19032 : โครงการกลไกขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ รักษาพล (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/9/2567 12:29:08
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการบริการวิชาการ (เบิกจ่ายจากงบประมาณบริการวิชาการ)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2565  ถึง  30/09/2566
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  ชุมชนที่มีศักยภาพและความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยว รวมถึงชุมชนที่มีการรวมกลุ่ม และมีกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง จำนวน 13 ชุมชน/องค์กร ได้แก่ 1) ศูนย์การเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา : ภายในโครงการพัฒนาพื้นที่แก้มลิงหนองใหญ่ตามแนวพระราชดำริ อำเภอเมือง 2) ชุมชนบ้านท้องตมใหญ่ : โฮมสเตย์ท้องตมใหญ่ อำเภอสวี 3) ชุมชนบ้านเกาะพิทักษ์ : โฮมสเตย์เกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน 4) ชุมชนบ้านคลองเรือ อำเภอพะโต๊ะ 5) กลุ่มล่องแพมาลิน อำเภอพะโต๊ะ 6) หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอทุ่งตะโก 7) เครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อำเภอปะทิว 8) ชุมชนเหวโหลมโฮมสเตย์ อำเภอพะโต๊ะ 9) บ้านน้อยกลางป่าใหญ่ อำเภอหลังสวน 10) เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอละแม 11) ชุมชนบ้านอ่าวคราม : แดนโดมโฮมสเตย์ อำเภอสวี 12) บ้านริมน้ำโฮมสเตย์ อำเภอเมือง 13) ภูฟ้านาเล รีสอร์ท อำเภอเมือง
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน โครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2566 50,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อำนาจ  รักษาพล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.1.1 การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 1.3 เป็นต้นแบบการสร้างชุมชนที่ยั่งยืน และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Community &Tourism)
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 1.10 ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ Well-Being @ Chumporn
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 1.4.3 สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และการท่องเที่ยวต้นแบบแห่งชายฝั่งทะเลตะวันออก
[ 2566 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ ุ65-69 MJU 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ 65-69 MJU 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 65-69 MJU 2.18 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ ุ65-69 MJU 2.3.2 ผลักดันผลงานการให้บริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.66 : 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 100 ปี (SPO)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 1.1 ความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายสภามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 1. การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ปีที่ 100
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 1.3 มีต้นแบบความสำเร็จของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทั้ง 3 วิทยาเขต Eco Community & Tourism
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:1.3.1 ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ Well-Being @ Chumphon
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 6. สร้างแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และการท่องเที่ยวต้นแบบแห่งชายฝั่งทะเลตะวันออก
[2566] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.66 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.66 : 2.3 การให้บริการวิชาการเพื่อสังคม ชุมชนด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.66:2.3.1 องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.66 : 40. ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร โดยดำเนินการผ่านการจัดประชุมเชิงปฏิบัติแบบสัญจรการอันประกอบด้วยคณะกรรมการและสมาชิกครอบคลุม 8 อำเภอของจังหวัดชุมพร ซึ่งคณาจารย์ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรเข้าไปมีส่วนร่วมดำเนินงานให้มีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ปี พ.ศ. 2560-2564 ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร 3) ยุทธศาสตร์ การตลาดและประชาสัมพันธ์ 4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายระดับภาคใต้ และประเทศ ทั้งนี้กระบวนการขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ดำเนินการตามปณิธาน เพื่อใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน ภายใต้กรอบ เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ-สิ่งแวดล้อม สังคม-วัฒนธรรม พัฒนาคน-ชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการสร้างอาชีพและรายได้ และการกระตุ้นให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบสัญจรนั้น ก่อให้เกิดการจัดการความรู้ อย่างไม่เป็นทางการ ด้วยการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนบทเรียน องค์ความรู้ สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากประสบการณ์ในการดำเนินงานของชุมชนพี่ สู่ชุมชนน้อง และจากระดับพื้นที่สู่เครือข่ายระดับจังหวัดจนถึงระดับภาค รวมถึงการได้ร่วมกันดูแลชุมชนท่องเที่ยวที่ก่อเกิดในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น การก่อเกิดการรวมกลุ่มด้วยตนเอง การก่อเกิดโดยหน่วยงาน หรือการก่อเกิดจากงานวิจัย เพื่อให้มีการดูแลกันและกันภายในเครือข่ายฯ ตามแนวคิด “พี่ดูแลน้อง เพื่อนดูแลกัน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยงด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ผ่านรูปแบบการบอกต่อและส่งต่อเพื่อให้เกิดการกระจายตัวของนักท่องเที่ยวและเกิดประโยชน์ในวงกว้าง โดยเฉพาะระหว่างชุมชนสมาชิก โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น ศูนย์เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาภายในพื้นที่โครงการพระราชดำริแก้มลิงหนองใหญ่ โครงการส่วนพระองค์ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว และเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวหลักภายในจังหวัดชุมพรและพื้นที่เชื่อมโยงในจังหวัดใกล้เคียง จากการเข้าไปมีส่วนร่วมการขับเคลื่อนเครือข่ายฯ ส่งผลให้กระบวนการดังกล่าวมีส่วนส่งเสริมให้เกิดการสร้างพื้นที่สำหรับการบูรณาการในการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนตั้งแต่ระดับพื้นที่สู่เครือข่ายระดับจังหวัดและเครือข่ายระดับภาคใต้นั้น ยังเป็นกระบวนการในการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่ระดับประเทศ ทั้งนี้จากการร่วมขับเคลื่อนเครือข่ายฯ อย่างต่อเนื่องด้วยกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ ในวันที่ 22 ตุลาคม 2563 ณ อาคารแม่โจ้สามัคคี มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร , วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting และการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการในนามคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ร่วมกับทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพรและสมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ซึ่งสามารถสรุปประเด็นร่วมและนำไปสู่การพัฒนากรอบแผนยุทธศาสตร์เครือข่ายฯ ปีพ.ศ. 2565-2569 ดังนี้ ประเด็นย่อยที่ 1 การปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศภายในแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ประเด็นย่อย 2 ยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพรสู่ความเป็นเมืองสุขภาวะ ประเด็นย่อยที่ 3 เชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับแหล่งท่องเที่ยวหลักภายในจังหวัดชุมพร ประเด็นย่อยที่ 4 ยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่ความเป็นสากลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเด็นย่อยที่ 5 บริหารจัดการเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพรอย่างยั่งยืน ประเด็นย่อยที่ 6 การเคลื่อนย้ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวด้วยระบบโลจิสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประเด็นย่อยที่ 7 จัดทำแผนและสร้างระบบสื่อความหมายเพื่อการส่งเสริมประสบการณ์ที่มีคุณภาพของนักท่องเที่ยวภายในแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ทั้งนี้หากพิจารณาจากบทเรียนการขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพรจากอดีตถึงปัจจุบัน มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ที่มุ่งเน้นการพัฒนา 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านความมั่นคง 2) ด้านความสามารถในการเข่งขัน 3) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ 4) ด้านการสร้างโอกาสและเสมอภาคทางสังคม 5) ด้านการสร้างความเติมโตของคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ทั้งยังสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ซึ่งมุ่งพัฒนา 4 ด้าน ประกอบด้วย 4 ด้าน 13 หมุดหมาย 1) ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2) การพัฒนาการท่องเที่ยวเน้นคุณภาพและการเพิ่มมูลค่า 3) ด้านการพัฒนาสังคม 4) ด้านการดำรงวิถีชีวิตที่ยั่งยืน อันเป็นแนวทางในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 ที่น้อมนำหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ และฉบับที่ 9-11 ที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของสังคมไทยให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน และสร้างความพร้อมของทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ ทุนการเงิน ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทุนทางวัฒนธรรมให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกัน การสร้างฐานทางปัญญาเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้กับคนและสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีคุณภาพ ก้าวสู่สังคมและเศรษฐกิจสีเขียวที่มีแบบแผนการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในมิติการท่องเที่ยว ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ มีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก สามารถสร้างรายได้และกระจายรายได้โดยคำนึงถึงความเป็นธรรม สมดุลและยั่งยืน ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น “ประเทศไทย 4.0” เป็นอีกนโยบายหนึ่งที่เป็นการวางรากฐานการพัฒนาประเทศเป็นการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยวิทยาการ เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ วิทยาศาสตร์ การวิจัยและพัฒนา ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้แนวคิด ของประชาชนเพื่อพัฒนาให้ประชาชนเป็นคนที่มีแรงบันดาลใจ มีความมุ่งมั่น ให้มีชีวิตอยู่อย่างมีพลังและมีความหมาย มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการรังสรรค์นวัตกรรม มีจิตสาธารณะ ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เป็นคนที่มุ่งการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ทั้งนี้ในส่วนของการท่องเที่ยวมุ่งเน้น 1) ด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 2) สร้างปัจจัยแวดล้อมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการท่องเที่ยว 3) การตลาดสมัยใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอนาคต 4) การสร้างวิสาหกิจและสตาร์ทอัพด้านท่องเที่ยวบนพื้นฐานของนวัตกรรม และ 5) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนทั้งในและต่างประเทศในทุกส่วนของห่วงโซ่คุณค่าด้านการท่องเที่ยว ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนำไปสู่การสร้างคุณค่าใหม่ด้านการท่องเที่ยว โดยมีกลไกการขับเคลื่อนสำคัญที่จะสร้างโอกาสสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 คือ BCG Model ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy) ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน โดยเปลี่ยนข้อได้เปรียบที่ไทยมีจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ให้เป็นความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรม เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโต แข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน BCG Model ดังนี้ 1) มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมเป้าหมาย BCG 2) ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการเพิ่มรายได้เกษตรกรและชุมชน 3) ยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารของไทยขึ้นเป็นผู้ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพและส่วนประกอบอาหารมูลค่าสูง Top 5 ของโลก 4) อุตสาหกรรมชีวภาพ การผลิตยา เครื่องมือแพทย์ วัสดุชีวภาพ มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพส่งออก เป็นแหล่งจ้างงานทักษะสูงและรายได้สูง 5) ระบบบริหารจัดการท่องเที่ยว นำไปสู่ Top 3 ของเอเชียแปซิฟิก (จัดโดย Travel & Tourism Competitiveness Index, World Economic Forum) 6) ลดการใช้ทรัพยากรลงจากปัจจุบัน ทั้งนี้กรอบแนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals – SDGs ที่ประชาคมโลกตกลงร่วมกันที่จะใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานด้านการพัฒนา โดยมีเป้าหมาย 17 ข้อ ดังนั้นกลไกการขับเคลื่อนเครือข่ายจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นช่องทางที่สำคัญในการส่งต่อเจตนารมณ์/ปณิธานของหลักการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากระดับพื้นที่สู่ระดับนโยบายทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนแบบองคาพยพ (เบญจภาคีขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชน) ประกอบด้วย สถาบันการศึกษา ภาครัฐ เอกชน NGOs และสื่อมวลชน โดยมีภาคประชาชนเป็นศูนย์กลาง ส่วนภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องซึ่งร่วมอยู่ในกลไกการขับเคลื่อนดังกลาวนั้น จะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากร เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น โดยเฉพาะทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่มีบทบาท หน้าที่ และอำนาจในการตัดสินใจ ทั้งนี้จะได้รับโจทย์การพัฒนาทุกมิติ เช่น การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โครงข่ายการท่องเที่ยว การพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่าย การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การตลาดและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของภาคประชาชนทุกระดับ และสอดคล้องตามพันธกิจของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เกิดความยั่งยืนตั้งแต่ระดับพื้นที่จนถึงระดับประเทศ ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาและบริหารจัดการ 3 ประการ คือ คุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คุณภาพประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว และคุณภาพชีวิตของประชาชนท้องถิ่น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่จะนำพาผู้คนต่างวัฒนธรรมร่วมเรียนรู้ แลกเปลี่ยนสร้างความเข้าใจที่แท้จริง และสร้างพันธมิตรในการพัฒนาสังคม เพื่อสร้างโอกาสด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งนโยบายภาครัฐมุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้งในระดับพื้นที่ จังหวัด ภาคและประเทศ เพื่อการขับเคลื่อนประเทศให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ภายใต้นโยบายท่องเที่ยววิถีไทย ซึ่งรัฐบาลมุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีไทยให้เป็นแกนหลัก โดยพัฒนาให้เกิดความชัดเจนในเรื่องราวและคุณค่าเชิงลึกของความเป็นไทยในแต่ละประเภท เช่น อาหาร ศิลปะวัฒนธรรม การแต่งกาย วิถีชีวิต เพื่อเป็นจุดดึงดูดใจในการท่องเที่ยวและให้ความรู้แก่คนไทยให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจในชาติ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อการบูรณาการความรู้สหวิชาการด้านการท่องเที่ยว ด้านการประมง ด้านเทคโนโลยีการผลิตพืช ด้านรัฐศาสตร์ ด้านภาษาศาสตร์ และด้านเทคโนโลยีสาระสนเทศ ในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้สอดคล้องตามความคาดหวังและความต้องการของชุมชนหรือองค์กรชุมชนภายในจังหวัดชุมพร
2 เพื่อส่งเสริมคุณค่าฐานทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ควบคู่กับสร้างโอกาสและกระตุ้นเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นโดยการสร้างงาน สร้างรายได้ และส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นภายในจังหวัดชุมพร
3 เพื่อผลักดันให้เกิดการสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบบูรณาการจาก 6 องคาพยพ ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาครัฐ NGOs สื่อสารมวลชนและภาคเอกชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : กลไกลขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
KPI 1 : กลไกขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยว
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 กลไก 1
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 4 : ร้อยละของผู้เข้ารับบริการมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการเข้ารับบริการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
0.05 ล้านบาท 0.05
KPI 6 : ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 7 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 8 : เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เครือข่าย 1
KPI 9 : ร้อยละของโครงการที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : กลไกลขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 กลไกขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำคลิปวีดีโอองค์ความรู้ จำนวน 1 คลิป ยาวความโดยประมาณ 5-10 นาที เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 1 คนๆละ 200 บาท 20 วัน เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น ปุ๋ยคอก สแลน พลาสติกคลุมดิน จอบ คราด ฯลฯ 6,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,800.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 20800.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 การจัดอบรมขับเคลื่อนเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/12/2565 - 30/09/2566
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ  รักษาพล (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจมาศ  ณ ทองแก้ว (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คนๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 7,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท 0.00 บาท 7,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คนๆ ละ 150 บาท 1 มื้อ 2 วัน เป็นเงิน 15,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) บรรยาย จำนวน 1.5 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 2 คน 2 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร (บุคลากรของรัฐ) ปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท 2 คน 2 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 29200.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
2.ย.002 ปี 2566 ผศ.อำนาจ รักษาพล.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การนำนักศึกษาไปฝึกทักษะด้านการท่องเที่ยวและการบริการ และมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน ในรายวิชากบ335 การวางแผนและโครงการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ กบ334 การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน กบ331 การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กบ336 กิจกรรมนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยว และรายวิชา กบ333 ภูมิศาสตร์และการจัดการทรัพยากรท่องเที่ยว ซึ่งครอบคลุมเรื่องการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึง การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยว ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนันทนาการ สิ่งแวดล้อม สั
ช่วงเวลา : 01/12/2565 - 30/09/2566
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล