19039 : โครงการ"ฐานการเรียนรู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ภายใต้บริบทโคกหนองนา โมเดลในจังหวัดชุมพร"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์ พู่พัฒนศิลป์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 16/2/2566 14:01:10
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
14/02/2566  ถึง  30/09/2566
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  80  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร และประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2566 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ว่าที่ ร.ต. ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์
อาจารย์ ดร. พิไลวรรณ  พู่พัฒนศิลป์
น.ส. ศุจินธร  รัตนิพนธ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.66 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:2.3.1 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 40. ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (18 กรกฎาคม 2517) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงจัดตั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กว่า 4,741 โครงการ นอกจากนี้ยังเสด็จเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดาร โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สำคัญที่สุดจนทำให้พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทย คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระองค์ได้ปฏิบัติพระองค์เองเป็นแบบอย่าง โปรดให้มีการการปลูกข้าว การเลี้ยงโคนม การเพาะพันธุ์ปลานิลขึ้นในสวนจิตรลดา ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการประหยัด ตัวอย่างเช่น ทรงใช้ดินสอเดือนละ 1 แท่ง หรือการใช้ยาสีพระทนต์จดหมดหลอด นอกจากนั้นยังไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับใด ๆ เลย ยกเว้นแต่นาฬิกาข้อมือ “...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอ กิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (4 ธันวาคม 2517) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล เพื่อการจัดการน้ำและพื้นที่ทำการเกษตรขนาดเล็ก มีกิจกรรมหลักๆ เช่น การทำโคก การทำนา การทำคลองไส้ไก่ การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วม ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมีความสุข อย่างไรก็ดีโครงการฐานการเรียนรู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ภายใต้บริบท โคก หนอง นา โมเดลในจังหวัดชุมพร จะนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกองด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ไปใช้และสอดคล้องกับ SDGs : ข้อ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง คิดค้นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร และคณะ สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นนวัตกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยเครื่องทุ่นแรงมาพลิกกลับกองปุ๋ยอินทรีย์ ประหยัดแรงงานและลดต้นทุนการผลิตและได้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีเมื่อนำปุ๋ยอินทรีย์ไปวิเคราะห์ก็ผ่านเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของประเทศ มีวิธีการผลิตและขั้นตอนที่ง่ายไม่ยุ่งยาก หลักการสำคัญคือ การขึ้นกองปุ๋ยให้อากาศไหลเข้าไปในกองปุ๋ยโดยไม่ต้องพลิกกลับกอง ใช้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในมูลสัตว์เป็นตัวย่อยสลายและการดูแลกองปุ๋ยโดยการให้ความชื้นอย่างเพียงพอ เพียง 2 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ใช้ จากเหตุผลดังกล่าวจึงสามารถนำไปใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากใบไม้และเศษเหลือทิ้งทางการเกษตรจากโคก หนอง นา ได้อย่างดียิ่ง วัสดุที่นำมาผลิตปุ๋ย เช่น ใบไม้จากป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ฟางข้าว วัชพืชน้ำ หรือผักตบชวาในหนอง เศษพืชผักที่เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยว หรือเศษเหลือทิ้งจากผลไม้ และมูลสัตว์ เป็นต้น ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้นำกลับไปใช้ในการเพาะกล้าผัก เพาะกล้าไม้ เพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ ปรับปรุงคุณภาพของดินให้มีอินทรียวัตถุเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ดินดีเหมาะสมกับการทำการเกษตร และที่สำคัญคือการได้หมุนเวียนธาตุอาหารได้อย่างสมบูรณ์ในบริบทของ โคก หนอง นา โมเดล อย่างไรก็ดีเชื่อว่าโครงการจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการช่วยให้ลดการทิ้งขยะอินทรีย์รวมกับขยะทั่วไป ลดปัญหาหมอกควันจากการเผาสิ่งเหลือใช้ทางการเกษตร ชุมชนอื่นๆที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้และนำองค์ความรู้ไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลกระทบทางบวกในวงกว้างต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อฝึกอบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1
เพื่อพัฒนาฐานการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ร่วมกับโครงการ โคก หนอง นา โมเดล ในจังหวัดชุมพร
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ฐานการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 2 : จำนวนผู้เยี่ยมชมฐานเรียนรู้
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 3 : ฐานการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ร่วมกับโครงการ โคก หนอง นา โมเดล ในจังหวัดชุมพร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ฐาน 1
KPI 4 : ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 6 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 7 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 9 : วีดีทัศน์สื่อสารคดีให้ความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 10 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ฐานการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1
ชื่อกิจกรรม :
ฝึกอบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 และ พัฒนาฐานการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ร่วมกับโครงการ โคก หนอง นา โมเดล ในจังหวัดชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/04/2566 - 31/08/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ต.ขจรรักษ์  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.พิไลวรรณ  พู่พัฒนศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.ศุจินธร  รัตนิพนธ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 25 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 80 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,150.00 บาท 0.00 บาท 3,150.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิล/โปสเตอร์ ขนาด 80 x 200 เซนติเมตร จำนวน 3 ผืนๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อสารคดีให้ความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ จัดทำสื่อสารคดีให้ความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 1 เรื่อง ๆ ละ 15,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (ที่มิใช่บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 1,000 บาท 1 คน 1 วัน เป็นเงิน 2,000 บาท
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1 คน 1 วัน เป็นเงิน 1,200 บาท
ปฏิบัติ จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 2 คน 1 วัน เป็นเงิน 1,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,400.00 บาท 0.00 บาท 4,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ปุ๋ยคอก เข่ง คราด บัวรดน้ำ ตาข่ายลวด ฯลฯ เป็นเงิน 21,950 บาท
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ค่าเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 22,950.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 22,950.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
บูรณาการการเรียนการสอนร่วมกับ รายวิชา กช 321 เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน และรายวิชา ทพ 461 เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบเกษตร จำนวน 30 คน นักศึกษาได้เรียนรู้หลักการและวิธีการปฏิบัติการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1 จนเกิดความชำนาญและสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดสู่เกษตรกรในโครงการ โคก หนอง นา โมเดลได้
ช่วงเวลา : 14/02/2566 - 31/08/2566
ตัวชี้วัด
5.1 ระบบและกลไกการบริการวิชาการแก่สังคม
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล