเบียนรหัสต้นพืชที่ขึ้นอยู่เดิม ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ - ทรงให้วัดพิกัดตำแหน่งของต้นพืชที่ขึ้นทะเบียนไว้ - ทรงให้รวบรวมพันธุกรรมหวายชนิดต่างๆ - ทรงให้มีการปลูกรักษาพันธุกรรมพืชไว้ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วันที่ 29 กรกฎาคม 2540 ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร - ทรงให้หาวิธีดำเนินการให้มีข้อมูลที่จะได้รู้ว่าใครทำอะไรเกี่ยวกับพันธุกรรมพืชของหน่วยงานต่างๆให้สื่อถึงกันในระบบเดียวกันได้ - ทรงให้หาวิธีการที่จะทำให้เด็กสนใจในพืชพรรณต่างๆ และเกิดความสงสัยตั้งคำถามตนเองเกี่ยวกับพืชพรรณที่ตนสนใจนั้นซึ่งจะนำไปสู่การศึกษาทดลองค้นคว้าวิจัยอย่างง่ายๆ ที่โรงเรียนที่ไม่มีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ดีนัก ก็สามารถดำเนินการได้ หากอาจารย์ในโรงเรียนต่างๆ ทำได้ดังนี้ ก็จะช่วยให้เด็กเป็นคนฉลาด พระราโชวาท วันพุธที่ 19 ตุลาคม 2548 ในวโรกาสปิดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการ “ทรัพยากรไทย : สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชคลองไผ่ ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา " ข้าพเจ้ายินดีที่ได้มาพบกับท่านทั้งหลายอีกวาระหนึ่งในวันนี้ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ดำเนินงานมาถึงปีนี้เป็นปีที่ 12 โครงการฯ ร่วมแรงร่วมใจกับหน่วยงานและสถานศึกษา หลายหน่วยงาน หลายสถาบัน ปฏิบัติงานด้านศึกษาและอนุรักษ์พันธุ์พืชต่างๆ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และรวบรวมผลการศึกษาวิจัยไว้เป็นหลักฐาน เป็นศูนย์รวมข้อมูลทางพันธุกรรมพืชที่สถาบันการศึกษาต่างๆ และผู้สนใจสามารถเข้าร่วมใช้ฐานข้อมูลได้ ปัจจุบันงานของโครงการฯ มิได้จำกัดเพียงศึกษาอนุรักษ์พันธุ์พืชเท่านั้น แต่ขยายวงกว้างไปถึงการศึกษาเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอื่นด้วย เช่น ดิน หิน แร่ และสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ทุกสิ่งที่กล่าวมาล้วนแต่มีความเกี่ยวพันกัน สิ่งหนึ่งสิ่งใดขาดไปก็จะกระทบต่อการดำรงอยู่ของชาติและประชาชน นอกจากศึกษาสภาวะของทรัพยากรธรรมชาติแล้ว การให้ความรู้แก่ประชาชนก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างเหมาะสม วิธีสงวนรักษา เพื่อทุกคนจะได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อย่างยั่งยืนตลอดไป การประชุมครั้งนี้มี คณาจารย์ นักวิจัย นักเรียน นักศึกษา และเกษตรกรจำนวนมาก เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อคิดเห็น ข้าพเจ้าหวังว่าทุกท่าน จะได้รับประโยชน์จากการประชุมโดยทั่วกัน " (แหล่งที่มาจาก : http://www.rspg.or.th/information/index.htm) พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (18 กรกฎาคม 2517) “...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอ กิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (4 ธันวาคม 2517) (อ้างอิงจาก : https://www.chaipat.or.th/site_content/item/1309-2010-06-03-09-50-07.html ) พระราโชวาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราโชวาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2543 ในการประชุม สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใจความตอนหนึ่ง ว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ได้เริ่มต้นขึ้นราวปีพุทธศักราช 2535 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สถาบันต่าง ๆที่มีหน้าที่ในการศึกษาพืชพรรณต่าง ๆ และบุคคลที่สนใจได้มีโอกาสปฏิบัติงานที่ศึกษาพืชพรรณต่าง ๆ ที่มีอยู่จำนวนมากในประเทศไทย ได้ศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้รวบรวมเป็นหลักฐานไว้ และเพื่อให้เป็นสื่อในระหว่างสถาบันต่าง ๆ บุคคลต่าง ๆ ที่ทำการศึกษาให้สามารถ ร่วมใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้การศึกษาไม่ซ้ำซ้อน สามารถที่จะดำเนินการไปก้าวหน้าเป็นประโยชน์ในทางวิชาการได้” (อ้างอิงจาก : http://202.29.80.110/ความเป็นมาของโครงการ/) ชันโรงสิรินธร ชันโรงชนิดใหม่ของโลก (Trigona sirindhornae Michener & Boongird, 2003) ค้นพบโดย ดร.สมนึก บุญเกิด และคณะ ตั้งชื่อชันโรงชนิดใหม่ว่า ชันโรงสิรินธร อย่างไรก็ดีทาง ดร.สมนึก บุญเกิด พร้อมด้วยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ถวายงานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยนำโครงการจัดการความรู้และต่อยอดงานวิจัยการเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงหลังลาย ไปทดลองเลี้ยงบริเวณสวนป่าภายในวังสระปทุม (เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561) สืบเนื่องจากการสนับสนุนงบประมาณโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) ในการดำเนินงานเกี่ยวกับชันโรง ครั้งแรกในปีงบประมาณ 2561 ครั้งที่ 2 ในปีงบประมาณ 2564 อย่างไรก็ดีในปีที่ไม่ได้ขอการสนับสนุนงบประมาณนั้น ทางผู้รับผิดชอบโครงการยังคงทำการขยายรังเพิ่มจำนวนประชากรชันโรงพร้อมดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เสมอมา อย่างไรก็ดีที่ผ่านมาได้ร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชันโรงในพื้นที่โครงการ อพ.สธ.จังหวัดชุมพร จังหวัดชุมพร จำนวน 4 แห่ง พื้นที่โครงการ อพ.สธ. องค์การบริหารส่วนตำบลสลุย องค์การบริหารส่วนตำบลสองพี่น้อง อำเภอ ท่าแซะ จังหวัดชุมพร นอกจากนี้ยังมี องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อย่างไรก็ตามผึ้งชันโรงที่เลี้ยงคือผึ้งชันโรง พันธุ์ขนเงิน และพันธุ์หลังลาย (ซึ่งทั้งสองชนิดสามารถผสมพันธุ์กันได้เพราะเป็นสปีชีส์ (Species) เดียวกัน T. fuscobalteata var. pagdeni ) ชันโรงในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ได้รับผลดีอย่างมาก ชันโรงสามารถเติบโตได้ดี ชันโรง (Stingless bee) ผึ้งที่ไม่มีเหล็กในเป็นแมลงที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศป่าและชุมชนเป็นอย่างมาก ชันโรงเป็นผึ้งขนาดเล็ก หรือเรียกอีกชื่อว่า “ผึ้งจิ๋ว” ลักษณะเด่นของชันโรงคือการเก็บเกสร (เก็บเกสรร้อยละ 80 เก็บน้ำหวานเพียงร้อยละ 20) จึงสามารถเรียกได้ว่าชันโรงเป็นสัตว์ช่วยผสมเกสร เป็นแมลงผสมเกสรประจำถิ่น (ผสมเกสร มะม่วง มะพร้าว เงาะ ส้มโอ แตงโม ข้าวโพด ผักโขม กระเพรา เสาวรส บัวทุกชนิด และพืชผักอื่นๆ) และหากินประจำที่ และไม่มีนิสัยเลือกชอบมักเก็บเล็กผสมน้อยไม่รังเกียจ ดอกไม้ที่ผึ้งชนิดอื่นลงตอมแล้ว ชันโรงมีรัศมีหากินคงที่ บินหาอาหารในระยะไม่เกิน 300 เมตร จากรัง มีหนวดไว้ค้นหาแหล่งอาหารได้อย่างแม่นยำ และใช้หนวดวัดสภาพอากาศได้ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น กลิ่นของสารเคมีในระดับอะตอม ชันโรงมีพฤติกรรมการออกเรือนเข้าไปอาศัยในโพรงเทียมที่มนุษย์สร้างขึ้น จึงเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับมนุษย์ และดำรงอยู่ในระบบนิเวศเกษตร สอดคล้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ อนึ่งชันโรงเป็นดัชนีชีวัดความเป็นเกษตรอินทรีย์ได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะหากบริเวณรอบๆใช้สารเคมีในการทำการเกษตร ชันโรงไม่สามารถอยู่รอดได้ อย่างไรก็ดีน้ำผึ้งชันโรงมีน้ำตาลมอลโทสซึ่งไม่มีในผึ้งโพรงและผึ้งพันธุ์ น้ำผึ้งชันโรงมีราคาสูงกว่าน้ำผึ้งทั่วไป “ชัน” สามารถนำไปประกอบตำรับยาพื้นบ้าน หรือเลี้ยงเพื่อจำหน่าย หรือการแปรรูปน้ำผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เนื่องจากพ่อแม่พันธุ์ชันโรงมีราคาสูง (1,000-1,500 บาท) จึงทำให้เกษตรกรรายย่อยไม่มีกำลังซื้อ ดังนั้นจึงควรมีการช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมทางการเกษตรของเกษตรกรในระบบเกษตรแบบผสมผสาน เช่น โครงการโคกหนองหนาโมเดล การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง โดยการจัดตั้ง “ธนาคารผึ้งชันโรง” ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้ คุณลักษณะของสมาชิกธนาคารผึ้งชันโรง อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ธนาคารผึ้งชันโรง ต้องการสนับสนุนการทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษ และการเกษตรอินทรีย์ และการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย และสอดคล้องกับโครงการ อพ.สธ. โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ - เป็นเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกร และหรือบุคคลทั่วไป ที่ไม่ใช้สารเคมีในการทำการเกษตร (ยาฆ่าหญ้า/ยาฆ่าแมลง) - มีความสนใจร่วมอนุรักษ์ผึ้งชันโรง - ต้องการเลี้ยงผึ้งชันโรงเพื่อช่วยผสมเกสร - มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชุมพร - สถานที่เลี้ยงผึ้งชันโรงตั้งอยู่ภายในจังหวัดชุมพร หมายเหตุ : คุณลักษณะในข้อที่ 3.4,3.5 อาจมีการปรับเปลี่ยนได้เมื่อธนาคารมีความเข้มแข็งและก้าวหน้า เงื่อนไขของธนาคารผึ้งชันโรง - สมาชิกใหม่ สามารถการเบิกพ่อแม่พันธุ์ผึ้งชันโรงจากธนาคารได้ไม่เกิน 2 รัง ต่อ 1 บัญชี - ภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ทำการเบิกจ่ายพ่อแม่พันธุ์ผึ้งชันโรง ต้องคืนรังพ่อแม่พันธุ์ผึ้งชันโรง พร้อมด้วยน้ำผึ้งชันโรง (ดอกเบี้ย) จำนวน 200 ซีซี และรังใหม่อีก 1 รัง ต่อ 1 รัง (พ่อแม่พันธุ์) ให้กับธนาคาร - กรณีพ่อแม่พันธุ์ผึ้งชันโรงที่ทำการเบิกจากธนาคารได้รับผลกระทบจากการเลี้ยงหรือที่เรียกว่ารังล่มสลาย สมาชิกต้องคืนรังพ่อแม่พันธุ์รังใหม่คืนให้กับธนาคารโดยไม่มีข้อยกเว้น หมายเหตุ : การเบิกจ่าย การส่งคืน พ่อแม่พันธุ์ผึ้งชันโรง ต้องเป็นรังที่มีความสมบูรณ์เท่านั้น การให้การสนับสนุน และการแลกเปลี่ยน - ธนาคารจ่ายเมล็ด / กล้า (พืชอาหาร) เช่น ต้นพวงชมพู เสารวรส ฯลฯ เพื่อให้ปลูกไว้บริเวณลานเลี้ยงผึ้งชันโรง - ธนาคารยินดีรับฝาก และแลกเปลี่ยนไข่นางพญาจากสมาชิก - ธนาคารจัดฝึกอบรมการเลี้ยงผึ้งชันโรงให้แก่สมาชิกและทบทวนวิชาการเกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งชันโรงให้แก่สมาชิกเป็นประจำทุกปี - ธนาคารเป็นพี่เลี้ยงในการขอรับรองมาตรฐานฟาร์มผึ้งชันโรง (GAP) หมายเหตุ : 1. ในอนาคตธนาคารจะรับควบคุมความชื้นของน้ำผึ้งชันโรง เพื่อลดจุดอ่อนด้านคุณสมบัติของน้ำผึ้งชันโรง ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ธนาคารชันโรงเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช จึงเป็นหลักในการสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับชันโรง ให้มีความยั่งยืนสืบไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อฝึกอบรมการเลี้ยงชันโรงช่วยผสมเกสรในระบบเกษตรแบบผสมผสาน
เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ระบบฟาร์มผึ้งชันโรงมาตรฐาน (GMP)
เพื่อผลิตน้ำผึ้งชันโรง
เพื่อสำรวจชันโรงชนิดหลังลายและชนิดขนเงินในรัศมี 50 กิโลเมตร จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร
เพื่อสร้างธนาคารผึ้งชันโรง อพ.สธ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : สำรวจผึ้งชันโรง (T. fuscobalteata var. pagdeni)
KPI 1 : พิกัดที่สำรวจพบผึ้งชันโรง (T. fuscobalteata var. pagdeni)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 10 พิกัด 20
ผลผลิต : จัดฝึกอบรมการเลี้ยงผึ้งชันโรง
KPI 1 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้เข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
ผลผลิต : ธนาคารผึ้งชันโรง
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน และผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 50 คน 100
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : สำรวจผึ้งชันโรง (T. fuscobalteata var. pagdeni)
ชื่อกิจกรรม :
ลงพื้นที่สำรวจ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.พิไลวรรณ  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าใช้จ่ายเดินทางไปปฏิบัติงาน เป็นเงิน 4,900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 900.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 4,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 4900.00
ผลผลิต : จัดฝึกอบรมการเลี้ยงผึ้งชันโรง
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 25 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 130 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
- ภาคบรรยาย (บุคลากรภาครัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ภาคปฏิบัติ (บุคลากรภาครัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 1 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,100.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 7100.00
ชื่อกิจกรรม :
ผลิตสื่อสารคดี

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างผลิตสื่อสารคดีแยกขยายรังผึ้งชันโรง จำนวน 1 เรื่อง ๆ ละ 30,000 บาท
เป็นเงิน 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 30000.00
ชื่อกิจกรรม :
ผลิตป้ายให้ความรู้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาผลิตแผ่นป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับชันโรง จำนวน 5 ป้าย ๆ ละ 3,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 15000.00
ผลผลิต : ธนาคารผึ้งชันโรง
ชื่อกิจกรรม :
สร้างแปลงพืชอาหาร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาสร้างแปลงพืชอาหารผึ้งชันโรง จำนวน 2 งาน ๆ ละ 10,000 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20000.00
ชื่อกิจกรรม :
จัดซื้อพ่อแม่พันธุ์ผึ้งชันโรง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าพ่อแม่พันธุ์ชันโรง จำนวน 26 รัง ๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 39,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 39,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 39,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 39000.00
ชื่อกิจกรรม :
เลี้ยงผึ้งชันโรงและแยกขยาย

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาคนงานเกษตร จำนวน 2 คน ๆ ละ 45 วัน ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 27,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 27,000.00 บาท 0.00 บาท 27,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น มีด กรรไกร แผ่นใส ตะกร้า เทปกาว ฯลฯ เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 28000.00
ชื่อกิจกรรม :
ผลิตกล่องเลี้ยงผึ้งชันโรง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาผลิตกล่องเลี้ยงผึ้งชันโรงพร้อมฐานตั้ง จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 260 บาท เป็นเงิน 26,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 26,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 26,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 26000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
บางช่วงของปีไม่มีเกสรจากดอกไม้และต้นไม้ในธรรมชาติ ทำให้ชันโรงชะงักการเจริญเติบโต
ประสบปัญหาแล้ง ฝนทิ้งช่วงนาน ทำให้ความชื้นน้อย มีผลต่อการเจริญเติบโตของผึ้งชันโรง
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
มีการปลูกพืชอาหารทดแทน และเลือกพืชที่ให้ดอกเกือบตลอดปีมาปลูกในแปลงปลูก
มีการเปิดน้ำด้วยสปริงเกอร์ในช่วงที่อากาศร้อนจัด เพื่อช่วยควบคุมความชื้น
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
โครงการ ย 002 ธนาคารผึ้งชันโรง
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การเลี้ยงผึ้งชันโรง
ช่วงเวลา : 01/01/2566 - 30/09/2566
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล