19033 : โครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของชุมชนทุ่งหลวง จังหวัดชุมพร เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไป
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ ณ ทองแก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 21/2/2566 15:57:58
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2565  ถึง  30/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  กลุ่มเป้าหมายโครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของชุมชนทุ่งหลวงจังหวัดชุมพรเพื่อรองรับการท่องเที่ยวในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบไปด้วย ชุมชนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการตลาด สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว (Destination Management Organization-DMO) จำแนก ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ภาคชุมชนท่องเที่ยว ในประกอบด้วย 1) ชุมชนทุ่งหลวง อำเภอละแม กลุ่มที่ 2 องค์กรปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลทุ่งหลวง กลุ่มที่ 3 หน่วยงานภาครัฐ เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเป้าหมาย อาทิเช่น สำนักงานจังหวัดท่องเที่ยวจังหวัด สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานวัฒนธรรม สำนักงานพัฒนาชุมชน และสำนักงานโยธาธิการและผังเมือง รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ อาทิเช่น สำนักงานท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมศิลปากร สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กลุ่มที่ 4 ภาคเอกชน องค์กร หน่วยงานหรือผู้แทนผู้ประกอบการเกี่ยวข้องกับการ อาทิ - สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว - สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร - ร้านจำหน่ายสินที่ค้าที่ระลึก กลุ่มที่ 5 สถาบันการศึกษา องค์กรไม่แสวงหากำไรและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ศึกษาเป้าหมาย
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน งบโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2565 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำนาจ  รักษาพล
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.1.1 การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.3 เป็นต้นแบบการสร้างชุมชนที่ยั่งยืน และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Community &Tourism)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.10 ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ Well-Being @ Chumporn
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.4.3 สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และการท่องเที่ยวต้นแบบแห่งชายฝั่งทะเลตะวันออก
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.8 จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมด้านการสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.1.17 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนานักศึกษาเพื่อสร้างความเป็นผู้ประกอบการ เช่นการสร้าง Learning Space และ Working Space เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน การจัดกิจกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับนักศึกษา
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.4 เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ท้องถิ่น
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.24 จำนวนกิจกรรมด้านการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมแก่หน่วยงานภายนอก
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.4.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษา การเรียน การสอน และการวิจัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.66 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 1. การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 1.3 มีต้นแบบความสำเร็จของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้ง 3 วิทยาเขต Eco Community & Tourism
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:1.3.1 ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ Well-Being @ Chumphon
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 6. สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และการท่องเที่ยวต้นแบบแห่งชายฝั่งทะเลตะวันออก
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.66 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับสากล
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:2.1.8 จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมด้านการสร้างความเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 23. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนานักศึกษาเพื่อสร้างความเป็นผู้ประกอบการ เช่น การสร้าง Learning Space และ Working Space เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียน การจัดกิจกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับนักศึกษา
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 2.4 เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:2.4.3 จำนวนโครงการด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสังคมวัฒนธรรม (ชุมพร)
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 50. ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรได้สืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศได้เจริญรุดหน้าตามลำดับ นับตั้งแต่ได้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จากข้อมูลกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในปี 2562 พบว่ามีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนประมาณ 39 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประมาณ 34.3 ล้านคน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.44 เกิดรายได้ 3.718 ล้านล้านบาท สำหรับปี 2563 เป้าหมายเชิงเศรษฐกิจต้องการสร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวรวมให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปี 2562 ซึ่งจะทำให้รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นเป็น 2.431 ล้านล้านบาท รายได้รวมเพิ่มขึ้นจาก 3.38 ล้านล้านบาท เป็น 3.718 ล้านล้านบาท แต่ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้เป้าหมายเชิงเศรษฐกิจเกิดความถดถอย โดยเฉพาะการท่องเที่ยวโดยชุมชนประสบปัญหาไม่สามารถรองรับการท่องเที่ยวแบบวิถีเดิมได้ตามปกติ ซึ่งแนวโน้มหลังจากการคลายมาตรการล็อกดาวน์จากสถานการณ์วิกฤต COVID-19 ภาคธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวมองหาวิธีการฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยในรูปแบบ “ฐานวิถีชีวิตใหม่”หรือ New Normal ที่ผู้คนให้ความสำคัญกับเรื่องสาธารณสุข ความสะอาด ความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัย ความรู้สึกมั่นใจและความสบายใจในการใช้บริการ เป็นต้น รวมทั้งสร้างกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นแบบ New Normal หมายความถึง กิจกรรมท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวจะสัมผัสกันน้อยลง เคลื่อนย้ายตัวเองน้อยลง ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย เดินทางเป็นกลุ่มเล็กๆโดยรถส่วนตัว และเน้นการท่องเที่ยวที่หลีกเลี่ยงการเจอคนหมู่มาก อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวยังต้องต่อยอดความเข้มแข็ง ‘วิถีไทย’ ตามแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทยที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์จริง เพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์ผ่านการใช้นวัตกรรมกระบวนการผลิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมผนวกกับการเล่าเรื่องที่เชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เน้นคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นและผู้มาเยือน ยกระดับมูลค่าสินค้าท้องถิ่นให้สามารถดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการสร้างสมดุลในทุกมิติการพัฒนา คำนึงถึงความมั่นคงของทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารภาครัฐ ความมั่งคั่งโดยการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและความเสมอภาคของทุกคน โครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับการท่องเที่ยวในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นการนำชุดความรู้จากผลงานวิจัยเรื่องการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับแหล่งท่องเที่ยวหลักภายในจังหวัดชุมพร ปีงบประมาณ 2564 ในแพลตฟอร์มที่ 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ มาต่อยอดให้งานเป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนา BCG Model ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ครอบคลุมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน สะดวก สะอาดและปลอดภัย จัดทำระบบมาตรฐานการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน พัฒนาเมืองและผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ และสร้างการท่องเที่ยวเชิงคุณค่าสูง โดยเฉพาะการสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ของชุมชนทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร “ตามโมเดล “พอเพียง พอดี...แบ่งปันสุขภาพดี” ซึ่งหมายความถึง 1) อาหารดี อาหารท้องถิ่นที่เกิดจากความมั่นคงทางอาหารของชุมชนที่ดำเนินวิถีชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มีความสะอาด อร่อย ปลอดภัย รวมถึงการเรียนรู้สมุนไพรและอาหารท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้าน 2) อากาศดี ที่พักได้มาตรฐาน สะอาด โปร่ง มีภูมิทัศน์ที่สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อนและผ่อนคลายจากความเครียด และ 3) อารมณ์ดี มีกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพกายและใจต่างๆ เช่น นวดสปาจากคนท้องถิ่น การร่วมทำงานศิลปะหัตกรรมพื้นบ้าน คนท้องถิ่นมีความเป็นเจ้าบ้านที่ดี ชุมชนทุ่งหลวง อำเภอละแม ริเริ่มดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากแนวคิดการยกระดับวิถีชีวิตแบบเกษตรพอเพียงที่มีการดำรงชีวิตที่ใช้ทรัพยากรการเกษตรสร้างรายได้หลักในครัวเรือน ลดการใช้สารเคมี มาวางแผนและออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวที่มุ่งให้นักท่องเที่ยวสัมผัสบรรยากาศในสวน ชม และชิมผลไม้อินทรีย์จากต้น เช่น สวนเกษตรอินทรีย์ม่อนเบอร์รี่ ฟาร์มเห็ด ผักสวนครัว และไอศกรีมจากผลไม้ เป็นต้น โดยปัจจุบันมีการสร้างกลุ่มท่องเที่ยว และจัดทำโครงสร้างกลุ่มเพื่อดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างเป็นระบบ จากบริบทพื้นที่จะเห็นว่าโครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับการท่องเที่ยวในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไป จึงมีความสำคัญในการจัดการวางแผนให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่ครอบคลุม ด้านสาธารณูปโภค ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจิตวิทยา ด้านสังคม-วัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจ เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่สูงที่สุด นําไปสู่ความยั่งยืนทางการท่องเที่ยว มีการจัดการด้านความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยวที่มี มาตรฐาน มีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์การจัดการท่องเที่ยวโลกอย่างยั่งยืน (GSTC) สามารถคงคุณภาพการให้บริการนักท่องเที่ยวได้มีมาตรฐานสม่ำเสมอ ซึ่งถือเป็นหัวใจสําคัญในการบริการแก่นักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายแหล่งท่องเที่ยวสู่เมืองรอง สร้างการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน สะดวก สะอาด ปลอดภัย เป้าหมาย คือ พัฒนาเมืองสร้างสรรค์ และผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ เพิ่มศักยภาพของฐานบริการเดิมและขยายฐานบริการใหม่ในการปรับตัวสู่เศรษฐกิจฐานบริการที่เข้มแข็งขึ้น รวมทั้งพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน สร้างความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจบริการที่มีศักยภาพเพื่อให้เกิดการเติบโตอย่างบูรณาการให้เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อสร้างสมดุลในทุกมิติ ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม คุณภาพ สุขอนามัย และความปลอดภัย สอดคล้องกับ SDGs : ข้อ 1 5 และ 8 ที่เกี่ยวข้องกับการจัดความยากจน เป็นเมืองที่ปลอดภัย เศรษฐกิจโตอย่างทั่วถึงแล้วมีการจ้างงาน กล่าวโดยสรุป โครงการนี้เป็นไปตามพระราชดำริการพัฒนาสังคมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องของ "การพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของ ประชาชน" เป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นหลักการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วยตนเอง เป็นแนวคิดที่ทรงพิจารณาตั้งแต่เริ่มโครงการ โดยประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นผู้กำหนดวิธีทางของตนเอง เพื่อเลือกแนวทางการพัฒนา และพร้อมที่จะรับกระแสของการพัฒนาจากข้างนอกที่จะเข้ามาในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการออกแบบกิจกรรมนันทนาการเชิงสร้างสรรค์สู่แผน BCG สอดคล้องกับความเป็นแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพ
เพื่อจัดทำโปรแกรมนำเที่ยวเชิงสุขภาพตามโมเดล “พอเพียง พอดี...แบ่งปันสุขภาพดี”
เพื่อพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจพัฒนาชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวสุขภาพด้วยตนเองตามพระราชดำริการพัฒนาสังคม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : สร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของชุมชนทุ่งหลวง จังหวัดชุมพร เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไป
KPI 1 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 2 : ร้อยละของผู้รับอบรมที่มีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับอบรมเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 จำนวน 30
KPI 6 : จำนวนโปรแกรมนำเที่ยวเชิงสุขภาพชุมชนเกาะพิทักษ์
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 โปรแกรม 1
KPI 7 : จำนวนกิจกรรมนันทนาการที่เป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3 กิจกรรม 3
KPI 8 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับอบรมเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอยู่ในระดับมาก
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 10 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : สร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของชุมชนทุ่งหลวง จังหวัดชุมพร เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไป
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 อบรมและให้ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการจัดการการท่องเที่ยวและบริการเพื่อสุขภาพ ตามโมเดล “มีสุขและยั่งยืน เท่ากับ พอเพียงและพอดี” (อาหารดี อากาศดี อารมณ์ดี และการแบ่งปันสิ่งดีๆ)
กิจกรรมที่ 2 จัดทำโปรแกรมนำเที่ยวเชิงสุขภาพตามโมเดล “พอเพียง พอดี...แบ่งปันสุขภาพดี”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/06/2566 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์อุทัยวรรณ  ศรีวิชัย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 4,200 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 9,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถยนต์พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1คัน ๆ ละ 2,500 บาท 3 วัน เป็นเงิน 7,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท 0.00 บาท 7,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำคลิปวีดิโอ จำนวน 1 เรื่อง ความยาว 3.5 นาที ตามโมเดล “มีสุขและยั่งยืน เท่ากับ พอเพียงและพอดี” (อาหารดี อากาศดี อารมณ์ดี และการแบ่งปันสิ่งดีๆ) เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 2 คน 2 วัน เป็นเงิน 9,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท 0.00 บาท 9,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น อุปกรณ์บดกาแฟ ถ้วย พิชเชอร์ อุปกรณ์ดริปกาแฟ นม เมล็ดกาแฟ ฯลฯ เป็นเงิน 9,700 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,700.00 บาท 0.00 บาท 9,700.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 50000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
3.ย.002 ปี 2566 ผศ.เบญจมาศ ณ ทองแก้ว.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การนำนักศึกษาไปฝึกฝนและมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน ในรายวิชากบ 335 การวางแผนและโครงการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ และรายวิชา กบ 333 ภูมิศาสตร์และการจัดการทรัพยากรท่องเที่ยว ซึ่งครอบคลุมเรื่องการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึง การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการทรัพยาการท่องเที่ยว ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนันทนาการ สิ่งแวดล้อม สังคมวัฒนธรรม กายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก และจิตวิทยา เพื่อนำมาจัดทำแผนงานและโครงการสู่ความยั่งยืน โดยมีนักศึกษา จำนวน 20 คน
ช่วงเวลา : 01/03/2566 - 31/05/2566
ตัวชี้วัด
2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล