19041 : โครงการ "ศึกษาเปรียบเทียบสารแทนนินที่พบในลำต้น ใบ และเปลือกของกล้วยหอมทองเพื่อการใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียจากเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล พิมลรัตน์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 26/11/2565 14:26:36
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
07/11/2565  ถึง  30/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทองและทำฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ นักศึกษาและผู้ที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบสนับสนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 2566 188,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรพิมล  พิมลรัตน์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชลดรงค์  ทองสง
อาจารย์ ปณิดา  กันถาด
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.66 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:2.3.4 ชุมชนที่ได้รับการยกระดับจากโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย (ชุมพร)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 44. ผลักดันให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี/ให้บริการวิชาการจากมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยในด้านการส่งเสริมการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง พระราชกรณียกิจของพระองค์ที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎรนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับทางด้านการเกษตร และการชลประทาน เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าราษฎรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และค่อนข้างอยู่ในฐานะยากจน พระองค์จึงทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และช่วยเหลือกิจกรรมเกี่ยวกับการเกษตรของชาติเป็นสำคัญ ราษฎรไทยจึงพร้อมใจกันถวายพระเกียรติว่า “ กษัตริย์เกษตร ” ปัญหาด้านความเดือดร้อนของราษฎรที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเกษตร ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของเศรษฐกิจในประเทศ จึงทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการส่งเสริมและพัฒนาด้านเกษตรกรรมในทุกแขนงอย่างจริงจัง มาใช้กับกิจกรรมด้านการเกษตรและปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอย่างถูกต้องสมบูรณ์และครบวงจรทุกขั้นทุกตอน โดยพระองค์ทรงเน้นให้ราษฎรได้มีความรู้ความเข้าใจต่อวิธีการต่างๆในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิด แต่ละฤดู แต่ละภาค แต่ละจังหวัด อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการสมัยใหม่พอที่ราษฎรสามารถที่จะรับได้ และไปดำเนินการเองได้โดยมีราคาถูกเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้กับตนเอง ซึ่งในระยะหลังๆนี้ก็ทรงตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาขึ้นในภูมิภาคต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งที่จะเสริมสร้างความรู้และการปฏิบัติตามกรรมวีธีแผนใหม่เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่และให้ความรู้ความเข้าใจแก่ราษฎรโดยทั่วไป อำเภอละแม เป็นอำเภอด้านทิศใต้สุดขนาดกลางของจังหวัดชุมพร ที่มีความเติบโตทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา และปริมาณประชากรเพิ่มขึ้นตามลำดับ พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนผลไม้ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และทำการประมง ทั้งนี้เนื่องจากทางด้านตะวันออกเป็นชายฝั่งทะเล มีหาดทรายกว้างและยาว ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณอำเภอละแม โดยพัฒนาโครงสร้างเพื่อทำให้เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่สำคัญเช่น กุ้ง เพรียงทราย และเป็นแหล่งการทำประมงชายฝั่งที่สำคัญทำให้เกิดการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและชุมชน (ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย, 2558) กล้วยหอมทองนับเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่เกษตรกรในจังหวัดชุมพรนิยมปลูก โดยในพื้นที่ของอำเภอละแมกลุ่มแม่บ้านตำบลทุ่งคาวัดได้นำมาแปรรูปเป็น “กล้วยหอมทองฉาบกรอบ” หลากหลายรสชาติจนเป็นสินค้ายอดนิยมในรูปแบบของผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และสามารถส่งออกขายในต่างประเทศได้ เกษตรกรจึงมีการเพิ่มปริมาณการผลิต สิ่งที่ตามมาคือปริมาณเปลือกกล้วย ซึ่งเป็นของเหลือและของเสียที่เกิดจากการผลิตได้เพิ่มมากขึ้น โดยมีปริมาณถึงวันละ 90 กิโลกรัมต่อกล้วยดิบ 300 กิโลกรัม ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม เปลือกกล้วยดิบเป็นแหล่งของใยอาหารที่ดี โดยมีปริมาณใยอาหารสูงถึง 50 g/100 g (HappiEmaga et al., 2007) และมีสารฟีนอลเป็นองค์ประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแทนนิน ซึ่งเป็นสารพอลิฟีนอลที่มีโมเลกุลใหญ่ และโครงสร้างซับซ้อน เป็นสารให้ความฝาดและรสขมพบได้ในพืชหลายชนิด เช่น ใบชา ใบฝรั่ง ใบพลู ใบชุมเห็ด ผลไม้ดิบ เช่น ในเปลือก กล้วยดิบ มีส่วนสำคัญ ในการเป็นสารตั้งต้นในปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ (enzymetic browning reaction) ของผลไม้ มีฤทธิ์เป็นสารกันเสีย (preservative) ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ซึ่งสารกลุ่มแทนนิน นี้มีรายงานว่า สามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ค่าคุณภาพน้ำจากที่ต่ำกว่ามาตรฐานกลับมามีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานกำหนด (ค่าต่ำสุดที่สิ่งมีชีวิตจะดำรงชีวิตอยู่ได้) และช่วยลดปริมาณแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในน้ำให้หมดไปภายใน 21 วัน ผู้วิจัยจึงได้สนใจศึกษาสารแทนนินจากส่วนต่างๆของ กล้วยหอมทองมาใช้ประโยชน์ในการลดแอมโมเนียในน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดแอมโมเนียในน้ำโดยใช้ธรรมชาติบำบัดเพื่อลดปัญหาคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อม

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อสร้างฐานข้อมูลสารแทนนินจากส่วนของลำต้น ใบ และเปลือกของกล้วยหอมทอง
เพื่อศึกษากระบวนการเตรียมสารสกัดแทนที่เหมาะสม
เพื่อส่งเสริมการจัดการส่วนที่เหลือทิ้งจากกล้วยหอมทองที่สามารถนำกลับมาสร้างรายได้ให้กับเกษตรได้อย่างยั่งยืน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : วิธีการสกัดสารแทนนินที่เหมาะสมจากส่วนของลำต้น ใบ และเปลือกของกล้วยหอมทอง อย่างน้อย 2 วิธี
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่มอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 3 : ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเตรียมสารสกัดแทนนินที่เหมาะสม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 ปัจจัย 4
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.188 ล้านบาท 0.188
KPI 6 : วิธีการสกัดสารแทนนินที่เหมาะสมจากส่วนของลำต้น ใบ และเปลือกของกล้วยหอมทอง
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 วิธี 2
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : วิธีการสกัดสารแทนนินที่เหมาะสมจากส่วนของลำต้น ใบ และเปลือกของกล้วยหอมทอง อย่างน้อย 2 วิธี
ชื่อกิจกรรม :
1 : การศึกษาเปรียบเทียบสารแทนนินที่พบในลำต้น ใบ และเปลือกของกล้วยหอมทองเพื่อการใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียจากเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพิมล  พิมลรัตน์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท 3,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท 7,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อวางแผน จัดเก็บ รวบรวม การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับจัดทำฐานข้อมูลสารแทนนินจากส่วนของลำต้น ใบ และเปลือกของกล้วยหอมทองออนไลน์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต จำนวน 1 งาน ๆ ละ 30,000 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคบรรยาย จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคปฏิบัติ จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 900.00 บาท 900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ท่อน้ำ ตาข่ายพรางแสง ผ้าใบพลาสติก ฯลฯ เป็นเงิน 50,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
50,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ A4 ปากกาเพอร์มาแนน ดินสอ ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 20,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 20,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น น้ำยาล้างจาน ถุงขยะแบบหนา กะละมังสแตนเลส ถุงมือ กระดาษอเนกประสงค์แบบม้วน ฯลฯ เป็นเงิน 50,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
50,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 50,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น หมึกพิมพ์ แผ่นซีดี เม้าส์ ฯลฯ เป็นเงิน 24,300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 24,300.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 24,300.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 188000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ผลของสารแทนนินจากพืชธรรมชาติต่อการบำบัดน้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ช่วงเวลา : 01/12/2565 - 30/09/2566
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล